กรุงเทพฯ--28 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดการประชุม
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 6
ของ
ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
26 ธันวาคม 2544
เรียน ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
กรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ที่นับถือ
และท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ผมมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสนำคณะกรรมาธิการ เขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายไทย) เดินทางมาร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 6 ที่เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ในวันนี้
ผมขอขอบคุณ ฯพณฯ และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายลาว) ทุกท่านที่ได้กรุณาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผมและคณะผู้แทนไทย ทั้งในระดับการประชุมคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสและในระดับ รัฐมนตรี ผมขอเรียนว่าคณะกรรมาธิการฯ (ฝ่ายไทย) ทุกท่านชื่นชมและประทับใจ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งของคณะกรรมาธิการฯ (ฝ่ายลาว) ในการจัดประชุมครั้งนี้ขึ้นที่หลวงพระบาง เมืองมรดกโลกซึ่งมีความสวยงามและมีความสำคัญทาง ประวัติศาสตร์
ฯพณฯ ที่นับถือ
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่าในรอบปีปฏิบัติงาน 2543-2544 นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2544 คณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมฯ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความจริงใจ จนเป็นผลให้สามารถร่วมกันจัดทำหลักเขตแดน ได้เพิ่มเติมอีก 37 หลัก เป็นระยะทางประมาณ 97.1 กิโลเมตร หากนับแต่ได้เริ่มงานกันมาเมื่อปี 2540 แล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนได้ทั้งสิ้น 148 หลัก เป็นระยะทางประมาณ 557.1 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ชุดสำรวจร่วมฯ ต้องเผชิญอุปสรรคและปัญหานานัปการ ทั้งสภาพภูมิประเทศที่ทุรกันดารและไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ความเสี่ยงภัยจากการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดและทุ่นระเบิด โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนที่ 16 ซึ่งชุดสำรวจร่วมฯ ได้เข้าปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา และที่สำคัญคือปัญหาการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ของทั้งสองฝ่ายอันเนื่องจากความเข้าใจผิด ซึ่งทำให้ต้องดำเนินการด้วยความสุขุมรอบคอบเป็นพิเศษ
ผมจึงขอถือโอกาสนี้แสดงความชื่นชมต่อประธานคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมฯ ผู้อำนวยการโครงการร่วมและเจ้าหน้าที่กองสนามของทั้งสองฝ่ายที่ได้ ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก และได้ร่วมมือกัน ฉันมิตร ด้วยความจริงใจ และด้วยเหตุด้วยผล จนสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปได้อย่างดีเยี่ยม
แม้ว่าปัญหาเขตแดนจะเคยเป็นสาเหตุแห่งความบาดหมางและความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน แต่ผมเชื่อมั่นว่าด้วยความจริงใจ ด้วยเหตุด้วยผล และด้วยการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะสามารถดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามสันปันน้ำที่ยังเหลืออยู่อีกให้แล้วเสร็จภายในปี 2545 ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งกันไว้ เพื่อให้เขตแดนที่ได้กำหนดมาแต่อดีตมีความชัดเจนแน่นอนและเป็นเขตแดนแห่งสันติภาพและมิตรภาพอันยั่งยืน ฯพณฯ ที่นับถือ
ตั้งแต่เริ่มการปฏิบัติงานเมื่อปี 2540 คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ ได้เผชิญปัญหาหลายรูปแบบ อาทิ ปัญหาแนวสันปันน้ำในภูมิประเทศจริงไม่สอดคล้องกับแนวเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับ อินโดจีน มาตราส่วน 1: 200,000 ปัญหาสภาพภูมิประเทศถูกทำลายจนไม่สามารถหาแนวสันปันน้ำ ไม่ว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือด้วยความรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ของประชาชน ทำให้ชุดสำรวจร่วมฯ ไม่สามารถหาแนวเขตแดนที่แท้จริง และปัญหาการตีความสนธิสัญญาและผลการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนที่แตกต่างกัน
ทุกครั้งที่เผชิญอุปสรรคปัญหา ทั้งสองฝ่ายก็ได้ร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาจนทำให้สามารถกำหนดแนวทางในการดำเนินการให้มีความคืบหน้าเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจของเราต่อไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาบริเวณแก่งผาใด บริเวณผาหม่น-ภูชี้ฟ้า บริเวณห้วยดอน บริเวณ บ้านทุ่งหนองบัว บริเวณภูป่าไร่-ภูสาน และบริเวณภูด่าง
