บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Monday August 20, 2001 12:39 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง
ตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ . ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรมพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒
เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติในวาระที่ ๓
ให้แก้ไขเพิ่มเติม
ต่อมา รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรมพิจารณาเสร็จแล้ว
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรมพิจารณาเสร็จแล้ว
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามลำดับที่ ๑ และลำดับที่ ๒ ที่ประชุม
ได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และลงมติในวาระที่ ๓ เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
๓. ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา จำนวน ๒๑ คณะ ตามข้อบังคับ
การประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๗๕
หลังจากคณะกรรมาธิการฯ เสนอรายงาน และมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุม
ได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา จำนวน ๒๑ คณะ ตามลำดับ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการการกีฬา ประกอบด้วย
๑. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา ๒. พลเอก ยุทธนา คำดี
๓. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ๔. นายโอภาส รองเงิน
๕. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ ๖. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ
๗. นายกมล มั่นภักดี ๘. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ
๙. นายวิชัย ครองยุติ ๑๐. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช
๑๑. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๑๒. นายประยุทธ ศรีมีชัย
๑๓. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ๑๔. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๑๕. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์
๒. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย
๑. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย ๒. นายจำเจน จิตรธร
๓. นายอนันต์ ดาโลดม ๔. นายทวี แก้วคง
๕. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ๖. นางนันทนา สงฆ์ประชา
๗. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ๘. นายประเกียรติ นาสิมมา
๙. นายปราโมทย์ ไม้กลัด ๑๐. นายวีระพล วัชรประทีป
๑๑. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๑๒. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
๑๓. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ ๑๔. นายอนันต์ ผลอำนวย
๑๕. นายอำนาจ เธียรประมุข
๓. คณะกรรมาธิการการคมนาคม ประกอบด้วย
๑. นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ ๒. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๓. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ๔. นายวิกรม อัยศิริ
๕. นายนิพนธ์ สุทธิเดช ๖. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์
๗. นายวีรวร สิทธิธรรม ๘. นายศรีเมือง เจริญศิริ
๙. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ ๑๐. นายสมบัติ วรามิตร
๑๑. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๑๒. นายสหัส พินทุเสนีย์
๑๓. นายประโภชฌ์ สภาวสุ ๑๔. นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์
๑๕. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
๔. คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน ประกอบด้วย
๑. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ ๒. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล
๓. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ๔. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๕. นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์ ๖. นายวิชิต พูลลาภ
๗. นายสันติ์ เทพมณี ๘. นายสุชน ชาลีเครือ
๙. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๑๐. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๑๑. นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ ๑๒. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
๑๓. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๑๔. นายพา อักษรเสือ
๑๕. นายสุพร สุภสร
๕. คณะกรรมาธิการการงบประมาณ ประกอบด้วย
๑. นายเกษม มาลัยศรี ๒. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์
๓. นายถาวร เกียรติไชยากร ๔. นายธวัชชัย เมืองนาง
๕. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ๖. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ
๗. นายมุขตาร์ มะทา ๘. นายวิญญู อุฬารกุล
๙. นายสมพงษ์ สระกวี ๑๐. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
๑๑. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี ๑๒. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๓. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร ๑๔. นายอาคม ตุลาดิลก
๑๕. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
๖. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ประกอบด้วย
๑. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ๒. นายดำรง พุฒตาล
๓. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ๔. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
๕. นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา ๖. นายฟัครุดดีน บอตอ
๗. นายอิมรอน มะลูลีม ๘. นายอูมาร์ ตอยิบ
๙. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ๑๐. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๑๑. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ๑๒. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
