แท็ก
นายกรัฐมนตรี
กลุ่มเพื่อนศุภชัยยืนยัดสู้ เพื่อความชอบธรรมในเวทีการค้าโลก-------------------------------------------------------------------------------- กลุ่มประเทศสมาชิกที่สนับสนุน ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ได้ยืนยันต่อประธานคณะมนตรีใหญ่ (นาย Ali Said Mchumo) ว่า ประธานฯ ไม่มี อำนาจในการตัดชื่อผู้สมัครคนใดออกจากการแข่งขันและเตือนให้ประธานฯ ตระหนักว่ามี ความผิดปกติในกระบวนการคัดเลือกฯ ครั้งนี้ ซึ่งทำให้มีประเทศสมาชิกจำนวนมากต่อต้าน ข้อเสนอของประธานฯ จนถึงขณะนี้ และถึงเวลาแล้วที่จะลองหาฉันทามติในการแต่งตั้ง ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีฯ เป็นผู้อำนวยการใหญ่ ในการประชุมคณะมนตรีใหญ่ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ประชุมได้มีการโต้แย้งระหว่างฝ่ายที่สนับสนุน ฯพณฯ รนม.ฯ และฝ่ายที่สนับสนุนนาย Moore อย่างเข้มข้นอยู่ประมาณ 6 ชั่วโมงเกี่ยวกับข้อเสนอซึ่งเคนยา เสนอ ต่อที่คณะมนตรีอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ให้ปรับ เปลี่ยนการพิจารณาของคณะมนตรีใหญ่โดยหันมาหาฉันทามติใน ฯพณฯ รนม.ฯ เพราะเห็น ว่า การที่ประธานฯ ดึงดันให้หาฉันทามติในตัวนาย Moore ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ไม่ประสบ ผลสำเร็จแล้ว ในการประชุมนี้ ประเทศสมาชิกจำนวนมากได้คัดค้านความเห็น (view) ของ ประธานฯ ที่จะตัดชื่อ ฯพณฯ รนม.ฯ ออกจากการแข่งขัน ประเทศเหล่านี้ยังให้การสนับสนุน อยู่ตราบเท่าที่ ฯพณฯ รนม.ฯ ยังไม่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน และประธานฯ ก็ไม่มีอำนาจ ใดๆ ที่จะตัดชื่อผู้ใดออกจากการแข่งขัน นอกจากนั้นประเทศเหล่านี้ ได้ให้การสนับสนุน ข้อเสนอของเคนยาและแจ้งต่อที่ประชุมว่าถึงเวลาแล้วที่จะพิจารณาข้อเสนอของเคนยาอย่าง จริงจังเพื่อให้เกิดความคืบหน้าในการคัดเลือกครั้งนี้ ซึ่งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ต่างเห็นว่า น่าจะมีโอกาสที่จะได้รับฉันทามติมากกว่าข้อเสนอของประธานฯ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา ยังไม่มีประเทศสมาชิกใดแสดงการคัดค้านในตัว ฯพณฯ รนม.ฯ ยิ่งกว่านั้นประเทศที่ สนับสนุน นาย Moore จำนวนมากก็กล่าวในที่ประชุมว่า หากข้อเสนอของประธานฯ เป็นการ เสนอชื่อ ฯพณฯ รนม.ฯ ตนก็จะสามารถยอมรับข้อเสนอดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ สนับสนุนนาย Moore คือ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกในอเมริกาใต้จำนวนหนึ่งได้พยายาม ทุกวิถีทางที่จะสะกัดกั้นข้อเสนอของเคนยาไม่ให้เข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรี อาจเป็นไป ได้ว่า ฝ่ายผู้สนับสนุนนาย Moore เกรงว่า ถ้าข้อเสนอของเคนยาได้รับการพิจารณา ฝ่ายตนจะ ไม่สามารถประกาศขัดขวางฉันทามติในตัว ฯพณฯ รนม.ฯ อย่างเป็นทางการได้ ในชั้นนี้ฝ่าย สหรัฐฯ และพวกจึงพยายามอย่างเต็มที่ที่จะยับยั้งการพิจารณาข้อเสนอของเคนยา โดยอ้างว่า การดำเนินการของกระบวนการนี้เป็นกระบวนการเฉพาะซึ่งสมาชิกได้ตกลงกันนับตั้งแต่เริ่ม กระบวนการฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ซึ่งฝ่ายตนตีความได้ว่า คณะมนตรีใหญ่ได้มอบ หมายอำนาจให้ประธานฯ เป็นผู้เดียวที่จะสามารถยื่นข้อเสนอต่อที่ประชุม ดังนั้น ที่ประชุมจึง ไม่สามารถรับพิจารณาข้อเสนอของเคนยาได้ และการพิจารณาของคณะมนตรีใหญ่จะต้อง กระทำโดยวิธีการฉันทามติเท่านั้น ฝ่ายผู้สนับสนุน ฯพณฯ รนม.