ฯพณฯ ที่นับถือ
การแก้ไขปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้างจะต้องเป็นที่ยอมรับและสามารถอธิบายต่อสาธารณชนของทั้งสองฝ่ายได้ เพื่อที่เขตแดนซึ่งได้กำหนดกันมาแล้วในอดีต จะได้มีความชัดเจนแน่นอนและเป็นเขตแดนแห่งสันติภาพและมิตรภาพอันยั่งยืน ผมมีความเห็นว่าเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะต้องมองปัญหาเหล่านี้ในภาพรวมเมื่อได้ร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จตลอดแนว บนพื้นฐานของหลักการที่ว่า “ปัญหาลักษณะเดียวกันจะต้องใช้แนวทางที่เป็นธรรมอย่างเดียวกันในการแก้ไข” ฯพณฯ ที่นับถือ ในไม่ช้านี้การปฏิบัติงานสำรวจของเราจะเข้าสู่ขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่งคือการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำ แม่น้ำโขงเคยเป็นที่มาของความขัดแย้งและ ได้รับการแก้ไขลุล่วงไปครั้งหนึ่งด้วยการจัดทำสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1926 และแผนที่เส้นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ในแม่น้ำโขง อย่างไรก็ดี แม่น้ำโขงก็ยังคงเป็นจุดที่ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างประเทศของเราทั้งสองมาหลายครั้งในหลายทศวรรษที่ผ่านมา และบัดนี้ก็ตกเป็นภาระอันหนักหน่วงของเราที่จะต้องพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไขกันต่อไป โดยเป็นที่ตระหนักว่าเขตแดนใน แม่น้ำโขงเป็นมรดกที่ประเทศของเราทั้งสองได้รับมา จึงควรดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุข้อยุติที่ยั่งยืนถาวรอันจะทำให้แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแห่งสันติภาพ มิตรภาพ และการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง ตามที่ผู้นำรัฐบาลของเราได้เคยแสดงเจตจำนงมาหลายครั้งแล้ว
ฯพณฯ ที่นับถือ
ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งนี้ จะเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองฝ่ายได้มาปรึกษาหารือกันและสามารถร่วมมือกันด้วยดี มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์และจริงใจเพื่อให้การ ปฏิบัติงานรุดหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเช่นที่ผ่านมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
คำกล่าวเปิดการประชุม
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 6
ของ
ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
26 ธันวาคม 2544
เรียน ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
กรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ที่นับถือ
และท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ผมมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสนำคณะกรรมาธิการ เขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายไทย) เดินทางมาร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 6 ที่เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ในวันนี้
ผมขอขอบคุณ ฯพณฯ และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายลาว) ทุกท่านที่ได้กรุณาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผมและคณะผู้แทนไทย ทั้งในระดับการประชุมคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสและในระดับ รัฐมนตรี ผมขอเรียนว่าคณะกรรมาธิการฯ (ฝ่ายไทย) ทุกท่านชื่นชมและประทับใจ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งของคณะกรรมาธิการฯ (ฝ่ายลาว) ในการจัดประชุมครั้งนี้ขึ้นที่หลวงพระบาง เมืองมรดกโลกซึ่งมีความสวยงามและมีความสำคัญทาง ประวัติศาสตร์
ฯพณฯ ที่นับถือ
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่าในรอบปีปฏิบัติงาน 2543-2544 นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2544 คณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมฯ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความจริงใจ จนเป็นผลให้สามารถร่วมกันจัดทำหลักเขตแดน ได้เพิ่มเติมอีก 37 หลัก เป็นระยะทางประมาณ 97.1 กิโลเมตร หากนับแต่ได้เริ่มงานกันมาเมื่อปี 2540 แล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนได้ทั้งสิ้น 148 หลัก เป็นระยะทางประมาณ 557.1 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ชุดสำรวจร่วมฯ ต้องเผชิญอุปสรรคและปัญหานานัปการ ทั้งสภาพภูมิประเทศที่ทุรกันดารและไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ความเสี่ยงภัยจากการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดและทุ่นระเบิด โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนที่ 16 ซึ่งชุดสำรวจร่วมฯ ได้เข้าปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา และที่สำคัญคือปัญหาการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ของทั้งสองฝ่ายอันเนื่องจากความเข้าใจผิด ซึ่งทำให้ต้องดำเนินการด้วยความสุขุมรอบคอบเป็นพิเศษ
