ช่องทางสร้างอาชีพ
เปิดตำนาน ไชโป๊เจ็ดเสมียน ที่นี่มีแต่เศรษฐีตัวจริง
หากมองอย่างผิวเผิน จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า อาหารระดับตำนานที่คนไทยรู้จักดี อย่าง ไชโป๊ จะถูกผลิตออกมา คิดเป็นมูลค่าตลาดไม่น้อยกว่า 300-400 ล้านบาท ในแต่ละปี
และแหล่งผลิตใหญ่ สำหรับ ไชโป๊ ในปัจจุบันก็คือ ที่ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม ในจังหวัดราชบุรี ที่ว่ากันว่ามีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการตลาดทั้งระบบ โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 10 ราย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งผลิตใหญ่ของไชโป๊ ก็เนื่องจากว่าในอดีตพื้นที่แห่งนี้และบริเวณใกล้เคียง เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของ หัวไชเท้า วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นไชโป๊นั่นเอง
และแม้ว่าวันนี้แหล่งผลิตหัวไชเท้าจะไม่มีปรากฏให้เห็นในพื้นที่ตำบลเจ็ดเสมียน หรือแม้แต่ในอำเภอโพธาราม มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้วก็ตาม แต่โรงงานผลิตไชโป๊ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 30-40 ปีเหล่านั้น ก็ยังยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ เพียงแต่ได้รับเอาหัวไชเท้ามาจากแหล่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจากนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร กาญจนบุรี หรือจากอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ด้วยกันเอง
เนื่องเพราะผู้ประกอบการเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้สืบทอดวิธีการผลิตสินค้าชนิดดังกล่าวตกทอดกันมาไม่น้อยกว่า 2-4 รุ่น และที่สำคัญนับวันความต้องการสินค้าชนิดนี้ของตลาดก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงไม่เพียงแต่ธุรกิจแขนงนี้ยังคงอยู่ที่นี่เท่านั้น แต่กลับทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายต้องขยายขนาดของธุรกิจให้เติบโตไปตามความต้องการนั้นอย่างก้าวกระโดด
ประมาณการอย่างคร่าวๆ พบว่า โรงงานผลิตไชโป๊ เฉพาะที่ตำบลเจ็ดเสมียน แห่งนี้มีความต้องการใช้หัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบ ไม่น้อยกว่า 80 ล้านกิโลกรัม ต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 140 ล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบันมีวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานเพียงครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 40 ล้านกิโลกรัม ต่อปี เท่านั้น
คิดเสียว่าถ้าเดินอยู่ในตำบลเจ็ดเสมียน หรือผ่านไปผ่านมาแถวนั้น ก็ให้รู้ว่ากำลังเดินอยู่ในดงเศรษฐี และที่สำคัญเป็นเศรษฐีตัวจริงซะด้วย