ฯ ได้โต้แย้งว่า ข้ออ้างของ สหรัฐฯ และพวก ขัดกับหลักการทั่วไปในการดำเนินการประชุมขององค์การการค้าโลก โดยสิ้นเชิง เนื่องจากกฎระเบียบของการดำเนินการประชุมต่างๆ ภายใต้องค์การการค้าโลก (Rules of Procedure) เป็นผลจากการเจรจาระหว่างประเทศสมาชิกทั้งหมดจึงมีความสมดุลใน สิทธิและหน้าที่ของประเทศสมาชิกทั้งหมด และโดยที่กระบวนการคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ ขององค์การการค้าโลกเป็นเพียงระเบียบวาระหนึ่งของการประชุมคณะมนตรีใหญ่ ดังนั้น ระเบียบของการดำเนินการประชุมทั่วไป จึงครอบคลุมระเบียบวาระนี้ด้วยและประเทศสมาชิก จะอ้างว่า อยู่นอกเหนือระเบียบทั่วไปนี้ไม่ได้ อนึ่ง การแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ดังกล่าวต้องเป็นการแก้ไขความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมิได้มีการกระทำเช่นว่านั้นใน กระบวนการดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าสหรัฐฯ จะคัดค้านอย่างไร ที่ประชุมฯ ก็ต้องดำเนินการตาม กฎระเบียบทั่วไปดังกล่าวอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้ รวมถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ ประธานฯและการใช้วิธีการตัดสินใจอื่นในกรณีที่ไม่สามารถหาฉันทามติได้ เนื่องจากการโต้ แย้งดังกล่าวเป็นไปอย่างตึงเครียด โดยไม่มีวี่แววว่าจะมีการลดลาวาศอกกัน ประธานฯ จึง ประกาศพักการประชุมไประยะหนึ่ง เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มีโอกาสตรึกตรองและหารือ ระหว่างกัน ในขณะเดียวกัน ประธานฯ ก็จะพยายามหารือกับแต่ละกลุ่มเพื่อหาทางรอมชอม ที่เหมาะสมเพื่อให้กระบวนการคัดเลือกนี้แล้วเสร็จโดยเร็ว ข้อสังเกตสำคัญประการหนึ่งที่เป็น สาเหตุของความขัดแย้งอย่างรุนแรงครั้งนี้ คือ วิธีการยื่นข้อเสนอของประธานฯ ในการประชุม เมื่อวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ต่างจากที่เคยถือปฏิบัติมา โดยปกติแล้ว ก่อน ที่ประธานขององค์กรหนึ่งใดในองค์การการค้าโลกจะยื่นข้อเสนอต่อที่ประชุมเพื่อหาฉันทามติ ประธานองค์กรนั้นๆ จะหารือกับประเทศสมาชิกสำคัญๆ เป็นรายประเทศและนำข้อเสนอ ดังกล่าวชี้แจงต่อประเทศสมาชิกทั้งหมดอย่างไม่เป็นทางการเพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับ ข้อเสนอของตนให้แน่ใจก่อนว่า เมื่อเสนอต่อที่ประชุมอย่างเป็นทางการแล้วจะไม่ถูกคัดค้าน และในส่วนของการคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ในอดีตนั้น ประธานฯ จะทำการหารือกับแต่ละ ประเทศเพื่อหยั่งเสียงสนับสนุน และจะเสนอชื่อผู้สมัครในที่ประชุมอย่างเป็นทางการต่อเมื่อ เหลือผู้สมัครเพียงชื่อเดียว อาทิ ในคราวที่นาย Ruggiero ได้รับเลือกนั้น นาย Kim ผู้สมัคร จากเกาหลีใต้ได้ถอนตัวออกจากการคัดเลือกขั้นสุดท้าย และเหลือนาย Ruggiero เพียงคนเดียว จึงทำให้สามารถหาฉันทามติในตัวนาย Ruggiero ได้ ในกระบวนการคัดเลือก ครั้งนี้ หลังจากประธานฯ ได้หารือกับแต่ละประเทศเป็นการภายในแล้ว ประธานฯ ได้จงใจ ไม่นำข้อเสนอดังกล่าวขึ้นหารือกับประเทศสมาชิกทั้งหมดอย่างไม่เป็นทางการ และโดยที่ ฯพณฯ รนม.ฯ มีคะแนนนำทั้งด้านเสียงสนับสนุนและความนิยมกระจายทั่วทุกภูมิภาคมาโดย ตลอดตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อประธานเสนอชื่อนาย Moore ในการประชุมคณะมนตรีใหญ่เมื่อวันที่ 30 เมษายน จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการคัดค้านนี้ขึ้น กลุ่มประเทศสมาชิกที่สนับสนุน ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีฯ ซึ่งรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นโดยเรียกตนเองว่า "Friends of Supachai" นอกจากจะให้การสนับสนุนเพราะเห็นว่า ฯพณฯ รนม.ฯ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมที่สุดในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกแล้ว ขณะนี้ ยังเห็นว่า จะต้องช่วยกันเพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งบูรณภาพและภาพพจน์ที่ดีขององค์การการค้าโลก กลุ่มนี้จึงได้ ทุ่มเทความพยายามที่จะต่อต้านการครอบงำของมหาอำนาจ และต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ความโปร่งใส และความเป็นประชาธิปไตย เพื่อให้องค์การนี้เป็นองค์การบนพื้นฐานของ กฎระเบียบ มิใช่บนพื้นฐานของอำนาจ (Rules-base but not Power-base Organization) ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-