ประการที่ 6 โครงสร้างของเศรษฐกิจของเรากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่าน นับวันภาคการเกษตรคิดเป็นสัดส่วนรายได้ประชาชาติ จะมีสัดส่วนที่ลดลงไปตามลำดับ วันนี้ตัวเลขที่เราใช้อย่างคร่าวๆ ก็คือว่ารายได้ที่ได้จากภาคการเกษตรเทียบกับรายได้ทั้งหมดนั้น เพียง 15 % แต่ว่าคนของเราประมาณครึ่งถือว่าอาชีพหลักของตัวเองคือการทำการเกษตร เพราะฉะนั้นที่เราคิดและมองง่ายก็คือว่าคนครึ่งหนึ่งก็ได้รายได้จากภาคการเกษตรจากรายได้ทั้งหมดเพียงร้อยละ15 ปัญหาการกระจาย ปัญหาความเลื่อมล้ำ ปัญหาความยากจนที่ตามมามีแน่นอน
ผมอยากเห็นรัฐบาลมองตรงนี้อย่างมีวิสัยทัศน์ว่าแม้เราจะเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร แต่ถ้าผลิตผลทางการเกษตรนั้น ยังต้องไปขายในตลาดโลกและราคาก็ผูกติดอยู่ในตลาดโลก เพราะคงมีสินค้าน้อยตัวที่เราจะมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกที่แท้จริง นั่นหมายความว่าเราต้องมองหาช่องทางให้คนส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ในภาคเกษตรก็จริงแต่มีรายได้นอกภาคการเกษตร ที่ผ่านมาวิสัยทัศน์ของท่านายกฯจะมุ่งไปที่ให้เขาเป็นผู้ประกอบการ เน้นเรื่องการให้เงินทุนไปแต่กราบเรียนว่าในความเป็นจริงนั้นไม่ใช้ทุกคนที่จะมีความพร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการ
ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดว่า ท่ามกลางการลดลงของรายได้ภาคการเกษตร คนแต่ละคนจะใช้เวลาในการหารายได้มาอยู่นอกภาคการเกษตรอย่างไร ที่ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทุนหมุนเวียนขนาดเล็ก แต่คิดถึงการทำงานในระบบเป็นลูกจ้างเป็นมนุษย์เงินเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่ผ่านมารัฐบาลก็มามีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะตอบสนองแก้ไขความยากจนอย่างไร และการเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ผู้ประกอบกิจการอิสระและภาคการเกษตร และภาคบริการควรจะเป็นอย่างไร ตรงนี้หมายถึงเรื่องของการปรับโครงนสร้างเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างการผลิตอย่างแท้จริง ซึ่งในส่วนของภาคการเกษตรนั้นก็ยากจะย้ำว่าอย่ามุ่งแต่เรื่องของเงินอย่างเดียว ขอให้มุ่งปัจจัยพื้นฐาน เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องพันพืช เรื่องคุณภาพ เรื่องของโอกาสของด้านการตลาด สำหรับพี่น้องเกษตรกร
ประการสุดท้าย ปัญหาความยากจนนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะ ในแง่มุมของเศรษฐกิจ ที่จริงเป้าหมายของเราสุดท้าย ต้องการให้คนพึ่งตัวเองได้ สิ่งที่เป็นประสบการณ์ต่อหลายของหลายประเทศที่พิสูจน์แล้วก็คือว่าชุมชนและประชาชนคต้องมีความเข้มแข็งเพียงพอ ที่จะพึ่งตนเองได้ และสิ่งที่พิสูจน์ทั่วโลกก็คือว่าคนและชุมชนที่จะพึ่งตนเองได้นั้น จะต้องได้รับทั้งโอกาสและอำนาจ การแก้ไขปัญหาความยากจน จึงต้องผูกอยู่กับนโยบายที่มุ่งเน้นเรื่องการกระจายทั้งความเจริญ ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน โครงการต่างๆ การกระจายทั้งในแง่ของโอกาส ไม่ว่าจะเป็นอาชีพการงานการศึกษา และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนก็คือการกระจายในเรื่องของอำนาจ ให้เขาสามารถที่กำหนดอนาคตของเขาเองได้ จะเป็นเฉพาะตัวหรือเฉพาะชุมชน หรือเฉพาะในท้องถิ่นของเขา
ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะมองข้าม หรือให้ความสำคัญค่อนข้างน้อยกับการเชื่อมโยงการดำเนินนโยบายและการกระจายต่างๆ เข้ากับเรื่องแก้ไขปัญหาความยากจน
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผมคิดว่าสิ่งที่ได้นำเสนอวันนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยมีโอกาสนำเสนอกันอย่างเป็นระบบ กราบเรียนว่าโอกาสในการแลกเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ควรต้องมีมากขึ้น เพราะในแต่ะด้านที่ผมพูดไปสามารถลงไปในหลายละเอียดได้อีก อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้เปิดสภา เพื่อแสวงโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ก็คงต้องขอกราบเรียนข้อสังเกตในเบื้องต้น ก่อนที่จะมาเพื่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะได้ลงลึกในรายละเอียดและขยายความต่อไป ขอกราบขอบคุณครับท่านประธานครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
