สุกร : ฮ่องกงตรวจพบสารตกค้างในเนื้อสุกรที่นำเข้าจากไทย
ฮ่องกงได้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็นจากบริษัทผู้ส่งออกแห่งหนึ่งของไทยเป็นการชั่วคราวเมื่อปลายเดือนเมษายน 2544 เนื่องจากตรวจพบสารตกค้าง ของสารเร่งเนื้อแดงในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ส่วนเนื้อสุกรแช่เย็นที่นำเข้าจากบริษัทผู้ ส่งออกของไทยอีก 4 แห่งได้ถูกกักเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดก่อนจะปล่อยให้นำออกจำหน่าย ก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี 2541 ฮ่องกงได้เคยตรวจพบสารตกค้างของยาฆ่า เชื้อโรค ( Sulfamethazine) และสารเร่งเนื้อแดงในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ในเนื้อสุกรที่ นำเข้าจากไทย จึงใช้มาตรการกักเนื้อสุกรเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวด ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบต้องเสียเวลามาก ฝ่ายไทยจึงได้เจรจาต่อรองให้ทางการไทยโดยกรมปศุสัตว์เป็นฝ่ายตรวจสอบเอง โดยกำหนดหลักเกณฑ์การส่งออกใหม่มีการตรวจสอบตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงส่งออก ซึ่งสามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวไปได้ แต่ก็มีผลต่อการ ส่งออกเนื้อสุกรในปี 2542 ประกอบกับราคาสุกรภายในประเทศสูงไม่เอื้ออำนวยต่อการ ส่งออกด้วย ทำให้ปริมาณส่งออกลดลงจาก 2,184 ตัน ในปี 2541 เหลือเพียง 703 ตันในปี 2542 ส่วนปี 2543 ราคาสุกรภายในประเทศลดลงประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาททำให้สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 5,218 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 6.4 เท่า และคาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มขึ้นในปี 2544 แต่การที่ฮ่องกงตรวจพบสารตกค้างในเนื้อสุกรแช่เย็นของไทยอีกจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากการส่งออกเนื้อสุกรของไทยทั้งในรูปเนื้อสุกรแช่เย็นและแช่แข็งเกือบทั้งหมดส่งไปยังฮ่องกง ซึ่งขณะนี้ได้มีการ พักการส่งออก เนื้อสุกรแช่เย็นไว้ก่อน ทั้งนี้กรมปศุสัตว์จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าทำไมจึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น อีกทั้งที่กรมปศุสัตว์ได้มีการสุ่มตรวจเนื้อสุกรที่จะ ส่งออกทั้งในระดับฟาร์มและโรงฆ่า เพื่อจะได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
มันสำปะหลัง : ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง ครั้งที่ 4/2544
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการมันสำปะหลังได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2544 เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2544 ที่กระทรวงพาณิชย์ ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือมันเส้นตกค้างของเกษตรกรภายใต้โครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2543/44
ฝ่ายเลขานุการได้รายงานว่า จากการที่เกษตรกรและผู้ประกอบการลานมันได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจาก อคส. ระงับการดำเนินการตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี 2543/44 โดยไม่ประกาศให้ทราบล่วงหน้า ทำให้มีหัวมันของเกษตรกรตกค้างอยู่ที่ลานมันและไม่ได้รับใบประทวนสินค้า กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ประสานกับพาณิชย์จังหวัด รวบรวมข้อมูลปริมาณหัวมันสดที่เกษตรกรนำไปส่งลานมันภายในวันที่ 24 มกราคม 2544 และตกค้างอยู่ที่ลานมันซึ่งได้รับแจ้งว่ามี 15 จังหวัด มีมันสำปะหลังสดตกค้างอยู่ที่ลานมันและยังไม่ได้รับใบประทวนสินค้าจำนวน 0.635 ล้านตัน
ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสาร โดยยึดถือหนังสือรับรองการเป็นลูกค้า ธกส. ใบรับสินค้าชั่วคราวและวันสุดท้ายที่ อคส. ดำเนินโครงการ คือ วันที่ 24 มกราคม 2544 ปรากฏว่ามีหัวมันสดค้างลานอยู่จำนวน 0.354 ล้านตัน หรือคิดเป็นมันเส้น 0.148 ล้านตัน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงได้เสนอที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบให้โอนโครงการแทรกแซงผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อการส่งออกปี 2543/44 จำนวน 0.148 ล้านตันมันเส้น (ที่ยังคงค้างลาน) เป็นโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ปี 2543/44
ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการ ตรวจสอบปริมาณดังกล่าว (0.148 ล้านตันมันเส้น) ว่าเป็นของเกษตรกรจริงหรือไม่ ใบรับสินค้าชั่วคราวและวันที่กำหนดส่งสินค้าคือภายในวันที่ 24 มกราคมนี้ ถูกต้อง หรือไม่ แล้วโอนปริมาณที่ตรวจสอบถูกต้องแล้ว โดยเปลี่ยนจากโครงการแทรกแซงฯ เป็นโครงการรับจำนำฯ สำหรับเกษตรกรที่รายงานเท็จจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย
2. การระบายมันสำปะหลังที่รับจำนำตามโครงการ ปี 2543/44
ฝ่ายเลขานุการได้รายงานว่า ขณะนี้มีปริมาณมันเส้นในโครงการรับจำนำฯ จำนวน 1.09 ล้านตัน (เมื่อรวมกับปริมาณที่จะอนุมัติในข้อ 1 อีก 0.148 ล้านตัน รวมเป็นมันเส้น 1.24 ล้านตัน) และแป้งมันจำนวน 0.033 ล้านตัน โดยมีผู้ขอซื้อมันเส้นและแป้งมันในโครงการฯ โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ซื้อจากต่างประเทศ ผู้ส่งออกไทยที่มี หลักฐานคำสั่งซื้อจากลูกค้าในต่างประเทศ และผู้ส่งออกอื่นๆ โดยมีการเสนอซื้อในปริมาณรวม 3.2 ล้านตัน จึงขอให้ที่ประชุมกำหนดวิธีการรวมทั้งปริมาณที่จะระบาย และให้กรมการค้าต่างประเทศและองค์การคลังสินค้าเป็นผู้เจรจากับผู้ซื้อ
ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้กรมการค้าต่างประเทศและองค์การคลังสินค้าเชิญกลุ่มต่าง ๆ มาเจรจาโดยแบ่งเป็น 2 งวด โดยราคาที่ผู้ซื้อซื้อในแต่ละงวดควรเป็นราคาเดียวกัน โดยงวดแรกเน้นการส่งออกไปตลาดต่างประเทศก่อนและในงวดต่อไปให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนเพื่อมิให้มีผลิตภัณฑ์ในโครงการฯ ค้างสต็อกในฤดูใหม่ที่จะเริ่มตุลาคมนี้
ผลการประชุม : สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
ตามที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 113) เมื่อวันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2544 ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นั้น ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. สับปะรด
แก้ไขมติการประชุม ครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 112) เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 22 มีนาคม 2544 จากการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย เป็น การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงานที่จดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มจากราคาตลาด และอนุมัติเงินค่าใช้จ่ายของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 2 ของวงเงินดำเนินการ
2. ทุเรียน
2.1 เห็นชอบกำหนดราคาเป้าหมายนำทุเรียนพันธุ์หมอนทองกิโลกรัมละ 16.60 บาท และพันธุ์ชะนีกิโลกรัมละ 9.30 บาท
2.2 อนุมัติวงเงินจำนวน 200 ล้านบาทให้กรมวิชาการเกษตร เพื่อดำเนินการโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียนภาคตะวันออก ดังนี้
(1) เงินทุนหมุนเวียน 20 ล้านบาท ให้สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมเพื่อนำไปรับซื้อทุเรียนแล้วระบายออกนอกแหล่งผลิต
(2) เงินทุนหมุนเวียน 90 ล้านบาท ให้สถาบันเกษตรกร/ผู้ประกอบการกู้ยืมนำไปรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรเพื่อนำไปแช่แข็ง เพื่อรอการจำหน่าย
(3) เงินทุนหมุนเวียน 30 ล้านบาท ให้สถาบันเกษตรกร/ผู้ประกอบการกู้ยืมนำไปรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรเพื่อไปแปรรูปเป็นทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ
2.3 ระยะเวลารับซื้อ พฤษภาคม-มิถุนายน 2544 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2544 - กุมภาพันธ์ 2545
3. เงาะ
3.1 เห็นชอบกำหนดราคาเป้าหมายนำเงาะกิโลกรัมละ 7.50 บาท
