กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่บรูไน ดารุสซาลามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ประจำปี 2544 (ASEAN Tourism Forum 2001) ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียน (ASEAN National Tourism Organizations) ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2544 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2544 และการประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยว อาเซียน ประจำปี 2544 ซึ่งเป็นการพบปะกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในอาเซียนกับ ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14-16 มกราคม 2544 นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า คณะผู้แทนไทยนำโดยนายภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมีผลสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Forum)
การประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ประจำปี 2544 ซึ่งเป็นการประชุม ระหว่างภาคธุรกิจเอกชนด้านการท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 14-16 มกราคม 2544 มีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเอกชนทั่วโลกลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 1,000 คน ในพิธีเปิดงานการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนครั้งนี้ได้มีการประกาศผู้ชนะรางวัล ASEANTA Awards ซึ่งเป็นรางวัลที่สมาคมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association) จัดขึ้นเพื่อมอบให้แก่บุคคล หรือ องค์กรที่ทำให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นที่สวนสาธารณะจูราดองในบันดาร์ เสรีเบกาวัน เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2544 โดยมีพระราชาธิบดีและองค์รัชทายาทของบรูไน ดารุสซาลามให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานการรณรงค์ฯ ปรากฏว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลชนะเลิศ 4 ประเภท จาก 7 ประเภท ได้แก่ รางวัลภาพโปสเตอร์ที่ดีที่สุดของอาเซียน (Reflection of ASEAN : Cambodia, Indonesia, Trang-Thailand) รางวัลโปรแกรมสายการบินเข้าสู่อาเซียนที่ดีที่สุด (Royal Orchid Holidays) รางวัล ความเพียรพยายามในการรักษาวัฒนธรรมได้ดีที่สุดของอาเซียน (The Tourism Envoy of Thailand) และรางวัลสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของอาเซียน (Trang-The Underwater Wedding Project) ซึ่งผลการตัดสินนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ประชาสัมพันธ์ไปแล้วเมื่อ 16 มกราคม 2544
2. การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน (Visit ASEAN Campaign)
หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนได้เริ่มเตรียมดำเนินโครงการ รณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2545 เพื่อชักชวนให้ประชาชนของประเทศสมาชิก อาเซียน และชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดทำตรา สัญญลักษณ์การรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน การจัดทำเอกสารแนะนำแหล่งท่องเที่ยวใน อาเซียน การจัดทำแผ่นพับข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน การจัดทำแผนที่ประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำเพลงเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยวอาเซียน การจัดทำเวบไซท์ส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน(www.asean-tourism.com) ทั้งนี้ การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนนี้จะดำเนินการเป็นระยะ คือ ระยะที่ 1 ในปี 2544 จะเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการท่องเที่ยวอาเซียน โดยเปิดการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนในการประชุมครั้งนี้ และการเข้าร่วมนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2544 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมัน และในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และที่ประเทศ ญี่ปุ่น ส่วนในระยะที่ 2 ปี 2545 จะเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนโดย หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติของอาเซียน สายการบิน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ
3. การอำนวยความสะดวกการเดินทางภายในประเทศสมาชิกอาเซียน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เสนอรายงานการศึกษาการอำนวยความสะดวก สำหรับการเดินทางภายในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเสนอแนะให้มีการสร้างเครือข่ายถนน รางรถไฟ เส้นทางบิน เส้นทางเดินเรือ ตลอดจนการผ่อนคลายระเบียบ และการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อส่งเสริมการเดินทางเข้า-ออกประเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาการท่องเที่ยว รวมถึงการเร่งรัดพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 4 เห็นพ้องตามข้อเสนอของไทย และมีมติให้การประชุมหน่วยงานส่งเสริมการ ท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการเดินทางภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกๆ ด้าน 4. การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยว
หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนได้ดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยวอาเซียนตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมอยู่ในคณะผู้แทนอาเซียนด้านการส่งเสริมการลงทุน (Joint ASEAN Investment Missions) ที่เดินทางไปเยือนต่างประเทศ การเข้าร่วมในการประชุมและ นิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และการเข้าร่วมหารือกับการประชุมในกรอบของ อาเซียน และในระดับอนุภูมิภาคที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทาง และการดำเนินการในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน
5. การเปิดเสรีการค้าบริการด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน
คณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบความตกลงแม่บทอาเซียน ว่าด้วยการค้าบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services) ของหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนได้เสนอรายงานการศึกษาในเบื้องต้น ซึ่งเสนอให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการท่องเที่ยวในด้านการให้บริการ โรงแรมที่พัก (Hotel Lodging Services) การให้บริการอาหารแบบภัตตาคาร (Meal Serving Services with full Restaurant Services) และการบริการเครื่องดื่มโดยปราศจากการให้ความบันเทิง (Beverages Serving Services without entertainment) โดยให้เหตุผลว่า การเปิดเสรีในบริการด้าน ดังกล่าวจะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม และยกระดับมาตรฐานของการบริการดังกล่าวให้เป็นสากล ส่วนการพิจารณาเปิดเสรีในด้านอื่นๆ ต่อไป การประชุมหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนครั้งต่อไปในกลางปี 2544 นี้จะพิจารณา การเปิดเสรีการค้าบริการด้านสินค้าข้ามแดน (cross border supply) และการบริโภคจากต่างประเทศ (consumption abroad) รวมถึงการพิจารณาการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป (progressive liberalization) ด้านการจัดตั้งเพื่อการพาณิชย์ (commercial presence) และการเคลื่อนย้ายแรงงาน (movement of natural persons) ตามที่กำหนดโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่นำรายได้ให้แก่อาเซียนถึง 544 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2542 โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศสมาชิกอาเซียนถึง 33.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 4.5 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ออสเตรเลีย และอังกฤษ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่บรูไน ดารุสซาลามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ประจำปี 2544 (ASEAN Tourism Forum 2001) ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียน (ASEAN National Tourism Organizations) ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2544 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2544 และการประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยว อาเซียน ประจำปี 2544 ซึ่งเป็นการพบปะกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในอาเซียนกับ ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14-16 มกราคม 2544 นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า คณะผู้แทนไทยนำโดยนายภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมีผลสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Forum)
การประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ประจำปี 2544 ซึ่งเป็นการประชุม ระหว่างภาคธุรกิจเอกชนด้านการท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 14-16 มกราคม 2544 มีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเอกชนทั่วโลกลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 1,000 คน ในพิธีเปิดงานการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนครั้งนี้ได้มีการประกาศผู้ชนะรางวัล ASEANTA Awards ซึ่งเป็นรางวัลที่สมาคมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association) จัดขึ้นเพื่อมอบให้แก่บุคคล หรือ องค์กรที่ทำให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นที่สวนสาธารณะจูราดองในบันดาร์ เสรีเบกาวัน เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2544 โดยมีพระราชาธิบดีและองค์รัชทายาทของบรูไน ดารุสซาลามให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานการรณรงค์ฯ ปรากฏว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลชนะเลิศ 4 ประเภท จาก 7 ประเภท ได้แก่ รางวัลภาพโปสเตอร์ที่ดีที่สุดของอาเซียน (Reflection of ASEAN : Cambodia, Indonesia, Trang-Thailand) รางวัลโปรแกรมสายการบินเข้าสู่อาเซียนที่ดีที่สุด (Royal Orchid Holidays) รางวัล ความเพียรพยายามในการรักษาวัฒนธรรมได้ดีที่สุดของอาเซียน (The Tourism Envoy of Thailand) และรางวัลสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของอาเซียน (Trang-The Underwater Wedding Project) ซึ่งผลการตัดสินนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ประชาสัมพันธ์ไปแล้วเมื่อ 16 มกราคม 2544
2. การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน (Visit ASEAN Campaign)
หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนได้เริ่มเตรียมดำเนินโครงการ รณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2545 เพื่อชักชวนให้ประชาชนของประเทศสมาชิก อาเซียน และชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดทำตรา สัญญลักษณ์การรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน การจัดทำเอกสารแนะนำแหล่งท่องเที่ยวใน อาเซียน การจัดทำแผ่นพับข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน การจัดทำแผนที่ประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำเพลงเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยวอาเซียน การจัดทำเวบไซท์ส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน(www.asean-tourism.com) ทั้งนี้ การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนนี้จะดำเนินการเป็นระยะ คือ ระยะที่ 1 ในปี 2544 จะเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการท่องเที่ยวอาเซียน โดยเปิดการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนในการประชุมครั้งนี้ และการเข้าร่วมนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2544 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมัน และในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และที่ประเทศ ญี่ปุ่น ส่วนในระยะที่ 2 ปี 2545 จะเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนโดย หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติของอาเซียน สายการบิน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ
3. การอำนวยความสะดวกการเดินทางภายในประเทศสมาชิกอาเซียน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เสนอรายงานการศึกษาการอำนวยความสะดวก สำหรับการเดินทางภายในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเสนอแนะให้มีการสร้างเครือข่ายถนน รางรถไฟ เส้นทางบิน เส้นทางเดินเรือ ตลอดจนการผ่อนคลายระเบียบ และการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อส่งเสริมการเดินทางเข้า-ออกประเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาการท่องเที่ยว รวมถึงการเร่งรัดพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 4 เห็นพ้องตามข้อเสนอของไทย และมีมติให้การประชุมหน่วยงานส่งเสริมการ ท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการเดินทางภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกๆ ด้าน 4. การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยว
หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนได้ดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยวอาเซียนตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมอยู่ในคณะผู้แทนอาเซียนด้านการส่งเสริมการลงทุน (Joint ASEAN Investment Missions) ที่เดินทางไปเยือนต่างประเทศ การเข้าร่วมในการประชุมและ นิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และการเข้าร่วมหารือกับการประชุมในกรอบของ อาเซียน และในระดับอนุภูมิภาคที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทาง และการดำเนินการในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน
5. การเปิดเสรีการค้าบริการด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน
คณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบความตกลงแม่บทอาเซียน ว่าด้วยการค้าบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services) ของหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนได้เสนอรายงานการศึกษาในเบื้องต้น ซึ่งเสนอให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการท่องเที่ยวในด้านการให้บริการ โรงแรมที่พัก (Hotel Lodging Services) การให้บริการอาหารแบบภัตตาคาร (Meal Serving Services with full Restaurant Services) และการบริการเครื่องดื่มโดยปราศจากการให้ความบันเทิง (Beverages Serving Services without entertainment) โดยให้เหตุผลว่า การเปิดเสรีในบริการด้าน ดังกล่าวจะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม และยกระดับมาตรฐานของการบริการดังกล่าวให้เป็นสากล ส่วนการพิจารณาเปิดเสรีในด้านอื่นๆ ต่อไป การประชุมหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียนครั้งต่อไปในกลางปี 2544 นี้จะพิจารณา การเปิดเสรีการค้าบริการด้านสินค้าข้ามแดน (cross border supply) และการบริโภคจากต่างประเทศ (consumption abroad) รวมถึงการพิจารณาการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป (progressive liberalization) ด้านการจัดตั้งเพื่อการพาณิชย์ (commercial presence) และการเคลื่อนย้ายแรงงาน (movement of natural persons) ตามที่กำหนดโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่นำรายได้ให้แก่อาเซียนถึง 544 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2542 โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศสมาชิกอาเซียนถึง 33.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 4.5 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ออสเตรเลีย และอังกฤษ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-