ผมอยากเห็นรัฐบาลมองตรงนี้อย่างมีวิสัยทัศน์ว่าแม้เราจะเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร แต่ถ้าผลิตผลทางการเกษตรนั้น ยังต้องไปขายในตลาดโลกและราคาก็ผูกติดอยู่ในตลาดโลก เพราะคงมีสินค้าน้อยตัวที่เราจะมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกที่แท้จริง นั่นหมายความว่าเราต้องมองหาช่องทางให้คนส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ในภาคเกษตรก็จริงแต่มีรายได้นอกภาคการเกษตร ที่ผ่านมาวิสัยทัศน์ของท่านายกฯจะมุ่งไปที่ให้เขาเป็นผู้ประกอบการ เน้นเรื่องการให้เงินทุนไปแต่กราบเรียนว่าในความเป็นจริงนั้นไม่ใช้ทุกคนที่จะมีความพร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการ
ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดว่า ท่ามกลางการลดลงของรายได้ภาคการเกษตร คนแต่ละคนจะใช้เวลาในการหารายได้มาอยู่นอกภาคการเกษตรอย่างไร ที่ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทุนหมุนเวียนขนาดเล็ก แต่คิดถึงการทำงานในระบบเป็นลูกจ้างเป็นมนุษย์เงินเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่ผ่านมารัฐบาลก็มามีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะตอบสนองแก้ไขความยากจนอย่างไร และการเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ผู้ประกอบกิจการอิสระและภาคการเกษตร และภาคบริการควรจะเป็นอย่างไร ตรงนี้หมายถึงเรื่องของการปรับโครงนสร้างเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างการผลิตอย่างแท้จริง ซึ่งในส่วนของภาคการเกษตรนั้นก็ยากจะย้ำว่าอย่ามุ่งแต่เรื่องของเงินอย่างเดียว ขอให้มุ่งปัจจัยพื้นฐาน เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องพันพืช เรื่องคุณภาพ เรื่องของโอกาสของด้านการตลาด สำหรับพี่น้องเกษตรกร
ประการสุดท้าย ปัญหาความยากจนนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะ ในแง่มุมของเศรษฐกิจ ที่จริงเป้าหมายของเราสุดท้าย ต้องการให้คนพึ่งตัวเองได้ สิ่งที่เป็นประสบการณ์ต่อหลายของหลายประเทศที่พิสูจน์แล้วก็คือว่าชุมชนและประชาชนคต้องมีความเข้มแข็งเพียงพอ ที่จะพึ่งตนเองได้ และสิ่งที่พิสูจน์ทั่วโลกก็คือว่าคนและชุมชนที่จะพึ่งตนเองได้นั้น จะต้องได้รับทั้งโอกาสและอำนาจ การแก้ไขปัญหาความยากจน จึงต้องผูกอยู่กับนโยบายที่มุ่งเน้นเรื่องการกระจายทั้งความเจริญ ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน โครงการต่างๆ การกระจายทั้งในแง่ของโอกาส ไม่ว่าจะเป็นอาชีพการงานการศึกษา และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนก็คือการกระจายในเรื่องของอำนาจ ให้เขาสามารถที่กำหนดอนาคตของเขาเองได้ จะเป็นเฉพาะตัวหรือเฉพาะชุมชน หรือเฉพาะในท้องถิ่นของเขา
ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะมองข้าม หรือให้ความสำคัญค่อนข้างน้อยกับการเชื่อมโยงการดำเนินนโยบายและการกระจายต่างๆ เข้ากับเรื่องแก้ไขปัญหาความยากจน
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผมคิดว่าสิ่งที่ได้นำเสนอวันนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยมีโอกาสนำเสนอกันอย่างเป็นระบบ กราบเรียนว่าโอกาสในการแลกเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ควรต้องมีมากขึ้น เพราะในแต่ะด้านที่ผมพูดไปสามารถลงไปในหลายละเอียดได้อีก อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้เปิดสภา เพื่อแสวงโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ก็คงต้องขอกราบเรียนข้อสังเกตในเบื้องต้น ก่อนที่จะมาเพื่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะได้ลงลึกในรายละเอียดและขยายความต่อไป ขอกราบขอบคุณครับท่านประธานครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-