ผมจึงขอถือโอกาสนี้แสดงความชื่นชมต่อประธานคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมฯ ผู้อำนวยการโครงการร่วมและเจ้าหน้าที่กองสนามของทั้งสองฝ่ายที่ได้ ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก และได้ร่วมมือกัน ฉันมิตร ด้วยความจริงใจ และด้วยเหตุด้วยผล จนสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปได้อย่างดีเยี่ยม
แม้ว่าปัญหาเขตแดนจะเคยเป็นสาเหตุแห่งความบาดหมางและความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน แต่ผมเชื่อมั่นว่าด้วยความจริงใจ ด้วยเหตุด้วยผล และด้วยการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะสามารถดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามสันปันน้ำที่ยังเหลืออยู่อีกให้แล้วเสร็จภายในปี 2545 ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งกันไว้ เพื่อให้เขตแดนที่ได้กำหนดมาแต่อดีตมีความชัดเจนแน่นอนและเป็นเขตแดนแห่งสันติภาพและมิตรภาพอันยั่งยืน ฯพณฯ ที่นับถือ
ตั้งแต่เริ่มการปฏิบัติงานเมื่อปี 2540 คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ ได้เผชิญปัญหาหลายรูปแบบ อาทิ ปัญหาแนวสันปันน้ำในภูมิประเทศจริงไม่สอดคล้องกับแนวเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับ อินโดจีน มาตราส่วน 1: 200,000 ปัญหาสภาพภูมิประเทศถูกทำลายจนไม่สามารถหาแนวสันปันน้ำ ไม่ว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือด้วยความรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ของประชาชน ทำให้ชุดสำรวจร่วมฯ ไม่สามารถหาแนวเขตแดนที่แท้จริง และปัญหาการตีความสนธิสัญญาและผลการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนที่แตกต่างกัน
ทุกครั้งที่เผชิญอุปสรรคปัญหา ทั้งสองฝ่ายก็ได้ร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาจนทำให้สามารถกำหนดแนวทางในการดำเนินการให้มีความคืบหน้าเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจของเราต่อไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาบริเวณแก่งผาใด บริเวณผาหม่น-ภูชี้ฟ้า บริเวณห้วยดอน บริเวณ บ้านทุ่งหนองบัว บริเวณภูป่าไร่-ภูสาน และบริเวณภูด่าง
ฯพณฯ ที่นับถือ
การแก้ไขปัญหาหลักเขตแดนที่คงค้างจะต้องเป็นที่ยอมรับและสามารถอธิบายต่อสาธารณชนของทั้งสองฝ่ายได้ เพื่อที่เขตแดนซึ่งได้กำหนดกันมาแล้วในอดีต จะได้มีความชัดเจนแน่นอนและเป็นเขตแดนแห่งสันติภาพและมิตรภาพอันยั่งยืน ผมมีความเห็นว่าเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะต้องมองปัญหาเหล่านี้ในภาพรวมเมื่อได้ร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จตลอดแนว บนพื้นฐานของหลักการที่ว่า “ปัญหาลักษณะเดียวกันจะต้องใช้แนวทางที่เป็นธรรมอย่างเดียวกันในการแก้ไข” ฯพณฯ ที่นับถือ ในไม่ช้านี้การปฏิบัติงานสำรวจของเราจะเข้าสู่ขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่งคือการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำ แม่น้ำโขงเคยเป็นที่มาของความขัดแย้งและ ได้รับการแก้ไขลุล่วงไปครั้งหนึ่งด้วยการจัดทำสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1926 และแผนที่เส้นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ในแม่น้ำโขง อย่างไรก็ดี แม่น้ำโขงก็ยังคงเป็นจุดที่ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างประเทศของเราทั้งสองมาหลายครั้งในหลายทศวรรษที่ผ่านมา และบัดนี้ก็ตกเป็นภาระอันหนักหน่วงของเราที่จะต้องพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไขกันต่อไป โดยเป็นที่ตระหนักว่าเขตแดนใน แม่น้ำโขงเป็นมรดกที่ประเทศของเราทั้งสองได้รับมา จึงควรดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุข้อยุติที่ยั่งยืนถาวรอันจะทำให้แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแห่งสันติภาพ มิตรภาพ และการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง ตามที่ผู้นำรัฐบาลของเราได้เคยแสดงเจตจำนงมาหลายครั้งแล้ว
ฯพณฯ ที่นับถือ
ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งนี้ จะเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองฝ่ายได้มาปรึกษาหารือกันและสามารถร่วมมือกันด้วยดี มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์และจริงใจเพื่อให้การ ปฏิบัติงานรุดหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเช่นที่ผ่านมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-