3.2 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 20.50 ล้านบาท ผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการ ให้จังหวัดจันทบุรีนำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรกรกู้ยืมใช้รับซื้อเงาะจำหน่ายไปนอกแหล่งผลิตและส่งโรงงานผลไม้กระป๋อง 3.3 ระยะเวลารับซื้อ พฤษภาคม-มิถุนายน 2544 ระยะเวลา โครงการ พฤษภาคม - กันยายน 2544
4. ข้าวนาปรัง
4.1 เห็นชอบการกำหนดราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2544
4.2 อนุมัติจัดสรรเงินเพื่อดำเนินการตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2544 ของ อ.ต.ก. และ ธกส. ดังนี้
(1) วงเงินจ่ายขาด 323.20 ล้านบาท เป็นค่าชดเชย ดอกเบี้ยเงินกู้ในการรับจำนำของธกส. 204.90 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรับจำนำของทั้งสองหน่วยงานรวม 118.30 ล้านบาท
(2) อนุมัติในหลักการ ในกรณีที่ได้นำข้าวเปลือกก่อนหลุดจำนำมาแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่าย หากราคาข้าวเปลือกมีราคาสูงขึ้นกว่าราคารับจำนำเมื่อเกษตรกรมาไถ่ถอนจะต้องชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกร
4.3 อนุมัติในหลักการให้ชดเชยภาระขาดทุนที่เกิดจากการนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสารแล้วจำหน่าย และ/หรือข้าวเปลือกที่เกษตรกรมาไถ่ถอนเนื่องจากราคาต่ำกว่าราคารับจำนำ
5. ลำไย
5.1 อนุมัติขยายเวลาโครงการรับจำนำลำไยอบแห้งให้ สิ้นสุดวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 หากพ้นกำหนดลำไยอบแห้งที่หลุดจำนำจะตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการต่อไป
5.2 เห็นชอบในหลักการเพื่อดำเนินการสำหรับลำไยอบแห้งที่จะตกเป็นของรัฐ ดังนี้
(1) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจำหน่าย โดยมี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน อธิบดีกรมวิชาการ-เกษตร เป็นเลขานุการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
(2) รายได้จากการจำหน่ายทั้งหมด เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้หักส่วนต่างคืนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต่อไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค.2544--
-สส-
ฮ่องกงได้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็นจากบริษัทผู้ส่งออกแห่งหนึ่งของไทยเป็นการชั่วคราวเมื่อปลายเดือนเมษายน 2544 เนื่องจากตรวจพบสารตกค้าง ของสารเร่งเนื้อแดงในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ส่วนเนื้อสุกรแช่เย็นที่นำเข้าจากบริษัทผู้ ส่งออกของไทยอีก 4 แห่งได้ถูกกักเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดก่อนจะปล่อยให้นำออกจำหน่าย ก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี 2541 ฮ่องกงได้เคยตรวจพบสารตกค้างของยาฆ่า เชื้อโรค ( Sulfamethazine) และสารเร่งเนื้อแดงในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ในเนื้อสุกรที่ นำเข้าจากไทย จึงใช้มาตรการกักเนื้อสุกรเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวด ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบต้องเสียเวลามาก ฝ่ายไทยจึงได้เจรจาต่อรองให้ทางการไทยโดยกรมปศุสัตว์เป็นฝ่ายตรวจสอบเอง โดยกำหนดหลักเกณฑ์การส่งออกใหม่มีการตรวจสอบตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงส่งออก ซึ่งสามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวไปได้ แต่ก็มีผลต่อการ ส่งออกเนื้อสุกรในปี 2542 ประกอบกับราคาสุกรภายในประเทศสูงไม่เอื้ออำนวยต่อการ ส่งออกด้วย ทำให้ปริมาณส่งออกลดลงจาก 2,184 ตัน ในปี 2541 เหลือเพียง 703 ตันในปี 2542 ส่วนปี 2543 ราคาสุกรภายในประเทศลดลงประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาททำให้สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 5,218 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 6.4 เท่า และคาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มขึ้นในปี 2544 แต่การที่ฮ่องกงตรวจพบสารตกค้างในเนื้อสุกรแช่เย็นของไทยอีกจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากการส่งออกเนื้อสุกรของไทยทั้งในรูปเนื้อสุกรแช่เย็นและแช่แข็งเกือบทั้งหมดส่งไปยังฮ่องกง ซึ่งขณะนี้ได้มีการ พักการส่งออก เนื้อสุกรแช่เย็นไว้ก่อน ทั้งนี้กรมปศุสัตว์จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าทำไมจึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น อีกทั้งที่กรมปศุสัตว์ได้มีการสุ่มตรวจเนื้อสุกรที่จะ ส่งออกทั้งในระดับฟาร์มและโรงฆ่า เพื่อจะได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
