กรุงเทพฯ--16 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปภายหลังรัฐบาลญี่ปุ่นบังคับใช้กฏหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ซึ่งมีบทลงโทษหนักขึ้นสำหรับคนต่างชาติที่เข้าเมืองหรือพำนักอยู่ในญี่ปุ่นโดยไม่ถูกต้องตาม กฏหมาย ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตามที่ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สรุปได้ดังนี้
1. คนไทยที่เข้าเมือง/พำนักโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมายยังคงทยอยกันไปติดต่อขอทำหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity หรือ C.I.) ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อใช้มอบตัวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น เฉลี่ยวันละ 30-40 ราย ส่วนใหญ่ทราบดีว่ากฏหมายใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว และเชื่อคำแนะนำตามประกาศของสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ขอให้ถือเอกสารเดินทางไว้เพื่อจะได้ใช้เดินทางได้ทันทีหากถูกทางการญี่ปุ่นจับกุม ในจำนวนนี้ มีผู้ตั้งใจมอบตัวเพื่อเพื่อเดินทางกลับทันทีประมาณ 10 รายต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่พำนักและทำงานในญี่ปุ่นเป็นเวลานาน (ระหว่าง 8-11 ปี) หมดหนี้สินและมีเงินเก็บเพียงพอแล้ว อีกส่วนเป็นผู้ป่วยที่อาการกำเริบในช่วงฤดูหนาว เช่น หอบหืด โรคระบบหายใจ และไขข้อ ต้องเดินทางกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย เพราะค่ารักษาพยาบาลในญี่ปุ่นสูงมาก
2. คนไทยอีกส่วนหนึ่งกำลังอยู่ในระหว่างตัดสินใจที่จะเดินทางกลับหรือเสี่ยงอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป โดยคำนึงถึงเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ได้รับเป็นหลัก กอปรกับนายจ้างชาวญี่ปุ่นที่ว่าจ้างคนไทยทำงานอยู่ด้วยเกรงว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้มงวดกวดขันจับกุมคนงานต่างชาติผิดกฏหมายซึ่งอาจทำให้ตนต้องรับโทษปรับด้วย ทำให้ต้องเลิกจ้างคนงานไทย และหันไปจ้างผู้มีวีซ่าถูกต้องเท่านั้น (ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่สมรสกับชาวญี่ปุ่น) จึงมีแนวโน้มว่า ในอนาคตอันใกล้ คนไทยอีกส่วนหนึ่งจะออกมามอบตัวเพิ่มขึ้น
3. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่นได้ทำการจับกุมคนงานต่างชาติที่พำนักโดยผิดกฏหมายที่โรงงาน 2 แห่งในเมืองอิเสะซากิ จังหวัดกุมมะ รวม 58 คน ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 22 คน และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นจะพิจารณาเป็นรายกรณี หากไม่พบว่ากระทำผิดกฏหมายอย่างร้ายแรง ก็จะเร่งดำเนินการส่งตัวกลับโดยด่วน (ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนปรกติเช่นเดิมก่อนการบังคับใช้กฏหมายฉบับใหม่) และสถานเอกอัครราชทูตฯ กำลังประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเรื่องเอกสารเดินทางเพื่อช่วยให้เดินทางกลับได้ทันทีที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเสร็จสิ้นกระบวนการเนรเทศซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
4. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่ตำรวจของญี่ปุ่นในบางพื้นที่ของกรุงโตเกียวและจังหวัดชิบะได้ออกตรวจตราและจับกุมคนต่างชาติตามโรงงานและบ้านพัก มีคนไทยถูกจับกุม 5-6 คน ซึ่งถือเป็นปฏิบัติการตามปรกติและเท่าที่ทราบเป็นการภายใน ทางการญี่ปุ่นมุ่งเน้นการกวาดล้างคนต่างชาติบางกลุ่มบางประเทศที่ต้องสงสัยว่าพัวพันกับการก่ออาชญากรรมร้ายแรงมากกว่าผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองหรือทำงานโดยผิดกฏหมายทั่วไป
