คำแถลงข่าว ในวันนี้ (8 พฤษภาคม 2543) นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะทำงานประสานและติดตามผลการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทยและตัวแทนเจ้าของสิทธิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ได้จัดทำข้อชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่
(1) สมาคม International Intellectual Property Alliance (IIPA) และสมาคม Pharmaceutical Research and Manufacturers of America (PhRMA) ได้ร้องเรียนต่อผู้แทนทางการค้าของสหรัฐ (USTR) ให้จัดประเทศไทยอยู่ในบัญชี Watch List (WL) ตามเดิม โดยอ้างว่า ประเทศไทยยังไม่ให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) สมาคม International Anti - counterfeiting Coalition (IACC) ได้ร้องเรียนต่อผู้แทนทางการค้าของสหรัฐ (USTR) ให้จัดประเทศไทยอยู่ในบัญชี Priority Watch List (PWL) โดยอ้างว่า ประเทศไทยยังมิได้ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเท่าที่ควร เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้ายังคงมีอยู่ โดยระบุอย่างชัดเจนถึงการดำเนินการของฝ่ายไทยอย่างครบวงจรในการบังคับใช้สิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การพัฒนากฎหมายและระบบทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาบุคลากร การเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่ประสบอยู่รวมทั้งแนวทางแก้ไข ซึ่งจะต้องพึ่งความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากเจ้าของสิทธิ
2. ได้มีการจัดตั้งกองทุนพิเศษเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญาขึ้น โดยในเบื้องต้นภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้รวมตัวกันจำนวน 13 ราย บริจาคเงินจำนวน 2,095,000 บาท เพื่อรวบรวมสมทบจัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นกองทุนของเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์สนับสนุนกระบวนการปราบปรามการละเมิด การพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาต่อสาธารณชน และภาคเอกชนตกลงกันที่จะเป็น ผู้บริหารเงินกองทุนดังกล่าวด้วยตนเอง โดยได้แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อทราบ และ ขอความร่วมมือภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือและให้คำชี้แนะในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้การป้องปรามการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยภาคเอกชนได้วางระเบียบกองทุนพิเศษดังกล่าวไว้แล้วและจะปรับเปลี่ยนการดำเนินการของกองทุนพิเศษฯ ให้เป็นไปในรูปของมูลนิธิต่อไป นอกจากนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจะหารือและดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนกองทุนพิเศษฯ ต่อไป สำหรับการดำเนินงานของกองทุนพิเศษฯ ได้จัดสรรเงินตามโครงการต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) โครงการสัมมนาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กรมทรัพย์สินทางปัญญาและศาลฎีกา เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
(2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ของสำนักงานอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
(3) โครงการการเช่าซื้อเครื่องมือในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. การยกร่างกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ขณะนี้มีความคืบหน้าเกินกว่าครึ่ง และใกล้จะแล้วเสร็จแล้ว
4. การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ กับ นักดนตรี และนักร้อง ซึ่งนำผลงานเพลงของผู้อื่นไปใช้ในการประกอบอาชีพในสถานบริการกล่าวคือ สิทธิในการเผยแพร่งานต่อ สาธารณชนได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาสอบถามภาคเอกชนเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดดำเนินการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในลักษณะดังกล่าว
5. การละเมิดลิขสิทธิ์ในจังหวัดราชบุรี ตามที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้เสียหายต่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการปราบปรามมาโดยตลอด โดยสถานการณ์ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และนายอำเภอโพธาราม ได้ร่วมประชุมกับผู้ประกอบการและราษฎรอำเภอโพธาราม จำนวน 200 คน ซึ่งได้ข้อยุติร่วมกันดังนี้
(1) ให้มีการเลิกผลิตสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทที่ร้องเรียนรวมทั้งให้เก็บสินค้าดังกล่าวออกจากหน้าร้าน
(2) ให้คงขายแต่เฉพาะสินค้าที่ไม่มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ต่อไป และให้กลุ่มนายทุนผู้ประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์
(3) จังหวัดราชบุรีไม่มีนโยบายส่งเสริมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และกลุ่มราษฎรมีความเห็นพ้องกันที่จะทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า/ผลิตภัณฑ์ต่อไป
6. ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดตั้งศูนย์ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
7. ขอให้กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 โดยยกเว้นสินค้าคอมพิวเตอร์ธุรกิจและซีดีเพลงที่ไม่มีภาพ หรือสินค้าอื่น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
