บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม
ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถามของ นางผ่องศรี แซ่จึง เรื่อง นโยบายการรับจำนำ
ข้าวนาปี ๒๕๔๔/๒๕๔๕ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
พาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถามของ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เรื่อง การประมูล
อาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินของสนามบินสุวรรณภูมิ ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถามของ นายศิริโชค โสภา เรื่อง แนวทางการบริหาร
บริษัทการบินไทย โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถามของ นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ เรื่อง การจัดสรร
งบประมาณก่อสร้างถนนลาดยางของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ถาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามแจ้งว่า รัฐบาลได้ดำเนินการ
ในเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงไม่ติดใจที่จะถามและขอถอนกระทู้ถามดังกล่าว ตามข้อบังคับ
การประชุมฯ ข้อ ๑๓๕
๒.๒ กระทู้ถามของ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ เรื่อง การพัฒนา
อาคารรกร้างว่างเปล่าในที่ดินเอกชนที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายสมบัติ อุทัยสาง และนายสรอรรถ กลิ่นประทุม) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถามของ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาการขุดค้น
ขุมทรัพย์ของกองทัพญี่ปุ่นที่ถ้ำลิเจีย จังหวัดกาญจนบุรี ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ต่อจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติ
หน้าที่แทน และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญ
นิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๓) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก
๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ….
ซึ่ง นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
(นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
(นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป
และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอา
ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายจองชัย เที่ยงธรรม ๒. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา
๓. นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ ๔. นายสมชาติ เลขาลาวัณย์
๕. นางสาวสิริพันธ์ พลรบ ๖. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
๗. นายเงิน บุญสุภา ๘. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๙. นายประจวบ อึ้งภากรณ์ ๑๐. นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
๑๑. นางมยุรา มนะสิการ ๑๒. นางกรรณิกา ธรรมเกษร
๑๓. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๑๔. นายนิพนธ์ คนขยัน
๑๕. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๖. นายสงกรานต์ คำพิไสย์
๑๗. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ ๑๘. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๑๙. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ๒๐. นายสถาพร มณีรัตน์
๒๑. นายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ๒๒. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
๒๓. พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ ๒๔. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๕. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ ๒๖. นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์
๒๗. นายเอกพจน์ ปานแย้ม ๒๘. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์
๒๙. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๓๐. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๑. นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ ๓๒. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ
๓๓. นายพีระเพชร ศิริกุล ๓๔. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๓๕. พันตำรวจเอก พนาเจือเพ็ชร์ กฤษณราช
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
พิทูร พุ่มหิรัญ
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๓ ฉบับ)
********************************
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม
ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถามของ นางผ่องศรี แซ่จึง เรื่อง นโยบายการรับจำนำ
ข้าวนาปี ๒๕๔๔/๒๕๔๕ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
พาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถามของ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เรื่อง การประมูล
อาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินของสนามบินสุวรรณภูมิ ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถามของ นายศิริโชค โสภา เรื่อง แนวทางการบริหาร
บริษัทการบินไทย โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถามของ นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ เรื่อง การจัดสรร
งบประมาณก่อสร้างถนนลาดยางของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ถาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามแจ้งว่า รัฐบาลได้ดำเนินการ
ในเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงไม่ติดใจที่จะถามและขอถอนกระทู้ถามดังกล่าว ตามข้อบังคับ
การประชุมฯ ข้อ ๑๓๕
๒.๒ กระทู้ถามของ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ เรื่อง การพัฒนา
อาคารรกร้างว่างเปล่าในที่ดินเอกชนที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายสมบัติ อุทัยสาง และนายสรอรรถ กลิ่นประทุม) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถามของ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาการขุดค้น
ขุมทรัพย์ของกองทัพญี่ปุ่นที่ถ้ำลิเจีย จังหวัดกาญจนบุรี ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ต่อจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติ
หน้าที่แทน และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญ
นิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๓) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก
๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ….
ซึ่ง นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
(นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
(นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป
และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอา
ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายจองชัย เที่ยงธรรม ๒. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา
๓. นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ ๔. นายสมชาติ เลขาลาวัณย์
๕. นางสาวสิริพันธ์ พลรบ ๖. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
๗. นายเงิน บุญสุภา ๘. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๙. นายประจวบ อึ้งภากรณ์ ๑๐. นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
๑๑. นางมยุรา มนะสิการ ๑๒. นางกรรณิกา ธรรมเกษร
๑๓. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๑๔. นายนิพนธ์ คนขยัน
๑๕. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๖. นายสงกรานต์ คำพิไสย์
๑๗. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ ๑๘. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๑๙. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ๒๐. นายสถาพร มณีรัตน์
๒๑. นายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ๒๒. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
๒๓. พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ ๒๔. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๕. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ ๒๖. นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์
๒๗. นายเอกพจน์ ปานแย้ม ๒๘. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์
๒๙. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๓๐. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๑. นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ ๓๒. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ
๓๓. นายพีระเพชร ศิริกุล ๓๔. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๓๕. พันตำรวจเอก พนาเจือเพ็ชร์ กฤษณราช
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
พิทูร พุ่มหิรัญ
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๓ ฉบับ)
********************************