ตามที่กลุ่มธนาคารกลาง EMEAP มีเป้าหมายที่จะพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคเอเชีย โดยได้เริ่มโครงการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 หรือ ABF2 ซึ่งในส่วนหนึ่งของโครงการ ABF2 เป็นการจัดตั้งกองทุนย่อยในแปดประเทศเพื่อลงทุนในตลาดพันธบัตร
ในส่วนของประเทศไทยกองทุนย่อยที่จะจัดตั้งขึ้น จะใช้ชื่อว่า ABF Thailand Bond Index Fund กองทุนนี้จะเป็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ของประเทศไทย โดยจะเป็นกองทุนที่บริหารอิงกับดัชนีอ้างอิงที่มีความเป็นกลาง โปร่งใส และสามารถลงทุนตามได้ โดยดัชนีอ้างอิงจะเป็นดัชนีอ้างอิงของตลาดพันธบัตรไทยที่พัฒนาโดยบริษัท International Index Company
การดำเนินการของกองทุน ABF Thailand Bond Index Fund จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก กองทุนที่จะจัดตั้งขึ้นโดยเป็นเงินทุนของกลุ่มประเทศสมาชิก EMEAP เท่านั้น ในรูปกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย เป็นผู้จัดการกองทุน
บลจ. กสิกรไทย ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการทุน ABF Thailand Bond Index Fund นี้ จากผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาคัดเลือกทั้งหมด 14 รายและได้shortlist เหลือเพียง 4 ราย ตามกระบวนการคัดเลือกของ EMEAP ซึ่งได้กำหนดกฎเกณฑ์การคัดเลือกที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศสมาชิก EMEAP
โดย EMEAP ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดเลือกผู้จัดการทุน คือ Mercer Investment Consulting ให้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ พร้อมทั้งวางกรอบการพิจารณาการคัดเลือกผู้จัดการทุนให้แก่ประเทศสมาชิก โดยปัจจัยที่ใช้พิจารณาคัดเลือกผู้จัดการทุนในแต่ละประเทศ ได้แก่
(1) ความรู้ ความเข้าใจ และศักยภาพการบริหารกองทุน เทียบกับดัชนีอ้างอิงของผู้จัดการทุน
(2) ความน่าเชื่อถือระบบงานภายในของบริษัทจัดการลงทุน
(3) ประสบการณ์ของผู้จัดการทุน และทีมงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ รวมถึง
(4) ประวัติการดำเนินการและขั้นตอนของการบริหารกองทุน
การจัดตั้งและบริหารกองทุนในระยะแรกสามารถจะเริ่มดำเนินการได้ในทันทีและจากนั้นก็จะเป็นการเตรียมการเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการจัดตั้งกองทุน โดย บลจ.กสิกรไทย จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธปท. และผู้ร่วมตลาดอื่นๆ เพื่อจะแปรรูปกองทุน ABF Thailand Bond Index Fund จากกองทุนส่วนบุคคลเป็นกองทุนเปิดในรูป Exchange Traded Fund และนำเข้าจดทะเบียนซื้อขายบนกระดาน Bond Electronic Exchange (BEX) ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุน ABF Thailand Bond Index Fund ให้กับผู้สนใจลงทุนได้ภายในปีนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า การจัดตั้งกองทุนดัชนีพันธบัตรไทย ABF Thailand Bond Index Fund จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรของไทยอย่างน้อยใน 5 ด้านคือ
1. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ในรูปแบบกองทุน Exchange Traded Fund ที่บริหารอิงกับดัชนีอ้างอิง
2. เพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่สนใจในตลาดตราสารหนี้ไทย โดยการลงทุนที่มีการบริหารจัดการลงทุนในเชิงรับ (passive management) อิงกับดัชนีอ้างอิงที่มีต้นทุนต่ำ โดยจะเป็นต้นแบบให้กับการจัดตั้งกองทุนประเภทเดียวกันตามมา
3. ส่งเสริมให้เกิดดัชนีอ้างอิงสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย ที่มีความเป็นกลาง โปร่งใส และเชื่อถือได้
4. พัฒนาศักยภาพของบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนของไทยให้สูงขึ้น และนำไปสู่ความเป็นสากลของธุรกิจด้านจัดการกองทุน
5. กระตุ้นให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้ไทย ทั้งในระบบข้อมูลตราสารหนี้ และระบบการชำระราคาและส่งมอบตราสารหนี้
ข้อมูลแสดงที่มาของกองทุน ABF2
กองทุน ABF2 คืออะไร
