กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (1 มีนาคม 2544) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศภายหลังจากรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2544 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. นโยบายต่างประเทศจะต้องสะท้อนผลประโยชน์ของประเทศไทย มิใช่นโยบาย ต่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น โดยต้องครอบคลุมมิติต่างๆ ให้มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบายของ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อรัฐสภา ซึ่งมีหลายเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องกระทำ ทั้งที่มิได้กำหนดอยู่ในนโยบายต่างประเทศ แต่อาจอยู่ ในนโยบายด้านอื่นๆ แทน อาทิ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การท่องเที่ยว ตลอดจนการศึกษาที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
2. นโยบายต่างประเทศจะต้องสอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาลในระยะสั้น กล่าวคือ ต้องเป็นนโยบายที่จะต้องสะท้อนความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยฟื้นฟูตั้งแต่เศรษฐกิจฐานราก (grass-root economy) เรื่อยไปจนถึงเศรษฐกิจระดับบน ซึ่งในที่สุดจะต้อง ไปเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจระดับโลก ดังนั้น การดำเนินนโยบายต่างประเทศจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจเป็นสำคัญ (economic diplomacy) เพื่อให้การทูตมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย ในกรอบต่างๆ เช่น กลุ่มชุมชนของไทยกับกลุ่มชุมชนของประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศในเอเชีย และในที่สุดจะนำไปสู่ "ฐานการผลิตสินค้าร่วมกัน" (common production base) ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศตระหนักถึงความใหญ่ของตลาดในภูมิภาคนี้ (economy of scale)
3. นโยบายต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในระดับรัฐบาล ต่อรัฐบาล และประชาชนต่อประชาชน โดยจะพิจารณามิติต่างๆ (อาทิ ด้านเศรษฐกิจ และการค้า ด้านพลังงาน และด้านการเกษตร เป็นต้น) ของความสัมพันธ์กับแต่ละประเทศเพื่อนบ้านว่า มีประเด็นใดบ้างที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งก็ต้องส่งเสริมให้ดีต่อไป และความสัมพันธ์ด้านใดที่มีปัญหา และแนวทางในการแก้ปัญหาจะดำเนินการอย่างไร
4. นโยบายต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเอเชีย โดยจะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกกับกลุ่มประเทศใน เอเชียใต้ ซึ่งในกรณีนี้อาเซียนน่าจะมีบทบาทที่สำคัญและสร้างสรรค์ในการช่วยให้เกิดความร่วมมือ ดังกล่าว โดยความร่วมมือที่ประเทศไทยอยากให้เกิดขึ้นมานี้อาจจะเรียกว่า การประชุมหารือความ ร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue)
5. นโยบายความผูกพันที่ก้าวไปข้างหน้า (Forward Engagement) ซึ่งหมายถึง การเสริมความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งขยายความสัมพันธ์ในกรอบต่างๆ ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น อาทิ ความสัมพันธ์แม่โขง-คงคา เป็นต้น
6. นโยบายที่ให้ความสำคัญกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ (อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป) โดยจะกระชับความสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้น และจะสร้างกลไกในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นไปถึงประชาชนไทยในทุกระดับให้ได้มากที่สุด
7. นโยบายต่างประเทศที่จับต้องได้ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ (outreach programme) โดยจะจัดคณะของกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปพบและหารือกับประชาชนในภูมิภาคต่างๆ เป็นครั้งคราวเพื่อขอทราบความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ประชาชนเหล่านั้นอาจมีประสบการณ์โดยตรง อาทิ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดชายแดน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักว่า นโยบายต่างประเทศ นั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตลอดจนจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศในลักษณะที่เรียกว่า outside-in มิใช่กระทรวงการต่างประเทศกำหนดมาตรการต่างๆ ในลักษณะ inside-out โดยมิได้ฟังความคิดเห็นของประชาชนแต่อย่างใด
8. นโยบายต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ในทั้ง 2 ระดับ กล่าวคือ รัฐบาลจะสนับสนุนให้ใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการบริหารราชการแผ่นดินในทุกระดับ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสถานศึกษาทุกระดับ ตลอดจนการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่ได้มีการรองรับโดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นต้น และอีกระดับคือ รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สาระสำคัญของนโยบายที่ได้กล่าวข้างต้น อาจมีน้ำหนักในแต่ละมิติแตกต่างจากที่เคยมีอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่เป็นกรอบความร่วมมือที่ดีอยู่แล้ว รัฐบาลก็จะดำเนินการต่อไปให้สร้างสรรค์ขึ้น ส่วนกรอบความสัมพันธ์ใดที่ยังมิได้ริเริ่ม เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ก็จะกระทำเพิ่มเติม เพื่อที่จะนำประเทศไทยไปสู่สังคมระหว่างประเทศได้อย่างเป็นที่ยอมรับต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (1 