แท็ก
ทนง พิทยะ
คณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งมี นายทนง พิทยะ เป็นประธานฯ และมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเป็นคณะทำงานฯ ได้มีการประชุมหารือกันอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการจัดตั้ง “บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย” ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับแผนการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
โดยให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและส่วนรวมน้อยที่สุด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1.1 เพื่อเป็นกลไกในการสร้างเสถียรภาพให้ระบบสถาบันการเงินและประสิทธิภาพ ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
1.2 เพื่อเป็นหน่วยงานที่กำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างรายภาคอุตสาหกรรม ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
2. รูปแบบการจัดตั้งองค์กร
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย จะถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายพิเศษ โดยจะมีสถานะเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ในการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย นั้นกองทุนฟื้นฟูฯ จะเป็นผู้จัดหาทุนประเดิม และในอนาคตหากมีความจำเป็นและเหมาะสม ก็ให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยสามารถออกหุ้นใหม่เพื่อเพิ่มทุนได้
3. โครงสร้างองค์กร
ลักษณะการจัดโครงสร้างองค์กรของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้น คือ
3.1 ในระดับนโยบาย จะมีคณะกรรมการกลาง ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการกลางนี้จะประกอบด้วยประธานกรรมการ ผู้แทนจากภาครัฐ จากภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยจะมีหน้าที่หลัก ในการกำหนดนโยบายโดยรวมและตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ
โดยมีเป้าหมายให้มีการบริหารสินทรัพย์ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด และให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและส่วนรวมน้อยที่สุด
3.2 ในระดับของการบริหารจัดการ จะมีคณะกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการทำหน้าที่ในการรับนโยบายของคณะกรรมการกลางมาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานให้สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
3.3 ในระดับของการปฏิบัติการ นั้น จะประกอบไปด้วย คณะกรรมการจัดการทำหน้าที่ในการกลั่นกรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสินทรัพย์ และมีหน่วยงานบริหารสินทรัพย์ทำหน้าที่ดูแลและบริหารลูกหนี้ที่รับโอนมาซึ่งจะได้ถูกแบ่งเป็นกองย่อยๆ ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
4 คุณสมบัติของสินทรัพย์ที่จะรับโอน
4.1 ในส่วนของสถาบันการเงินของรัฐ นั้น จะรับโอนลูกหนี้ทุกรายจาก ธนาคารศรีนคร ธนาคารนครหลวงไทย ไทยธนาคาร ธนาคารกรุงไทย บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท และบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ ซึ่งจะมีมีมูลหนี้รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท
4.2 ในส่วนของสถาบันการเงินเอกชนไทย และบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนของสถาบันการเงินเอกชนนั้น จะรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยรวมถึงลูกหนี้ที่อยู่ในศาล ที่มีเจ้าหนี้ร่วมหลายราย ซึ่งจะมีมูลหนี้รวมประมาณสองแสนห้าหมื่นล้านบาท ทั้งนี้โดยจะให้สิทธิแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนที่จะโอนลูกหนี้ให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ด้วย
5. ราคาที่รับโอนสินทรัพย์
ราคาที่จะใช้ในการรับโอนสินทรัพย์ คือราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) ซึ่งหมายถึง ยอดหนี้คงค้าง หักด้วย สำรอง 100% ของส่วนที่เกินมูลค่าหลักประกัน
6. การแบ่งรับผลกำไรหรือขาดทุน (Gain/Loss Sharing)
ในกรณีที่มีผลขาดทุนเกิดขึ้น จะมีการแบ่งการรับภาระระหว่างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินผู้โอนสินทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
ผลขาดทุนนั้นคิดจากราคารับโอน หรือ ราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) โดยผลขาดทุนในร้อยละ 20 แรกของราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) นั้นสถาบันการเงินผู้โอนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ร้อยละ 20 ที่สองของราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value)
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะร่วมรับผลขาดทุนด้วยครึ่งหนึ่ง และผลขาดทุนหลังจากนั้น
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในส่วนของผลกำไรนั้น