กลุ่มสมาชิก EMEAP ได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาตลาดพันธบัตรทั้งในระดับประเทศและในภูมิภาคในเชิงกว้างและเชิงลึก โดยในเดือนมิถุนายน 2546 กลุ่มสมาชิก EMEAP ได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 1 หรือ ABF1 ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลของกลุ่มสมาชิก (ไม่รวมออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์) ในสกุลดอลลาร์ สรอ. จากความสำเร็จของกองทุน ABF1 กลุ่มสมาชิก EMEAP จึงได้ศึกษาเพื่อขยายขอบเขตการลงทุนไปยังพันธบัตรที่ออกเป็นสกุลเงินท้องถิ่น และได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 (ABF2) เมื่อเดือนธันวาคม 2547
กองทุน ABF2 ประกอบด้วยกองทุน PAIF และ 8 กองทุนย่อย Fund of Bond Funds (FoBF) ใน 8 ตลาด โดยกองทุน PAIF เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของสมาชิก EMEAP 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ส่วนอีก 8 กองทุนย่อย FoBF จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละตลาด
การจัดตั้งกองทุน ABF2 เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางในภูมิภาค
ประโยชน์ของกองทุน ABF2 คืออะไร
ในอนาคตอันใกล้ การริเริ่มของกองทุน ABF2 นี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนรู้จักและให้ความสนใจในพันธบัตรเอเชียมากขึ้นด้วย กองทุนนี้เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบของการบริหารกองทุนแบบเชิงรับ และจะนำไปสู่การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศและในระดับภูมิภาคในเชิงความกว้างและลึกขึ้น และจะส่งผลให้ตัวกลางทางการเงิน (Financial Intermediation) ในภูมิภาคเอเชียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
สนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่: กองทุน PAIF และ 8 กองทุนย่อยใน 8 ตลาดนี้ จัดได้ว่าเป็นสินทรัพย์ลงทุนประเภทใหม่ของตลาดเอเชีย คือ เป็นกองทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และมีการบริหารกองทุนในเชิงรับ ซึ่งสะดวกและมีต้นทุนต่ำสำหรับนักลงทุนทั้งในภูมิภาคและนานาประเทศ ที่ประสงค์จะกระจายการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาด EMEAP ทั้ง 8 ประเทศ
เป็นการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้: การจัดตั้งกองทุน ABF2 ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศสมาชิก EMEAP ในหลายด้าน เช่น การนำดัชนี iBoxx ABF indices ซึ่งมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และสามารถลงทุนตามได้มาใช้ ซึ่งจัดว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชีย ราคาของตราสารหนี้ในดัชนีอ้างอิงดังกล่าวจะรวบรวมจากผู้ร่วมตลาดที่มีบทบาทจำนวนหลายราย จะสามารถสะท้อนราคาของตราสารหนี้เหล่านี้ได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
เร่งให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของตลาดในกลุ่มสมาชิก EMEAP ที่เกี่ยวข้อง: การริเริ่มของกองทุน ABF2 ได้เร่งให้เกิดการปฏิรูปด้านภาษีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและในแต่ละประเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุนระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น กองทุน PAIF นั้นได้ถือว่า เป็นนักลงทุนสถาบันต่างชาติรายแรกที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในตลาดพันธบัตรระหว่างธนาคารของจีน (Interbank Bond Market) ประเทศมาเลเซียก็ได้ผ่อนคลายเกณฑ์ซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 โดยก่อนหน้านั้นได้อนุญาตให้องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิตได้ นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังจะได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เก็บจากรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้สกุลริงกิตด้วย ในประเทศไทยก็เช่นกัน กระทรวงการคลังได้ประกาศยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากรายได้ดอกเบี้ยและกำไรส่วนเกินให้กับนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2548 เพื่อสนับสนุนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ประเทศในกลุ่ม EMEAP ต่างก็เร่งดำเนินการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเอื้อให้สามารถนำกองทุนไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในรูปของกองทุนเปิด และในรูป Exchange Traded Fund ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการริเริ่มปรับมาตรการต่าง ๆ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในส่วนของประเทศไทยกองทุนย่อยที่จะจัดตั้งขึ้น จะใช้ชื่อว่า ABF Thailand Bond Index Fund กองทุนนี้จะเป็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ของประเทศไทย โดยจะเป็นกองทุนที่บริหารอิงกับดัชนีอ้างอิงที่มีความเป็นกลาง โปร่งใส และสามารถลงทุนตามได้ โดยดัชนีอ้างอิงจะเป็นดัชนีอ้างอิงของตลาดพันธบัตรไทยที่พัฒนาโดยบริษัท International Index Company