๑๓. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น ๑๔. นายสมควร จิตแสง
๑๕. นายวิบูลย์ แช่มชื่น
๗. คณะกรรมาธิการการทหาร ประกอบด้วย
๑. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ ๒. พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
๓. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๔. นายวีระพล วัชรประทีป
๕. นายรส มะลิผล ๖. พลโท โอภาส รัตนบุรี
๗. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๘. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล
๙. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๑๐. พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
๑๑. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๑๒. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๑๓. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๑๔. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ
๑๕. ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ
๘. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
๑. นายจรูญ ยังประภากร ๒. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๓. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ๔. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร
๕. นายทวีป ขวัญบุรี ๖. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
๗. นายเพิ่มพูน ทองศรี ๘. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๙. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๑๐. พลเอก วิชา ศิริธรรม
๑๑. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ ๑๒. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๑๓. นายสามารถ รัตนประทีปพร ๑๔. นายสุรเดช ยะสวัสดิ์
๑๕. นางอรัญญา สุจนิล
๙. คณะกรรมาธิการการปกครอง ประกอบด้วย
๑. นายการุณ ใสงาม ๒. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์
๓. นายชัชวาลย์ คงอุดม ๔. นายประยุทธ ศรีมีชัย
๕. นายปรีชา ปิตานนท์ ๖. นายมนู วณิชชานนท์
๗. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ ๘. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
๙. พลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล ๑๐. นายสนิท จันทรวงศ์
๑๑. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช ๑๒. นายสมพร คำชื่น
๑๓. ร้อยตรี อนุกูล สุภาไชยกิจ ๑๔. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
๑๕. นายอุดร ตันติสุนทร
๑๐. คณะกรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
๑. นายภิญญา ช่วยปลอด ๒. นายมีชัย วีระไวทยะ
๓. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๔. นายอมร นิลเปรม
๕. พลเอก ยุทธนา คำดี ๖. นายวิชิต พูลลาภ
๗. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๘. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
๙. นายสันติ์ เทพมณี ๑๐. นายนพดล สมบูรณ์
๑๑. นายโสภณ สุภาพงษ์ ๑๒. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๑๓. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๑๔. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล
๑๕. นายพร เพ็ญพาส
๑๑. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย
๑. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ๒. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๓. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ๔. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์
๕. นายโสภณ สุภาพงษ์ ๖. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์
๗. นายการุณ ใสงาม ๘. นายกำพล ภู่มณี
๙. นายแคล้ว นรปติ ๑๐. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๑๑. นายมนตรี สินทวิชัย ๑๒. นายมีชัย วีระไวทยะ
๑๓. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ๑๔. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
๑๕. นายสงวน นันทชาติ
๑๒. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย
๑. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ๒. นายแคล้ว นรปติ
๓. นายถวิล จันทร์ประสงค์ ๔. พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์
๕. นายทองใบ ทองเปาด์ ๖. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช
๗. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๘. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
๙. นายพิชัย ขำเพชร ๑๐. นายระวี กิ่งคำวงศ์
๑๑. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๑๒. นายสัก กอแสงเรือง
๑๓. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๑๔. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล
๑๕. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๑๓. คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกอบด้วย
๑. นายเกษม ชัยสิทธิ์ ๒. นายนิตินัย นาครทรรพ
๓. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๔. นางประทีป อึ้งทรงธรรม
๕. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ ๖. นายมนัส รุ่งเรือง
๗. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ๘. นายไสว พราหมณี
๙. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๑๐. นายบุญญา หลีเหลด
๑๑. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี ๑๒. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๓. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ ๑๔. นายมนู วณิชชานนท์
๑๕. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร
๑๔. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ประกอบด้วย
๑. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ ๒. นายนพดล สมบูรณ์
๓. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๔. นายอุบล เอื้อศรี
