ตามที่ประเทศออสเตรเลียได้เริ่มใช้ระบบภาษีใหม่ คือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax - GST) แทนภาษี
Wholesale Sales Taw หรือภาษีการขายสินค้าขายส่งและภาษีทางอ้อมอื่น ๆ บางประเภท ตามระบบภาษีใหม่นี้มีแนวปฏิบัติและข้อควรทราบเกี่ยวกับ
ระบบภาษี GST ดังนี้ คือ
1. การจดทะเบียนภาษี GST
ธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่อปีเกินกว่า 50,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องจดทะเบียนภาษี GST และต้องมี Australian Business
Number (ABN) ส่วนธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียนน้อยกว่านั้น สามารถเลือกที่จดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ที่จดทะเบียนเท่านั้นจึงจะสามารถขอเรียกคืนเครดิต
ภาษีซื้อได้ ทั้งนี้ ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกแบบฟอร์ม Registration Form และยื่นต่อ Australian Taxation Office (ATO) หรือจดทะเบียน
ทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.abr.business.gov.au
2. หน้าที่ของผู้จดทะเบียน
ผู้จดทะเบียนต้องออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) เมื่อมีการจัดจำหน่ายสิ่งที่ต้องเสียภาษี GST โดยใบกำกับภาษีดังกล่าวต้องแสดงจำนวน
GST ที่ได้จ่ายไปให้ชัดเจน ทั้งนี้ ภาษี GST อาจรวมอยู่ในราคาหรือแยกให้เห็นในใบกำกับภาษีนั้นก็เป็นได้ นอกจากนั้น ผู้จดทะเบียนต้องยื่น Business
Activity Statement (BAS) เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
2.1 กรณีจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกซึ่งจดทะเบียนภาษี GST
ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกซึ่งจดทะเบียนภาษี GST ต้องเรียกเก็บภาษี GST และออกใบกำกับภาษีให้ผู้ส่งออกผู้นั้น โดยที่ผู้ส่ง
ออกสามารถเรียกคืนภาษี GST ที่จ่ายไปแล้วคืนได้จาก ATO โดยแสดงรายการใน BAS ของตน และเมื่อผู้ส่งออกส่งออกสินค้าดังกล่าว ผู้ส่งออกไม่จำ
เป็นต้องออกใบกำกับภาษีแต่อย่างใด
2.2 กรณีจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกที่มิได้จดทะเบียนภาษี GST
ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกซึ่งมิได้จดทะเบียนภาษี GST และธุรกิจที่มิได้จดทะเบียนต้องการส่ง- ออกสินค้านั้น การขายสินค้า
ดังกล่าวจะเป็นการขายที่ไม่ต้องเสียภาษี GST และไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ หากตรงกับเงื่อนไขต่อไปนี้
- ผู้ซื้อสินค้าต้องส่งออกสินค้าดังกล่าว
- สินค้าดังกล่าวต้องไม่ถูกแปรรูปหรือถูกใช้งานไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก่อนส่งออก ยกเว้นแต่จะเป็นการเตรียมสินค้าเพื่อการ
ส่งออกเท่านั้น
- สินค้าดังกล่าวต้องจดทะเบียนสำหรับการส่งออกกับศุลกากร
- ผู้ซื้อสินค้าต้องแสดงหลักฐานเป็นเอกสาร ว่าสินค้าดังกล่าวได้ถูกส่งออกไปแล้ว
ในกรณีนี้ ผู้ส่งออกที่มิได้จดทะเบียนภาษี GST ดังกล่าว ก็ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีเช่นเดียวกัน
3. ระเบียบเพื่อการนำเข้า
3.1 สินค้านำเข้าเกือบทุกประเภทต้องเสียภาษี GST (Taxable Importation) ส่วนการนำเข้าสินค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้นมีอยู่ไม่มากนัก
