กรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภา ประชุมร่วมกันลงความเห็น TAMC เกิดประโยชน์แน่นอน
วันที่ 21 มิถุนายน 2544 เวลา 15.30 นาฬิกา ที่รัฐสภา นายสุชน ชาลีเครือ
ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา
นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ประธานกรรมาธิการการเศรษฐกิจวุฒิสภา นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ
ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
และนายปกิต พัฒนกุล โฆษกคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบัน
การเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงถึงผลสรุปการประชุมร่วมกันของกรรมาธิการการเงิน การคลัง
การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร เรื่องพระราชกำหนดจัดตั้ง
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สินไทย ตามที่ได้ประกาศใช้และกำลังจะเข้าสู่สภาในวันที่ 26 มิถุนายน 2544 นี้
ซึ่งกรรมาธิการทั้ง 3 คณะ นำมาพิจารณาร่วมกันถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับโดยมีแนวทางพิจารณา
ร่วมกันดังนี้คือ ประการแรก ต้องไม่เป็นการเพิ่มหนี้และภาระให้กับประชาชน ประการที่สอง
จะต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์การบริหารและมีระบบการตรวจสอบบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยนี้อย่างชัดเจน
ว่าเกิดผลต่อประชาชนและประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรและที่สำคัญคณะรัฐมนตรีจะต้องติดตามดูแล
การดำเนินงานและผลงานอย่างใกล้ชิดเพื่อมิให้เกิดการผิดพลาด ส่วนในเรื่องการจำหน่ายสินทรัพย์ของ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยนั้นต้องการให้ แบ่งสินทรัพย์ที่จะจำหน่ายเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อให้ประชาชน
โดยทั่วไปสามารถซื้อได้ และ จากการพิจารณาพระราชกำหนดฉบับนี้แล้ว คณะกรรมาธิการทั้ง 3 คณะ
มีความมั่นใจว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะทำให้ปริมาณหนี้ NPL ในระบบลดลง
และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
-------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สวภัทร์ มงคลชัย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์
และวุฒิสภา ประชุมร่วมกันลงความเห็น TAMC เกิดประโยชน์แน่นอน
วันที่ 21 มิถุนายน 2544 เวลา 15.30 นาฬิกา ที่รัฐสภา นายสุชน ชาลีเครือ
ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา
นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ประธานกรรมาธิการการเศรษฐกิจวุฒิสภา นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ
ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
และนายปกิต พัฒนกุล โฆษกคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบัน
การเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงถึงผลสรุปการประชุมร่วมกันของกรรมาธิการการเงิน การคลัง
การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร เรื่องพระราชกำหนดจัดตั้ง
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สินไทย ตามที่ได้ประกาศใช้และกำลังจะเข้าสู่สภาในวันที่ 26 มิถุนายน 2544 นี้
ซึ่งกรรมาธิการทั้ง 3 คณะ นำมาพิจารณาร่วมกันถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับโดยมีแนวทางพิจารณา
ร่วมกันดังนี้คือ ประการแรก ต้องไม่เป็นการเพิ่มหนี้และภาระให้กับประชาชน ประการที่สอง
จะต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์การบริหารและมีระบบการตรวจสอบบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยนี้อย่างชัดเจน
ว่าเกิดผลต่อประชาชนและประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรและที่สำคัญคณะรัฐมนตรีจะต้องติดตามดูแล
การดำเนินงานและผลงานอย่างใกล้ชิดเพื่อมิให้เกิดการผิดพลาด ส่วนในเรื่องการจำหน่ายสินทรัพย์ของ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยนั้นต้องการให้ แบ่งสินทรัพย์ที่จะจำหน่ายเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อให้ประชาชน
โดยทั่วไปสามารถซื้อได้ และ จากการพิจารณาพระราชกำหนดฉบับนี้แล้ว คณะกรรมาธิการทั้ง 3 คณะ
มีความมั่นใจว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะทำให้ปริมาณหนี้ NPL ในระบบลดลง
และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
-------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สวภัทร์ มงคลชัย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์