ความต้องการใช้
1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,002 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 100.1 ล้านลิตร หรือ 629,344 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีความต้องการใช้มากที่สุดปริมาณ 1,191 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 ของความต้องการใช้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันเตา, น้ำมันเบนซิน, ก๊าซแอลพีจีและเจพี 1 มีความต้องการใช้ 684, 553, 296 และ 257 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 22.8, 18.4, 9.9 และ 8.6 ตามลำดับ
เปรียบเทียบความต้องการใช้โดยรวม
- ลดลงจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาวันละ 2.6 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5.7
- เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. ปีก่อนวันละ 1.4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.4
ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนกันยายน 2542 ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ เอสโซ่, เชลล์, บางจาก และคาลเท็กซ์ ตามลำดับ ด้วยยอดจำหน่ายดังนี้
ปตท. วันละ 37.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 37.7
เอสโซ่ วันละ 12.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.9
เชลล์ วันละ 12.2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.3
บางจาก วันละ 7.0 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.0
คาลเท็กซ์ วันละ 7.0 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.0
และเป็นของผู้ค้ารายอื่น ๆ รวมกัน วันละ 23.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 23.2
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป, น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 540 ล้านลิตร โดยจำแนกเป็น
- น้ำมันสำเร็จรูป 456 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 15.2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 84.4 ของน้ำมันที่ส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่ส่งออกไปแถบภูมิภาคเอเซีย ยกเว้นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว, น้ำมันเตา และแอลพีจี ซึ่งมีบางส่วนส่งไปยังซาอุดิอารเบีย และเบอร์มิวด้า เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ส.ค. ที่ผ่านมามีปริมาณลดลงวันละ 2.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 15.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ปีก่อนวันละ 0.4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.5
- น้ำมันองค์ประกอบ 54 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และญี่ปุ่น และเวนูซูเอล่า
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) 30 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,178 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 105.9 ล้านลิตร หรือ 666,330 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดร้อยละ 36.6 รองลงมาคือ น้ำมันเตาร้อยละ 20.6 น้ำมันเบนซินร้อยละ 19.3 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 12.2 และเจพี 1 ร้อยละ 9.7 ส่วนน้ำมันชนิดอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 1.6
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 2,953 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 98.4 ล้านลิตร หรือ 619,081 บาร์เรล/วัน ลดลงจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา วันละ 9.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.8 เนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์ (หน่วยที่ 3) หยุดซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปีระหว่างวันที่ 3 ก.ย. - 4 ต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 4.1
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 112 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3.7 พันเมตริกตัน หรือ 43,339 บาร์เรล/วัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย และช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 10 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 0.3 พันเมตริกตัน หรือ 3,909 บาร์เรล/วัน
2. การนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้นปริมาณ 4,134 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 137.8 ล้านลิตร หรือ 866,725 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 21,924 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันเบนซิน และแนฟธ่า ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ มูลค่ารวม 448 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,904 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 130.1 ล้านลิตร หรือ 818,524 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 20,652 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 3,254 20.59 83.3
ตะวันออกไกล 475 22.97 12.2
อื่น ๆ 175 23.69 4.5
รวม 3,904 21.02 100.0
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ส.ค. ที่ผ่านมา วันละ 18.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 12.6 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4,710 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.5 มีสาเหตุมาจาก 2 ประการ
- ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจากเดือนก่อน เฉลี่ย 1.9 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 1.8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ปีก่อนวันละ 30.2 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30.2 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 10,909 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 112.0
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 229 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 7.7 ล้านลิตร หรือ 48,201 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 1,272 ล้านบาท โดยน้ำมันเตามีการนำเข้าสูงสุด ร้อยละ 56.8 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 41.9 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 1.3
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาวันละ 0.4 ล้านลิตรคิดเป็นร้อยละ 2.6 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 205 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.3
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ปีก่อนวันละ 4.7 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 154.7 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 906 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 247.2
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กันยายน 2542
น้ำมันสำเร็จรูป
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 27,929 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.3 ล้านลิตร หรือ 643,477 บาร์เรล/วัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88.4 ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 0.4 ล้านลิตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.4
1.2 การส่งออก มีปริมาณ 5,023 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 18.4 ล้านลิตร หรือ 115,718 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 2.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 15.8
2. การจัดหา
การจัดหาปริมาณรวมทั้งสิ้น 33,136 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121.4 ล้านลิตร หรือ 763,464 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5
2.1 การผลิตภายในประเทศ มีปริมาณรวม 31,606 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.8 ล้านลิตร หรือ 728,204 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 2.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.2
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,530 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.6 ล้านลิตร หรือ 35,259 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 37.5