ได้แก่ สินค้าที่เป็น GST-Free เมื่อขายในประเทศออสเตรเลีย เช่น อาหารพื้นฐาน และอุปกรณ์การแพทย์ หรือสินค้านำเข้าที่ได้รับส่วนลดภาษีนำเข้า
เป็นกรณีพิเศษ เช่น สินค้าที่สั่งเข้ามาแทนสินค้าเดิมที่มีประกัน สินค้าที่นำเข้าเพื่อการซ่อมแซม และสินค้าตัวอย่าง เป็นต้น
3.2 ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ต้องเสียภาษี GST ให้ศุลกากรก่อนที่จะเอาสินค้าออกจากคลังสินค้า แต่ผู้นำเข้าบางรายที่ได้รับอนุมัติจาก ATO สามารถ
ผลัดผ่อนการเสียภาษี GST สำหรับการนำเข้าสินค้าของตน ไปจนกระทั่งได้ยื่น Business Activity Statement (BAS) ใบแรกของตนหลังจาก
สินค้านำเข้านั้นได้ผ่านการตรวจจากศุลกากรแล้ว ทั้งนี้ ผู้นำเข้าสามารถยื่นคำร้องขอผลัดผ่อนการเสียภาษีไปที่ ATO ทางอินเตอร์เน็ต ที่
www.ato.gov.au โดยที่ผู้นำเข้าที่จะขอผลัดผ่อนต้องมีประวัติที่ดีกับ ATO และต้องยื่นใบ BAS ต่อ ATO เป็นรายเดือนทางอิเล็กทรอนิกส์
3.3 การคำนวณภาษี GST กรณีนำเข้า ใช้อัตราร้อยละ 10 จากมูลค่ารวมของมูลค่าที่ศุลกากรประเมินรวมกับจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าขนส่ง
และค่าประกันระหว่างประเทศ ค่าภาษีนำเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากร และภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) แต่สำหรับสินค้าซึ่งนำกลับเข้ามาหลังจากส่งออกไปทำการซ่อม
แซมแล้ว จะมีกฎพิเศษสำหรับการคำนวณภาษี
4. ระเบียบเพื่อการส่งออก
4.1 สินค้าส่งออกไม่จำเป็นต้องเสียภาษี GST เว้นแต่จะมีการนำสินค้านั้นกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกควรเก็บเอกสารบันทึกที่แสดงว่าสินค้านั้นได้ถูกส่งออกไปแล้วเอาไว้เป็นหลักฐาน ได้แก่ ใบส่งสินค้าที่ออกโดยบริษัทเดินเรือ
(Bills of Lading) ใบส่งสินค้าที่ออกโดยบริษัทส่งสินค้าทางอากาศ (Airway Bills) หลักฐานจาก Australian Customs (ศุลกากรออสเตร
เลีย) ที่แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นได้ออกจากประเทศออสเตรเลียไปแล้ว หรือหลักฐานจากกรมศุลกากรต่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นได้ไปถึง
ประเทศนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว
4.2 หากผู้ส่งออกส่งสินค้าออกจากประเทศออสเตรเลีย ภายใน 60 วันของการออกใบกำกับสินค้า หรือการชำระบางส่วน สินค้านั้น
ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี GST หรือหากเกินกว่านั้นอาจยื่นร้องขอต่อเวลาจากกรรมาธิการภาษีได้
5. การเสียภาษี GST สำหรับการบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้า/ส่งออก
ผู้ให้บริการแก่ผู้นำเข้าหรือส่งออกจะเรียกเก็บภาษี GST จากผู้นำเข้า/ส่งออก สำหรับการบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้า (Import
Related Supplies) หรือสินค้าส่งออก เช่น ค่าขนส่งภายในประเทศ และค่าโบรกเกอร์หรือตัวแทนออกสินค้า และค่าธรรมเนียมการท่าเรือ ดังนั้น ผู้นำเข้า/ส่งออกต้องแน่ใจว่าผู้ให้บริการดังกล่าวได้ออกใบกำกับภาษีให้
แล้ว ส่วนการบริการประเภทอื่น เช่น การขนส่งระหว่างประเทศและการประกันระหว่างประเทศนั้น จะไม่ถูกเรียกเก็บภาษี GST
6. สิทธิประโยชน์และข้อยกเว้นในระบบภาษีใหม่
6.1 ผู้จดทะเบียนภาษี GST สามารถขอเครดิตภาษีซื้อ (Input Tax Credits) คืนได้ โดยยื่นแสดง BAS เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
