กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (9 มีนาคม 2543) นายอุ้ม เมาลานนท์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับการช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า ตามที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวได้จัดการสัมมนาความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นเพื่อช่วยเหลือสตรีไทยในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐของไทยและญี่ปุ่น กลุ่มประชาสังคมต่างๆ (NGOs) และสื่อมวลชนของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ทุกฝ่ายจะร่วมกันแก้ไขปัญหาหญิงไทยเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อค้าประเวณี นั้น
บัดนี้ สถานเอกอัครราชฑูตฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากเพิ่มเติม ดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้การสนับสนุนและประสานงานกับ NGO ที่มีความ ห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาความตกทุกข์ได้ยากของคนชาติต่างๆ ในญี่ปุ่น 3 องค์กร ได้แก่ บ้านพักฉุกเฉิน HELP (House in Emergency of Love and Peace) บ้านพักฉุกเฉิน SAA-LAA (House for Women) หรือ “ศาลา” และกลุ่ม OASIS มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 จนถึงขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และองค์กรทั้งสามและส่งเสริมความร่วมมือในการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายปฏิบัติการในการช่วยเหลือคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนงานที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้อย่างเต็มที่เป็นประจำ อาทิ การจัดหาที่พักพิงและอาหาร การพาคนไทยไปดำเนินเนื่องที่โรงพยาบาลหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่น การพาคนไทยไปส่งที่ท่าอากาศยาน
2. การดำเนินงานขององค์กรทั้งสาม สามารถสรุปได้ ดังนี้
บ้านพักฉุกเฉิน HELP (House in Emergency of Love and Peace)
1) HELP ได้ให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่ตกทุกข์ได้ยากจำนวน 6 ราย ซึ่ง 2 รายมีบุตร และอีกหนึ่งรายตั้งท้องแก่ เจ้าหน้าที่ของ HELP ได้พาไปคลอดที่โรงพยาบาลและส่งตัวกลับประเทศไทยแล้ว โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานกับฝ่ายราชการของญี่ปุ่นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้วย ในกรณีนี้ HELP ได้ออกค่าใช้จ่ายในหลายรายการโดยมิได้คิดมูลค่า ซึ่งโดยปกติ HELP มีระเบียบเก็บค่าพักอาศัย/อาหาร ประมาณ 2,000 เยนต่อวัน แต่ในกรณีที่เป็นผู้อนาถา จะยกเว้นค่าธรรมเนียม และเท่าที่ผ่านมา HELP ก็มิได้เก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ตกทุกข็ได้ยากที่สถานเอกอัครราชทูตฯ แนะนำหรือร้องขอไปแต่อย่างใด
2) ที่ผ่านมา HELP ได้ประสานกับสถานเอกอัครราชทูตฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการให้ความช่วยเหลือบุคคลไร้สัญชาติที่เคยมีถิ่นพำนักในประเทศไทย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นและประสงค์จะขอเดินทางกลับประเทศไทยแต่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้เนื่องจากขัดกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ซึ่ง HELP กำลังประสานกับกาชาดสากล (IRC) ของญี่ปุ่นและทางการญี่ปุ่น เพื่อขอให้ช่วยดูแลและออกเอกสารเดินทางให้บุคคลเหล่านี้เพื่อใช้ในการขอตรวจลงตราเข้าประเทศไทย
3) นอกจากนี้ HELP ได้เข้าร่วมการประชุมพบปะหารืออย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ 2 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยและบุตรที่ตกทุกข์ได้ยากในช่วงที่ทางการญี่ปุ่นใช้กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่ที่มีบทลงโทษผู้เข้าเมืองผิดกฏหมายหรือพำนักเกินกว่ากำหนดการตรวจลงตรา ซึ่ง HELP ได้ให้ความช่วยเหลือแก่หญิงไทย 3 รายที่หนีจากสถานค้าประเวณีโดยได้ให้ที่พักพิงฉุกเฉินและพาไปมอบตัวเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย
บ้านพักฉุกเฉิน SAA-LAA (House for Women) หรือศาลา
1) “ศาลา” ได้ให้ความช่วยเหลือและให้สถานที่พักพิงแก่คนไทย 5 ราย และได้ให้คำแนะนำ/คำปรึกษาทางกฏหมาย ตลอดจนช่วยพาไปติดต่อราชการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และหน่วยงานของญี่ปุ่นและโรงพยาบาล รวมทั้งสิ้น 14 ราย ส่วนหใญ่เป็นผู้ที่ประสบปัญหาครอบครัว ถูกสามีทำร้ายร่างกาย และผู้ที่อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของญี่ปุ่นในการขอวีซ่าเพื่อพำนักระยะยาวในญี่ปุ่น