--กรมส่งเสริมการส่งออก มีนาคม 2543--
1. ได้จัดทำข้อชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่
(1) สมาคม International Intellectual Property Alliance (IIPA) และสมาคม Pharmaceutical Research and Manufacturers of America (PhRMA) ได้ร้องเรียนต่อผู้แทนทางการค้าของสหรัฐ (USTR) ให้จัดประเทศไทยอยู่ในบัญชี Watch List (WL) ตามเดิม โดยอ้างว่า ประเทศไทยยังไม่ให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) สมาคม International Anti - counterfeiting Coalition (IACC) ได้ร้องเรียนต่อผู้แทนทางการค้าของสหรัฐ (USTR) ให้จัดประเทศไทยอยู่ในบัญชี Priority Watch List (PWL) โดยอ้างว่า ประเทศไทยยังมิได้ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเท่าที่ควร เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้ายังคงมีอยู่ โดยระบุอย่างชัดเจนถึงการดำเนินการของฝ่ายไทยอย่างครบวงจรในการบังคับใช้สิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การพัฒนากฎหมายและระบบทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาบุคลากร การเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่ประสบอยู่รวมทั้งแนวทางแก้ไข ซึ่งจะต้องพึ่งความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากเจ้าของสิทธิ
2. ได้มีการจัดตั้งกองทุนพิเศษเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญาขึ้น โดยในเบื้องต้นภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้รวมตัวกันจำนวน 13 ราย บริจาคเงินจำนวน 2,095,000 บาท เพื่อรวบรวมสมทบจัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นกองทุนของเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์สนับสนุนกระบวนการปราบปรามการละเมิด การพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาต่อสาธารณชน และภาคเอกชนตกลงกันที่จะเป็น ผู้บริหารเงินกองทุนดังกล่าวด้วยตนเอง โดยได้แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อทราบ และ ขอความร่วมมือภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือและให้คำชี้แนะในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้การป้องปรามการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยภาคเอกชนได้วางระเบียบกองทุนพิเศษดังกล่าวไว้แล้วและจะปรับเปลี่ยนการดำเนินการของกองทุนพิเศษฯ ให้เป็นไปในรูปของมูลนิธิต่อไป นอกจากนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจะหารือและดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนกองทุนพิเศษฯ ต่อไป สำหรับการดำเนินงานของกองทุนพิเศษฯ ได้จัดสรรเงินตามโครงการต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) โครงการสัมมนาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กรมทรัพย์สินทางปัญญาและศาลฎีกา เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
(2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ของสำนักงานอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
(3) โครงการการเช่าซื้อเครื่องมือในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. การยกร่างกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ขณะนี้มีความคืบหน้าเกินกว่าครึ่ง และใกล้จะแล้วเสร็จแล้ว
4. การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ กับ นักดนตรี และนักร้อง ซึ่งนำผลงานเพลงของผู้อื่นไปใช้ในการประกอบอาชีพในสถานบริการกล่าวคือ สิทธิในการเผยแพร่งานต่อ สาธารณชนได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาสอบถามภาคเอกชนเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดดำเนินการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในลักษณะดังกล่าว
5. การละเมิดลิขสิทธิ์ในจังหวัดราชบุรี ตามที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้เสียหายต่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการปราบปรามมาโดยตลอด โดยสถานการณ์ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และนายอำเภอโพธาราม ได้ร่วมประชุมกับผู้ประกอบการและราษฎรอำเภอโพธาราม จำนวน 200 คน ซึ่งได้ข้อยุติร่วมกันดังนี้
(1) ให้มีการเลิกผลิตสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทที่ร้องเรียนรวมทั้งให้เก็บสินค้าดังกล่าวออกจากหน้าร้าน
(2) ให้คงขายแต่เฉพาะสินค้าที่ไม่มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ต่อไป และให้กลุ่มนายทุนผู้ประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์
(3) จังหวัดราชบุรีไม่มีนโยบายส่งเสริมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และกลุ่มราษฎรมีความเห็นพ้องกันที่จะทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า/ผลิตภัณฑ์ต่อไป
6. ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดตั้งศูนย์ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
7. ขอให้กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 โดยยกเว้นสินค้าคอมพิวเตอร์ธุรกิจและซีดีเพลงที่ไม่มีภาพ หรือสินค้าอื่น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
--กรมส่งเสริมการส่งออก มีนาคม 2543--