บทสรุปนักลงทุน
แกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก เช่น กระป๋อง/พลาสติกลามิเนต (Retort pouch) 1/ จัดเป็นอีก
ธุรกิจที่มีแนวโน้มดี โดยส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภค
ในประเทศสามารถซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคหรืออาหารพร้อมปรุงได้ค่อนข้างสะดวก และยังยึดติดกับ
การบริโภคอาหารที่สดและใหม่เสมอ แต่ในระยะหลังแนวโน้มการบริโภคแกงกระทิสำเร็จรูปเริ่มขยายตัว
เพิ่มขึ้น ในขณะที่ต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ยุโรป
และญี่ปุ่น ดังนั้น ตลาดในประเทศจึงมีขนาดเล็กกว่าตลาดส่งออก ขณะที่ภาวะการแข่งขันในธุรกิจนี้ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศยังไม่ค่อยรุนแรงมากนัก
ผู้ผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก ในประเทศ ณ สิ้นปี 2541 มีทั้งหมด 39 ราย โดย
ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะจำหน่ายสินค้าในตลาดในประเทศโดยผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โดยเฉพาะในแหล่งที่
นักท่องเที่ยวต่างชาติพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในด้านการส่งออกนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะจำหน่ายผ่าน
ผู้นำเข้าในต่างประเทศ เนื่องจากมีความสามารถในการเข้าถึงตลาดและกระจายสินค้าได้ดีกว่า
ในด้านการผลิตนั้นถือเป็นข้อได้เปรียบของการดำเนินธุรกิจนี้ เนื่องจากสามารถจัดหาวัตถุดิบได้จาก
ภายในประเทศ และมีอย่างเพียงพอ รวมทั้งมีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ค่อยยุ่งยากซับซ้อนมากนักยกเว้นโรงงาน
ที่ผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก จะต้องนำเข้าถุงพลาสติกจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องลงทุนค่าเครื่องจักร และ
ต้องจ้างแรงงานเป็นจำนวนมาก และควรจะมีทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพราะมี
สาธารณูปโภคครบครันและการคมนาคมขนส่งสะดวก
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
แกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก เป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าด้วย
การนำตัวสินค้า "แกงกะทิสำเร็จรูป" มาใส่ในบรรจุภัณฑ์ และผ่านกระบวนการถนอมอาหารช่วยยืดอายุการ
จำหน่ายได้นานขึ้น แกงกะทิที่เป็นที่นิยมในตลาดได้แก่ แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แกงมัสมั่น และต้มข่าไก่
เป็นต้น ซึ่งจะมีทั้งแบบที่มีเนื้อสัตว์ และไม่มีเนื้อสัตว์ โดยแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก (Retort
Pouch) จะมีราคาสูงกว่าแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เนื่องจากมีต้นทุนในด้านบรรจุภัณฑ์สูงกว่า
1/ แกงสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง จัดอยู่ในอาหารสำเร็จรูปประเภทฆ่าเชื้อปิดสนิท โดยบรรจุกระป๋องหรือถุงพลาสติกลามิเนต (Retort
Pouch) สามารถเก็บไว้ได้นาน
ในปัจจุบันนี้ธุรกิจแกงสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัว
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการจากร้านอาหารไทย และโรงแรม ในต่างประเทศทั่วโลก ที่สำคัญได้แก่
ญี่ปุ่น ตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เป็นต้น เนื่องจากอาหารไทยเป็นที่รู้จักและนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
กอปรกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวต่างประเทศที่นิยมซื้อสินค้าที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้การ
ส่งออกแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าส่งออกแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุ
กระป๋องมีสัดส่วนโดยประมาณคิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดรวม และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตต้องเผชิญกับคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ที่สำคัญได้แก่ จีน และอินโดนีเซีย นอกจากนี้แล้ว
ยังต้องแข่งขันกับสินค้า Ready to Eat ชนิดอื่นอีกด้วย ได้แก่ อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องอื่น และอาหารแช่แข็ง
ขณะที่ตลาดในประเทศแม้จะมีขนาดเล็กกว่าประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาดรวม เนื่องจาก
ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีค่านิยมในการรับประทานอาหารที่ต้องสดและใหม่เสมอ รวมทั้งสามารถหาซื้อแกงกะทิ
สำเร็จรูปในรูปแบบอื่นได้ถูกและง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศก็มีแนวโน้มขยายตัวดี ผู้บริโภค