มีนาคม 2544) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศภายหลังจากรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2544 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. นโยบายต่างประเทศจะต้องสะท้อนผลประโยชน์ของประเทศไทย มิใช่นโยบาย ต่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น โดยต้องครอบคลุมมิติต่างๆ ให้มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบายของ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อรัฐสภา ซึ่งมีหลายเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องกระทำ ทั้งที่มิได้กำหนดอยู่ในนโยบายต่างประเทศ แต่อาจอยู่ ในนโยบายด้านอื่นๆ แทน อาทิ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การท่องเที่ยว ตลอดจนการศึกษาที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
2. นโยบายต่างประเทศจะต้องสอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาลในระยะสั้น กล่าวคือ ต้องเป็นนโยบายที่จะต้องสะท้อนความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยฟื้นฟูตั้งแต่เศรษฐกิจฐานราก (grass-root economy) เรื่อยไปจนถึงเศรษฐกิจระดับบน ซึ่งในที่สุดจะต้อง ไปเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจระดับโลก ดังนั้น การดำเนินนโยบายต่างประเทศจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจเป็นสำคัญ (economic diplomacy) เพื่อให้การทูตมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย ในกรอบต่างๆ เช่น กลุ่มชุมชนของไทยกับกลุ่มชุมชนของประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศในเอเชีย และในที่สุดจะนำไปสู่ "ฐานการผลิตสินค้าร่วมกัน" (common production base) ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศตระหนักถึงความใหญ่ของตลาดในภูมิภาคนี้ (economy of scale)
3. นโยบายต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในระดับรัฐบาล ต่อรัฐบาล และประชาชนต่อประชาชน โดยจะพิจารณามิติต่างๆ (อาทิ ด้านเศรษฐกิจ และการค้า ด้านพลังงาน และด้านการเกษตร เป็นต้น) ของความสัมพันธ์กับแต่ละประเทศเพื่อนบ้านว่า มีประเด็นใดบ้างที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งก็ต้องส่งเสริมให้ดีต่อไป และความสัมพันธ์ด้านใดที่มีปัญหา และแนวทางในการแก้ปัญหาจะดำเนินการอย่างไร
4. นโยบายต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเอเชีย โดยจะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกกับกลุ่มประเทศใน เอเชียใต้ ซึ่งในกรณีนี้อาเซียนน่าจะมีบทบาทที่สำคัญและสร้างสรรค์ในการช่วยให้เกิดความร่วมมือ ดังกล่าว โดยความร่วมมือที่ประเทศไทยอยากให้เกิดขึ้นมานี้อาจจะเรียกว่า การประชุมหารือความ ร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue)
5. นโยบายความผูกพันที่ก้าวไปข้างหน้า (Forward Engagement) ซึ่งหมายถึง การเสริมความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งขยายความสัมพันธ์ในกรอบต่างๆ ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น อาทิ ความสัมพันธ์แม่โขง-คงคา เป็นต้น
6. นโยบายที่ให้ความสำคัญกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ (อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป) โดยจะกระชับความสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้น และจะสร้างกลไกในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นไปถึงประชาชนไทยในทุกระดับให้ได้มากที่สุด
7. นโยบายต่างประเทศที่จับต้องได้ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ (outreach programme) โดยจะจัดคณะของกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปพบและหารือกับประชาชนในภูมิภาคต่างๆ เป็นครั้งคราวเพื่อขอทราบความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ประชาชนเหล่านั้นอาจมีประสบการณ์โดยตรง อาทิ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดชายแดน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักว่า นโยบายต่างประเทศ นั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตลอดจนจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศในลักษณะที่เรียกว่า outside-in มิใช่กระทรวงการต่างประเทศกำหนดมาตรการต่างๆ ในลักษณะ inside-out โดยมิได้ฟังความคิดเห็นของประชาชนแต่อย่างใด
8. นโยบายต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ในทั้ง 2 ระดับ กล่าวคือ รัฐบาลจะสนับสนุนให้ใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการบริหารราชการแผ่นดินในทุกระดับ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสถานศึกษาทุกระดับ ตลอดจนการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่ได้มีการรองรับโดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นต้น และอีกระดับคือ รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สาระสำคัญของนโยบายที่ได้กล่าวข้างต้น อาจมีน้ำหนักในแต่ละมิติแตกต่างจากที่เคยมีอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่เป็นกรอบความร่วมมือที่ดีอยู่แล้ว รัฐบาลก็จะดำเนินการต่อไปให้สร้างสรรค์ขึ้น ส่วนกรอบความสัมพันธ์ใดที่ยังมิได้ริเริ่ม เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ก็จะกระทำเพิ่มเติม เพื่อที่จะนำประเทศไทยไปสู่สังคมระหว่างประเทศได้อย่างเป็นที่ยอมรับต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-