ไม่ว่าเจ้าไหนเจ้านั้นในบรรดากว่า 10 เจ้าที่มีอยู่ ทำกันมาไม่ต่ำกว่า 30-40 ปีสักราย และแทบจะหาไม่เจอคนก่อตั้งโรงงานเลยสักเจ้า โรงไหนโรงนั้นคนทำตอนนี้ไม่เป็นลูกก็เป็นหลาน ทายาทรุ่นที่ 2 ที่ 3 กันทั้งนั้น ที่สำคัญไม่เคยต้องกู้เงินใครมาทำ เดินเข้าแบงก์ทำเหมือนกันหมดคือ เอาเงินเข้าไปฝาก
เหลือเชื่อไปกว่านั้นอีกคือ ปีหนึ่งทำงานหนักกันจริงๆ แค่ช่วงเดียว อะไรจะขนาดนั้น สาเหตุก็เป็นเพราะ โดยปกติ หัวไชเท้าที่จะเอามาทำเป็นไชโป๊ ปลูกได้ดีที่สุดปีละครั้งในช่วงหลังฝนต้นหนาว ก็ในราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
พอหัวไชเท้าเก็บเกี่ยวได้ งานของโรงงานไชโป๊จึงเริ่มขึ้น รถบรรทุกจะลำเลียงผลผลิตจากไร่มาส่งให้โรงงาน โรงงานใครโรงงานมัน มากันมืดฟ้ามัวดินก็คิดดูง่ายๆ แต่ละโรงโดยเฉลี่ยรับหัวไชเท้าสดได้โรงละ 2,000 ตัน สิบล้อ 1 คัน ขนได้ประมาณ 20 ตัน โรงหนึ่งใช้เป็น 100 คัน 10 โรง ก็เป็นพันคัน
หัวไชเท้าเข้ามาเงินก็จ่ายสดๆ กันตรงนั้นเลย ราคาซื้อตอนนี้กิโลกรัมละ 1.50 บาท 2 ล้านโล (2,000 ตัน) ก็ 3 ล้านบาท หัวไชเท้ามา เกลือก็ต้องมา เกลือก็ใช้พอๆ กับหัวไชเท้า ค่าเกลือราคาก็เท่ากัน ก็เท่ากับต้องจ่ายอีก 3 ล้าน นี่เฉพาะแต่ละโรง 10 โรง รวมๆ กันก็ 60 ล้าน
เดือนธันวาคมต่อกับต้นมกราคม เงินสะพัดอยู่ที่เจ็ดเสมียนไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ เพราะไม่ใช่หมดแค่นั้น หัวไชเท้ามางานก็เริ่ม ต้องระดมคนงานรายวันมาเร่งล้าง เร่งตาก เร่งเอาเข้าโกดังหมัก ทำกันข้ามวันข้ามคืนกว่าจะลำเลียงหัวไชเท้าเข้าไปหมักเกลือในโกดังได้จนหมด ค่าจ้างคน ค่าโน่นค่านี่ จิปาถะสดๆ ทั้งนั้น
ไม่เรียกเศรษฐีตัวจริงแล้วจะให้เรียกว่าอะไร เงินที่จ่ายเป็นทุนไปก่อนตอนนั้นก็ค่อยๆ เก็บกินกันตลอดทั้งปี เพราะโรงงานเหล่านี้จะค่อยๆ ทยอยเอาหัวไชโป๊ที่หมักเกลือไว้ในโกดัง มาดองหวาน แปรรูป บรรจุ และส่งให้ลูกค้าที่สั่งไชโป๊เข้ามาตลอดทั้งปี ทำกำไรเงียบๆ
พอเป็นไชโป๊หวาน กิโลหนึ่งราคาขายก็เกือบ 20 บาท คำนวณกันเองนะครับว่า ดอกผลจากหัวไชเท้างอกเงยขึ้นมาสักกี่เปอร์เซ็นต์
แต่ยังก่อน อย่างที่บอกไว้แล้วว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ พวกเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมากัน 2-3 ชั่วอายุคน ก่อนจะมาเป็นโรงงานใหญ่โตอย่างนี้ได้ก็ไม่ง่าย สุ่มสำรวจลงไป 4-5 เจ้า ตำนานของหัวไชโป๊ที่นี่ดูไปก็น่าสนใจไม่น้อย
คุณทิพวัลย์ แววทอง ทายาทรุ่นที่ 2 ของโรงานไชโป๊แม่กิมฮวย เล่าว่า พ่อกับแม่เธอเห็นว่าแถวนี้ปลูกหัวไชเท้ากัน ก็เลยเอามาดอง ตอนแรกๆ ทำกันอยู่หลังบ้าน กินบ้าง เอาไปแลกข้าวบ้าง หรือก็ขายบ้าง ไม่เป็นชิ้นเป็นอันอะไร และช่วงแรกก็ทำแค่ดองเค็มคือแค่หมักเกลือ ยังไม่มีดองหวานเพิ่มมูลค่าอย่างทุกวันนี้
