สรุปข่าวประจำวัน
1. นรม. ระดมประชุมหน่วยงานด้านเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ นรม. ได้เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม. เศรษฐกิจว่า การประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ และการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยในวันที่ 24-25 ก.พ. นี้ จะมีการนัดหารืออีกครั้งหนึ่ง และภายหลังจากที่พิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจแล้วอาจต้องมีการปรับแผนทันที โดยจะทำในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ทางด้านเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) เปิดเผยว่า ศสช. ได้ชี้แจงภาพรวมเศรษฐกิจและเสนอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาล โดยจะเป็นโครงการในลักษณะที่จะมีการจ้างงานจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นในส่วนของการหารายได้แต่ยังต้องหารือกันในรายละเอียด (ไทยรัฐ 20)
2. ธปท.ติดตามแนวโน้มการขาดดุลการค้าเพื่อกำหนดทิศทางตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจ แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า จากการที่ ก.พาณิชย์แถลงตัวเลขการนำเข้าส่งออกเดือน ม.ค.44 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยคาดว่าจะขาดดุลการค้าประมาณ 400 ล.ดอลลาร์ สรอ. ผู้ว่าการ ธปท.ได้สั่งการให้ติดตามแนวโน้มการขาดดุลการค้าดังกล่าว ซึ่งหากการขาดดุลยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเลขโดยรวมของเศรษฐกิจ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง และหากเป็นเช่นนั้น ธปท.คงต้องปรับเปลี่ยนตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่ โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือน มี.ค.44 จะมีการหารือถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขดุลการค้า อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดโดยรวม เนื่องจากไทยยังคงมีดุลบริการในภาคการท่องเที่ยวที่เป็นบวก(ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 20)
3. ธปท.เปิดเผยผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจปี 43 รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจในปี 43 ว่า การให้กู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 มียอดคงค้างเงินให้กู้ยืมลดลงจากสิ้นปี 42 จำนวน 119.7 พัน ล.บาท เป็น 431.1 พัน ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 21.7 โดยเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในประเทศ(Out-in) 387 พัน ล.บาท ลดลงจากปี 42 ร้อยละ 20.6 และเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในต่างประเทศ(Out-out) 44.1 พัน ล.บาท ลดลงร้อยละ 30.7 โดยกิจการวิเทศธนกิจของกลุ่ม ธพ.ไทยมียอดคงค้างเงินให้กู้ยืมลดลงมากที่สุดจำนวน 42.9 พัน ล.บาทหรือลดลงร้อยละ 35.7 สาเหตุเนื่องจากลูกหนี้ครบกำหนดชำระหนี้คืน ประกอบกับสภาพคล่องเงินบาทในประเทศมีสูง และอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ลูกหนี้บางส่วนชำระหนี้คืนและกู้ยืมเงินบาทแทน สำหรับภาคธุรกิจที่กู้ยืมผ่านวิเทศธนกิจมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต มียอดคงค้าง 228.2 พัน ล.บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.9 ของวงเงินให้กู้ยืมทั้งหมด รองลงมาคือภาคสาธารณูปโภค และภาคการธนาคารและธุรกิจการเงิน มีมูลค่า 65.4 และ 46.3 พัน ล.บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.2 และ 10.7 ตามลำดับ(เดลินิวส์, แนวหน้า 20)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของเยอรมนีลดลงร้อยละ 9 ในปี 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า ปี 43 คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของอุตสาหกรรมในเยอรมนี ลดลงร้อยละ 9 จากปี 42 ขณะที่การว่างงานลดลง ร้อยละ 5.4 ซึ่งเป็นผลจากการลดการจ้างงานลงอย่างต่อเนื่อง โดยแยกเป็นคำสั่งฯของเยอรมนีตะวันตก ลดลงร้อยละ 7.9 ส่วนคำสั่งฯ ของเยอรมนีตะวันออก ลดลงร้อยละ 13 ขณะเดียวกัน ในปี 43 การจ้างงานของอุตสาหกรรมก่อสร้าง เฉลี่ยอยู่ที่จำนวน 1.05 ล. คน ลดลง 60,000 คน จากปี 42 ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 5 โดยการจ้างงานของอุตสาหกรรมก่อสร้างในเยอรมนีตะวันตก อยู่ที่จำนวน 747,000 คน ลดลงเฉลี่ยร้อยละ3.6 จากปี 42 ขณะที่ในเยอรมนีตะวันออก การจ้างงานฯอยู่ที่จำนวน 303,000 คน ลดลงเฉลี่ยถึงร้อยละ 9.7(รอยเตอร์19)
2. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจึนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.23 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 19 ก.พ.44 นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Chinese Academy of International Trade and Economic Cooperation กล่าวว่า เดือน ม.ค.44 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนมีมูลค่า 2.22 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.23 เมื่อเทียบปีต่อปี และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.93 ในปี 43 เป็นที่คาดหมายว่าการลงทุนโดยตรงฯ ของจีนจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 44 นี้ เนื่องจากได้มีการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้ทำสัญญาแล้วเพิ่มขึ้นมาก ก่อนจีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงปลายปี ทั้งนี้ รมว.การค้าต่างประเทศของจีนกล่าวว่า เดือน ม.ค. การทำสัญญาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.59 เมื่อเทียบปีต่อปี และมีมูลค่า 4.86 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.(รอยเตอร์ 19)
3. รมว. คลังมาเลเซียคาดว่าจีดีพีปี 43 อาจขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 8 และยังไม่ทบทวนตัวเลขฯ ปี 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.44 รมว.คลังมาเลเซียกล่าวว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) อาจขยายตัวสูงกว่าที่คาดไว้ร้อยละ 8 และยังไม่ตัดสินใจทบทวนตัวเลขจีดีพีปี 44 ที่ระดับร้อยละ 7 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นรม.มาเลเซียประมาณการว่า ปี 44 จีดีพีจะขยายตัวเพียงร้อยละ 5.8-6.0 โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการลดลงของการส่งออก เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์ 19)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ปี 44 อัตราการว่างงานของกลุ่มประเทศยูโรจะชะลอตัวลง รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ในช่วงวันที่ 12-16 ก.พ. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศยูโร จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 8.5 ในปี 44 และร้อยละ 8 ในปี 45 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง Thomas Hueck นักเศรษฐศาสตร์ของ Hypovereinsbank กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรชะลอตัวลง แต่อัตราการเติบโตยังสูงกว่าศักยภาพในการใช้กำลังการผลิต ซึ่งจะส่งผลในด้านบวกต่อตลาดแรงงาน (รอยเตอร์19)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.พ. 44 42.596 (42.472)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3819 (42.2441) ขาย 42.6919 (42.5544)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,150) ขาย 5,300 (5,250)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.80 (23.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. นรม. ระดมประชุมหน่วยงานด้านเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ นรม. ได้เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม. เศรษฐกิจว่า การประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ และการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยในวันที่ 24-25 ก.พ. นี้ จะมีการนัดหารืออีกครั้งหนึ่ง และภายหลังจากที่พิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจแล้วอาจต้องมีการปรับแผนทันที โดยจะทำในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ทางด้านเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) เปิดเผยว่า ศสช. ได้ชี้แจงภาพรวมเศรษฐกิจและเสนอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาล โดยจะเป็นโครงการในลักษณะที่จะมีการจ้างงานจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นในส่วนของการหารายได้แต่ยังต้องหารือกันในรายละเอียด (ไทยรัฐ 20)
2. ธปท.ติดตามแนวโน้มการขาดดุลการค้าเพื่อกำหนดทิศทางตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจ แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า จากการที่ ก.พาณิชย์แถลงตัวเลขการนำเข้าส่งออกเดือน ม.ค.44 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยคาดว่าจะขาดดุลการค้าประมาณ 400 ล.ดอลลาร์ สรอ. ผู้ว่าการ ธปท.ได้สั่งการให้ติดตามแนวโน้มการขาดดุลการค้าดังกล่าว ซึ่งหากการขาดดุลยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเลขโดยรวมของเศรษฐกิจ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง และหากเป็นเช่นนั้น ธปท.คงต้องปรับเปลี่ยนตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่ โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือน มี.ค.44 จะมีการหารือถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขดุลการค้า อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดโดยรวม เนื่องจากไทยยังคงมีดุลบริการในภาคการท่องเที่ยวที่เป็นบวก(ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 20)