เริ่มยอมรับสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูง ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว และคนโสด
รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านการปรุงอาหารรับประทาน
ตลาดแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก ในปี 2541 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาก
โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศตามความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมาก ขณะที่
ตลาดในประเทศขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา สำหรับแนวโน้มในปี 2542-2543 คาด
ว่าตลาดต่างประเทศจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนอีกเล็กน้อย ตามสภาวะเศรษฐกิจของตลาดต่าง
ประเทศที่ชะลอลงโดยเฉพาะทางแถบเอเซีย ขณะที่ความต้องการในประเทศในช่วงปี 2542-2543 น่าจะปรับ
ตัวดีขึ้น ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และอำนาจซื้อของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ในการศึกษานี้จำแนกประเภทโรงงานผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปตามชนิดบรรจุภัณฑ์ได้แก่ แกงกะทิ
สำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง และแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะนิยมผลิต
แบบบรรจุกระป๋องมากกว่า เนื่องจากมีต้นทุนค่าเครื่องจักรต่ำกว่า โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ผลิต
แกงกะทิสำเร็จรูปในธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มสายการผลิตของผู้ผลิตอาหารกระป๋อง เพื่อ
ให้การผลิตเกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ได้มากที่สุด และเป็นการเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่าย
มากขึ้น โดยรวมแล้วผู้ผลิตในธุรกิจนี้ ณ สิ้นปี 2541 มีทั้งสิ้น 39 ราย และส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดกลาง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
1. บริษัท พัทยาฟู้ดส์ อินดัสตรี จำกัด
2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกรุงเทพฯ จำกัด
3. บริษัท โรงงานมาลีบางกอก จำกัด
4. บริษัท อ.ส.ร. จำกัด
5. บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด
6. บริษัท ไทยรวมสินอุตสาหกรรม จำกัด
7. บริษัท ไทยคิวพี จำกัด
8. บริษัท มาร์เก็ตติ้ง เอ็กเซลเลนซ์ จำกัด
9. บริษัท ไทยอกริฟู้ด (มหาชน) จำกัด
10. บริษัท ดูฟู้ด จำกัด
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ช่องทางการจำหน่าย
1.!ตลาดในประเทศ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะกระจายสินค้าผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป รวมถึงในแหล่ง
ที่ชาวต่างชาติพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
2.!ตลาดต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 ช่องทาง
-! ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้า (Final Users) ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย
-! ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าผ่านผู้ส่งออกในประเทศ จัดได้ว่ามีสัดส่วนไม่มากนัก
-! ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าผ่านผู้นำเข้าในต่างประเทศ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่องทางหลัก
เนื่องจากผู้นำเข้าจะเข้าถึงตลาดและกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคภายในประเทศนั้นได้มากกว่า
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
การผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องและถุงพลาสติก เป็นการผลิตที่พึ่งพาวัตถุดิบในประเทศเกือบ
ทั้งหมด เนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศเป็นจำนวนมาก และราคาเหมาะสม ทำให้โรงงานสามารถจัดหาวัตถุดิบ
มาสนับสนุนการผลิตได้อย่างเต็มที่ โดยวัตถุดิบหลักประกอบด้วย
- เนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อไก่ หมู และปลา เป็นต้น (บางโรงงานก็ผลิตแบบไม่ใส่เนื้อสัตว์ เพื่อไม่ให้
เกิดข้อจำกัดในการทำตลาด โดยผู้บริโภคสามารถใส่เนื้อสัตว์ที่ชอบลงไปได้)
- ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เครื่องแกง เครื่องปรุงรส และผัก เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระป๋อง และถุงพลาสติก
ในกรณีโรงงานที่ผลิตแกงกะทิบรรจุกระป๋อง วัตถุดิบทั้งหมดจะเป็นผลผลิตภายในประเทศ ขณะที่
โรงงานที่ผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก จะต้องนำเข้าถุงพลาสติกจากต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่ง
ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูง ทำให้มีต้นทุนสูงกว่าการผลิตแบบบรรจุกระป๋อง โดยต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้า
จากต่างประเทศมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 40 ของต้นทุนวัตถุดิบ และวัตถุดิบในประเทศมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 60
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 80
- วัตถุดิบในประเทศ 48
- วัตถุดิบนำเข้า 32
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าเสื่อมราคาและอื่น ๆ 10
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
!ตัดแต่งและเตรียมวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่
เนื้อสัตว์ กะทิ และผักต่าง ๆ
|
V
!บดและผสมเครื่องปรุง เช่น
พริก และเครื่องแกง
|
V
ผสมเครื่องปรุงและวัตถุดิบ
เข้าด้วยกัน และปรุงรส
|
V
บรรจุ และ ปิดผนึก
|
V
ฆ่าเชื้อ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตประกอบด้วย
1.!เครื่องบรรจุ ใช้ในขั้นตอนการบรรจุและปิดผนึก
2.!เครื่องฆ่าเชื้อ สำหรับ Retort Pouch ใช้ในขั้นตอนการฆ่าเชื้อ
3.!เครื่องกำเนิดไอน้ำ
4.!เครื่อง Kettle ใช้ในขั้นตอนการผสมและปรุง
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องนั้นควรตั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เนื่องจากใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ มีสาธารณูโภคต่าง ๆครบครัน และการคมนาคมขนส่งสะดวก เอื้อต่อการ
ดำเนินธุรกิจให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
กรณีการลงทุนผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก ขนาดกำลังการผลิต 2,000,000 หน่วยต่อปี
โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 45,000,000 บาท
- ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 31,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 9,700,000 บาท
- ค่ายานพาหนะ (รถบรรทุกและรถปิคอัพ) และอื่น ๆ 4,300,000 บาท
2.!เงินทุนหมุนเวียน 5,000,000 บาท/ปี
บุคลากร โรงงานแกงสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติกจะใช้บุคลากรประมาณ 150 คน ประกอบด้วย
1.! พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1!แรงงานทั่วไป 135 คน
1.2!ช่าง จำนวน 3 คน
1.3!วิศวกร จำนวน 1 คน
1.4!ผู้จัดการ/หัวหน้าโรงงาน จำนวน 2 คน
2.! พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร
2.1!บัญชี จำนวน 2 คน
2.2!ตลาด จำนวน 5 คน
2.3!ผู้จัดการฝ่ายบริหาร จำนวน 1 คน
2.4!ผู้จัดการฝ่ายผลิต จำนวน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 6,120,000 บาทต่อปี
- เนื้อสัตว์ 1,530,000 บาทต่อปี
- ส่วนประกอบ 2,142,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 2,448,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 720,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 324,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 360,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 50,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 100,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 20,000 บาทต่อปี
4.2!ค่าขนส่ง
- ค่ายานพาหนะ 20,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 15,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 2,000,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 30 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 325,821 ถุง ราคาเฉลี่ย 38 บาท/ถุง คิดเป็นรายได้ 12.38 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
ตารางที่ 1: ราคาจำหน่ายปลีกในประเทศ ณ เดือน พฤศจิกายน 2542
ประเภทเนื้อสัตว์ ราคา (บาท)
บรรจุกระป๋อง
- ทูน่า (ขนาด 185 กรัม) 23.50-29.50
- ไก่ หมู (ขนาด 175 กรัม) 19.75-21.75
บรรจุถุงพลาสติก (Retort Pouch)
- ไก่ หมู (ขนาด 200 กรัม) 38.00
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 2: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
Sunny (เครื่องบรรจุ) ญี่ปุ่น
Hisaka (เครื่องฆ่าเชื้อ Retort Pouch) ญี่ปุ่น
Getabac (เครื่องกำเนิดไอน้ำ) ไทย
Getabac (เครื่อง Kettle) ไทย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.ด้านการส่งออก ในการส่งออกแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก (Retort Pouch) เป็น
ไปตามขั้นตอนการส่งออกสินค้าทั่วโป
2.ด้านภาษี ได้แก่ การนำเข้าถุงพลาสติก (Retort Pouch) ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ค่อนข้างสูงมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาจำหน่ายของแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงมีราคาสูงกว่าแกงกะทิสำเร็จรูป
