ข้อมูลเบื้องต้นเดือนพฤศจิกายน 2544 เศรษฐกิจโดยรวมทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนตุลาคมทั้งภาคการผลิต อุปสงค์รวมในประเทศ และภาคต่างประเทศ ส่วนภาครัฐเร่งการเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลง สภาพคล่องการเงินยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดย หมวดวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการขยายตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังบังกลาเทศและเวียดนามได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ส่วนหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ยังขยายตัวต่อเนื่อง หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงต่อเนื่อง ได้แก่ หมวดสิ่งทอ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็น เนื่องจากประสบปัญหาการการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศยูเครน และคาซัคสถาน ส่วนหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ไฟฟ้า การผลิตยังคงลดลงมาก แต่มีแนวโน้มว่าอัตราการลดชะลอตัวลง
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม และหมวดวัสดุก่อสร้าง เป็นสำคัญ โดยมีการใช้กำลังการผลิตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 53.5
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์นั่งเร่งตัวขึ้นเนื่องจากการเร่งทำยอดจำหน่ายให้ได้ตามเป้าหมายในช่วงปลายปี การลงทุนภาคเอกชน เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหดตัวเล็กน้อย แต่ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา ทั้งด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ และการก่อสร้าง ถ้าพิจารณาจากเครื่องชี้การลงทุน แม้ว่าการนำเข้าสินค้าทุนยังลดลง แต่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ขยายตัวสูง เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศและพื้นที่ก่อสร้างที่ขยายตัวตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคโครงการใหญ่ของภาครัฐในบางส่วน
3. ภาคการคลัง รัฐบาลขาดดุลเงินสด 22.6 พันล้านบาท โดยรายได้รัฐบาลเท่ากับ 60.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน รายได้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีสรรพสามิต และภาษีธุรกิจเฉพาะ ด้านรายจ่าย รัฐบาลเบิกจ่ายได้ 82.1 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย รายจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อเป็นเงินสำรองให้ กบข. จำนวน 12.0 และ 2.5 พันล้านบาทตามลำดับ
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 ทั้งนี้เป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ร้อยละ 1.3 และ 0.8 ตามลำดับ โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 12.2) เนื่องจากภาวะน้ำท่วมทำให้ผักบางชนิดเสียหาย สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาสินค้าในทุกหมวดเพิ่มขึ้น ยกเว้นราคาหมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารที่ลดลง (ร้อยละ -2.6) เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 5.7 ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.8 และ 0.6 ตามลำดับ โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์ และป่าไม้เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 8.2) เนื่องจากปริมาณผลผลิตพืชน้ำมันและพืชผักออกสู่ตลาดน้อย ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาหมวดแร่โลหะและแร่อื่นๆ ลดลง (ร้อยละ -2.2) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ราคาหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -26.5) ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกและนำเข้าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและอุปสงค์ภายในประเทศที่ค่อนข้างอ่อนตัว โดยทั้งการส่งออกและการนำเข้าในเดือนนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 182 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ด้านดุลบริการบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ลดลงในเดือนกันยายนและตุลาคมจากผลกระทบของเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เกินดุล 537 ล้านดอลลาร์ สรอ. จึงเป็นผลจากการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ดุลการชำระเงินเกินดุล 658 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้มีการชำระหนี้ของ ธปท. 290 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2544 อยู่ ณ ระดับ 33.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.10 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.18 ต่อปี สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม สินเชื่อจำนวนนี้ถ้ารวมหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อส่วนที่โอนไป AMCs หักด้วยสินเชื่อส่วนที่ให้แก่ AMCs แล้วจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 4.0 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอลง เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
7. ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการเข้ามาซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจ (บริษัท ปตท.) และเพื่อการลงทุนโดยตรง รวมทั้งเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ทั้งนี้ แม้ว่าค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์จะปรับตัวอ่อนลงในช่วงปลายเดือนก็ไม่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวตาม
ช่วง 1-21 ธันวาคม 2544 ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตาม sentiment ของค่าเงินบาทที่ยังดีอยู่ รวมทั้งมีการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนต่อพันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินเยนจำนวน 35 พันล้านเยน (ระยะ 3 ปี 5 ปี และ 7 ปี) อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัวลงในสัปดาห์ที่ 3 ตามการอ่อนตัวของค่าเงินเยน ซึ่งส่งผลกระทบให้ค่าเงินอื่นในภูมิภาคอ่อนตัวลงเช่นกัน ประกอบกับเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด อนึ่ง FMOC ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate และ Discount Rate ลงอีกอัตราละ 25 bps ในวันที่ 11 ธันวาคม เหลือร้อยละ 1.75 และ 1.25 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 11 ในรอบปี