2) “ศาลา” ได้ให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ โดยได้ให้ความช่วยเหลือผู้เยาว์คนหนึ่งที่ต้องคดีฆ่าคนตาย โดยแนะนำทนายว่าความให้โดยไม่คิดมูลค่า และได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ที่พักพิงแก่คนไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์และโรคประสาท 2 ราย และช่วยดำเนินเรื่องให้เดินทางกลับประเทศไทยโดยพาไปส่งที่สนามบินนาริตะด้วย
3) นอกจากนี้ “ศาลา” ได้ร่วมประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ 3 ครั้งเพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก และได้วางระบบการติดต่อ “ฉุกเฉิน” ระหว่างกันด้วย
OASIS (Human Rights Network for Foreigners in Yamanashi)
1) กลุ่มโอเอซิสได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนต่างชาติที่ประสบปัญหาและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางกฏหมาย และการส่งเสริมให้คนต่างชาติดำเนินชีวิตในญี่ปุ่น “อย่างมัศักดิ์ศรี” ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงปัจจุบัน โอเอซิสได้ให้ความช่วยเหลือคนไทยแล้ว 21 ราย นอกจากนี้ กลุ่มโอเอซิสได้จัดหลักสูตรสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนไทยที่อาศัยในเมืองโคฟุและในจังหวัดยามานาชิ และจังหวัดใกล้เคียงด้วย
การดำเนินการประสานงานระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และองค์กรทั้งสามได้เพิ่มพูนความช่วยเหลือดูแลและคุ้มครองคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในญี่ปุ่นได้เป็นอย่างมาก โดยในช่วงปลายปี 2542 ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งคนไทยจำนวนมากตื่นตัวเกี่ยวกับการทำเอกสารเดินทางเพื่อเตรียมรับกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรทั้งสามได้ให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นอย่างดีในการให้ที่พักพิงและบริการคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยาก ทำให้สถานเอกอัครราชทูตฯ มีความคล่องตัวในการให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากในช่วงเวลาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ องค์กรเอกชนอื่นๆ ซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากอยู่บ้างก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นที่จะให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากดังที่องค์กรทั้งสามดำเนินการอยู่เช่นกัน--จบ--
วันนี้ (9 มีนาคม 2543) นายอุ้ม เมาลานนท์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับการช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า ตามที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวได้จัดการสัมมนาความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นเพื่อช่วยเหลือสตรีไทยในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐของไทยและญี่ปุ่น กลุ่มประชาสังคมต่างๆ (NGOs) และสื่อมวลชนของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ทุกฝ่ายจะร่วมกันแก้ไขปัญหาหญิงไทยเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อค้าประเวณี นั้น
บัดนี้ สถานเอกอัครราชฑูตฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากเพิ่มเติม ดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้การสนับสนุนและประสานงานกับ NGO ที่มีความ ห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาความตกทุกข์ได้ยากของคนชาติต่างๆ ในญี่ปุ่น 3 องค์กร ได้แก่ บ้านพักฉุกเฉิน HELP (House in Emergency of Love and Peace) บ้านพักฉุกเฉิน SAA-LAA (House for Women) หรือ “ศาลา” และกลุ่ม OASIS มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 จนถึงขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และองค์กรทั้งสามและส่งเสริมความร่วมมือในการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายปฏิบัติการในการช่วยเหลือคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนงานที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้อย่างเต็มที่เป็นประจำ อาทิ การจัดหาที่พักพิงและอาหาร การพาคนไทยไปดำเนินเนื่องที่โรงพยาบาลหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่น การพาคนไทยไปส่งที่ท่าอากาศยาน
2. การดำเนินงานขององค์กรทั้งสาม สามารถสรุปได้ ดังนี้
บ้านพักฉุกเฉิน HELP (House in Emergency of Love and Peace)