บรรจุกระป๋อง (ในปริมาณใกล้เคียงกัน) ค่อนข้างมาก
3.การขออนุญาตตั้งโรงงาน การขออนุญาตตั้งโรงงานแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก
(Retort Pouch) เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงาน
และการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4.การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
กรณีจำหน่ายในประเทศ: สินค้าที่จำหน่ายในประเทศต้องได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานจาก
คณะกรรมอาหารและยา (อย.) ถ้าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
กรณีส่งออก: การส่งออกแกงสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก (Retort Pouch) ผู้ผลิตควรต้อง
ขอใบรับรองคุณภาพมาตรฐานต่าง ๆ ตามที่ประเทศลูกค้าต้องการดังนี้
- ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000
- HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) คือระบบจัดการคุณภาพด้านความ
ปลอดภัย ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการด้านการผลิตให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์
สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ถือเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สร้างความมั่นใจในอุตสาหกรรมอาหาร และ
ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำตลาดในต่างประเทศได้ง่าย
และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน สหรัฐฯ และยุโรป หน่วยงานที่ให้การรับรอง คือ สำนักงาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะมีการติดตาม
ประเมินผลทุกปี
- HEALTH CERTIFICATE (ใบรับรองสุขภาพสัตว์) : ก่อนการส่งออกทุกครั้งโรงงานต้องนำ
สินค้าส่งไปตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์ก่อน ถ้าเป็นแกงกะทิที่ใช้วัตถุดิบประเภทอาหารทะเล
ต้องส่งสินค้าไปตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์ที่กรมประมง และถ้าเป็นแกงกะทิที่ใช้วัตถุดิบ
ประเภทเนื้อไก่ หมู และเนื้อเป็นต้น ต้องสินค้าไปตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์ที่กรมปศุสัตว์
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
แกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก เช่น กระป๋อง/พลาสติกลามิเนต (Retort pouch) 1/ จัดเป็นอีก
ธุรกิจที่มีแนวโน้มดี โดยส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภค
ในประเทศสามารถซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคหรืออาหารพร้อมปรุงได้ค่อนข้างสะดวก และยังยึดติดกับ
การบริโภคอาหารที่สดและใหม่เสมอ แต่ในระยะหลังแนวโน้มการบริโภคแกงกระทิสำเร็จรูปเริ่มขยายตัว
เพิ่มขึ้น ในขณะที่ต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ยุโรป
และญี่ปุ่น ดังนั้น ตลาดในประเทศจึงมีขนาดเล็กกว่าตลาดส่งออก ขณะที่ภาวะการแข่งขันในธุรกิจนี้ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศยังไม่ค่อยรุนแรงมากนัก
ผู้ผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก ในประเทศ ณ สิ้นปี 2541 มีทั้งหมด 39 ราย โดย
ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะจำหน่ายสินค้าในตลาดในประเทศโดยผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โดยเฉพาะในแหล่งที่
นักท่องเที่ยวต่างชาติพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในด้านการส่งออกนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะจำหน่ายผ่าน
ผู้นำเข้าในต่างประเทศ เนื่องจากมีความสามารถในการเข้าถึงตลาดและกระจายสินค้าได้ดีกว่า
ในด้านการผลิตนั้นถือเป็นข้อได้เปรียบของการดำเนินธุรกิจนี้ เนื่องจากสามารถจัดหาวัตถุดิบได้จาก
ภายในประเทศ และมีอย่างเพียงพอ รวมทั้งมีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ค่อยยุ่งยากซับซ้อนมากนักยกเว้นโรงงาน
ที่ผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก จะต้องนำเข้าถุงพลาสติกจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องลงทุนค่าเครื่องจักร และ
ต้องจ้างแรงงานเป็นจำนวนมาก และควรจะมีทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพราะมี
สาธารณูปโภคครบครันและการคมนาคมขนส่งสะดวก
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
แกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก เป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าด้วย
การนำตัวสินค้า "แกงกะทิสำเร็จรูป" มาใส่ในบรรจุภัณฑ์ และผ่านกระบวนการถนอมอาหารช่วยยืดอายุการ
