กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรม เลอ รอยัล เมริเดียน กรุงเทพฯ
1. วิธีการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า
1.1 สืบเนื่องจากการที่มาเลเซียไม่ได้โอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU เข้ามาลดภาษีตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2543 และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติให้ SEOM จัดทำวิธีการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้าหรือ modality of modification of concessions และเสนอต่อที่ประชุม AEM ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ทั้งนี้ หาก AEM เห็นชอบ อาเซียนก็จะใช้ modality ดังกล่าวต่อไปในอนาคต รวมทั้งใช้กับกรณีของมาเลเซียด้วย สำหรับการประชุมครั้งนี้ SEOM ได้พิจารณาจัดทำ modality และมีมติเห็นชอบในขั้นตอนสำคัญๆของ modality ซึ่งไทยได้ผลักดันผลประโยชน์ของไทยได้สำเร็จ โดยเฉพาะในเรื่องขอบเขตของรายการสินค้าที่จะอนุญาตให้มีการแก้ไข การให้การชดเชยและกรอบเวลา ดังนี้
ขอบเขตการแก้ไข- จำกัดเฉพาะสินค้าซึ่งอยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (TEL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542
(ไทยมี 37 รายการ เช่น น้ำมันพืช เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น)
การแจ้ง- ต้องยื่นคำขอแก้ไขล่วงหน้าซึ่งประกอบด้วยข้อมูลรายการสินค้า เหตุผลของมาตรการที่จะใช้ ระยะเวลาในการแก้ไขและปัญหาที่เป็นสาเหตุแห่งการแก้ไข
การชดเชย- ประเทศที่ขอแก้ไขต้องเจรจาเรื่องการชดเชยความเสียหายแก่ประเทศสมาชิกอื่นที่ได้รับผลกระทบ และการให้การชดเชยตกลงกันได้จากการเจรจาดังกล่าวจะให้กับสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ
กรอบเวลา- แต่ละขั้นตอนของการดำเนินการแก้ไขข้อลดหย่อนต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอน
1.2 เนื่องจาก modality นี้เป็นเรื่องของพันธกรณีภายใต้ความตกลง CEPT ซึ่งเป็นข้อผูกพันด้านกฎหมาย อาเซียนจึงจะจัดทำในรูปแบบของพิธีสารและเสนอ AEM ให้ความเห็นชอบในเดือนตุลาคม และ ลงนามในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
2. ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) ให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญคือการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริกาและการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมา AEM มีมติให้เปิดเสรีการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากกว่าความตกลงภายใต้ WTO (ITA 1) SEOM ได้พิจารณาร่างความตกลงฯ ซึ่งร่างโดยฝ่ายเลขานุการของคณะทำงานระดับสูงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Task Force) โดยร่างดังกล่าวกำหนดให้มีการเปิดเสรีการค้า การบริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะระบุระยะเวลา ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นแตกต่างกันมาก เนื่องจากสิงคโปร์พยายามผลักดันและรวบรัดให้ที่ประชุมยอมรับร่างนี้ แต่ไทยและมาเลเซียคัดค้าน เพราะเห็นว่าร่างฯจะเป็นประโยชน์กับสิงคโปร์อย่างมากประเทศเดียว ประกอบกับขอบเขตของร่างฯกว้างขวางและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีการหารือภายในประเทศต่อไป ไทยจึงเสนอให้ร่างความตกลงกำหนดเพียงหลักการโดยไม่ต้องกำหนดรายละเอียด นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกใหม่ซึ่งยังไม่พร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและการเปิดเสรี โดยเฉพาะเวียดนามได้ขอให้มีการยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลา ในที่สุด SEOM จึงมีมติให้แต่ละประเทศนำร่างฯกลับมาหารือภายในประเทศก่อน ทั้งนี้ กำหนดว่าจะต้องเสนอร่างความตกลงต่อ AEM ในเดือนตุลาคม 2543
3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น
ที่ประชุมรับทราบผลความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee : AMEICC) เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) การพัฒนาพื้นที่ตะวันตก-ตะวันออก (WEC) การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลาง-เล็ก/อุตสาหกรรมสนับสนุน (SME/SI) และความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ย้ำให้ความร่วมมือกับอาเซียน 10 สาขา สืบเนื่องจากผลการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของ AEM-MITI เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 เช่น การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน และความเป็นไปได้ของการจัดทำความตกลงการลงทุน สนับสนุน e-AEAN และ e-ASIA การฝึกอบรมสถาบันฝึกอบรมของอาเซียน การสนับสนุนการพัฒนา SME ของอาเซียน (ทั้งด้านผู้เชี่ยวชาญ และจัดทำคู่มือประเมินผล) และการช่วยเหลือสมาชิกใหม่อาเซียน เป็นต้น
ทั้งนี้อาเซียนขอให้ญี่ปุ่นนำเสนอโครงการเพื่อดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับความต้องการของอาเซียน
4. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก (อาเซียน + จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
ที่ประชุมได้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกรอบแผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก และตกลงให้จัดทำโครงการความร่วมมือในภูมิภาคนี้ โดยเน้น 4 สาขาแรกก่อน (จากทั้งหมด 10 สาขา) คือ