มันสำปะหลัง : ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง ครั้งที่ 4/2544
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการมันสำปะหลังได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2544 เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2544 ที่กระทรวงพาณิชย์ ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือมันเส้นตกค้างของเกษตรกรภายใต้โครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2543/44
ฝ่ายเลขานุการได้รายงานว่า จากการที่เกษตรกรและผู้ประกอบการลานมันได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจาก อคส. ระงับการดำเนินการตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี 2543/44 โดยไม่ประกาศให้ทราบล่วงหน้า ทำให้มีหัวมันของเกษตรกรตกค้างอยู่ที่ลานมันและไม่ได้รับใบประทวนสินค้า กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ประสานกับพาณิชย์จังหวัด รวบรวมข้อมูลปริมาณหัวมันสดที่เกษตรกรนำไปส่งลานมันภายในวันที่ 24 มกราคม 2544 และตกค้างอยู่ที่ลานมันซึ่งได้รับแจ้งว่ามี 15 จังหวัด มีมันสำปะหลังสดตกค้างอยู่ที่ลานมันและยังไม่ได้รับใบประทวนสินค้าจำนวน 0.635 ล้านตัน
ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสาร โดยยึดถือหนังสือรับรองการเป็นลูกค้า ธกส. ใบรับสินค้าชั่วคราวและวันสุดท้ายที่ อคส. ดำเนินโครงการ คือ วันที่ 24 มกราคม 2544 ปรากฏว่ามีหัวมันสดค้างลานอยู่จำนวน 0.354 ล้านตัน หรือคิดเป็นมันเส้น 0.148 ล้านตัน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงได้เสนอที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบให้โอนโครงการแทรกแซงผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อการส่งออกปี 2543/44 จำนวน 0.148 ล้านตันมันเส้น (ที่ยังคงค้างลาน) เป็นโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ปี 2543/44
ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการ ตรวจสอบปริมาณดังกล่าว (0.148 ล้านตันมันเส้น) ว่าเป็นของเกษตรกรจริงหรือไม่ ใบรับสินค้าชั่วคราวและวันที่กำหนดส่งสินค้าคือภายในวันที่ 24 มกราคมนี้ ถูกต้อง หรือไม่ แล้วโอนปริมาณที่ตรวจสอบถูกต้องแล้ว โดยเปลี่ยนจากโครงการแทรกแซงฯ เป็นโครงการรับจำนำฯ สำหรับเกษตรกรที่รายงานเท็จจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย
2. การระบายมันสำปะหลังที่รับจำนำตามโครงการ ปี 2543/44
ฝ่ายเลขานุการได้รายงานว่า ขณะนี้มีปริมาณมันเส้นในโครงการรับจำนำฯ จำนวน 1.09 ล้านตัน (เมื่อรวมกับปริมาณที่จะอนุมัติในข้อ 1 อีก 0.148 ล้านตัน รวมเป็นมันเส้น 1.24 ล้านตัน) และแป้งมันจำนวน 0.033 ล้านตัน โดยมีผู้ขอซื้อมันเส้นและแป้งมันในโครงการฯ โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ซื้อจากต่างประเทศ ผู้ส่งออกไทยที่มี หลักฐานคำสั่งซื้อจากลูกค้าในต่างประเทศ และผู้ส่งออกอื่นๆ โดยมีการเสนอซื้อในปริมาณรวม 3.2 ล้านตัน จึงขอให้ที่ประชุมกำหนดวิธีการรวมทั้งปริมาณที่จะระบาย และให้กรมการค้าต่างประเทศและองค์การคลังสินค้าเป็นผู้เจรจากับผู้ซื้อ
ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้กรมการค้าต่างประเทศและองค์การคลังสินค้าเชิญกลุ่มต่าง ๆ มาเจรจาโดยแบ่งเป็น 2 งวด โดยราคาที่ผู้ซื้อซื้อในแต่ละงวดควรเป็นราคาเดียวกัน โดยงวดแรกเน้นการส่งออกไปตลาดต่างประเทศก่อนและในงวดต่อไปให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนเพื่อมิให้มีผลิตภัณฑ์ในโครงการฯ ค้างสต็อกในฤดูใหม่ที่จะเริ่มตุลาคมนี้
ผลการประชุม : สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