จำหน่ายได้นานขึ้น แกงกะทิที่เป็นที่นิยมในตลาดได้แก่ แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แกงมัสมั่น และต้มข่าไก่
เป็นต้น ซึ่งจะมีทั้งแบบที่มีเนื้อสัตว์ และไม่มีเนื้อสัตว์ โดยแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก (Retort
Pouch) จะมีราคาสูงกว่าแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เนื่องจากมีต้นทุนในด้านบรรจุภัณฑ์สูงกว่า
1/ แกงสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง จัดอยู่ในอาหารสำเร็จรูปประเภทฆ่าเชื้อปิดสนิท โดยบรรจุกระป๋องหรือถุงพลาสติกลามิเนต (Retort
Pouch) สามารถเก็บไว้ได้นาน
ในปัจจุบันนี้ธุรกิจแกงสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัว
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการจากร้านอาหารไทย และโรงแรม ในต่างประเทศทั่วโลก ที่สำคัญได้แก่
ญี่ปุ่น ตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เป็นต้น เนื่องจากอาหารไทยเป็นที่รู้จักและนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
กอปรกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวต่างประเทศที่นิยมซื้อสินค้าที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้การ
ส่งออกแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าส่งออกแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุ
กระป๋องมีสัดส่วนโดยประมาณคิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดรวม และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตต้องเผชิญกับคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ที่สำคัญได้แก่ จีน และอินโดนีเซีย นอกจากนี้แล้ว
ยังต้องแข่งขันกับสินค้า Ready to Eat ชนิดอื่นอีกด้วย ได้แก่ อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องอื่น และอาหารแช่แข็ง
ขณะที่ตลาดในประเทศแม้จะมีขนาดเล็กกว่าประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาดรวม เนื่องจาก
ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีค่านิยมในการรับประทานอาหารที่ต้องสดและใหม่เสมอ รวมทั้งสามารถหาซื้อแกงกะทิ
สำเร็จรูปในรูปแบบอื่นได้ถูกและง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศก็มีแนวโน้มขยายตัวดี ผู้บริโภค
เริ่มยอมรับสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูง ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว และคนโสด
รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านการปรุงอาหารรับประทาน
ตลาดแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก ในปี 2541 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาก
โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศตามความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมาก ขณะที่
ตลาดในประเทศขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา สำหรับแนวโน้มในปี 2542-2543 คาด
ว่าตลาดต่างประเทศจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนอีกเล็กน้อย ตามสภาวะเศรษฐกิจของตลาดต่าง
ประเทศที่ชะลอลงโดยเฉพาะทางแถบเอเซีย ขณะที่ความต้องการในประเทศในช่วงปี 2542-2543 น่าจะปรับ
ตัวดีขึ้น ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และอำนาจซื้อของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ในการศึกษานี้จำแนกประเภทโรงงานผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปตามชนิดบรรจุภัณฑ์ได้แก่ แกงกะทิ
สำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง และแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะนิยมผลิต
แบบบรรจุกระป๋องมากกว่า เนื่องจากมีต้นทุนค่าเครื่องจักรต่ำกว่า โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ผลิต
แกงกะทิสำเร็จรูปในธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มสายการผลิตของผู้ผลิตอาหารกระป๋อง เพื่อ
ให้การผลิตเกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ได้มากที่สุด และเป็นการเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่าย
มากขึ้น โดยรวมแล้วผู้ผลิตในธุรกิจนี้ ณ สิ้นปี 2541 มีทั้งสิ้น 39 ราย และส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดกลาง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
1. บริษัท พัทยาฟู้ดส์ อินดัสตรี จำกัด
2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกรุงเทพฯ จำกัด
3. บริษัท โรงงานมาลีบางกอก จำกัด
4. บริษัท อ.ส.ร. จำกัด
5. บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด
6. บริษัท ไทยรวมสินอุตสาหกรรม จำกัด
7. บริษัท ไทยคิวพี จำกัด
8. บริษัท มาร์เก็ตติ้ง เอ็กเซลเลนซ์ จำกัด