และให้รวมแสดงรายการขอเรียกคืนเครดิตไว้ด้วย ส่วนผู้ที่มิได้จดทะเบียนภาษี GST ไม่สามารถขอเครดิตภาษีได้
(หมายเหตุ: หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเรียกคืนเครดิตภาษีซื้อให้ดูที่เอกสารสิ่งพิมพ์ชื่อ "PAYG and BAS" จาก GST Start-up
Assistance Office)
6.2 การนำเข้าชั่วคราวสำหรับสินค้าบางประเภท สามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าหรือภาษี GST โดยสินค้าเข้าชั่วคราว
ดังกล่าวสามารถเก็บไว้ในประเทศออสเตรเลียได้ 12 เดือน หากต้องการเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องยื่นขออนุญาตจากศุลกากร ตัวอย่างสินค้าดังกล่าว
ได้แก่ เครื่องมือประกอบอาชีพ รถยนต์ที่นักท่องเที่ยวนำเข้า สินค้านำเข้าเพื่อแสดงนิทรรศการหรือทดสอบ อย่างไรก็ตาม ศุลกากรจะขอให้ผู้นำเข้า
ประกันว่าจะชำระภาษี GST และภาษีนำเข้าอื่น ๆ หากถูกเรียกเก็บ และหากผู้นำเข้าไม่นำสินค้าเหล่านั้นออกอีกครั้งก็จะถูกเรียกเก็บ GST และภาษีนำ
เข้าต่างๆ เช่นเดียวกัน
6.3 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า หรือภาษี GST โดยสินค้านำเข้ามูลค่าต่ำให้หมายความถึง
- สินค้านำเข้าแต่ละอย่างทางไปรษณีย์ที่มีมูลค่าไม่เกินกว่า 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
- สินค้านำเข้าแต่ละอย่างทางอากาศหรือทางทะเลที่มีมูลค่าไม่เกิน 250 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
- สินค้านำเข้าแต่ละอย่างที่มียอดรวมภาษีนำเข้า และภาษี GST ไม่เกิน 50 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
7. โครงการ TRADEX
TRADEX เป็นโครงการส่งเสริมที่รัฐบาลให้แก่ผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้ส่งออก โดยผู้นำเข้าสินค้าบางประเภทเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งจะส่งกลับออก
ไปอีก หรือผู้นำเข้าที่ใช้สินค้าเข้านั้นเพื่อการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก สามารถยื่นคำร้องขอให้เป็นผู้นำเข้าประเภท TRADEX Importers ซึ่งไม่ต้อง
เสียภาษีนำเข้า หรือภาษี GST เมื่อมีการนำสินค้าเข้า แต่หากผู้นำเข้าดังกล่าวไม่ส่งสินค้านั้นออกภายในเวลาที่กำหนด ผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องรับภาระ
ภาษีตามปกติ
ข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อดังนี้.-
(1) ระบบภาษี GST : - Australian Taxation Office (www.taxreform.ato.gov.au)
- Australian Customs Service (www.customs.gov.au)
(2) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง :
เรื่อง หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
การจดทะเบียนภาษี ATO 13 24 78
การผลัดผ่อนการเสียภาษี Deferred GST Scheme Helpline 1300 130 915
การขอเครดิตภาษีซื้อคืน GST Start-Up Assistance Office 13 30 88
โครงการ TRADEX AUSINDUSTRY 13 28 46
ที่มา : กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ
หมายเหตุ: เรียบเรียงจากเอกสารแนวปฏิบัติ และข้อควรทราบเกี่ยวกับระบบภาษี GST ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานให้
ความช่วยเหลือในการเริ่มต้นใช้ภาษีสินค้าและบริการ (GST Start-UP Assistance Office) ของออสเตรเลีย