ตามที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 113) เมื่อวันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2544 ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นั้น ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. สับปะรด
แก้ไขมติการประชุม ครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 112) เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 22 มีนาคม 2544 จากการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย เป็น การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงานที่จดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มจากราคาตลาด และอนุมัติเงินค่าใช้จ่ายของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 2 ของวงเงินดำเนินการ
2. ทุเรียน
2.1 เห็นชอบกำหนดราคาเป้าหมายนำทุเรียนพันธุ์หมอนทองกิโลกรัมละ 16.60 บาท และพันธุ์ชะนีกิโลกรัมละ 9.30 บาท
2.2 อนุมัติวงเงินจำนวน 200 ล้านบาทให้กรมวิชาการเกษตร เพื่อดำเนินการโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียนภาคตะวันออก ดังนี้
(1) เงินทุนหมุนเวียน 20 ล้านบาท ให้สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมเพื่อนำไปรับซื้อทุเรียนแล้วระบายออกนอกแหล่งผลิต
(2) เงินทุนหมุนเวียน 90 ล้านบาท ให้สถาบันเกษตรกร/ผู้ประกอบการกู้ยืมนำไปรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรเพื่อนำไปแช่แข็ง เพื่อรอการจำหน่าย
(3) เงินทุนหมุนเวียน 30 ล้านบาท ให้สถาบันเกษตรกร/ผู้ประกอบการกู้ยืมนำไปรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรเพื่อไปแปรรูปเป็นทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ
2.3 ระยะเวลารับซื้อ พฤษภาคม-มิถุนายน 2544 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2544 - กุมภาพันธ์ 2545
3. เงาะ
3.1 เห็นชอบกำหนดราคาเป้าหมายนำเงาะกิโลกรัมละ 7.50 บาท
3.2 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 20.50 ล้านบาท ผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการ ให้จังหวัดจันทบุรีนำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรกรกู้ยืมใช้รับซื้อเงาะจำหน่ายไปนอกแหล่งผลิตและส่งโรงงานผลไม้กระป๋อง 3.3 ระยะเวลารับซื้อ พฤษภาคม-มิถุนายน 2544 ระยะเวลา โครงการ พฤษภาคม - กันยายน 2544
4. ข้าวนาปรัง
4.1 เห็นชอบการกำหนดราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2544
4.2 อนุมัติจัดสรรเงินเพื่อดำเนินการตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2544 ของ อ.ต.ก. และ ธกส. ดังนี้
(1) วงเงินจ่ายขาด 323.20 ล้านบาท เป็นค่าชดเชย ดอกเบี้ยเงินกู้ในการรับจำนำของธกส. 204.90 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรับจำนำของทั้งสองหน่วยงานรวม 118.30 ล้านบาท
(2) อนุมัติในหลักการ ในกรณีที่ได้นำข้าวเปลือกก่อนหลุดจำนำมาแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่าย หากราคาข้าวเปลือกมีราคาสูงขึ้นกว่าราคารับจำนำเมื่อเกษตรกรมาไถ่ถอนจะต้องชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกร
4.3 อนุมัติในหลักการให้ชดเชยภาระขาดทุนที่เกิดจากการนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสารแล้วจำหน่าย และ/หรือข้าวเปลือกที่เกษตรกรมาไถ่ถอนเนื่องจากราคาต่ำกว่าราคารับจำนำ
5. ลำไย
5.1 อนุมัติขยายเวลาโครงการรับจำนำลำไยอบแห้งให้ สิ้นสุดวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 หากพ้นกำหนดลำไยอบแห้งที่หลุดจำนำจะตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการต่อไป
5.2 เห็นชอบในหลักการเพื่อดำเนินการสำหรับลำไยอบแห้งที่จะตกเป็นของรัฐ ดังนี้
(1) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจำหน่าย โดยมี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน อธิบดีกรมวิชาการ-เกษตร เป็นเลขานุการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
(2) รายได้จากการจำหน่ายทั้งหมด เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้หักส่วนต่างคืนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต่อไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค.2544--
-สส-