๕. นายสมพร คำชื่น ๖. นายบุญเลิศ ไพรินทร์
๗. นายอาคม ตุลาดิลก ๘. นายวิทยา มะเสนา
๙. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย ๑๐. นายเพิ่มพูน ทองศรี
๑๑. นายทวี แก้วคง ๑๒. พลเอก วิชา ศิริธรรม
๑๓. นายสนิท จันทรวงศ์ ๑๔. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร
๑๕. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล
๑๕. คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ประกอบด้วย
๑. นายณรงค์ นุ่นทอง ๒. นายบุญญา หลีเหลด
๓. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ๔. นายผ่อง เล่งอี้
๕. นายพา อักษรเสือ ๖. นายลำพอง พิลาสมบัติ
๗. นายวิชัย ครองยุติ ๘. นายวิทยา มะเสนา
๙. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๑๐. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์
๑๑. นายชงค์ วงษ์ขันธ์ ๑๒. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๑๓. นายสมควร จิตแสง ๑๔. พันเอก สมคิด ศรีสังคม
๑๕. พลโท โอภาส รัตนบุรี
๑๖. คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
๑. นายเกษม ชัยสิทธิ์ ๒. นายชิต เจริญประเสริฐ
๓. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ ๔. นายประสงค์ โฆษิตานนท์
๕. นายพากเพียร วิริยะพันธุ์ ๖. นายรส มะลิผล
๗. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ๘. นายสม ต๊ะยศ
๙. นายอนันตชัย คุณานันทกุล ๑๐. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๑๑. นายสุพร สุภสร ๑๒. นางนันทนา สงฆ์ประชา
๑๓. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๑๔. นายธวัชชัย เมืองนาง
๑๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๑๗. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ประกอบด้วย
๑. นายจอน อึ๊งภากรณ์ ๒. นายเด่น โต๊ะมีนา
๓. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๔. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
๕. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๖. นายวิจิตร มโนสิทธิศักดิ์
๗. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๘. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์
๙. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๐. นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์
๑๑. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ๑๒. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ
๑๓. นายสมบัติ วรามิตร ๑๔. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน
๑๘. คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
๑. นางสุนีย์ อินฉัตร ๒. นายชุมพล ศิลปอาชา
๓. นายสงวน นันทชาติ ๔. นายมนตรี สินทวิชัย
๕. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า ๖. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
๗. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๘. นายฟัครุดดีน บอตอ
๙. นายทวีป ขวัญบุรี ๑๐. นางอรัญญา สุจนิล
๑๑. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ๑๒. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์
๑๓. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย ๑๔. นายชงค์ วงษ์ขันธ์
๑๕. นายพิชัย ขำเพชร
๑๙. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระ ประกอบด้วย
๑. นายกมล มั่นภักดี ๒. นายกำพล ภู่มณี
๓. หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล ๔. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน
๕. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๖. นายปราโมทย์ ไพชนม์
๗. นายพร เพ็ญพาส ๘. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
๙. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ ๑๐. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
๑๑. พลตรี สาคร กิจวิริยะ ๑๒. นายโอภาส รองเงิน
๑๓. นายวิเชียร เปาอินทร์ ๑๔. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ
๑๕. นายณรงค์ นุ่นทอง
๒๐. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภา
ประกอบด้วย
๑. นายสมัย ฮมแสน ๒. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๓. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ๔. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช
๕. นายอุบล เอื้อศรี ๖. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
๗. นายสม ต๊ะยศ ๘. นายลำพอง พิลาสมบัติ
๙. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร ๑๐. พลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล
๑๑. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๑๒. นายเกษม มาลัยศรี
๑๓. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ๑๔. นายบุญยืน ศุภสารสาทร
๒๑. คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
๑. นายแก้วสรร อติโพธิ ๒. นายพนัส ทัศนียานนท์
๓. นางเตือนใจ ดีเทศน์ ๔. นายวีรวร สิทธิธรรม
๕. นายอมร นิลเปรม ๖. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
๗. นายไสว พราหมณี ๘. พลเอก หาญ ลีนานนท์
๙. นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน คือ เลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง โดยที่คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและ
ความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ ได้ร้องขอให้มีการประชุมลับเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๐๓
วรรคสอง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานวุฒิสภาจึงได้ดำเนินการประชุมลับเพื่อพิจารณา
เรื่องดังกล่าว เมื่อคณะกรรมาธิการเสนอรายงานและมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเลือก
นายพินิต อารยะศิริ ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
แทนตำแหน่งที่ว่าง
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