ภูเก็ต
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตในปี 2543 ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัดอยู่ในภาวะที่ดี และมีเม็ดเงินจากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาคการค้าและการลงทุนของเอกชนในจังหวัดขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับการส่งเสริมของภาครัฐในการพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองนานาชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้
ภาคการเกษตร
การประมง ในปีนี้ภาวะการจับสัตว์น้ำชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนประกอบการสูงขึ้นตาม ประกอบกับราคาสัตว์น้ำมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามปริมาณสัตว์น้ำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตจำนวน 23,632 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 504.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ13.2 และ 2.7 ตามลำดับ โดยจำนวนสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ ท่าเทียบเรือเป็นปลาเป็ดมากถึงจำนวน 10,296 เมตริกตัน คิดป็นมูลค่า 44.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.3 และ 63.7 ตามลำดับ
ยางพารา ในช่วงต้นปีการผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากมีฝนตกชุก อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีหลังปริมาณยางเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผลผลิตยางในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.6 ขณะเดียวกันราคายางที่เกษตรกรจำหน่ายสูงขึ้นจากปีก่อน โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบ คุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 21.14 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนกิโลกรัมละ 17.56 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เนื่องจากความต้องการใช้ยางในตลาดโลกมีมากขึ้น
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาพักผ่อนจำนวนมาก เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านคมนาคมทางอากาศ รวมถึงจำนวนโรงแรม และห้องพักที่มีอยู่จำนวนมาก โดยโรงแรมส่วนใหญ่ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวจะมีอัตราการเข้าพักเต็ม นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ตในปีนี้มีทั้งสิ้น 854,272 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.5 ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวันและนักท่องเที่ยวแถบยุโรป นอกจากนี้ปัจจุบันตลาดทัวร์กอล์ฟและดำน้ำที่ภูเก็ตเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาก โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ให้ความสนใจตลาดนี้ได้แก่ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ยุโรป ญี่ปุ่น ทั้งนี้จาก รายงานของสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ตมีการนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนรวมทั้งสิ้น 212,824,220 ดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับปีก่อน
เหมืองแร่ ในปีนี้ผลผลิตดีบุกที่ผลิตได้ในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 1,312.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตในปีที่ผ่านมาจำนวน 1,033.5 เมตริกตัน
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดภูเก็ตได้รับแรงกระตุ้นและมีเม็ดเงินจากการใช้จ่ายของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้การค้ายานพาหนะมีตัวเลขชี้อย่างชัดเจน จากการจดทะเบียน รถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่จำนวน 1,317 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 โดยเฉพาะรถยนต์ยุโรป เนื่องจากมีกลุ่มนักธุรกิจต่างประเทศที่อยู่ในภูเก็ต และกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมและทัวร์ที่เอาไปใช้งานจำนวนมาก ขณะเดียวกันรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,446 คัน และ 11,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 และ 20.5 ตามลำดับ
สำหรับการค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวโดยในปีนี้มีมูลค่าการส่งออก 10,283.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกยางพาราและดีบุก ขณะที่ มูลค่านำเข้ามีเพียง 3,589.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ
การลงทุน การลงทุนในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรายใหม่ในปีนี้ 843 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,708.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 20.9 และ 26.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกิจการต่อเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว อาทิเช่น บริษัทนำเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบริการต่างๆ และธุรกิจดำน้ำ
ด้านการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 6 ราย เงินลงทุนรวม 218.4 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 867 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ที่มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 ราย เงินลงทุนรวม 106.2 ล้านบาท และการจ้างงาน 671 คน
ในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ ซึ่งมีการปรับเขตส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยย้ายจังหวัดภูเก็ตจากเดิมที่อยู่ในเขต 3 มาอยู่ในเขต 2 ซึ่งเป็นเขตที่มีรายได้ประชากรต่อหัวสูง หรือมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรร้อยละ 50 ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นเวลา 1 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี และเพิ่มเป็น 5 ปี สำหรับโครงการที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดภูเก็ตในปี 2543 ยังไม่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้พื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลรวม 155,585 ตาราเมตร เปรียบเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 10.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเพื่อการบริการและพื้นที่ก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.2 และ 55.8 ขณะที่มีพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 3.5 ตามลำดับ
นอกจากนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตบูมมาก จนเป็นผลให้ปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงเริ่มมีการก่อสร้าง การปรับปรุงและขยายห้องพักของโรงแรมตามชายหาดทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ เติบโตและรองรับตลาดการประชุมและสัมมนาขนาดใหญ่ โดยคาดว่าในปีนี้มีจำนวนห้องพักของโรงแรมใหม่ในจังหวัดภูเก็ตเกิดขึ้นอีกประมาณ 2,500 ห้อง หรือคิดเป็นร้อยละ 10 จากจำนวนห้องพักทั้งหมด นอกจากนี้จากการที่ปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้มีบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศได้ให้ทุนแก่เจ้าของโรงแรมเพื่อนำไปขยายห้องพัก เพื่อแลกกับเงื่อนไขให้ได้ห้องพักในช่วง High Season โดยการหักบัญชีกันภายหลัง เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมมีเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
สำหรับโครงการของภาครัฐ ในปีนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ โดยระยะแผนยาว 10 ปี ตั้งแต่ปี 2542-2554 โดยจะพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ดำรงรักษาความมีวัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นเมืองที่มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้สาระสำคัญของแผนจะกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นคือ การพัฒนาพื้นที่ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการให้ได้มาตรฐาน พัฒนาคนและสังคม พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการภูเก็ตเมืองนานาชาติ ขณะนี้อยู่ใน ขั้นตอนการดำเนินงานของบประมาณประจำปี 2545 นอกจากนี้ทางท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยยังมีโครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และโครงการปรับปรุงรันเวย์ท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอากาศยานที่มีมากถึงวันละ 62 เที่ยวบิน
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตพบว่า ในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างที่ประกาศรับสมัครงานลดลงจากปีก่อน โดยมีจำนวน 2,555 อัตรา ลดลงร้อยละ 16.4 ขณะที่มีผู้มาสมัครงานจำนวน 1,538 คน และได้การรับบรรจุงานจำนวน 628 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.4 และ 17.4 ตามลำดับ
การคลัง การเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตในปีนี้ลดลงจาก ปีก่อน โดยเงินงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายจากคลังจังหวัดในปีนี้มีจำนวน 2,710.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 ขณะที่การจัดเก็บภาษีในปีนี้สามารถจัดเก็บได้ 2,562.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.6 ในจำนวนนี้เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากรจำนวน 2,332.5 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 208.5 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 21.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 27.0 และ 4.8 ตามลำดับ
การเงินการธนาคาร ผลจากเม็ดเงินที่เข้ามาจากภาคการค้า และ การท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินนำฝากผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมียอดรวม 15,830.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.2 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกจ่ายมีจำนวนรวม 15,573.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.3 ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนเข้าและโอนออกระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีจำนวนเงินโอนรวม 39,355.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ทั้งนี้เป็นเงินโอนเข้าจำนวน 21,906.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 ขณะที่เงินโอนออกจำนวนรวม 17,449.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.7
ด้านปริมาณการใช้เช็คในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 926,168 ฉบับ มูลค่ารวม 65,314.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และ 13.8 ตามลำดับ
สำหรับธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ตยังเน้นเร่งการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ซึ่งมีความคืบหน้าไปพอสมควร โดยสิ้นเดือนธันวาคม 2543 มีการปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 2,400 ราย คิดเป็นวงเงินจำนวน 13,489.0 ล้านบาท และหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 525 ราย คิดเป็นวงเงินจำนวน 4,292.8 ล้านบาท ด้านธุรกรรมเงินฝากสถาบันการเงินมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีจำนวน 33,923.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.8 โดยกระจายอยู่ในรูปของเงินฝากประจำ 22,551.4 ล้านบาท และเงินฝากออมทรัพย์ 10,429.6 ล้านบาท เงินฝากกระแสรายวัน 942.0 ล้านบาท และอื่น ๆ 0.6 ล้านบาท ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 30,002.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.6 ในจำนวนนี้จำแนกเป็นสินเชื่อเงินให้กู้ 20,409.8 ล้านบาท เงินกู้เบิกเกินบัญชี 6,622.6 ล้านบาท และตั๋วเงินและอื่น ๆ 2,970.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อบริการ เพื่อค้าปลีกค้าส่ง และเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ส่วนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปีนี้มีให้สินเชื่อแก่ธุรกิจจำนวน 11 ราย ปริมาณเงินให้สินเชื่อรวม 318.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 10 ราย และจำนวนเงินให้สินเชื่อรวม 234.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และ 36.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงแรม ที่พักตากอากาศ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตในปี 2544
ในปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวของภูเก็ตยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่มีมาก ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยว และมีความคืบหน้าในการจัดทำแผนพัฒนาเมืองภูเก็ตนานาชาติเพื่อพัฒนาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตให้เติบโตขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำจะมีส่วนสนับสนุนให้การค้าการลงทุนในจังหวัดดีขึ้น รวมทั้งสถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ จะเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญของภาคการท่องเที่ยวคือ การปรับราคาห้องพักเพิ่มขึ้น อาจทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่ค่า ใช้จ่ายถูกกว่า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตในปี 2543 ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัดอยู่ในภาวะที่ดี และมีเม็ดเงินจากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาคการค้าและการลงทุนของเอกชนในจังหวัดขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับการส่งเสริมของภาครัฐในการพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองนานาชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้