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/2544 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
Wholesale Sales Taw หรือภาษีการขายสินค้าขายส่งและภาษีทางอ้อมอื่น ๆ บางประเภท ตามระบบภาษีใหม่นี้มีแนวปฏิบัติและข้อควรทราบเกี่ยวกับ
ระบบภาษี GST ดังนี้ คือ
1. การจดทะเบียนภาษี GST
ธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่อปีเกินกว่า 50,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องจดทะเบียนภาษี GST และต้องมี Australian Business
Number (ABN) ส่วนธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียนน้อยกว่านั้น สามารถเลือกที่จดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ที่จดทะเบียนเท่านั้นจึงจะสามารถขอเรียกคืนเครดิต
ภาษีซื้อได้ ทั้งนี้ ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกแบบฟอร์ม Registration Form และยื่นต่อ Australian Taxation Office (ATO) หรือจดทะเบียน
ทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.abr.business.gov.au
2. หน้าที่ของผู้จดทะเบียน
ผู้จดทะเบียนต้องออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) เมื่อมีการจัดจำหน่ายสิ่งที่ต้องเสียภาษี GST โดยใบกำกับภาษีดังกล่าวต้องแสดงจำนวน
GST ที่ได้จ่ายไปให้ชัดเจน ทั้งนี้ ภาษี GST อาจรวมอยู่ในราคาหรือแยกให้เห็นในใบกำกับภาษีนั้นก็เป็นได้ นอกจากนั้น ผู้จดทะเบียนต้องยื่น Business
Activity Statement (BAS) เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
2.1 กรณีจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกซึ่งจดทะเบียนภาษี GST
ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกซึ่งจดทะเบียนภาษี GST ต้องเรียกเก็บภาษี GST และออกใบกำกับภาษีให้ผู้ส่งออกผู้นั้น โดยที่ผู้ส่ง
ออกสามารถเรียกคืนภาษี GST ที่จ่ายไปแล้วคืนได้จาก ATO โดยแสดงรายการใน BAS ของตน และเมื่อผู้ส่งออกส่งออกสินค้าดังกล่าว ผู้ส่งออกไม่จำ
เป็นต้องออกใบกำกับภาษีแต่อย่างใด
2.2 กรณีจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกที่มิได้จดทะเบียนภาษี GST
ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ส่งออกซึ่งมิได้จดทะเบียนภาษี GST และธุรกิจที่มิได้จดทะเบียนต้องการส่ง- ออกสินค้านั้น การขายสินค้า
ดังกล่าวจะเป็นการขายที่ไม่ต้องเสียภาษี GST และไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ หากตรงกับเงื่อนไขต่อไปนี้
- ผู้ซื้อสินค้าต้องส่งออกสินค้าดังกล่าว
- สินค้าดังกล่าวต้องไม่ถูกแปรรูปหรือถูกใช้งานไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก่อนส่งออก ยกเว้นแต่จะเป็นการเตรียมสินค้าเพื่อการ
ส่งออกเท่านั้น
- สินค้าดังกล่าวต้องจดทะเบียนสำหรับการส่งออกกับศุลกากร
- ผู้ซื้อสินค้าต้องแสดงหลักฐานเป็นเอกสาร ว่าสินค้าดังกล่าวได้ถูกส่งออกไปแล้ว
ในกรณีนี้ ผู้ส่งออกที่มิได้จดทะเบียนภาษี GST ดังกล่าว ก็ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีเช่นเดียวกัน
3. ระเบียบเพื่อการนำเข้า
3.1 สินค้านำเข้าเกือบทุกประเภทต้องเสียภาษี GST (Taxable Importation) ส่วนการนำเข้าสินค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้นมีอยู่ไม่มากนัก
ได้แก่ สินค้าที่เป็น GST-Free เมื่อขายในประเทศออสเตรเลีย เช่น อาหารพื้นฐาน และอุปกรณ์การแพทย์ หรือสินค้านำเข้าที่ได้รับส่วนลดภาษีนำเข้า