แม่เล่าว่า คนต้องการมากขึ้น ก็ขยายไปเรื่อยไม่รู้เนื้อรู้ตัว จนตอนหลังเริ่มเอามาดองหวานกัน จำไม่ได้ใครเป็นคนเริ่ม ทีนี้ก็เลยหันมาดองหวานกัน มาสิบปีหลังมานี่ที่ความต้องการมันเพิ่มขึ้น จนทำไม่ทัน คุณทิพวัลย์ เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของไชโป๊แม่ฮวย ตามที่ได้รับฟังมาจากบรรพบุรุษ
ถึงวันนี้ ไชโป๊แม่กิมฮวย นับเป็นรายแรก และอาจจะเป็นรายเดียว ในบรรดาของดี จากอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ที่ได้ชื่อว่าเป็น ไชโป๊ขึ้นห้าง เพราะปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้า คอนวีเนียนสโตร์ชื่อดังที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น โลตัส ฟู้ดแลนด์ เดอะมอลล์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โกลเด้นเพลส และในร้านสะดวกซื้อสังคมสุขภาพ (เลมอนฟาร์ม เดิม) จะมีไชโป๊แม่กิมฮวยปรากฏอยู่
ไชโป๊แม่ทองสุข ก็เป็นอีกรายที่มีความเป็นมาคล้ายกัน เพียงแต่ในปัจจุบันไชโป๊แม่ทองสุขกำลังจะตกอยู่ในมือของทายาทรุ่นที่ 3 แล้ว คุณทองสุข พวงรอด ซึ่งปัจจุบันอายุ 65 ปี เล่าว่า เริ่มต้นจากคุณแม่ของคุณทองสุขอีกที ตอนนั้นทำกันง่ายๆ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากอะไร
หัวไชเท้าก็ปลูกกันแถวเจ็ดเสมียนนี่แหละ ชาวไร่ก็เอามาส่งให้ ก็ดองเค็มกินบ้างขายบ้าง ไม่มีใครรู้จักหรอกว่ามาจากที่นี่ เพราะไม่มียี่ห้ออะไร ไปขายตามตลาด แต่พอมาดองหวานกัน คนก็เริ่มรู้จัก ก็มาบรรจุในแพ็กเกจ ยี่ห้อใครยี่ห้อมัน ไปขายก็ตลาดใครตลาดมัน เพราะทำกันมานานมีเจ้าประจำกันอยู่ ที่สำคัญคือ ตลาดยังกว้างสินค้าไม่พอขาย ก็เลยไม่ต้องแย่งตลาดกัน คนทำไชโป๊แถวนี้จึงรู้จักกันหมด เพราะเห็นกันมาแต่เล็กแต่น้อยก็นับถือกัน ยังมีลักษณะเป็นชนบทอยู่
แต่อีกด้าน แกก็บอกว่า พอทุกอย่างเปลี่ยนไปเข้าระบบก็ซับซ้อนขึ้น จะรับซื้อหัวไชเท้าอย่างเดียวก็ไม่ได้แล้ว ไม่มีใครทำมาส่งให้หรอก ก็ต้องมีระบบ ลูกไร่ ออกทุน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา ไปให้คนปลูกก่อน จึงจะได้ไชโป๊เข้าโรงงาน ตอนนี้ทุกเจ้าก็มี ลูกไร่ กันหมด ในสวนไชโป๊แม่ทองสุข มีอยู่ 12-14 ราย เข้าบ้างออกบ้างตามประสา
อีกรายคือ ไชโป๊แม่บุญส่ง คุณวัฒนา สกุลณา ทายาทรุ่นที่ 2 ซึ่งต้องออกจากราชการมาช่วยแม่คือ คุณบุญส่ง บริหารกิจการในรุ่นที่ 2 พร้อมกับพี่ชายและพี่สาว บอกว่า รายของแกต่างออกมาหน่อย ตรงที่ แม่เคยเป็นลูกจ้างหั่นผัก (แปรรูปหัวไชโป๊) ของอีกโรงงานหนึ่งในย่านนั้น และเจ้าของเห็นว่าแม่ขยันเลยให้เงินมาทำทุน 5,000 บาท เมื่อ 30 ปีก่อน (2518) ช่วงแรกไปหาบขายก่อน แต่เพราะมีสูตรเด็ดที่ไม่เหมือนใคร เลยตั้งหลักเป็นไชโป๊แม่บุญส่ง ได้ถึงทุกวันนี้
ถึงตอนนี้ทำเหมือนแต่ก่อนไม่ได้แล้ว ทุกโรงแถวนี้ต้องมีระบบ มีมาตรฐานความสะอาดปลอดภัย ห่วงใยเอาใจใส่ผู้บริโภคมากขึ้น อย่างของผมนี่ก็ได้รับมาตรฐาน อย. ในระบบโรงงานเป็นรายแรกของเจ็ดเสมียน ตอนนี้กำลังทำมาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) ของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ เรื่องรสชาติก็ได้การรับรองในระดับ เชลล์ชวนชิม เหมือนเจ้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแม่กิมฮวย แม่ทองสุข เหมือนกัน และยังได้ของโอท็อปด้วย คุณวัฒนา พูดถึงการพัฒนาสินค้าในปัจจุบัน