9. บริษัท ไทยอกริฟู้ด (มหาชน) จำกัด
10. บริษัท ดูฟู้ด จำกัด
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ช่องทางการจำหน่าย
1.!ตลาดในประเทศ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะกระจายสินค้าผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป รวมถึงในแหล่ง
ที่ชาวต่างชาติพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
2.!ตลาดต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 ช่องทาง
-! ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้า (Final Users) ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย
-! ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าผ่านผู้ส่งออกในประเทศ จัดได้ว่ามีสัดส่วนไม่มากนัก
-! ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าผ่านผู้นำเข้าในต่างประเทศ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่องทางหลัก
เนื่องจากผู้นำเข้าจะเข้าถึงตลาดและกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคภายในประเทศนั้นได้มากกว่า
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
การผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องและถุงพลาสติก เป็นการผลิตที่พึ่งพาวัตถุดิบในประเทศเกือบ
ทั้งหมด เนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศเป็นจำนวนมาก และราคาเหมาะสม ทำให้โรงงานสามารถจัดหาวัตถุดิบ
มาสนับสนุนการผลิตได้อย่างเต็มที่ โดยวัตถุดิบหลักประกอบด้วย
- เนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อไก่ หมู และปลา เป็นต้น (บางโรงงานก็ผลิตแบบไม่ใส่เนื้อสัตว์ เพื่อไม่ให้
เกิดข้อจำกัดในการทำตลาด โดยผู้บริโภคสามารถใส่เนื้อสัตว์ที่ชอบลงไปได้)
- ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เครื่องแกง เครื่องปรุงรส และผัก เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระป๋อง และถุงพลาสติก
ในกรณีโรงงานที่ผลิตแกงกะทิบรรจุกระป๋อง วัตถุดิบทั้งหมดจะเป็นผลผลิตภายในประเทศ ขณะที่
โรงงานที่ผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก จะต้องนำเข้าถุงพลาสติกจากต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่ง
ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูง ทำให้มีต้นทุนสูงกว่าการผลิตแบบบรรจุกระป๋อง โดยต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้า
จากต่างประเทศมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 40 ของต้นทุนวัตถุดิบ และวัตถุดิบในประเทศมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 60
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 80
- วัตถุดิบในประเทศ 48
- วัตถุดิบนำเข้า 32
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าเสื่อมราคาและอื่น ๆ 10
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
!ตัดแต่งและเตรียมวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่
เนื้อสัตว์ กะทิ และผักต่าง ๆ
|
V
!บดและผสมเครื่องปรุง เช่น
พริก และเครื่องแกง
|
V
ผสมเครื่องปรุงและวัตถุดิบ
เข้าด้วยกัน และปรุงรส
|
V
บรรจุ และ ปิดผนึก
|
V
ฆ่าเชื้อ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตประกอบด้วย
1.!เครื่องบรรจุ ใช้ในขั้นตอนการบรรจุและปิดผนึก
2.!เครื่องฆ่าเชื้อ สำหรับ Retort Pouch ใช้ในขั้นตอนการฆ่าเชื้อ
3.!เครื่องกำเนิดไอน้ำ
4.!เครื่อง Kettle ใช้ในขั้นตอนการผสมและปรุง
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องนั้นควรตั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เนื่องจากใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ มีสาธารณูโภคต่าง ๆครบครัน และการคมนาคมขนส่งสะดวก เอื้อต่อการ
ดำเนินธุรกิจให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
กรณีการลงทุนผลิตแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก ขนาดกำลังการผลิต 2,000,000 หน่วยต่อปี
โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 45,000,000 บาท
- ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 31,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 9,700,000 บาท
- ค่ายานพาหนะ (รถบรรทุกและรถปิคอัพ) และอื่น ๆ 4,300,000 บาท
2.!เงินทุนหมุนเวียน 5,000,000 บาท/ปี
บุคลากร โรงงานแกงสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติกจะใช้บุคลากรประมาณ 150 คน ประกอบด้วย
1.! พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1!แรงงานทั่วไป 135 คน
1.2!ช่าง จำนวน 3 คน
1.3!วิศวกร จำนวน 1 คน
1.4!ผู้จัดการ/หัวหน้าโรงงาน จำนวน 2 คน