เป็นกรณีพิเศษ เช่น สินค้าที่สั่งเข้ามาแทนสินค้าเดิมที่มีประกัน สินค้าที่นำเข้าเพื่อการซ่อมแซม และสินค้าตัวอย่าง เป็นต้น
3.2 ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ต้องเสียภาษี GST ให้ศุลกากรก่อนที่จะเอาสินค้าออกจากคลังสินค้า แต่ผู้นำเข้าบางรายที่ได้รับอนุมัติจาก ATO สามารถ
ผลัดผ่อนการเสียภาษี GST สำหรับการนำเข้าสินค้าของตน ไปจนกระทั่งได้ยื่น Business Activity Statement (BAS) ใบแรกของตนหลังจาก
สินค้านำเข้านั้นได้ผ่านการตรวจจากศุลกากรแล้ว ทั้งนี้ ผู้นำเข้าสามารถยื่นคำร้องขอผลัดผ่อนการเสียภาษีไปที่ ATO ทางอินเตอร์เน็ต ที่
www.ato.gov.au โดยที่ผู้นำเข้าที่จะขอผลัดผ่อนต้องมีประวัติที่ดีกับ ATO และต้องยื่นใบ BAS ต่อ ATO เป็นรายเดือนทางอิเล็กทรอนิกส์
3.3 การคำนวณภาษี GST กรณีนำเข้า ใช้อัตราร้อยละ 10 จากมูลค่ารวมของมูลค่าที่ศุลกากรประเมินรวมกับจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าขนส่ง
และค่าประกันระหว่างประเทศ ค่าภาษีนำเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากร และภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) แต่สำหรับสินค้าซึ่งนำกลับเข้ามาหลังจากส่งออกไปทำการซ่อม
แซมแล้ว จะมีกฎพิเศษสำหรับการคำนวณภาษี
4. ระเบียบเพื่อการส่งออก
4.1 สินค้าส่งออกไม่จำเป็นต้องเสียภาษี GST เว้นแต่จะมีการนำสินค้านั้นกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกควรเก็บเอกสารบันทึกที่แสดงว่าสินค้านั้นได้ถูกส่งออกไปแล้วเอาไว้เป็นหลักฐาน ได้แก่ ใบส่งสินค้าที่ออกโดยบริษัทเดินเรือ
(Bills of Lading) ใบส่งสินค้าที่ออกโดยบริษัทส่งสินค้าทางอากาศ (Airway Bills) หลักฐานจาก Australian Customs (ศุลกากรออสเตร
เลีย) ที่แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นได้ออกจากประเทศออสเตรเลียไปแล้ว หรือหลักฐานจากกรมศุลกากรต่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นได้ไปถึง
ประเทศนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว
4.2 หากผู้ส่งออกส่งสินค้าออกจากประเทศออสเตรเลีย ภายใน 60 วันของการออกใบกำกับสินค้า หรือการชำระบางส่วน สินค้านั้น
ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี GST หรือหากเกินกว่านั้นอาจยื่นร้องขอต่อเวลาจากกรรมาธิการภาษีได้
5. การเสียภาษี GST สำหรับการบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้า/ส่งออก
ผู้ให้บริการแก่ผู้นำเข้าหรือส่งออกจะเรียกเก็บภาษี GST จากผู้นำเข้า/ส่งออก สำหรับการบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้า (Import
Related Supplies) หรือสินค้าส่งออก เช่น ค่าขนส่งภายในประเทศ และค่าโบรกเกอร์หรือตัวแทนออกสินค้า และค่าธรรมเนียมการท่าเรือ ดังนั้น ผู้นำเข้า/ส่งออกต้องแน่ใจว่าผู้ให้บริการดังกล่าวได้ออกใบกำกับภาษีให้
แล้ว ส่วนการบริการประเภทอื่น เช่น การขนส่งระหว่างประเทศและการประกันระหว่างประเทศนั้น จะไม่ถูกเรียกเก็บภาษี GST
6. สิทธิประโยชน์และข้อยกเว้นในระบบภาษีใหม่
6.1 ผู้จดทะเบียนภาษี GST สามารถขอเครดิตภาษีซื้อ (Input Tax Credits) คืนได้ โดยยื่นแสดง BAS เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