พอมีสินค้า มีการพัฒนา ทั้งความอร่อย หีบห่อสวยงาม สะอาดปลอดภัย คนก็นิยมหลากหลายขยายเพิ่มขึ้น เมนูใหม่ๆ ก็ถูกคิดค้นขึ้นจากแม่บ้านสมองไว ไม่จำกัดเฉพาะเอาไปผัดไข่ หรือยำ หรือเป็นส่วนผสมในสาคู และข้าวเกรียบปากหม้อ หรือใส่ในผัดไทย เท่านั้น
เมนูใหม่ๆ มีทั้ง ไชโป๊ผัดกะเพรา ผัดกะทิ ไข่เจียวไชโป๊ ฯลฯ สินค้าก็ขายดีขึ้น ก็ต้องพัฒนารูปแบบแปรรูปหลากหลายทั้งแบบเส้น แบบลูกเต๋า แบบสับ แบบหัว ให้เหมาะกับการใช้งาน ก็มีแพ็กเกจที่สวยงาม ตลาดก็โตไปอีก โตจนกระทั่งถึงขั้นต้องแย่งหัวไชเท้ากันก็มี แต่ก็ยังไม่รุนแรงอะไร
การทำไชโป๊ที่ดูเหมือนง่ายในอดีตก็ซับซ้อนขึ้นอีกหน่อย แต่ผลที่ได้ก็เท่าเดิมคือก็ยังกำไรงามอยู่ ยิ่งปัจจุบัน มีโครงการหน่วยงานรัฐหลายแห่งเข้าไปให้การแนะนำสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) กระทรวงสาธารณสุข
และล่าสุด จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่เห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมนี้ ว่าจะสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกทำเงินตราเข้าประเทศได้ ก็เลยนำโครงการพันธมิตรอุตสาหกรรม หรือคลัสเตอร์ เข้าไป จัดตั้งเป็นกลุ่ม คลัสเตอร์ไชโป๊ แยกออกมาโดยเฉพาะ
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือให้รวมกลุ่มพัฒนา ร่วมมือ พึ่งพาอาศัยกัน และสมาชิกไม่ได้มีเพียงผู้ผลิตไชโป๊เท่านั้น แต่ยังลงลึกไปถึงชาวไร่ที่ปลูกหัวไชเท้า เพื่อให้พัฒนากันไปได้ทั้งระบบ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนคือ หัวไชเท้าไม่พอ ถ้ามัวมานั่งคุยกันแต่คนทำไชโป๊ ก็เล็งเห็นว่าแก้ปัญหาไม่ได้แน่ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีเกษตรกรเข้ามาร่วมแล้วหลายราย ซึ่งกลุ่มต้องช่วยเหลือกันไป
และบทสรุปของการดำเนินการโครงการดังกล่าวนี้ คงต้องยืมมาจาก คุณสุทธิเดช ริมธีระกุล นายกเทศมนตรี ตำบลเจ็ดเสมียน ที่บอกว่า ถึงรัฐจะไม่เข้ามาช่วย ผู้ประกอบการก็ยืนได้ด้วยตัวเองอย่างมั่นคงอยู่แล้ว แต่เข้ามาอย่างนี้ก็ยิ่งดี ยิ่งเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งแน่นอน ย่อมไม่ใช่ผลดีแค่เฉพาะกับชาวตำบลเจ็ดเสมียน หรืออำเภอโพธาราม หรือแค่จังหวัดราชบุรีเท่านั้น แต่น่าจะเป็นผลดีต่อคนไทยทุกคน หากไชโป๊จะสามารถขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น นำเงินตรามาพัฒนาประเทศต่อไป
และนั่นก็คือ บทสรุปของตำนาน ไชโป๊ เจ็ดเสมียน ที่จะยังมีสีสันคู่ครัวอีกต่อไป อย่างไม่มีวันจบ นั่นเอง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เปิดตำนาน ไชโป๊เจ็ดเสมียน ที่นี่มีแต่เศรษฐีตัวจริง