1) HELP ได้ให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่ตกทุกข์ได้ยากจำนวน 6 ราย ซึ่ง 2 รายมีบุตร และอีกหนึ่งรายตั้งท้องแก่ เจ้าหน้าที่ของ HELP ได้พาไปคลอดที่โรงพยาบาลและส่งตัวกลับประเทศไทยแล้ว โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานกับฝ่ายราชการของญี่ปุ่นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้วย ในกรณีนี้ HELP ได้ออกค่าใช้จ่ายในหลายรายการโดยมิได้คิดมูลค่า ซึ่งโดยปกติ HELP มีระเบียบเก็บค่าพักอาศัย/อาหาร ประมาณ 2,000 เยนต่อวัน แต่ในกรณีที่เป็นผู้อนาถา จะยกเว้นค่าธรรมเนียม และเท่าที่ผ่านมา HELP ก็มิได้เก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ตกทุกข็ได้ยากที่สถานเอกอัครราชทูตฯ แนะนำหรือร้องขอไปแต่อย่างใด
2) ที่ผ่านมา HELP ได้ประสานกับสถานเอกอัครราชทูตฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการให้ความช่วยเหลือบุคคลไร้สัญชาติที่เคยมีถิ่นพำนักในประเทศไทย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นและประสงค์จะขอเดินทางกลับประเทศไทยแต่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้เนื่องจากขัดกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ซึ่ง HELP กำลังประสานกับกาชาดสากล (IRC) ของญี่ปุ่นและทางการญี่ปุ่น เพื่อขอให้ช่วยดูแลและออกเอกสารเดินทางให้บุคคลเหล่านี้เพื่อใช้ในการขอตรวจลงตราเข้าประเทศไทย
3) นอกจากนี้ HELP ได้เข้าร่วมการประชุมพบปะหารืออย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ 2 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยและบุตรที่ตกทุกข์ได้ยากในช่วงที่ทางการญี่ปุ่นใช้กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่ที่มีบทลงโทษผู้เข้าเมืองผิดกฏหมายหรือพำนักเกินกว่ากำหนดการตรวจลงตรา ซึ่ง HELP ได้ให้ความช่วยเหลือแก่หญิงไทย 3 รายที่หนีจากสถานค้าประเวณีโดยได้ให้ที่พักพิงฉุกเฉินและพาไปมอบตัวเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย
บ้านพักฉุกเฉิน SAA-LAA (House for Women) หรือศาลา
1) “ศาลา” ได้ให้ความช่วยเหลือและให้สถานที่พักพิงแก่คนไทย 5 ราย และได้ให้คำแนะนำ/คำปรึกษาทางกฏหมาย ตลอดจนช่วยพาไปติดต่อราชการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และหน่วยงานของญี่ปุ่นและโรงพยาบาล รวมทั้งสิ้น 14 ราย ส่วนหใญ่เป็นผู้ที่ประสบปัญหาครอบครัว ถูกสามีทำร้ายร่างกาย และผู้ที่อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของญี่ปุ่นในการขอวีซ่าเพื่อพำนักระยะยาวในญี่ปุ่น
2) “ศาลา” ได้ให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ โดยได้ให้ความช่วยเหลือผู้เยาว์คนหนึ่งที่ต้องคดีฆ่าคนตาย โดยแนะนำทนายว่าความให้โดยไม่คิดมูลค่า และได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ที่พักพิงแก่คนไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์และโรคประสาท 2 ราย และช่วยดำเนินเรื่องให้เดินทางกลับประเทศไทยโดยพาไปส่งที่สนามบินนาริตะด้วย
3) นอกจากนี้ “ศาลา” ได้ร่วมประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ 3 ครั้งเพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก และได้วางระบบการติดต่อ “ฉุกเฉิน” ระหว่างกันด้วย
OASIS (Human Rights Network for Foreigners in Yamanashi)
1) กลุ่มโอเอซิสได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนต่างชาติที่ประสบปัญหาและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางกฏหมาย และการส่งเสริมให้คนต่างชาติดำเนินชีวิตในญี่ปุ่น “อย่างมัศักดิ์ศรี” ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงปัจจุบัน โอเอซิสได้ให้ความช่วยเหลือคนไทยแล้ว 21 ราย นอกจากนี้ กลุ่มโอเอซิสได้จัดหลักสูตรสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนไทยที่อาศัยในเมืองโคฟุและในจังหวัดยามานาชิ และจังหวัดใกล้เคียงด้วย
การดำเนินการประสานงานระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และองค์กรทั้งสามได้เพิ่มพูนความช่วยเหลือดูแลและคุ้มครองคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในญี่ปุ่นได้เป็นอย่างมาก โดยในช่วงปลายปี 2542 ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งคนไทยจำนวนมากตื่นตัวเกี่ยวกับการทำเอกสารเดินทางเพื่อเตรียมรับกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรทั้งสามได้ให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นอย่างดีในการให้ที่พักพิงและบริการคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยาก ทำให้สถานเอกอัครราชทูตฯ มีความคล่องตัวในการให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากในช่วงเวลาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ องค์กรเอกชนอื่นๆ ซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากอยู่บ้างก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นที่จะให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากดังที่องค์กรทั้งสามดำเนินการอยู่เช่นกัน--จบ--