(1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(2) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
(3) สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกเสนอโครงการฯ ต่อสำนักงานเลขาธิการอาเซียนรวมรวมและประมวลผลภายในกลางเดือนสิงหาคม 2543 และจะประชุมคณะทำงานฯ ในกลางเดือนกันยายน 2543 เจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (SEOM+3) จะประชุมต้นเดือนตุลาคม เพื่อพิจารณาสรุปผลข้อเสนอโครงการต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (AEM+3) ในวันที่ 7 ตุลาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
5. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-CER Linkage และ AFTA-CER FTA)
ที่ประชุมรับทราบผลความคืบหน้าการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการค้าในสาขาต่าง ๆ และเร่งรัดให้ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์พิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้า โดยเฉพาะด้านมาตรฐานคุณภาพ (SPS) สินค้าเกษตรส่งออกของอาเซียน เช่น ผลไม้ (ทุเรียน มะม่วง กล้วยหอม) และไก่ต้มสุก เป็นต้น รวมทั้งการดำเนินโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญแก่อาเซียนให้เกิดผลที่ชัดเจนต่อไป ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER และเห็นว่าขณะนี้ผลการศึกษาของคณะทำงานยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ จึงยังไม่ควรเร่งด่วนการสรุป แต่อย่างไรก็ตามอาเซียนบางประเทศมีความกังวลว่า การเปิดเสรีอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในค่อนข้างรุนแรง และฝ่ายออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ควรพิจารณาผ่อนคลายมาตรฐานการคุ้มครองสุขอนามัยมนุษย์ พืช และสัตว์ ( SPS) ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นการกีดกันทางการค้า รวมทั้งควรให้ความช่วยเหลือฝ่ายอาเซียนในด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้วย (capacity building)
6. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคการค้าของอาเซียนไปยังสหภาพยุโรป เช่น ข้อจำกัดโควตาสิ่งทอ การจัดการกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) สมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายการปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) การตัดสิทธิ GSP และการตอบโต้อุดหนุนและการต่อต้านการทุ่มตลาด เป็นต้น ส่วนสหภาพยุโรปแจ้งข้อกังวลต่ออาเซียน ในเรื่อง การเปิดเสรีการลงทุน ความล่าช้าในการปฏิบัติตามพันธกรณี AFTA ของอาเซียน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และพิธีการศุลกากร เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-
สรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรม เลอ รอยัล เมริเดียน กรุงเทพฯ
1. วิธีการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า
1.1 สืบเนื่องจากการที่มาเลเซียไม่ได้โอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU เข้ามาลดภาษีตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2543 และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติให้ SEOM จัดทำวิธีการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้าหรือ modality of modification of concessions และเสนอต่อที่ประชุม AEM ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ทั้งนี้ หาก AEM เห็นชอบ อาเซียนก็จะใช้ modality ดังกล่าวต่อไปในอนาคต รวมทั้งใช้กับกรณีของมาเลเซียด้วย สำหรับการประชุมครั้งนี้ SEOM ได้พิจารณาจัดทำ modality และมีมติเห็นชอบในขั้นตอนสำคัญๆของ modality ซึ่งไทยได้ผลักดันผลประโยชน์ของไทยได้สำเร็จ โดยเฉพาะในเรื่องขอบเขตของรายการสินค้าที่จะอนุญาตให้มีการแก้ไข การให้การชดเชยและกรอบเวลา ดังนี้
ขอบเขตการแก้ไข- จำกัดเฉพาะสินค้าซึ่งอยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (TEL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542
(ไทยมี 37 รายการ เช่น น้ำมันพืช เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น)
การแจ้ง- ต้องยื่นคำขอแก้ไขล่วงหน้าซึ่งประกอบด้วยข้อมูลรายการสินค้า เหตุผลของมาตรการที่จะใช้ ระยะเวลาในการแก้ไขและปัญหาที่เป็นสาเหตุแห่งการแก้ไข
การชดเชย- ประเทศที่ขอแก้ไขต้องเจรจาเรื่องการชดเชยความเสียหายแก่ประเทศสมาชิกอื่นที่ได้รับผลกระทบ และการให้การชดเชยตกลงกันได้จากการเจรจาดังกล่าวจะให้กับสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ
กรอบเวลา- แต่ละขั้นตอนของการดำเนินการแก้ไขข้อลดหย่อนต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอน
1.2 เนื่องจาก modality นี้เป็นเรื่องของพันธกรณีภายใต้ความตกลง CEPT ซึ่งเป็นข้อผูกพันด้านกฎหมาย อาเซียนจึงจะจัดทำในรูปแบบของพิธีสารและเสนอ AEM ให้ความเห็นชอบในเดือนตุลาคม และ ลงนามในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
2. ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) ให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญคือการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริกาและการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมา AEM มีมติให้เปิดเสรีการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากกว่าความตกลงภายใต้ WTO (ITA 1) SEOM ได้พิจารณาร่างความตกลงฯ ซึ่งร่างโดยฝ่ายเลขานุการของคณะทำงานระดับสูงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Task Force) โดยร่างดังกล่าวกำหนดให้มีการเปิดเสรีการค้า การบริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะระบุระยะเวลา ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นแตกต่างกันมาก เนื่องจากสิงคโปร์พยายามผลักดันและรวบรัดให้ที่ประชุมยอมรับร่างนี้ แต่ไทยและมาเลเซียคัดค้าน เพราะเห็นว่าร่างฯจะเป็นประโยชน์กับสิงคโปร์อย่างมากประเทศเดียว ประกอบกับขอบเขตของร่างฯกว้างขวางและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีการหารือภายในประเทศต่อไป ไทยจึงเสนอให้ร่างความตกลงกำหนดเพียงหลักการโดยไม่ต้องกำหนดรายละเอียด นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกใหม่ซึ่งยังไม่พร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและการเปิดเสรี โดยเฉพาะเวียดนามได้ขอให้มีการยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลา ในที่สุด SEOM จึงมีมติให้แต่ละประเทศนำร่างฯกลับมาหารือภายในประเทศก่อน ทั้งนี้ กำหนดว่าจะต้องเสนอร่างความตกลงต่อ AEM ในเดือนตุลาคม 2543
3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น
ที่ประชุมรับทราบผลความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee : AMEICC) เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) การพัฒนาพื้นที่ตะวันตก-ตะวันออก (WEC) การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลาง-เล็ก/อุตสาหกรรมสนับสนุน (SME/SI) และความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ย้ำให้ความร่วมมือกับอาเซียน 10 สาขา สืบเนื่องจากผลการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของ AEM-MITI เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 เช่น การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน และความเป็นไปได้ของการจัดทำความตกลงการลงทุน สนับสนุน e-AEAN และ e-ASIA การฝึกอบรมสถาบันฝึกอบรมของอาเซียน การสนับสนุนการพัฒนา SME ของอาเซียน (ทั้งด้านผู้เชี่ยวชาญ และจัดทำคู่มือประเมินผล) และการช่วยเหลือสมาชิกใหม่อาเซียน เป็นต้น
ทั้งนี้อาเซียนขอให้ญี่ปุ่นนำเสนอโครงการเพื่อดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับความต้องการของอาเซียน
4. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก (อาเซียน + จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
ที่ประชุมได้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกรอบแผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก และตกลงให้จัดทำโครงการความร่วมมือในภูมิภาคนี้ โดยเน้น 4 สาขาแรกก่อน (จากทั้งหมด 10 สาขา) คือ
(1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(2) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
(3) สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกเสนอโครงการฯ ต่อสำนักงานเลขาธิการอาเซียนรวมรวมและประมวลผลภายในกลางเดือนสิงหาคม 2543 และจะประชุมคณะทำงานฯ ในกลางเดือนกันยายน 2543 เจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (SEOM+3) จะประชุมต้นเดือนตุลาคม เพื่อพิจารณาสรุปผลข้อเสนอโครงการต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (AEM+3) ในวันที่ 7 ตุลาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
5. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-CER Linkage และ AFTA-CER FTA)
ที่ประชุมรับทราบผลความคืบหน้าการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการค้าในสาขาต่าง ๆ และเร่งรัดให้ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์พิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้า โดยเฉพาะด้านมาตรฐานคุณภาพ (SPS) สินค้าเกษตรส่งออกของอาเซียน เช่น ผลไม้ (ทุเรียน มะม่วง กล้วยหอม) และไก่ต้มสุก เป็นต้น รวมทั้งการดำเนินโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญแก่อาเซียนให้เกิดผลที่ชัดเจนต่อไป ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER และเห็นว่าขณะนี้ผลการศึกษาของคณะทำงานยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ จึงยังไม่ควรเร่งด่วนการสรุป แต่อย่างไรก็ตามอาเซียนบางประเทศมีความกังวลว่า การเปิดเสรีอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในค่อนข้างรุนแรง และฝ่ายออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ควรพิจารณาผ่อนคลายมาตรฐานการคุ้มครองสุขอนามัยมนุษย์ พืช และสัตว์ ( SPS) ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นการกีดกันทางการค้า รวมทั้งควรให้ความช่วยเหลือฝ่ายอาเซียนในด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้วย (capacity building)
6. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคการค้าของอาเซียนไปยังสหภาพยุโรป เช่น ข้อจำกัดโควตาสิ่งทอ การจัดการกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) สมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายการปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) การตัดสิทธิ GSP และการตอบโต้อุดหนุนและการต่อต้านการทุ่มตลาด เป็นต้น ส่วนสหภาพยุโรปแจ้งข้อกังวลต่ออาเซียน ในเรื่อง การเปิดเสรีการลงทุน ความล่าช้าในการปฏิบัติตามพันธกรณี AFTA ของอาเซียน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และพิธีการศุลกากร เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-