หากมองอย่างผิวเผิน จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า อาหารระดับตำนานที่คนไทยรู้จักดี อย่าง ไชโป๊ จะถูกผลิตออกมา คิดเป็นมูลค่าตลาดไม่น้อยกว่า 300-400 ล้านบาท ในแต่ละปี
และแหล่งผลิตใหญ่ สำหรับ ไชโป๊ ในปัจจุบันก็คือ ที่ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม ในจังหวัดราชบุรี ที่ว่ากันว่ามีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการตลาดทั้งระบบ โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 10 ราย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งผลิตใหญ่ของไชโป๊ ก็เนื่องจากว่าในอดีตพื้นที่แห่งนี้และบริเวณใกล้เคียง เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของ หัวไชเท้า วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นไชโป๊นั่นเอง
และแม้ว่าวันนี้แหล่งผลิตหัวไชเท้าจะไม่มีปรากฏให้เห็นในพื้นที่ตำบลเจ็ดเสมียน หรือแม้แต่ในอำเภอโพธาราม มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้วก็ตาม แต่โรงงานผลิตไชโป๊ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 30-40 ปีเหล่านั้น ก็ยังยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ เพียงแต่ได้รับเอาหัวไชเท้ามาจากแหล่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจากนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร กาญจนบุรี หรือจากอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ด้วยกันเอง
เนื่องเพราะผู้ประกอบการเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้สืบทอดวิธีการผลิตสินค้าชนิดดังกล่าวตกทอดกันมาไม่น้อยกว่า 2-4 รุ่น และที่สำคัญนับวันความต้องการสินค้าชนิดนี้ของตลาดก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงไม่เพียงแต่ธุรกิจแขนงนี้ยังคงอยู่ที่นี่เท่านั้น แต่กลับทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายต้องขยายขนาดของธุรกิจให้เติบโตไปตามความต้องการนั้นอย่างก้าวกระโดด
ประมาณการอย่างคร่าวๆ พบว่า โรงงานผลิตไชโป๊ เฉพาะที่ตำบลเจ็ดเสมียน แห่งนี้มีความต้องการใช้หัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบ ไม่น้อยกว่า 80 ล้านกิโลกรัม ต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 140 ล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบันมีวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานเพียงครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 40 ล้านกิโลกรัม ต่อปี เท่านั้น
คิดเสียว่าถ้าเดินอยู่ในตำบลเจ็ดเสมียน หรือผ่านไปผ่านมาแถวนั้น ก็ให้รู้ว่ากำลังเดินอยู่ในดงเศรษฐี และที่สำคัญเป็นเศรษฐีตัวจริงซะด้วย
