ตามที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยนำโดยประธานกรรมการสภาหอการค้าฯ (นายวิเชียร เตชะไพบูลย์) ได้จัดคณะผู้แทนทางการค้าไปเยือนประเทศในทวีปแอฟริกา คือ สาธารณรัฐมอริเชียส, สาธารณรัฐโมซัมบิก, สาธารณรัฐมาดากัสการ์, สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ในวันที่ 14 - 22 มีนาคม 2544 ซึ่งประเทศต่าง ๆ มีความสนใจ และมีลู่ทางและโอกาสในการค้าและการลงทุน คือ
สาธารณรัฐมอริเชียส
แม้ว่าจะเป็นประเทศเล็ก ๆ และมีประชากรจำนวนน้อย รวมทั้งไม่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมากเช่นประเทศอื่น ๆ จะมีก็แต่เพียงหาดสวยงามเท่านั้น แต่มอริเชียสก็ประสบผลสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจนับแต่ได้เอกราชจากอังกฤษ มาตรฐานการครองชีพในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาอาจเรียกได้ว่าเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าประเทศใด ๆ ในโลก
ในระหว่างปี 2523 - 2534 มอริเชียสมีความเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) เฉลี่ยในอัตราร้อยละ 6.7 ในขณะที่อัตราการเติบโตของประชากรเพียงร้อยละ 1 ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GNP Per Head) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.1
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของมอริเชียสนั้นได้ขยายตัวในทุกภาค เช่น ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 10.1 ต่อปี ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 11.2 ต่อปี และภาคบริการ (Services Sector) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.8 ต่อปี
ในภาพรวม มอริเชียสมีประวัติเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเฉลี่ยไปทั่วทุกภาคที่เกี่ยวข้อง โดยมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกเป็นตัวนำ
การเติบโตของอุตสาหกรรมการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจของมอริเชียสดียิ่งขึ้น อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างคงที่ตั้งแต่ปี 2523 ในขณะที่ราคาสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 ในทศวรรษ 1980 การนำเข้าสินค้าสูงกว่าการส่งออกในอัตราร้อยละ 20 แต่จากการที่ปริมาณการส่งออกได้ขยายตัวมากขึ้นในเวลาต่อมา จึงทำให้มอริเชียสได้เปรียบดุลการค้า
การลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังจากการจัดตั้งเขตการผลิตเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมประเภทเสื้อผ้า (Textiles) เป็นประเภทที่มีการลงทุนมากที่สุด
การค้าต่างประเทศ
ปัจจุบันมอริเชียสได้ทำความตกลงการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับ 25 ประเทศ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) คือ เดนมาร์ก, อินเดีย, เลโซโธ, มาเลเซีย, ปากีสถาน, สิงคโปร์, สวีเดน, บอตสวานา, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ลักเซมเบอร์ก, นามิเบีย, รัสเซีย, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐประชาชนจีน, เยอรมนี, คูเวต, มาดากัสการ์, นิวซีแลนด์, เชเชลซ์, สวาซิแลนด์ และซิมบับเวการเงินและการธนาคาร
ระบบการเงินและการธนาคารในมอริเชียสส่วนใหญ่ถือแม่แบบมาจากอังกฤษเป็นระบบการเงินการธนาคารที่ทันสมัยและสามารถสนองตอบความต้องการทางด้านธุรกิจได้อย่างดี
ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ของตนและของต่างชาติดำเนินกิจการในมอริเชียส รวม 12 ธนาคารแนวโน้มทางเศรษฐกิจในอนาคต
มอริเชียสเป็นแหล่งที่นักลงทุนจากต่างประเทศขนเงินมาลงทุนมากอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีสภาพการณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนหลายประการด้วยกัน เช่น มีความมั่นคงทางการเมือง ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศเกาะเล็ก ๆ เช่น มอริเชียส มีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในอดีต และแนวโน้มในอนาคตก็ยังคงสดใสสำหรับมอริเชียสความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มอริเชียส
ด้านการค้า
- ปริมาณการค้าและดุลการค้า
ไทยและมอริเชียสยังมีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างน้อย โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณการค้ารวมเฉลี่ย 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทยแล้ว มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.01 - 0.02 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีปริมาณการค้ารวม 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 18.6 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอยู่ 13.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- การส่งออกไปมอริเชียส
ไทยส่งสินค้าออกไปมอริเชียสเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (2536 - 2542) มีมูลค่า 20.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกไปมอริเชียส มีมูลค่า 14.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.9 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมอริเชียส ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ของเบ็ดเตล็ดที่ทำด้วยโลหะสามัญ ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก รองเท้าและชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง และข้าว เป็นต้น
- การนำเข้าจากมอริเชียส
ไทยนำเข้าสินค้าจากมอริเชียสค่อนข้างน้อย เฉลี่ยระยะเวลา 7 ปี (2536 - 2542) มีมูลค่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และในปี 2542 มีการนำเข้าลดลงเหลือ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากไทยนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งจากมอริเชียสตกลง สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การนำเข้าจากมอริเชียสมีมูลค่า 0.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.1 โดยมีสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากมอริเชียส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ แก้วและผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผา ผ้าผืน เป็นต้น (ยังมีต่อ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/2544 วันที่ 15 มีนาคม 2544--
