แท็ก
สหประชาชาติ
กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (18 ตุลาคม 2543) นายสุพัฒน์ จิตรานุเคราะห็ รองโฆษกกระทรวงการ ต่างประเทศ ได้แถลงผลการเยือนประเทศไทยของนาง Sadako Ogata ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง สหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees) ระหว่างวันที่ 17 — 18 ตุลาคม 2543 ว่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม นาง Ogata ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดย UNHCR ได้ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความร่วมมือในการดูแลแก้ไขปัญหาผู้อพยพอินโดจีนจนสามารถส่งกลับได้หมด และปัจจุบันเหลือเพียงผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าประมาณ 100,000 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ UNHCR ด้วยเช่นกันที่ได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการ ดูแลผู้อพยพและผู้หนีภัย ฯ ดังกล่าว และยืนยันว่าไทยยังคงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ต่อผู้หนีภัยฯ พม่า โดยจะร่วมมือกับ UNHCR ต่อไป ทั้งนี้ การให้ที่พักพิงฯ แก่ผู้หนีภัยฯ เหล่านั้นเป็นการให้ชั่วคราว เมื่อสถานการณ์ปลอดภัยบุคคลเหล่านั้นต้องเดินทางกลับประเทศของตน ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัย ฯ อย่างถาวรต้องอาศัยความร่วมมือด้วยกันอย่างน้อย 3 ฝ่าย คือประเทศต้นเหตุต้องรับกลับ ประชาคมระหว่างประเทศต้องให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหาและองค์การระหว่างประเทศต้องเข้ามาร่วมในฐานะผู้ดำเนินการ และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นาง Ogata ได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งนาง Ogata มีความเห็นว่าพื้นที่พักพิง ฯ ดังกล่าวยังมีปัญหาด้านความแออัดของจำนวนผู้หนีภัยฯ และไม่ถูกสุขอนามัย
พื้นที่พักพิงฯ ดังกล่าวเปิดดำเนินการมาได้ประมาณ 3 ปีเศษ มีขนาด 40 ไร่ และ มีจำนวนผู้หนีภัย ฯ จากพม่าประมาณ 8,100 คน โดยทางการไทยได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ UNHCR เข้าพื้นที่พักพิงฯ ได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ทั้งในระดับเอกอัครราชทูตและระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังได้อนุญาตให้ NGOs ต่าง ๆ เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและสาธารณูปโภค รวมทั้งงานด้านสาธารณสุข อาทิ BBC (Burmese Border Consortium) ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร MSF (Medicin san Frontiere) ให้ความช่วยหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขรวมทั้งสาธารณูปโภคเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่พักพิงอยู่ในเขตติดต่อกับเขตสงวน จึงทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้มีขนาดใหญ่ มารองรับผู้หนีภัย ฯ ได้ ประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรในพื้นที่พักพิงฯ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 20 คน จึงทำให้อาจดูเสมือนอยู่กันอย่างแออัด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (18 ตุลาคม 2543) นายสุพัฒน์ จิตรานุเคราะห็ รองโฆษกกระทรวงการ ต่างประเทศ ได้แถลงผลการเยือนประเทศไทยของนาง Sadako Ogata ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง สหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees) ระหว่างวันที่ 17 — 18 ตุลาคม 2543 ว่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม นาง Ogata ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดย UNHCR ได้ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความร่วมมือในการดูแลแก้ไขปัญหาผู้อพยพอินโดจีนจนสามารถส่งกลับได้หมด และปัจจุบันเหลือเพียงผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าประมาณ 100,000 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ UNHCR ด้วยเช่นกันที่ได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการ ดูแลผู้อพยพและผู้หนีภัย ฯ ดังกล่าว และยืนยันว่าไทยยังคงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ต่อผู้หนีภัยฯ พม่า โดยจะร่วมมือกับ UNHCR ต่อไป ทั้งนี้ การให้ที่พักพิงฯ แก่ผู้หนีภัยฯ เหล่านั้นเป็นการให้ชั่วคราว เมื่อสถานการณ์ปลอดภัยบุคคลเหล่านั้นต้องเดินทางกลับประเทศของตน ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัย ฯ อย่างถาวรต้องอาศัยความร่วมมือด้วยกันอย่างน้อย 3 ฝ่าย คือประเทศต้นเหตุต้องรับกลับ ประชาคมระหว่างประเทศต้องให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหาและองค์การระหว่างประเทศต้องเข้ามาร่วมในฐานะผู้ดำเนินการ และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นาง Ogata ได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งนาง Ogata มีความเห็นว่าพื้นที่พักพิง ฯ ดังกล่าวยังมีปัญหาด้านความแออัดของจำนวนผู้หนีภัยฯ และไม่ถูกสุขอนามัย
พื้นที่พักพิงฯ ดังกล่าวเปิดดำเนินการมาได้ประมาณ 3 ปีเศษ มีขนาด 40 ไร่ และ มีจำนวนผู้หนีภัย ฯ จากพม่าประมาณ 8,100 คน โดยทางการไทยได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ UNHCR เข้าพื้นที่พักพิงฯ ได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ทั้งในระดับเอกอัครราชทูตและระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังได้อนุญาตให้ NGOs ต่าง ๆ เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและสาธารณูปโภค รวมทั้งงานด้านสาธารณสุข อาทิ BBC (Burmese Border Consortium) ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร MSF (Medicin san Frontiere) ให้ความช่วยหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขรวมทั้งสาธารณูปโภคเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่พักพิงอยู่ในเขตติดต่อกับเขตสงวน จึงทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้มีขนาดใหญ่ มารองรับผู้หนีภัย ฯ ได้ ประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรในพื้นที่พักพิงฯ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 20 คน จึงทำให้อาจดูเสมือนอยู่กันอย่างแออัด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-