ไม่ว่าเจ้าไหนเจ้านั้นในบรรดากว่า 10 เจ้าที่มีอยู่ ทำกันมาไม่ต่ำกว่า 30-40 ปีสักราย และแทบจะหาไม่เจอคนก่อตั้งโรงงานเลยสักเจ้า โรงไหนโรงนั้นคนทำตอนนี้ไม่เป็นลูกก็เป็นหลาน ทายาทรุ่นที่ 2 ที่ 3 กันทั้งนั้น ที่สำคัญไม่เคยต้องกู้เงินใครมาทำ เดินเข้าแบงก์ทำเหมือนกันหมดคือ เอาเงินเข้าไปฝาก
เหลือเชื่อไปกว่านั้นอีกคือ ปีหนึ่งทำงานหนักกันจริงๆ แค่ช่วงเดียว อะไรจะขนาดนั้น สาเหตุก็เป็นเพราะ โดยปกติ หัวไชเท้าที่จะเอามาทำเป็นไชโป๊ ปลูกได้ดีที่สุดปีละครั้งในช่วงหลังฝนต้นหนาว ก็ในราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
พอหัวไชเท้าเก็บเกี่ยวได้ งานของโรงงานไชโป๊จึงเริ่มขึ้น รถบรรทุกจะลำเลียงผลผลิตจากไร่มาส่งให้โรงงาน โรงงานใครโรงงานมัน มากันมืดฟ้ามัวดินก็คิดดูง่ายๆ แต่ละโรงโดยเฉลี่ยรับหัวไชเท้าสดได้โรงละ 2,000 ตัน สิบล้อ 1 คัน ขนได้ประมาณ 20 ตัน โรงหนึ่งใช้เป็น 100 คัน 10 โรง ก็เป็นพันคัน
หัวไชเท้าเข้ามาเงินก็จ่ายสดๆ กันตรงนั้นเลย ราคาซื้อตอนนี้กิโลกรัมละ 1.50 บาท 2 ล้านโล (2,000 ตัน) ก็ 3 ล้านบาท หัวไชเท้ามา เกลือก็ต้องมา เกลือก็ใช้พอๆ กับหัวไชเท้า ค่าเกลือราคาก็เท่ากัน ก็เท่ากับต้องจ่ายอีก 3 ล้าน นี่เฉพาะแต่ละโรง 10 โรง รวมๆ กันก็ 60 ล้าน
เดือนธันวาคมต่อกับต้นมกราคม เงินสะพัดอยู่ที่เจ็ดเสมียนไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ เพราะไม่ใช่หมดแค่นั้น หัวไชเท้ามางานก็เริ่ม ต้องระดมคนงานรายวันมาเร่งล้าง เร่งตาก เร่งเอาเข้าโกดังหมัก ทำกันข้ามวันข้ามคืนกว่าจะลำเลียงหัวไชเท้าเข้าไปหมักเกลือในโกดังได้จนหมด ค่าจ้างคน ค่าโน่นค่านี่ จิปาถะสดๆ ทั้งนั้น
ไม่เรียกเศรษฐีตัวจริงแล้วจะให้เรียกว่าอะไร เงินที่จ่ายเป็นทุนไปก่อนตอนนั้นก็ค่อยๆ เก็บกินกันตลอดทั้งปี เพราะโรงงานเหล่านี้จะค่อยๆ ทยอยเอาหัวไชโป๊ที่หมักเกลือไว้ในโกดัง มาดองหวาน แปรรูป บรรจุ และส่งให้ลูกค้าที่สั่งไชโป๊เข้ามาตลอดทั้งปี ทำกำไรเงียบๆ
พอเป็นไชโป๊หวาน กิโลหนึ่งราคาขายก็เกือบ 20 บาท คำนวณกันเองนะครับว่า ดอกผลจากหัวไชเท้างอกเงยขึ้นมาสักกี่เปอร์เซ็นต์
แต่ยังก่อน อย่างที่บอกไว้แล้วว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ พวกเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมากัน 2-3 ชั่วอายุคน ก่อนจะมาเป็นโรงงานใหญ่โตอย่างนี้ได้ก็ไม่ง่าย สุ่มสำรวจลงไป 4-5 เจ้า ตำนานของหัวไชโป๊ที่นี่ดูไปก็น่าสนใจไม่น้อย
คุณทิพวัลย์ แววทอง ทายาทรุ่นที่ 2 ของโรงานไชโป๊แม่กิมฮวย เล่าว่า พ่อกับแม่เธอเห็นว่าแถวนี้ปลูกหัวไชเท้ากัน ก็เลยเอามาดอง ตอนแรกๆ ทำกันอยู่หลังบ้าน กินบ้าง เอาไปแลกข้าวบ้าง หรือก็ขายบ้าง ไม่เป็นชิ้นเป็นอันอะไร และช่วงแรกก็ทำแค่ดองเค็มคือแค่หมักเกลือ ยังไม่มีดองหวานเพิ่มมูลค่าอย่างทุกวันนี้