ในกรณีที่มีผลกำไรไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) หักด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารสินทรัพย์ จะมีการแบ่งผลกำไรกันในอัตรา 50:50 กำไรที่นอกเหนือไปจากนั้น สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์เดิมเป็นผู้รับไป
การชำระผลกำไรหรือขาดทุนที่แบ่งรับกันนี้ จะมีการเริ่มชำระกันในปีที่ 5 และปีที่ 10 ของการดำเนินการ โดยสถาบันการเงินสามารถชำระผลขาดทุนเป็นเงินสดหรือหุ้นของสถาบันการเงินก็ได้ตามแต่ความจำเป็นเหมาะสมของแต่ละสถาบันการเงิน
7. การชำระราคาโอน (หรือการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ)
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะออกตราสารอายุ 10 ปี ให้กับสถาบันการเงินผู้โอนซึ่งสามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ตั้งแต่ปีที่สามเป็นต้นไป ในจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี ตราสารนี้จะมีการค้ำประกันโดยกองทุนฟื้นฟูฯ ตราสารดังกล่าวจะเป็นตราสารที่มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยรายเดือนเป็นอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินฝากทุกประเภทของทุกธนาคารพาณิชย์
8. การดำเนินงานขั้นต่อไป จะมีการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ
8.1 ในขั้นแรก จะมีการดำเนินการด้านกฎหมายให้เสร็จสิ้นให้เร็วที่สุด เพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติรองรับการจัดตั้ง บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยในระหว่างดำเนินการด้านกฎหมาย จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งตัวองค์กรฯ จัดวางระบบต่างๆ ที่สำคัญในการปฏิบัติงาน และ ศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติของสินทรัพย์ที่จะรับโอนเพื่อประโยชน์ในการจัดแบ่งกอง ทั้งนี้ ในระหว่างเตรียมการโอนจะให้สถาบันการเงินเจ้าของลูกหนี้นั้นๆ ดูแลลูกหนี้ต่อไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
ทั้งนี้ จะได้มีการพิจารณาถึงอำนาจพิเศษที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยควรจะมีตามกฎหมายจัดตั้งเพื่อให้การบริหารงานองค์กรฯ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรฯ เช่น อำนาจในการฟื้นฟูกิจการโดยการปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหาร การแปลงหนี้เป็นทุนหรืออำนาจในการปิดกิจการเพื่อชำระหนี้ เป็นต้น
8.2 ในขั้นที่สอง เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะดำเนินการโอนสินทรัพย์และจัดแบ่งกองเพื่อการบริหารที่เหมาะสมต่อไป
กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 273-9020 ต่อ 3204,3218 โทรสาร. 618-3367
E-Mail : tamc@vayu.mof.go.th-- จบ--
-อน-
โดยให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและส่วนรวมน้อยที่สุด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1.1 เพื่อเป็นกลไกในการสร้างเสถียรภาพให้ระบบสถาบันการเงินและประสิทธิภาพ ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
1.2 เพื่อเป็นหน่วยงานที่กำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างรายภาคอุตสาหกรรม ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
2. รูปแบบการจัดตั้งองค์กร
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย จะถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายพิเศษ โดยจะมีสถานะเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ในการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย นั้นกองทุนฟื้นฟูฯ จะเป็นผู้จัดหาทุนประเดิม และในอนาคตหากมีความจำเป็นและเหมาะสม ก็ให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยสามารถออกหุ้นใหม่เพื่อเพิ่มทุนได้
3. โครงสร้างองค์กร
ลักษณะการจัดโครงสร้างองค์กรของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้น คือ
3.1 ในระดับนโยบาย จะมีคณะกรรมการกลาง ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการกลางนี้จะประกอบด้วยประธานกรรมการ ผู้แทนจากภาครัฐ จากภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยจะมีหน้าที่หลัก ในการกำหนดนโยบายโดยรวมและตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ
โดยมีเป้าหมายให้มีการบริหารสินทรัพย์ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด และให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและส่วนรวมน้อยที่สุด
3.2 ในระดับของการบริหารจัดการ จะมีคณะกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการทำหน้าที่ในการรับนโยบายของคณะกรรมการกลางมาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานให้สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
3.3 ในระดับของการปฏิบัติการ นั้น จะประกอบไปด้วย คณะกรรมการจัดการทำหน้าที่ในการกลั่นกรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสินทรัพย์ และมีหน่วยงานบริหารสินทรัพย์ทำหน้าที่ดูแลและบริหารลูกหนี้ที่รับโอนมาซึ่งจะได้ถูกแบ่งเป็นกองย่อยๆ ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
