ข่าวในประเทศ
1. รมว.คลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4-5 ได้ในปี 45 รมว.คลัง กล่าวว่า ในปี 45 เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวและมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 4-5 โดยมีปัจจัยเกื้อหนุน 3 ประการคือ 1) มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 2) การส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และการเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น และ 3) มาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น (โลกวันนี้, ไทยรัฐ 12)
2. ที่ประชุม ครม. รับทราบหลักเกณฑ์การจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี งปม. 45 รองโฆษกสำนัก นรม. เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม. ว่า ที่ประชุมรับทราบหลักเกณฑ์และวิธีการทำงานเกี่ยวกับการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี งปม. 45 จำนวน 58,000 ล.บาท โดยวิเคราะห์เบื้องต้นถึงผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 2.2 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ และหากสามารถเบิกจ่ายได้ในไตรมาส 1-3 ของปี 45 อีกไตรมาสละ 16,000 ล.บาท จะทำให้เศรษฐกิจในปี 45 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 4 ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้(ข่าวสด, ไทยรัฐ 12)
3. ธปท.อนุญาตให้กิจการวิเทศธนกิจทำธุรกรรมประกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนถึงกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) อนุญาตให้สามารถทำธุรกรรมการประกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินสำหรับเงินกู้และเงินสินเชื่อของตนเอง และรับประกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมที่ให้กับลูกค้าในต่างประเทศ, บีไอบีเอฟอื่น, ธปท., ก.คลัง หรือลูกค้าในประเทศที่บีไอบีเอฟนั้นให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศ จากเดิมที่มีเพียง ธพ.เท่านั้นที่สามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.44(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ 12)
4. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตหลายรายการปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (6 เดือนข้างหน้า) อยู่ระดับ 85.1 จากเดิมในเดือน ก.ค.44 อยู่ระดับ 87 ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานทำในอนาคตอยู่ระดับ 74.6 จากระดับ 76.1 และดัชนีความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ระดับ 97.2 จากระดับ 98.3 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100 ติดต่อกันมา 2-3 เดือน นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการบริโภคอาจปรับตัวลดลงได้ในอนาคต ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 54 จากเดิมระดับ 53.6 ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สรอ.และญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีความล่าช้า การปรับตัวลดลงของการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกปี 44 และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น(ไทยโพสต์ 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 11 ก.ย.44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 44 เยอรมนีเกินดุลการค้า จำนวน 16.6 พัน ล. มาร์ก เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. 44 ที่มีจำนวน 13.4 พัน ล. มาร์ก และเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. 43 ที่มีจำนวน 11.4 พัน ล. มาร์ก เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.9 เทียบต่อปี เป็นจำนวน 108.8 พัน ล. มาร์ก รายงานครั้งนี้ ดีกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าการเกินดุลการค้าจะลดลงจำนวน 12.7 พัน ล. มาร์ก อย่างไรก็ตาม ในเดือน ก.ค. 44 เยอรมนีขาดดุลดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6.1 พัน ล. มาร์ก จากจำนวน 5.3 พัน ล. มาร์กในเดือนเดียวกันของปี 43 สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี44 เยอรมนีเกินดุลการค้าสะสมเป็นจำนวน 93.8 พัน ล. มาร์ก จากจำนวน 75 พัน ล. มาร์กในช่วงเดียวกันของปี 43 ขณะที่ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 12.5 พัน ล. มาร์ก เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 8.4 พัน ล. มาร์ก Ralf Solveen นักเศรษฐศาสตร์ของ Commerzbank กล่าวว่า ตัวเลขดุลการค้าในเดือน ก.ค. และ มิ.ย. 44 ชี้ถึงการส่งออกที่กำลังฟื้นตัวและภาวะเศรษฐกิจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คาดการณ์ไว้ (รอยเตอร์11)