แม่เล่าว่า คนต้องการมากขึ้น ก็ขยายไปเรื่อยไม่รู้เนื้อรู้ตัว จนตอนหลังเริ่มเอามาดองหวานกัน จำไม่ได้ใครเป็นคนเริ่ม ทีนี้ก็เลยหันมาดองหวานกัน มาสิบปีหลังมานี่ที่ความต้องการมันเพิ่มขึ้น จนทำไม่ทัน คุณทิพวัลย์ เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของไชโป๊แม่ฮวย ตามที่ได้รับฟังมาจากบรรพบุรุษ
ถึงวันนี้ ไชโป๊แม่กิมฮวย นับเป็นรายแรก และอาจจะเป็นรายเดียว ในบรรดาของดี จากอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ที่ได้ชื่อว่าเป็น ไชโป๊ขึ้นห้าง เพราะปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้า คอนวีเนียนสโตร์ชื่อดังที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น โลตัส ฟู้ดแลนด์ เดอะมอลล์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โกลเด้นเพลส และในร้านสะดวกซื้อสังคมสุขภาพ (เลมอนฟาร์ม เดิม) จะมีไชโป๊แม่กิมฮวยปรากฏอยู่
ไชโป๊แม่ทองสุข ก็เป็นอีกรายที่มีความเป็นมาคล้ายกัน เพียงแต่ในปัจจุบันไชโป๊แม่ทองสุขกำลังจะตกอยู่ในมือของทายาทรุ่นที่ 3 แล้ว คุณทองสุข พวงรอด ซึ่งปัจจุบันอายุ 65 ปี เล่าว่า เริ่มต้นจากคุณแม่ของคุณทองสุขอีกที ตอนนั้นทำกันง่ายๆ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากอะไร
หัวไชเท้าก็ปลูกกันแถวเจ็ดเสมียนนี่แหละ ชาวไร่ก็เอามาส่งให้ ก็ดองเค็มกินบ้างขายบ้าง ไม่มีใครรู้จักหรอกว่ามาจากที่นี่ เพราะไม่มียี่ห้ออะไร ไปขายตามตลาด แต่พอมาดองหวานกัน คนก็เริ่มรู้จัก ก็มาบรรจุในแพ็กเกจ ยี่ห้อใครยี่ห้อมัน ไปขายก็ตลาดใครตลาดมัน เพราะทำกันมานานมีเจ้าประจำกันอยู่ ที่สำคัญคือ ตลาดยังกว้างสินค้าไม่พอขาย ก็เลยไม่ต้องแย่งตลาดกัน คนทำไชโป๊แถวนี้จึงรู้จักกันหมด เพราะเห็นกันมาแต่เล็กแต่น้อยก็นับถือกัน ยังมีลักษณะเป็นชนบทอยู่
แต่อีกด้าน แกก็บอกว่า พอทุกอย่างเปลี่ยนไปเข้าระบบก็ซับซ้อนขึ้น จะรับซื้อหัวไชเท้าอย่างเดียวก็ไม่ได้แล้ว ไม่มีใครทำมาส่งให้หรอก ก็ต้องมีระบบ ลูกไร่ ออกทุน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา ไปให้คนปลูกก่อน จึงจะได้ไชโป๊เข้าโรงงาน ตอนนี้ทุกเจ้าก็มี ลูกไร่ กันหมด ในสวนไชโป๊แม่ทองสุข มีอยู่ 12-14 ราย เข้าบ้างออกบ้างตามประสา
อีกรายคือ ไชโป๊แม่บุญส่ง คุณวัฒนา สกุลณา ทายาทรุ่นที่ 2 ซึ่งต้องออกจากราชการมาช่วยแม่คือ คุณบุญส่ง บริหารกิจการในรุ่นที่ 2 พร้อมกับพี่ชายและพี่สาว บอกว่า รายของแกต่างออกมาหน่อย ตรงที่ แม่เคยเป็นลูกจ้างหั่นผัก (แปรรูปหัวไชโป๊) ของอีกโรงงานหนึ่งในย่านนั้น และเจ้าของเห็นว่าแม่ขยันเลยให้เงินมาทำทุน 5,000 บาท เมื่อ 30 ปีก่อน (2518) ช่วงแรกไปหาบขายก่อน แต่เพราะมีสูตรเด็ดที่ไม่เหมือนใคร เลยตั้งหลักเป็นไชโป๊แม่บุญส่ง ได้ถึงทุกวันนี้
ถึงตอนนี้ทำเหมือนแต่ก่อนไม่ได้แล้ว ทุกโรงแถวนี้ต้องมีระบบ มีมาตรฐานความสะอาดปลอดภัย ห่วงใยเอาใจใส่ผู้บริโภคมากขึ้น อย่างของผมนี่ก็ได้รับมาตรฐาน อย. ในระบบโรงงานเป็นรายแรกของเจ็ดเสมียน ตอนนี้กำลังทำมาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) ของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ เรื่องรสชาติก็ได้การรับรองในระดับ เชลล์ชวนชิม เหมือนเจ้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแม่กิมฮวย แม่ทองสุข เหมือนกัน และยังได้ของโอท็อปด้วย คุณวัฒนา พูดถึงการพัฒนาสินค้าในปัจจุบัน