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดย หมวดวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการขยายตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังบังกลาเทศและเวียดนามได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ส่วนหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ยังขยายตัวต่อเนื่อง หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงต่อเนื่อง ได้แก่ หมวดสิ่งทอ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็น เนื่องจากประสบปัญหาการการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศยูเครน และคาซัคสถาน ส่วนหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ไฟฟ้า การผลิตยังคงลดลงมาก แต่มีแนวโน้มว่าอัตราการลดชะลอตัวลง
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม และหมวดวัสดุก่อสร้าง เป็นสำคัญ โดยมีการใช้กำลังการผลิตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 53.5
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์นั่งเร่งตัวขึ้นเนื่องจากการเร่งทำยอดจำหน่ายให้ได้ตามเป้าหมายในช่วงปลายปี การลงทุนภาคเอกชน เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหดตัวเล็กน้อย แต่ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา ทั้งด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ และการก่อสร้าง ถ้าพิจารณาจากเครื่องชี้การลงทุน แม้ว่าการนำเข้าสินค้าทุนยังลดลง แต่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ขยายตัวสูง เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศและพื้นที่ก่อสร้างที่ขยายตัวตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคโครงการใหญ่ของภาครัฐในบางส่วน
3. ภาคการคลัง รัฐบาลขาดดุลเงินสด 22.6 พันล้านบาท โดยรายได้รัฐบาลเท่ากับ 60.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน รายได้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีสรรพสามิต และภาษีธุรกิจเฉพาะ ด้านรายจ่าย รัฐบาลเบิกจ่ายได้ 82.1 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย รายจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อเป็นเงินสำรองให้ กบข. จำนวน 12.0 และ 2.5 พันล้านบาทตามลำดับ
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 ทั้งนี้เป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ร้อยละ 1.3 และ 0.8 ตามลำดับ โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 12.2) เนื่องจากภาวะน้ำท่วมทำให้ผักบางชนิดเสียหาย สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาสินค้าในทุกหมวดเพิ่มขึ้น ยกเว้นราคาหมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารที่ลดลง (ร้อยละ -2.6) เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 5.7 ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.8 และ 0.6 ตามลำดับ โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์ และป่าไม้เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 8.2) เนื่องจากปริมาณผลผลิตพืชน้ำมันและพืชผักออกสู่ตลาดน้อย ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาหมวดแร่โลหะและแร่อื่นๆ ลดลง (ร้อยละ -2.2) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ราคาหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -26.5) ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกและนำเข้าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและอุปสงค์ภายในประเทศที่ค่อนข้างอ่อนตัว โดยทั้งการส่งออกและการนำเข้าในเดือนนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 182 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ด้านดุลบริการบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ลดลงในเดือนกันยายนและตุลาคมจากผลกระทบของเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เกินดุล 537 ล้านดอลลาร์ สรอ. จึงเป็นผลจากการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ดุลการชำระเงินเกินดุล 658 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้มีการชำระหนี้ของ ธปท. 290 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2544 อยู่ ณ ระดับ 33.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.10 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.18 ต่อปี สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม สินเชื่อจำนวนนี้ถ้ารวมหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อส่วนที่โอนไป AMCs หักด้วยสินเชื่อส่วนที่ให้แก่ AMCs แล้วจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 4.0 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอลง เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
7. ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการเข้ามาซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจ (บริษัท ปตท.) และเพื่อการลงทุนโดยตรง รวมทั้งเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ทั้งนี้ แม้ว่าค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์จะปรับตัวอ่อนลงในช่วงปลายเดือนก็ไม่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวตาม
ช่วง 1-21 ธันวาคม 2544 ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตาม sentiment ของค่าเงินบาทที่ยังดีอยู่ รวมทั้งมีการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนต่อพันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินเยนจำนวน 35 พันล้านเยน (ระยะ 3 ปี 5 ปี และ 7 ปี) อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัวลงในสัปดาห์ที่ 3 ตามการอ่อนตัวของค่าเงินเยน ซึ่งส่งผลกระทบให้ค่าเงินอื่นในภูมิภาคอ่อนตัวลงเช่นกัน ประกอบกับเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด อนึ่ง FMOC ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate และ Discount Rate ลงอีกอัตราละ 25 bps ในวันที่ 11 ธันวาคม เหลือร้อยละ 1.75 และ 1.25 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 11 ในรอบปี
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-