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวม 30,844 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.0 ล้านลิตร หรือ 710,646 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 112,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 0.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 0.7 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,043 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,002 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 100.1 ล้านลิตร หรือ 629,344 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีความต้องการใช้มากที่สุดปริมาณ 1,191 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 ของความต้องการใช้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันเตา, น้ำมันเบนซิน, ก๊าซแอลพีจีและเจพี 1 มีความต้องการใช้ 684, 553, 296 และ 257 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 22.8, 18.4, 9.9 และ 8.6 ตามลำดับ
เปรียบเทียบความต้องการใช้โดยรวม
- ลดลงจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาวันละ 2.6 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5.7
- เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. ปีก่อนวันละ 1.4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.4
ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนกันยายน 2542 ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ เอสโซ่, เชลล์, บางจาก และคาลเท็กซ์ ตามลำดับ ด้วยยอดจำหน่ายดังนี้
ปตท. วันละ 37.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 37.7
เอสโซ่ วันละ 12.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.9
เชลล์ วันละ 12.2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.3
บางจาก วันละ 7.0 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.0
คาลเท็กซ์ วันละ 7.0 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.0
และเป็นของผู้ค้ารายอื่น ๆ รวมกัน วันละ 23.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 23.2
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป, น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 540 ล้านลิตร โดยจำแนกเป็น
- น้ำมันสำเร็จรูป 456 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 15.2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 84.4 ของน้ำมันที่ส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่ส่งออกไปแถบภูมิภาคเอเซีย ยกเว้นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว, น้ำมันเตา และแอลพีจี ซึ่งมีบางส่วนส่งไปยังซาอุดิอารเบีย และเบอร์มิวด้า เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ส.ค. ที่ผ่านมามีปริมาณลดลงวันละ 2.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 15.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ปีก่อนวันละ 0.4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.5
- น้ำมันองค์ประกอบ 54 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และญี่ปุ่น และเวนูซูเอล่า
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) 30 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,178 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 105.9 ล้านลิตร หรือ 666,330 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดร้อยละ 36.6 รองลงมาคือ น้ำมันเตาร้อยละ 20.6 น้ำมันเบนซินร้อยละ 19.3 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 12.2 และเจพี 1 ร้อยละ 9.7 ส่วนน้ำมันชนิดอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 1.6
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 2,953 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 98.4 ล้านลิตร หรือ 619,081 บาร์เรล/วัน ลดลงจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา วันละ 9.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.8 เนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์ (หน่วยที่ 3) หยุดซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปีระหว่างวันที่ 3 ก.ย. - 4 ต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 4.1
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 112 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3.7 พันเมตริกตัน หรือ 43,339 บาร์เรล/วัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย และช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 10 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 0.3 พันเมตริกตัน หรือ 3,909 บาร์เรล/วัน
2. การนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้นปริมาณ 4,134 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 137.8 ล้านลิตร หรือ 866,725 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 21,924 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันเบนซิน และแนฟธ่า ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ มูลค่ารวม 448 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,904 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 130.1 ล้านลิตร หรือ 818,524 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 20,652 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 3,254 20.59 83.3
ตะวันออกไกล 475 22.97 12.2
อื่น ๆ 175 23.69 4.5
รวม 3,904 21.02 100.0
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ส.ค. ที่ผ่านมา วันละ 18.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 12.6 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4,710 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.5 มีสาเหตุมาจาก 2 ประการ
- ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจากเดือนก่อน เฉลี่ย 1.9 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 1.8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ปีก่อนวันละ 30.2 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30.2 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 10,909 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 112.0
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 229 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 7.7 ล้านลิตร หรือ 48,201 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 1,272 ล้านบาท โดยน้ำมันเตามีการนำเข้าสูงสุด ร้อยละ 56.8 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 41.9 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 1.3
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาวันละ 0.4 ล้านลิตรคิดเป็นร้อยละ 2.6 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 205 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.3
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ปีก่อนวันละ 4.7 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 154.7 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 906 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 247.2
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กันยายน 2542
น้ำมันสำเร็จรูป
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 27,929 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.3 ล้านลิตร หรือ 643,477 บาร์เรล/วัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88.4 ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 0.4 ล้านลิตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.4
1.2 การส่งออก มีปริมาณ 5,023 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 18.4 ล้านลิตร หรือ 115,718 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 2.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 15.8
2. การจัดหา
การจัดหาปริมาณรวมทั้งสิ้น 33,136 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121.4 ล้านลิตร หรือ 763,464 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5
2.1 การผลิตภายในประเทศ มีปริมาณรวม 31,606 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.8 ล้านลิตร หรือ 728,204 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 2.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.2
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,530 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.6 ล้านลิตร หรือ 35,259 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 37.5
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวม 30,844 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.0 ล้านลิตร หรือ 710,646 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 112,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 0.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 0.7 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,043 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--