3. ธปท.เปิดเผยผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจปี 43 รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจในปี 43 ว่า การให้กู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 มียอดคงค้างเงินให้กู้ยืมลดลงจากสิ้นปี 42 จำนวน 119.7 พัน ล.บาท เป็น 431.1 พัน ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 21.7 โดยเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในประเทศ(Out-in) 387 พัน ล.บาท ลดลงจากปี 42 ร้อยละ 20.6 และเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในต่างประเทศ(Out-out) 44.1 พัน ล.บาท ลดลงร้อยละ 30.7 โดยกิจการวิเทศธนกิจของกลุ่ม ธพ.ไทยมียอดคงค้างเงินให้กู้ยืมลดลงมากที่สุดจำนวน 42.9 พัน ล.บาทหรือลดลงร้อยละ 35.7 สาเหตุเนื่องจากลูกหนี้ครบกำหนดชำระหนี้คืน ประกอบกับสภาพคล่องเงินบาทในประเทศมีสูง และอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ลูกหนี้บางส่วนชำระหนี้คืนและกู้ยืมเงินบาทแทน สำหรับภาคธุรกิจที่กู้ยืมผ่านวิเทศธนกิจมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต มียอดคงค้าง 228.2 พัน ล.บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.9 ของวงเงินให้กู้ยืมทั้งหมด รองลงมาคือภาคสาธารณูปโภค และภาคการธนาคารและธุรกิจการเงิน มีมูลค่า 65.4 และ 46.3 พัน ล.บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.2 และ 10.7 ตามลำดับ(เดลินิวส์, แนวหน้า 20)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของเยอรมนีลดลงร้อยละ 9 ในปี 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า ปี 43 คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของอุตสาหกรรมในเยอรมนี ลดลงร้อยละ 9 จากปี 42 ขณะที่การว่างงานลดลง ร้อยละ 5.4 ซึ่งเป็นผลจากการลดการจ้างงานลงอย่างต่อเนื่อง โดยแยกเป็นคำสั่งฯของเยอรมนีตะวันตก ลดลงร้อยละ 7.9 ส่วนคำสั่งฯ ของเยอรมนีตะวันออก ลดลงร้อยละ 13 ขณะเดียวกัน ในปี 43 การจ้างงานของอุตสาหกรรมก่อสร้าง เฉลี่ยอยู่ที่จำนวน 1.05 ล. คน ลดลง 60,000 คน จากปี 42 ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 5 โดยการจ้างงานของอุตสาหกรรมก่อสร้างในเยอรมนีตะวันตก อยู่ที่จำนวน 747,000 คน ลดลงเฉลี่ยร้อยละ3.6 จากปี 42 ขณะที่ในเยอรมนีตะวันออก การจ้างงานฯอยู่ที่จำนวน 303,000 คน ลดลงเฉลี่ยถึงร้อยละ 9.7(รอยเตอร์19)
2. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจึนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.23 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 19 ก.พ.44 นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Chinese Academy of International Trade and Economic Cooperation กล่าวว่า เดือน ม.ค.44 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนมีมูลค่า 2.22 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.23 เมื่อเทียบปีต่อปี และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.93 ในปี 43 เป็นที่คาดหมายว่าการลงทุนโดยตรงฯ ของจีนจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 44 นี้ เนื่องจากได้มีการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้ทำสัญญาแล้วเพิ่มขึ้นมาก ก่อนจีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงปลายปี ทั้งนี้ รมว.การค้าต่างประเทศของจีนกล่าวว่า เดือน ม.ค. การทำสัญญาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.59 เมื่อเทียบปีต่อปี และมีมูลค่า 4.86 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.(รอยเตอร์ 19)
3. รมว. คลังมาเลเซียคาดว่าจีดีพีปี 43 อาจขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 8 และยังไม่ทบทวนตัวเลขฯ ปี 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.44 รมว.คลังมาเลเซียกล่าวว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) อาจขยายตัวสูงกว่าที่คาดไว้ร้อยละ 8 และยังไม่ตัดสินใจทบทวนตัวเลขจีดีพีปี 44 ที่ระดับร้อยละ 7 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นรม.มาเลเซียประมาณการว่า ปี 44 จีดีพีจะขยายตัวเพียงร้อยละ 5.8-6.0 โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการลดลงของการส่งออก เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์ 19)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ปี 44 อัตราการว่างงานของกลุ่มประเทศยูโรจะชะลอตัวลง รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ในช่วงวันที่ 12-16 ก.พ. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศยูโร จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 8.5 ในปี 44 และร้อยละ 8 ในปี 45 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง Thomas Hueck นักเศรษฐศาสตร์ของ Hypovereinsbank กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรชะลอตัวลง แต่อัตราการเติบโตยังสูงกว่าศักยภาพในการใช้กำลังการผลิต ซึ่งจะส่งผลในด้านบวกต่อตลาดแรงงาน (รอยเตอร์19)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.พ. 44 42.596 (42.472)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3819 (42.2441) ขาย 42.6919 (42.5544)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,150) ขาย 5,300 (5,250)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.80 (23.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-