5.โดยทั่วไป คนไทยที่ตัดสินใจเสี่ยงหลบซ่อนและทำงานต่อในขณะนี้ มิได้ตื่นตระหนกต่อการบังคับใช้กฏหมายฉบับใหม่ เพราะเชื่อว่าหากตนมิได้กระทำผิดอื่นใดนอกเหนือจากการพำนักเกินกำหนดวีซ่าแล้ว ทางการญี่ปุ่นคงไม่ลงโทษในสถานหนัก กอปรกับการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประกาศให้คนไทยทราบเรื่องกฏหมายฉบับดังกล่าวเป็นการภายในมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ในปีที่ผ่านมา และได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเน้นให้คนไทยเตรียมตัวรับสถานการณ์ด้วยการ 1) ขอทำเอกสารสำคัญประจำตัวที่สถานเอกอัครราชทูตฯ 2) เตรียมเงินค่าปรับไว้ในกรณีถูกดำเนินคดี ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์และมีความเตรียมพร้อมในระดับหนึ่ง
6. ขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ กำลังรณรงค์ให้คนไทยที่ยังไม่มีเอกสารเดินทางไปขอเอกสารสำคัญประจำตัว เนื่องจากมีข่าวลือในหมู่คนไทยว่าสถานเอกอัครราชทูตฯ เลิกให้บริการออกเอกสารเดินทางสำหรับผู้ที่พำนักโดยผิดกฏหมายตั้งแต่กฏหมายฉบับใหม่มีผลบังคับ ทำให้คนไทยไม่กล้าออกมาติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ปรับปรุงการออก C.I. ให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยอนุโลมผ่อนผันเอกสารหลายอย่างทำให้คนไทยไม่จำเป็นต้องรอหลักฐานต่างๆ (เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองบุคคล) ที่ต้องขอให้ทางบ้านส่งไปให้และใช้เวลานาน และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิต ทำให้ผู้ร้องสามารถรอรับ C.I. ได้ภายในเวลา 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น--จบ--
วันนี้ (15 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปภายหลังรัฐบาลญี่ปุ่นบังคับใช้กฏหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ซึ่งมีบทลงโทษหนักขึ้นสำหรับคนต่างชาติที่เข้าเมืองหรือพำนักอยู่ในญี่ปุ่นโดยไม่ถูกต้องตาม กฏหมาย ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตามที่ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สรุปได้ดังนี้
1. คนไทยที่เข้าเมือง/พำนักโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมายยังคงทยอยกันไปติดต่อขอทำหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity หรือ C.I.) ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อใช้มอบตัวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น เฉลี่ยวันละ 30-40 ราย ส่วนใหญ่ทราบดีว่ากฏหมายใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว และเชื่อคำแนะนำตามประกาศของสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ขอให้ถือเอกสารเดินทางไว้เพื่อจะได้ใช้เดินทางได้ทันทีหากถูกทางการญี่ปุ่นจับกุม ในจำนวนนี้ มีผู้ตั้งใจมอบตัวเพื่อเพื่อเดินทางกลับทันทีประมาณ 10 รายต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่พำนักและทำงานในญี่ปุ่นเป็นเวลานาน (ระหว่าง 8-11 ปี) หมดหนี้สินและมีเงินเก็บเพียงพอแล้ว อีกส่วนเป็นผู้ป่วยที่อาการกำเริบในช่วงฤดูหนาว เช่น หอบหืด โรคระบบหายใจ และไขข้อ ต้องเดินทางกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย เพราะค่ารักษาพยาบาลในญี่ปุ่นสูงมาก