2. เยอรมนีคาดว่าปี 45 เศรษฐกิจอาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และเตรียมจัดทำแผนงปม. ปี 49 เป็นแบบสมดุล รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 11 ก.ย.44 รมว.คลังเยอรมนี ( Hans Eichel) เปิดเผยว่า ปี 45 เศรษฐกิจเยอรมนีน่าจะขยายตัวลดลงจากที่ได้ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 2.25 ขณะที่รัฐบาลอาจปรับลดการใช้จ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงสิ้นปี 44 ในด้านงบประมาณ (งปม.) รัฐบาลมีแผนจัดทำ งปม. สมดุลในปี 49 ปัจจุบันรายได้จากภาษีของเยอรมนีอยู่ในระดับเดียวกับแผนการจัดเก็บของรัฐบาล แต่ในระยะเวลาที่เหลือในปีนี้ การจัดเก็บอาจต่ำกว่าเป้าหมายบ้าง โดยสาเหตุหลักมาจากการอ่อนแอของการลงทุนในภาคการก่อสร้างในประเทศ และการใช้จ่ายเป็นค่าสวัสดิการจากการว่างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปีนี้ ขณะเดียวกัน รมว.คลังคาดหวังว่า ปี 44 ธ. กลางยุโรป (ECB) จะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อและตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ(รอยเตอร์ 11)
3. เศรษฐกิจฝรั่งเศสในไตรมาสที่ 2 ปี 44 ขยายตัวต่ำสุดในรอบมากกว่า 2 ปี รายงานจากปารีสเมื่อ 11 ก.ย. 44 สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 2 ปี 44 ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 0.3 จากตัวเลขที่ปรับแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 44 นับว่าสอดคล้องกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่งนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 41 ที่จีดีพีขยายตัวร้อยละ 0.3 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ. กลางยุโรปไม่น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 ก.ย. นี้ แม้เศรษฐกิจของประเทศในเขตยูโรจะชะลอตัวลงก็ตาม(รอยเตอร์11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11 ก.ย. 44 44.734 (44.541)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11 ก.ย. 44ซื้อ 44.5013 (44.3314) ขาย 44.7915 (44.6174)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,700) ขาย 6,000 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.52 (25.60)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. รมว.คลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4-5 ได้ในปี 45 รมว.คลัง กล่าวว่า ในปี 45 เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวและมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 4-5 โดยมีปัจจัยเกื้อหนุน 3 ประการคือ 1) มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 2) การส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และการเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น และ 3) มาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น (โลกวันนี้, ไทยรัฐ 12)
2. ที่ประชุม ครม. รับทราบหลักเกณฑ์การจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี งปม. 45 รองโฆษกสำนัก นรม. เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม. ว่า ที่ประชุมรับทราบหลักเกณฑ์และวิธีการทำงานเกี่ยวกับการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี งปม. 45 จำนวน 58,000 ล.บาท โดยวิเคราะห์เบื้องต้นถึงผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 2.2 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ และหากสามารถเบิกจ่ายได้ในไตรมาส 1-3 ของปี 45 อีกไตรมาสละ 16,000 ล.บาท จะทำให้เศรษฐกิจในปี 45 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 4 ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้(ข่าวสด, ไทยรัฐ 12)
3. ธปท.อนุญาตให้กิจการวิเทศธนกิจทำธุรกรรมประกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนถึงกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) อนุญาตให้สามารถทำธุรกรรมการประกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินสำหรับเงินกู้และเงินสินเชื่อของตนเอง และรับประกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมที่ให้กับลูกค้าในต่างประเทศ, บีไอบีเอฟอื่น, ธปท., ก.คลัง หรือลูกค้าในประเทศที่บีไอบีเอฟนั้นให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศ จากเดิมที่มีเพียง ธพ.เท่านั้นที่สามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.44(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ 12)
4. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตหลายรายการปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (6 เดือนข้างหน้า) อยู่ระดับ 85.1 จากเดิมในเดือน ก.ค.44 อยู่ระดับ 87 ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานทำในอนาคตอยู่ระดับ 74.6 จากระดับ 76.1 และดัชนีความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ระดับ 97.2 จากระดับ 98.3 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100 ติดต่อกันมา 2-3 เดือน นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการบริโภคอาจปรับตัวลดลงได้ในอนาคต ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 54 จากเดิมระดับ 53.6 ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สรอ.และญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีความล่าช้า การปรับตัวลดลงของการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกปี 44 และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น(ไทยโพสต์ 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 11 ก.ย.44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 44 เยอรมนีเกินดุลการค้า จำนวน 16.6 พัน ล. มาร์ก เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. 44 ที่มีจำนวน 13.4 พัน ล. มาร์ก และเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. 43 ที่มีจำนวน 11.4 พัน ล. มาร์ก เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.9 เทียบต่อปี เป็นจำนวน 108.8 พัน ล. มาร์ก รายงานครั้งนี้ ดีกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าการเกินดุลการค้าจะลดลงจำนวน 12.7 พัน ล. มาร์ก อย่างไรก็ตาม ในเดือน ก.ค. 44 เยอรมนีขาดดุลดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6.1 พัน ล. มาร์ก จากจำนวน 5.3 พัน ล. มาร์กในเดือนเดียวกันของปี 43 สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี44 เยอรมนีเกินดุลการค้าสะสมเป็นจำนวน 93.8 พัน ล. มาร์ก จากจำนวน 75 พัน ล. มาร์กในช่วงเดียวกันของปี 43 ขณะที่ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 12.5 พัน ล. มาร์ก เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 8.4 พัน ล. มาร์ก Ralf Solveen นักเศรษฐศาสตร์ของ Commerzbank กล่าวว่า ตัวเลขดุลการค้าในเดือน ก.ค. และ มิ.ย. 44 ชี้ถึงการส่งออกที่กำลังฟื้นตัวและภาวะเศรษฐกิจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คาดการณ์ไว้ (รอยเตอร์11)
2. เยอรมนีคาดว่าปี 45 เศรษฐกิจอาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และเตรียมจัดทำแผนงปม. ปี 49 เป็นแบบสมดุล รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 11 ก.ย.44 รมว.คลังเยอรมนี ( Hans Eichel) เปิดเผยว่า ปี 45 เศรษฐกิจเยอรมนีน่าจะขยายตัวลดลงจากที่ได้ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 2.25 ขณะที่รัฐบาลอาจปรับลดการใช้จ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงสิ้นปี 44 ในด้านงบประมาณ (งปม.) รัฐบาลมีแผนจัดทำ งปม. สมดุลในปี 49 ปัจจุบันรายได้จากภาษีของเยอรมนีอยู่ในระดับเดียวกับแผนการจัดเก็บของรัฐบาล แต่ในระยะเวลาที่เหลือในปีนี้ การจัดเก็บอาจต่ำกว่าเป้าหมายบ้าง โดยสาเหตุหลักมาจากการอ่อนแอของการลงทุนในภาคการก่อสร้างในประเทศ และการใช้จ่ายเป็นค่าสวัสดิการจากการว่างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปีนี้ ขณะเดียวกัน รมว.คลังคาดหวังว่า ปี 44 ธ. กลางยุโรป (ECB) จะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อและตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ(รอยเตอร์ 11)
3. เศรษฐกิจฝรั่งเศสในไตรมาสที่ 2 ปี 44 ขยายตัวต่ำสุดในรอบมากกว่า 2 ปี รายงานจากปารีสเมื่อ 11 ก.ย. 44 สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 2 ปี 44 ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 0.3 จากตัวเลขที่ปรับแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 44 นับว่าสอดคล้องกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่งนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 41 ที่จีดีพีขยายตัวร้อยละ 0.3 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ. กลางยุโรปไม่น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 ก.ย. นี้ แม้เศรษฐกิจของประเทศในเขตยูโรจะชะลอตัวลงก็ตาม(รอยเตอร์11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11 ก.ย. 44 44.734 (44.541)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11 ก.ย. 44ซื้อ 44.5013 (44.3314) ขาย 44.7915 (44.6174)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,700) ขาย 6,000 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.52 (25.60)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-