-อน-
สาธารณรัฐมอริเชียส
แม้ว่าจะเป็นประเทศเล็ก ๆ และมีประชากรจำนวนน้อย รวมทั้งไม่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมากเช่นประเทศอื่น ๆ จะมีก็แต่เพียงหาดสวยงามเท่านั้น แต่มอริเชียสก็ประสบผลสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจนับแต่ได้เอกราชจากอังกฤษ มาตรฐานการครองชีพในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาอาจเรียกได้ว่าเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าประเทศใด ๆ ในโลก
ในระหว่างปี 2523 - 2534 มอริเชียสมีความเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) เฉลี่ยในอัตราร้อยละ 6.7 ในขณะที่อัตราการเติบโตของประชากรเพียงร้อยละ 1 ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GNP Per Head) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.1
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของมอริเชียสนั้นได้ขยายตัวในทุกภาค เช่น ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 10.1 ต่อปี ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 11.2 ต่อปี และภาคบริการ (Services Sector) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.8 ต่อปี
ในภาพรวม มอริเชียสมีประวัติเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเฉลี่ยไปทั่วทุกภาคที่เกี่ยวข้อง โดยมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกเป็นตัวนำ
การเติบโตของอุตสาหกรรมการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจของมอริเชียสดียิ่งขึ้น อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างคงที่ตั้งแต่ปี 2523 ในขณะที่ราคาสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 ในทศวรรษ 1980 การนำเข้าสินค้าสูงกว่าการส่งออกในอัตราร้อยละ 20 แต่จากการที่ปริมาณการส่งออกได้ขยายตัวมากขึ้นในเวลาต่อมา จึงทำให้มอริเชียสได้เปรียบดุลการค้า
การลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังจากการจัดตั้งเขตการผลิตเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมประเภทเสื้อผ้า (Textiles) เป็นประเภทที่มีการลงทุนมากที่สุด
การค้าต่างประเทศ
ปัจจุบันมอริเชียสได้ทำความตกลงการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับ 25 ประเทศ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) คือ เดนมาร์ก, อินเดีย, เลโซโธ, มาเลเซีย, ปากีสถาน, สิงคโปร์, สวีเดน, บอตสวานา, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ลักเซมเบอร์ก, นามิเบีย, รัสเซีย, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐประชาชนจีน, เยอรมนี, คูเวต, มาดากัสการ์, นิวซีแลนด์, เชเชลซ์, สวาซิแลนด์ และซิมบับเวการเงินและการธนาคาร
ระบบการเงินและการธนาคารในมอริเชียสส่วนใหญ่ถือแม่แบบมาจากอังกฤษเป็นระบบการเงินการธนาคารที่ทันสมัยและสามารถสนองตอบความต้องการทางด้านธุรกิจได้อย่างดี
ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ของตนและของต่างชาติดำเนินกิจการในมอริเชียส รวม 12 ธนาคารแนวโน้มทางเศรษฐกิจในอนาคต
มอริเชียสเป็นแหล่งที่นักลงทุนจากต่างประเทศขนเงินมาลงทุนมากอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีสภาพการณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนหลายประการด้วยกัน เช่น มีความมั่นคงทางการเมือง ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศเกาะเล็ก ๆ เช่น มอริเชียส มีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในอดีต และแนวโน้มในอนาคตก็ยังคงสดใสสำหรับมอริเชียสความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มอริเชียส
ด้านการค้า
- ปริมาณการค้าและดุลการค้า
ไทยและมอริเชียสยังมีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างน้อย โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณการค้ารวมเฉลี่ย 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทยแล้ว มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.01 - 0.02 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีปริมาณการค้ารวม 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 18.6 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอยู่ 13.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- การส่งออกไปมอริเชียส
ไทยส่งสินค้าออกไปมอริเชียสเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (2536 - 2542) มีมูลค่า 20.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกไปมอริเชียส มีมูลค่า 14.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.9 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมอริเชียส ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ของเบ็ดเตล็ดที่ทำด้วยโลหะสามัญ ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก รองเท้าและชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง และข้าว เป็นต้น
- การนำเข้าจากมอริเชียส
ไทยนำเข้าสินค้าจากมอริเชียสค่อนข้างน้อย เฉลี่ยระยะเวลา 7 ปี (2536 - 2542) มีมูลค่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และในปี 2542 มีการนำเข้าลดลงเหลือ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากไทยนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งจากมอริเชียสตกลง สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การนำเข้าจากมอริเชียสมีมูลค่า 0.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.1 โดยมีสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากมอริเชียส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ แก้วและผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผา ผ้าผืน เป็นต้น (ยังมีต่อ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/2544 วันที่ 15 มีนาคม 2544--
-อน-