พอมีสินค้า มีการพัฒนา ทั้งความอร่อย หีบห่อสวยงาม สะอาดปลอดภัย คนก็นิยมหลากหลายขยายเพิ่มขึ้น เมนูใหม่ๆ ก็ถูกคิดค้นขึ้นจากแม่บ้านสมองไว ไม่จำกัดเฉพาะเอาไปผัดไข่ หรือยำ หรือเป็นส่วนผสมในสาคู และข้าวเกรียบปากหม้อ หรือใส่ในผัดไทย เท่านั้น
เมนูใหม่ๆ มีทั้ง ไชโป๊ผัดกะเพรา ผัดกะทิ ไข่เจียวไชโป๊ ฯลฯ สินค้าก็ขายดีขึ้น ก็ต้องพัฒนารูปแบบแปรรูปหลากหลายทั้งแบบเส้น แบบลูกเต๋า แบบสับ แบบหัว ให้เหมาะกับการใช้งาน ก็มีแพ็กเกจที่สวยงาม ตลาดก็โตไปอีก โตจนกระทั่งถึงขั้นต้องแย่งหัวไชเท้ากันก็มี แต่ก็ยังไม่รุนแรงอะไร
การทำไชโป๊ที่ดูเหมือนง่ายในอดีตก็ซับซ้อนขึ้นอีกหน่อย แต่ผลที่ได้ก็เท่าเดิมคือก็ยังกำไรงามอยู่ ยิ่งปัจจุบัน มีโครงการหน่วยงานรัฐหลายแห่งเข้าไปให้การแนะนำสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) กระทรวงสาธารณสุข
และล่าสุด จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่เห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมนี้ ว่าจะสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกทำเงินตราเข้าประเทศได้ ก็เลยนำโครงการพันธมิตรอุตสาหกรรม หรือคลัสเตอร์ เข้าไป จัดตั้งเป็นกลุ่ม คลัสเตอร์ไชโป๊ แยกออกมาโดยเฉพาะ
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือให้รวมกลุ่มพัฒนา ร่วมมือ พึ่งพาอาศัยกัน และสมาชิกไม่ได้มีเพียงผู้ผลิตไชโป๊เท่านั้น แต่ยังลงลึกไปถึงชาวไร่ที่ปลูกหัวไชเท้า เพื่อให้พัฒนากันไปได้ทั้งระบบ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนคือ หัวไชเท้าไม่พอ ถ้ามัวมานั่งคุยกันแต่คนทำไชโป๊ ก็เล็งเห็นว่าแก้ปัญหาไม่ได้แน่ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีเกษตรกรเข้ามาร่วมแล้วหลายราย ซึ่งกลุ่มต้องช่วยเหลือกันไป
และบทสรุปของการดำเนินการโครงการดังกล่าวนี้ คงต้องยืมมาจาก คุณสุทธิเดช ริมธีระกุล นายกเทศมนตรี ตำบลเจ็ดเสมียน ที่บอกว่า ถึงรัฐจะไม่เข้ามาช่วย ผู้ประกอบการก็ยืนได้ด้วยตัวเองอย่างมั่นคงอยู่แล้ว แต่เข้ามาอย่างนี้ก็ยิ่งดี ยิ่งเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งแน่นอน ย่อมไม่ใช่ผลดีแค่เฉพาะกับชาวตำบลเจ็ดเสมียน หรืออำเภอโพธาราม หรือแค่จังหวัดราชบุรีเท่านั้น แต่น่าจะเป็นผลดีต่อคนไทยทุกคน หากไชโป๊จะสามารถขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น นำเงินตรามาพัฒนาประเทศต่อไป
และนั่นก็คือ บทสรุปของตำนาน ไชโป๊ เจ็ดเสมียน ที่จะยังมีสีสันคู่ครัวอีกต่อไป อย่างไม่มีวันจบ นั่นเอง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-