การดำเนินการของกองทุน ABF Thailand Bond Index Fund จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก กองทุนที่จะจัดตั้งขึ้นโดยเป็นเงินทุนของกลุ่มประเทศสมาชิก EMEAP เท่านั้น ในรูปกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย เป็นผู้จัดการกองทุน
บลจ. กสิกรไทย ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการทุน ABF Thailand Bond Index Fund นี้ จากผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาคัดเลือกทั้งหมด 14 รายและได้shortlist เหลือเพียง 4 ราย ตามกระบวนการคัดเลือกของ EMEAP ซึ่งได้กำหนดกฎเกณฑ์การคัดเลือกที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศสมาชิก EMEAP
โดย EMEAP ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดเลือกผู้จัดการทุน คือ Mercer Investment Consulting ให้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ พร้อมทั้งวางกรอบการพิจารณาการคัดเลือกผู้จัดการทุนให้แก่ประเทศสมาชิก โดยปัจจัยที่ใช้พิจารณาคัดเลือกผู้จัดการทุนในแต่ละประเทศ ได้แก่
(1) ความรู้ ความเข้าใจ และศักยภาพการบริหารกองทุน เทียบกับดัชนีอ้างอิงของผู้จัดการทุน
(2) ความน่าเชื่อถือระบบงานภายในของบริษัทจัดการลงทุน
(3) ประสบการณ์ของผู้จัดการทุน และทีมงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ รวมถึง
(4) ประวัติการดำเนินการและขั้นตอนของการบริหารกองทุน
การจัดตั้งและบริหารกองทุนในระยะแรกสามารถจะเริ่มดำเนินการได้ในทันทีและจากนั้นก็จะเป็นการเตรียมการเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการจัดตั้งกองทุน โดย บลจ.กสิกรไทย จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธปท. และผู้ร่วมตลาดอื่นๆ เพื่อจะแปรรูปกองทุน ABF Thailand Bond Index Fund จากกองทุนส่วนบุคคลเป็นกองทุนเปิดในรูป Exchange Traded Fund และนำเข้าจดทะเบียนซื้อขายบนกระดาน Bond Electronic Exchange (BEX) ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุน ABF Thailand Bond Index Fund ให้กับผู้สนใจลงทุนได้ภายในปีนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า การจัดตั้งกองทุนดัชนีพันธบัตรไทย ABF Thailand Bond Index Fund จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรของไทยอย่างน้อยใน 5 ด้านคือ
1. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ในรูปแบบกองทุน Exchange Traded Fund ที่บริหารอิงกับดัชนีอ้างอิง
2. เพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่สนใจในตลาดตราสารหนี้ไทย โดยการลงทุนที่มีการบริหารจัดการลงทุนในเชิงรับ (passive management) อิงกับดัชนีอ้างอิงที่มีต้นทุนต่ำ โดยจะเป็นต้นแบบให้กับการจัดตั้งกองทุนประเภทเดียวกันตามมา
3. ส่งเสริมให้เกิดดัชนีอ้างอิงสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย ที่มีความเป็นกลาง โปร่งใส และเชื่อถือได้
4. พัฒนาศักยภาพของบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนของไทยให้สูงขึ้น และนำไปสู่ความเป็นสากลของธุรกิจด้านจัดการกองทุน
5. กระตุ้นให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้ไทย ทั้งในระบบข้อมูลตราสารหนี้ และระบบการชำระราคาและส่งมอบตราสารหนี้
ข้อมูลแสดงที่มาของกองทุน ABF2
กองทุน ABF2 คืออะไร
กลุ่มสมาชิก EMEAP ได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาตลาดพันธบัตรทั้งในระดับประเทศและในภูมิภาคในเชิงกว้างและเชิงลึก โดยในเดือนมิถุนายน 2546 กลุ่มสมาชิก EMEAP ได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 1 หรือ ABF1 ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลของกลุ่มสมาชิก (ไม่รวมออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์) ในสกุลดอลลาร์ สรอ. จากความสำเร็จของกองทุน ABF1 กลุ่มสมาชิก EMEAP จึงได้ศึกษาเพื่อขยายขอบเขตการลงทุนไปยังพันธบัตรที่ออกเป็นสกุลเงินท้องถิ่น และได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 (ABF2) เมื่อเดือนธันวาคม 2547