และให้รวมแสดงรายการขอเรียกคืนเครดิตไว้ด้วย ส่วนผู้ที่มิได้จดทะเบียนภาษี GST ไม่สามารถขอเครดิตภาษีได้
(หมายเหตุ: หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเรียกคืนเครดิตภาษีซื้อให้ดูที่เอกสารสิ่งพิมพ์ชื่อ "PAYG and BAS" จาก GST Start-up
Assistance Office)
6.2 การนำเข้าชั่วคราวสำหรับสินค้าบางประเภท สามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าหรือภาษี GST โดยสินค้าเข้าชั่วคราว
ดังกล่าวสามารถเก็บไว้ในประเทศออสเตรเลียได้ 12 เดือน หากต้องการเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องยื่นขออนุญาตจากศุลกากร ตัวอย่างสินค้าดังกล่าว
ได้แก่ เครื่องมือประกอบอาชีพ รถยนต์ที่นักท่องเที่ยวนำเข้า สินค้านำเข้าเพื่อแสดงนิทรรศการหรือทดสอบ อย่างไรก็ตาม ศุลกากรจะขอให้ผู้นำเข้า
ประกันว่าจะชำระภาษี GST และภาษีนำเข้าอื่น ๆ หากถูกเรียกเก็บ และหากผู้นำเข้าไม่นำสินค้าเหล่านั้นออกอีกครั้งก็จะถูกเรียกเก็บ GST และภาษีนำ
เข้าต่างๆ เช่นเดียวกัน
6.3 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า หรือภาษี GST โดยสินค้านำเข้ามูลค่าต่ำให้หมายความถึง
- สินค้านำเข้าแต่ละอย่างทางไปรษณีย์ที่มีมูลค่าไม่เกินกว่า 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
- สินค้านำเข้าแต่ละอย่างทางอากาศหรือทางทะเลที่มีมูลค่าไม่เกิน 250 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
- สินค้านำเข้าแต่ละอย่างที่มียอดรวมภาษีนำเข้า และภาษี GST ไม่เกิน 50 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
7. โครงการ TRADEX
TRADEX เป็นโครงการส่งเสริมที่รัฐบาลให้แก่ผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้ส่งออก โดยผู้นำเข้าสินค้าบางประเภทเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งจะส่งกลับออก
ไปอีก หรือผู้นำเข้าที่ใช้สินค้าเข้านั้นเพื่อการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก สามารถยื่นคำร้องขอให้เป็นผู้นำเข้าประเภท TRADEX Importers ซึ่งไม่ต้อง
เสียภาษีนำเข้า หรือภาษี GST เมื่อมีการนำสินค้าเข้า แต่หากผู้นำเข้าดังกล่าวไม่ส่งสินค้านั้นออกภายในเวลาที่กำหนด ผู้นำเข้าดังกล่าวจะต้องรับภาระ
ภาษีตามปกติ
ข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อดังนี้.-
(1) ระบบภาษี GST : - Australian Taxation Office (www.taxreform.ato.gov.au)
- Australian Customs Service (www.customs.gov.au)
(2) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง :
เรื่อง หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
การจดทะเบียนภาษี ATO 13 24 78
การผลัดผ่อนการเสียภาษี Deferred GST Scheme Helpline 1300 130 915
การขอเครดิตภาษีซื้อคืน GST Start-Up Assistance Office 13 30 88
โครงการ TRADEX AUSINDUSTRY 13 28 46
ที่มา : กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ
หมายเหตุ: เรียบเรียงจากเอกสารแนวปฏิบัติ และข้อควรทราบเกี่ยวกับระบบภาษี GST ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานให้
ความช่วยเหลือในการเริ่มต้นใช้ภาษีสินค้าและบริการ (GST Start-UP Assistance Office) ของออสเตรเลีย
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/2544 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-