2. คนไทยอีกส่วนหนึ่งกำลังอยู่ในระหว่างตัดสินใจที่จะเดินทางกลับหรือเสี่ยงอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป โดยคำนึงถึงเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ได้รับเป็นหลัก กอปรกับนายจ้างชาวญี่ปุ่นที่ว่าจ้างคนไทยทำงานอยู่ด้วยเกรงว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้มงวดกวดขันจับกุมคนงานต่างชาติผิดกฏหมายซึ่งอาจทำให้ตนต้องรับโทษปรับด้วย ทำให้ต้องเลิกจ้างคนงานไทย และหันไปจ้างผู้มีวีซ่าถูกต้องเท่านั้น (ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่สมรสกับชาวญี่ปุ่น) จึงมีแนวโน้มว่า ในอนาคตอันใกล้ คนไทยอีกส่วนหนึ่งจะออกมามอบตัวเพิ่มขึ้น
3. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่นได้ทำการจับกุมคนงานต่างชาติที่พำนักโดยผิดกฏหมายที่โรงงาน 2 แห่งในเมืองอิเสะซากิ จังหวัดกุมมะ รวม 58 คน ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 22 คน และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นจะพิจารณาเป็นรายกรณี หากไม่พบว่ากระทำผิดกฏหมายอย่างร้ายแรง ก็จะเร่งดำเนินการส่งตัวกลับโดยด่วน (ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนปรกติเช่นเดิมก่อนการบังคับใช้กฏหมายฉบับใหม่) และสถานเอกอัครราชทูตฯ กำลังประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเรื่องเอกสารเดินทางเพื่อช่วยให้เดินทางกลับได้ทันทีที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเสร็จสิ้นกระบวนการเนรเทศซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
4. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่ตำรวจของญี่ปุ่นในบางพื้นที่ของกรุงโตเกียวและจังหวัดชิบะได้ออกตรวจตราและจับกุมคนต่างชาติตามโรงงานและบ้านพัก มีคนไทยถูกจับกุม 5-6 คน ซึ่งถือเป็นปฏิบัติการตามปรกติและเท่าที่ทราบเป็นการภายใน ทางการญี่ปุ่นมุ่งเน้นการกวาดล้างคนต่างชาติบางกลุ่มบางประเทศที่ต้องสงสัยว่าพัวพันกับการก่ออาชญากรรมร้ายแรงมากกว่าผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองหรือทำงานโดยผิดกฏหมายทั่วไป
5.โดยทั่วไป คนไทยที่ตัดสินใจเสี่ยงหลบซ่อนและทำงานต่อในขณะนี้ มิได้ตื่นตระหนกต่อการบังคับใช้กฏหมายฉบับใหม่ เพราะเชื่อว่าหากตนมิได้กระทำผิดอื่นใดนอกเหนือจากการพำนักเกินกำหนดวีซ่าแล้ว ทางการญี่ปุ่นคงไม่ลงโทษในสถานหนัก กอปรกับการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประกาศให้คนไทยทราบเรื่องกฏหมายฉบับดังกล่าวเป็นการภายในมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ในปีที่ผ่านมา และได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเน้นให้คนไทยเตรียมตัวรับสถานการณ์ด้วยการ 1) ขอทำเอกสารสำคัญประจำตัวที่สถานเอกอัครราชทูตฯ 2) เตรียมเงินค่าปรับไว้ในกรณีถูกดำเนินคดี ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์และมีความเตรียมพร้อมในระดับหนึ่ง
6. ขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ กำลังรณรงค์ให้คนไทยที่ยังไม่มีเอกสารเดินทางไปขอเอกสารสำคัญประจำตัว เนื่องจากมีข่าวลือในหมู่คนไทยว่าสถานเอกอัครราชทูตฯ เลิกให้บริการออกเอกสารเดินทางสำหรับผู้ที่พำนักโดยผิดกฏหมายตั้งแต่กฏหมายฉบับใหม่มีผลบังคับ ทำให้คนไทยไม่กล้าออกมาติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ปรับปรุงการออก C.I. ให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยอนุโลมผ่อนผันเอกสารหลายอย่างทำให้คนไทยไม่จำเป็นต้องรอหลักฐานต่างๆ (เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองบุคคล) ที่ต้องขอให้ทางบ้านส่งไปให้และใช้เวลานาน และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิต ทำให้ผู้ร้องสามารถรอรับ C.I. ได้ภายในเวลา 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น--จบ--