ภาคการเกษตร
การประมง ในปีนี้ภาวะการจับสัตว์น้ำชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนประกอบการสูงขึ้นตาม ประกอบกับราคาสัตว์น้ำมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามปริมาณสัตว์น้ำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตจำนวน 23,632 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 504.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ13.2 และ 2.7 ตามลำดับ โดยจำนวนสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ ท่าเทียบเรือเป็นปลาเป็ดมากถึงจำนวน 10,296 เมตริกตัน คิดป็นมูลค่า 44.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.3 และ 63.7 ตามลำดับ
ยางพารา ในช่วงต้นปีการผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากมีฝนตกชุก อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีหลังปริมาณยางเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผลผลิตยางในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.6 ขณะเดียวกันราคายางที่เกษตรกรจำหน่ายสูงขึ้นจากปีก่อน โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบ คุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 21.14 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนกิโลกรัมละ 17.56 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เนื่องจากความต้องการใช้ยางในตลาดโลกมีมากขึ้น
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาพักผ่อนจำนวนมาก เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านคมนาคมทางอากาศ รวมถึงจำนวนโรงแรม และห้องพักที่มีอยู่จำนวนมาก โดยโรงแรมส่วนใหญ่ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวจะมีอัตราการเข้าพักเต็ม นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ตในปีนี้มีทั้งสิ้น 854,272 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.5 ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวันและนักท่องเที่ยวแถบยุโรป นอกจากนี้ปัจจุบันตลาดทัวร์กอล์ฟและดำน้ำที่ภูเก็ตเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาก โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ให้ความสนใจตลาดนี้ได้แก่ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ยุโรป ญี่ปุ่น ทั้งนี้จาก รายงานของสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ตมีการนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนรวมทั้งสิ้น 212,824,220 ดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับปีก่อน
เหมืองแร่ ในปีนี้ผลผลิตดีบุกที่ผลิตได้ในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 1,312.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตในปีที่ผ่านมาจำนวน 1,033.5 เมตริกตัน
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดภูเก็ตได้รับแรงกระตุ้นและมีเม็ดเงินจากการใช้จ่ายของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้การค้ายานพาหนะมีตัวเลขชี้อย่างชัดเจน จากการจดทะเบียน รถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่จำนวน 1,317 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 โดยเฉพาะรถยนต์ยุโรป เนื่องจากมีกลุ่มนักธุรกิจต่างประเทศที่อยู่ในภูเก็ต และกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมและทัวร์ที่เอาไปใช้งานจำนวนมาก ขณะเดียวกันรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,446 คัน และ 11,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 และ 20.5 ตามลำดับ
สำหรับการค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวโดยในปีนี้มีมูลค่าการส่งออก 10,283.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกยางพาราและดีบุก ขณะที่ มูลค่านำเข้ามีเพียง 3,589.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ
การลงทุน การลงทุนในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรายใหม่ในปีนี้ 843 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,708.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 20.9 และ 26.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกิจการต่อเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว อาทิเช่น บริษัทนำเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบริการต่างๆ และธุรกิจดำน้ำ
ด้านการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 6 ราย เงินลงทุนรวม 218.4 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 867 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ที่มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 ราย เงินลงทุนรวม 106.2 ล้านบาท และการจ้างงาน 671 คน
ในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ ซึ่งมีการปรับเขตส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยย้ายจังหวัดภูเก็ตจากเดิมที่อยู่ในเขต 3 มาอยู่ในเขต 2 ซึ่งเป็นเขตที่มีรายได้ประชากรต่อหัวสูง หรือมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรร้อยละ 50 ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นเวลา 1 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี และเพิ่มเป็น 5 ปี สำหรับโครงการที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดภูเก็ตในปี 2543 ยังไม่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้พื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลรวม 155,585 ตาราเมตร เปรียบเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 10.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเพื่อการบริการและพื้นที่ก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.2 และ 55.8 ขณะที่มีพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 3.5 ตามลำดับ
นอกจากนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตบูมมาก จนเป็นผลให้ปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงเริ่มมีการก่อสร้าง การปรับปรุงและขยายห้องพักของโรงแรมตามชายหาดทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ เติบโตและรองรับตลาดการประชุมและสัมมนาขนาดใหญ่ โดยคาดว่าในปีนี้มีจำนวนห้องพักของโรงแรมใหม่ในจังหวัดภูเก็ตเกิดขึ้นอีกประมาณ 2,500 ห้อง หรือคิดเป็นร้อยละ 10 จากจำนวนห้องพักทั้งหมด นอกจากนี้จากการที่ปริมาณห้องพักไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้มีบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศได้ให้ทุนแก่เจ้าของโรงแรมเพื่อนำไปขยายห้องพัก เพื่อแลกกับเงื่อนไขให้ได้ห้องพักในช่วง High Season โดยการหักบัญชีกันภายหลัง เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมมีเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
สำหรับโครงการของภาครัฐ ในปีนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ โดยระยะแผนยาว 10 ปี ตั้งแต่ปี 2542-2554 โดยจะพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ดำรงรักษาความมีวัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นเมืองที่มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้สาระสำคัญของแผนจะกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นคือ การพัฒนาพื้นที่ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการให้ได้มาตรฐาน พัฒนาคนและสังคม พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการภูเก็ตเมืองนานาชาติ ขณะนี้อยู่ใน ขั้นตอนการดำเนินงานของบประมาณประจำปี 2545 นอกจากนี้ทางท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยยังมีโครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และโครงการปรับปรุงรันเวย์ท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอากาศยานที่มีมากถึงวันละ 62 เที่ยวบิน
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตพบว่า ในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างที่ประกาศรับสมัครงานลดลงจากปีก่อน โดยมีจำนวน 2,555 อัตรา ลดลงร้อยละ 16.4 ขณะที่มีผู้มาสมัครงานจำนวน 1,538 คน และได้การรับบรรจุงานจำนวน 628 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.4 และ 17.4 ตามลำดับ
การคลัง การเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตในปีนี้ลดลงจาก ปีก่อน โดยเงินงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายจากคลังจังหวัดในปีนี้มีจำนวน 2,710.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 ขณะที่การจัดเก็บภาษีในปีนี้สามารถจัดเก็บได้ 2,562.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.6 ในจำนวนนี้เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากรจำนวน 2,332.5 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 208.5 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 21.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 27.0 และ 4.8 ตามลำดับ
การเงินการธนาคาร ผลจากเม็ดเงินที่เข้ามาจากภาคการค้า และ การท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินนำฝากผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมียอดรวม 15,830.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.2 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกจ่ายมีจำนวนรวม 15,573.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.3 ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนเข้าและโอนออกระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีจำนวนเงินโอนรวม 39,355.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ทั้งนี้เป็นเงินโอนเข้าจำนวน 21,906.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 ขณะที่เงินโอนออกจำนวนรวม 17,449.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.7
ด้านปริมาณการใช้เช็คในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 926,168 ฉบับ มูลค่ารวม 65,314.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และ 13.8 ตามลำดับ
สำหรับธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ตยังเน้นเร่งการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ซึ่งมีความคืบหน้าไปพอสมควร โดยสิ้นเดือนธันวาคม 2543 มีการปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 2,400 ราย คิดเป็นวงเงินจำนวน 13,489.0 ล้านบาท และหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 525 ราย คิดเป็นวงเงินจำนวน 4,292.8 ล้านบาท ด้านธุรกรรมเงินฝากสถาบันการเงินมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีจำนวน 33,923.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.8 โดยกระจายอยู่ในรูปของเงินฝากประจำ 22,551.4 ล้านบาท และเงินฝากออมทรัพย์ 10,429.6 ล้านบาท เงินฝากกระแสรายวัน 942.0 ล้านบาท และอื่น ๆ 0.6 ล้านบาท ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 30,002.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.6 ในจำนวนนี้จำแนกเป็นสินเชื่อเงินให้กู้ 20,409.8 ล้านบาท เงินกู้เบิกเกินบัญชี 6,622.6 ล้านบาท และตั๋วเงินและอื่น ๆ 2,970.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อบริการ เพื่อค้าปลีกค้าส่ง และเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ส่วนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปีนี้มีให้สินเชื่อแก่ธุรกิจจำนวน 11 ราย ปริมาณเงินให้สินเชื่อรวม 318.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 10 ราย และจำนวนเงินให้สินเชื่อรวม 234.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และ 36.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงแรม ที่พักตากอากาศ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตในปี 2544
ในปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวของภูเก็ตยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่มีมาก ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยว และมีความคืบหน้าในการจัดทำแผนพัฒนาเมืองภูเก็ตนานาชาติเพื่อพัฒนาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตให้เติบโตขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำจะมีส่วนสนับสนุนให้การค้าการลงทุนในจังหวัดดีขึ้น รวมทั้งสถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ จะเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญของภาคการท่องเที่ยวคือ การปรับราคาห้องพักเพิ่มขึ้น อาจทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่ค่า ใช้จ่ายถูกกว่า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-