กองทุน ABF2 ประกอบด้วยกองทุน PAIF และ 8 กองทุนย่อย Fund of Bond Funds (FoBF) ใน 8 ตลาด โดยกองทุน PAIF เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของสมาชิก EMEAP 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ส่วนอีก 8 กองทุนย่อย FoBF จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละตลาด
การจัดตั้งกองทุน ABF2 เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางในภูมิภาค
ประโยชน์ของกองทุน ABF2 คืออะไร
ในอนาคตอันใกล้ การริเริ่มของกองทุน ABF2 นี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนรู้จักและให้ความสนใจในพันธบัตรเอเชียมากขึ้นด้วย กองทุนนี้เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบของการบริหารกองทุนแบบเชิงรับ และจะนำไปสู่การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศและในระดับภูมิภาคในเชิงความกว้างและลึกขึ้น และจะส่งผลให้ตัวกลางทางการเงิน (Financial Intermediation) ในภูมิภาคเอเชียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
สนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่: กองทุน PAIF และ 8 กองทุนย่อยใน 8 ตลาดนี้ จัดได้ว่าเป็นสินทรัพย์ลงทุนประเภทใหม่ของตลาดเอเชีย คือ เป็นกองทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และมีการบริหารกองทุนในเชิงรับ ซึ่งสะดวกและมีต้นทุนต่ำสำหรับนักลงทุนทั้งในภูมิภาคและนานาประเทศ ที่ประสงค์จะกระจายการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาด EMEAP ทั้ง 8 ประเทศ
เป็นการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้: การจัดตั้งกองทุน ABF2 ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศสมาชิก EMEAP ในหลายด้าน เช่น การนำดัชนี iBoxx ABF indices ซึ่งมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และสามารถลงทุนตามได้มาใช้ ซึ่งจัดว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชีย ราคาของตราสารหนี้ในดัชนีอ้างอิงดังกล่าวจะรวบรวมจากผู้ร่วมตลาดที่มีบทบาทจำนวนหลายราย จะสามารถสะท้อนราคาของตราสารหนี้เหล่านี้ได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
เร่งให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของตลาดในกลุ่มสมาชิก EMEAP ที่เกี่ยวข้อง: การริเริ่มของกองทุน ABF2 ได้เร่งให้เกิดการปฏิรูปด้านภาษีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและในแต่ละประเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุนระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น กองทุน PAIF นั้นได้ถือว่า เป็นนักลงทุนสถาบันต่างชาติรายแรกที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในตลาดพันธบัตรระหว่างธนาคารของจีน (Interbank Bond Market) ประเทศมาเลเซียก็ได้ผ่อนคลายเกณฑ์ซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 โดยก่อนหน้านั้นได้อนุญาตให้องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิตได้ นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังจะได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เก็บจากรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้สกุลริงกิตด้วย ในประเทศไทยก็เช่นกัน กระทรวงการคลังได้ประกาศยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากรายได้ดอกเบี้ยและกำไรส่วนเกินให้กับนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2548 เพื่อสนับสนุนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ประเทศในกลุ่ม EMEAP ต่างก็เร่งดำเนินการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเอื้อให้สามารถนำกองทุนไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในรูปของกองทุนเปิด และในรูป Exchange Traded Fund ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการริเริ่มปรับมาตรการต่าง ๆ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--