2.! พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร
2.1!บัญชี จำนวน 2 คน
2.2!ตลาด จำนวน 5 คน
2.3!ผู้จัดการฝ่ายบริหาร จำนวน 1 คน
2.4!ผู้จัดการฝ่ายผลิต จำนวน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 6,120,000 บาทต่อปี
- เนื้อสัตว์ 1,530,000 บาทต่อปี
- ส่วนประกอบ 2,142,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 2,448,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 720,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 324,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 360,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 50,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 100,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 20,000 บาทต่อปี
4.2!ค่าขนส่ง
- ค่ายานพาหนะ 20,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 15,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 2,000,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 30 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 325,821 ถุง ราคาเฉลี่ย 38 บาท/ถุง คิดเป็นรายได้ 12.38 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
ตารางที่ 1: ราคาจำหน่ายปลีกในประเทศ ณ เดือน พฤศจิกายน 2542
ประเภทเนื้อสัตว์ ราคา (บาท)
บรรจุกระป๋อง
- ทูน่า (ขนาด 185 กรัม) 23.50-29.50
- ไก่ หมู (ขนาด 175 กรัม) 19.75-21.75
บรรจุถุงพลาสติก (Retort Pouch)
- ไก่ หมู (ขนาด 200 กรัม) 38.00
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 2: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
Sunny (เครื่องบรรจุ) ญี่ปุ่น
Hisaka (เครื่องฆ่าเชื้อ Retort Pouch) ญี่ปุ่น
Getabac (เครื่องกำเนิดไอน้ำ) ไทย
Getabac (เครื่อง Kettle) ไทย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.ด้านการส่งออก ในการส่งออกแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก (Retort Pouch) เป็น
ไปตามขั้นตอนการส่งออกสินค้าทั่วโป
2.ด้านภาษี ได้แก่ การนำเข้าถุงพลาสติก (Retort Pouch) ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ค่อนข้างสูงมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาจำหน่ายของแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุถุงมีราคาสูงกว่าแกงกะทิสำเร็จรูป
บรรจุกระป๋อง (ในปริมาณใกล้เคียงกัน) ค่อนข้างมาก
3.การขออนุญาตตั้งโรงงาน การขออนุญาตตั้งโรงงานแกงกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก
(Retort Pouch) เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงาน
และการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4.การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
กรณีจำหน่ายในประเทศ: สินค้าที่จำหน่ายในประเทศต้องได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานจาก
คณะกรรมอาหารและยา (อย.) ถ้าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
กรณีส่งออก: การส่งออกแกงสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง/ถุงพลาสติก (Retort Pouch) ผู้ผลิตควรต้อง
ขอใบรับรองคุณภาพมาตรฐานต่าง ๆ ตามที่ประเทศลูกค้าต้องการดังนี้
- ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000
- HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) คือระบบจัดการคุณภาพด้านความ
ปลอดภัย ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการด้านการผลิตให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์
สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ถือเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สร้างความมั่นใจในอุตสาหกรรมอาหาร และ
ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำตลาดในต่างประเทศได้ง่าย
และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน สหรัฐฯ และยุโรป หน่วยงานที่ให้การรับรอง คือ สำนักงาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะมีการติดตาม
ประเมินผลทุกปี
- HEALTH CERTIFICATE (ใบรับรองสุขภาพสัตว์) : ก่อนการส่งออกทุกครั้งโรงงานต้องนำ
สินค้าส่งไปตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์ก่อน ถ้าเป็นแกงกะทิที่ใช้วัตถุดิบประเภทอาหารทะเล
ต้องส่งสินค้าไปตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์ที่กรมประมง และถ้าเป็นแกงกะทิที่ใช้วัตถุดิบ
ประเภทเนื้อไก่ หมู และเนื้อเป็นต้น ต้องสินค้าไปตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองสุขภาพสัตว์ที่กรมปศุสัตว์
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--