4 คุณสมบัติของสินทรัพย์ที่จะรับโอน
4.1 ในส่วนของสถาบันการเงินของรัฐ นั้น จะรับโอนลูกหนี้ทุกรายจาก ธนาคารศรีนคร ธนาคารนครหลวงไทย ไทยธนาคาร ธนาคารกรุงไทย บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท และบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ ซึ่งจะมีมีมูลหนี้รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท
4.2 ในส่วนของสถาบันการเงินเอกชนไทย และบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนของสถาบันการเงินเอกชนนั้น จะรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยรวมถึงลูกหนี้ที่อยู่ในศาล ที่มีเจ้าหนี้ร่วมหลายราย ซึ่งจะมีมูลหนี้รวมประมาณสองแสนห้าหมื่นล้านบาท ทั้งนี้โดยจะให้สิทธิแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนที่จะโอนลูกหนี้ให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ด้วย
5. ราคาที่รับโอนสินทรัพย์
ราคาที่จะใช้ในการรับโอนสินทรัพย์ คือราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) ซึ่งหมายถึง ยอดหนี้คงค้าง หักด้วย สำรอง 100% ของส่วนที่เกินมูลค่าหลักประกัน
6. การแบ่งรับผลกำไรหรือขาดทุน (Gain/Loss Sharing)
ในกรณีที่มีผลขาดทุนเกิดขึ้น จะมีการแบ่งการรับภาระระหว่างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินผู้โอนสินทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
ผลขาดทุนนั้นคิดจากราคารับโอน หรือ ราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) โดยผลขาดทุนในร้อยละ 20 แรกของราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) นั้นสถาบันการเงินผู้โอนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ร้อยละ 20 ที่สองของราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value)
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะร่วมรับผลขาดทุนด้วยครึ่งหนึ่ง และผลขาดทุนหลังจากนั้น
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในส่วนของผลกำไรนั้น
ในกรณีที่มีผลกำไรไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาตามบัญชีสุทธิ (Net Book Value) หักด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารสินทรัพย์ จะมีการแบ่งผลกำไรกันในอัตรา 50:50 กำไรที่นอกเหนือไปจากนั้น สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์เดิมเป็นผู้รับไป
การชำระผลกำไรหรือขาดทุนที่แบ่งรับกันนี้ จะมีการเริ่มชำระกันในปีที่ 5 และปีที่ 10 ของการดำเนินการ โดยสถาบันการเงินสามารถชำระผลขาดทุนเป็นเงินสดหรือหุ้นของสถาบันการเงินก็ได้ตามแต่ความจำเป็นเหมาะสมของแต่ละสถาบันการเงิน
7. การชำระราคาโอน (หรือการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ)
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะออกตราสารอายุ 10 ปี ให้กับสถาบันการเงินผู้โอนซึ่งสามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ตั้งแต่ปีที่สามเป็นต้นไป ในจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี ตราสารนี้จะมีการค้ำประกันโดยกองทุนฟื้นฟูฯ ตราสารดังกล่าวจะเป็นตราสารที่มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยรายเดือนเป็นอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินฝากทุกประเภทของทุกธนาคารพาณิชย์
8. การดำเนินงานขั้นต่อไป จะมีการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ
8.1 ในขั้นแรก จะมีการดำเนินการด้านกฎหมายให้เสร็จสิ้นให้เร็วที่สุด เพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติรองรับการจัดตั้ง บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยในระหว่างดำเนินการด้านกฎหมาย จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งตัวองค์กรฯ จัดวางระบบต่างๆ ที่สำคัญในการปฏิบัติงาน และ ศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติของสินทรัพย์ที่จะรับโอนเพื่อประโยชน์ในการจัดแบ่งกอง ทั้งนี้ ในระหว่างเตรียมการโอนจะให้สถาบันการเงินเจ้าของลูกหนี้นั้นๆ ดูแลลูกหนี้ต่อไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
ทั้งนี้ จะได้มีการพิจารณาถึงอำนาจพิเศษที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยควรจะมีตามกฎหมายจัดตั้งเพื่อให้การบริหารงานองค์กรฯ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรฯ เช่น อำนาจในการฟื้นฟูกิจการโดยการปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหาร การแปลงหนี้เป็นทุนหรืออำนาจในการปิดกิจการเพื่อชำระหนี้ เป็นต้น
8.2 ในขั้นที่สอง เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะดำเนินการโอนสินทรัพย์และจัดแบ่งกองเพื่อการบริหารที่เหมาะสมต่อไป
กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 273-9020 ต่อ 3204,3218 โทรสาร. 618-3367
E-Mail : tamc@vayu.mof.go.th-- จบ--
-อน-