ฐานะการคลังในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณขาดดุลเงินสด 12.5 พันล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสดสะสมในช่วง 9 เดือนแรก
ของปีงบประมาณทั้งสิ้น 92.1 พันล้านบาท
รายได้ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีจากการนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้น รายจ่ายของรัฐบาล
ในไตรมาสที่ 3 เป็นไปตามเป้าหมายโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 217.9 พันล้านบาท ทำให้รายจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 633.9 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2543 (เมษายน | มิถุนายน 2543) รัฐบาลขาดดุลเงินสดลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากรายได้
ที่เพิ่มขึ้นสูงจากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยดุลเงินสดใน ไตรมาสที่ 2 ขาดดุลรวม 12.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลในงบประมาณ 7.7
พันล้านบาท และดุลนอกงบประมาณขาดดุล 4.8 พันล้านบาท ในจำนวนนี้มีรายจ่ายตามโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ (โครงการเงินกู้มิยาซาวา)
ที่เบิกจ่ายได้ 3.1 พันล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 | มิถุนายน 2543) รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 92.1 พันล้านบาท รวม
รายจ่ายโครงการเงินกู้มิยาซาวา ที่เบิกจ่ายได้ 14.7 พันล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นมิถุนายน 2543 แรงกระตุ้นจากขาดดุล เงินสดของรัฐบาลเป็นไป
ตามเป้าหมาย
ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2543
(เม.ย.-มิ.ย. 43) P/ (ต.ค. 42 - มิ.ย 43) P/
รายได้ 210.2 555.9
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) -10.9 -4.6
รายจ่าย 217.9 633.9
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) -2.7 -4.6
ปีงบประมาณปัจจุบัน 202.6 543.2
ปีงบประมาณก่อน 15.1 89.6
เงินคงคลัง 0.2 1.1
ดุลในงบประมาณ -7.7 -78
ดุลนอกงบประมาณ -4.8 -14.1
ดุลเงินสด -12.5 -92.1
P/ ข้อมูลเบื้องต้นที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายได้
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งบประมาณ 2543 รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 555.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกัน
ปีก่อน เนื่องจากมีการขยายตัวของภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีจากการนำเข้าสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม (แม้ว่ามีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก
ร้อยละ 10 เป็น ร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542) อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยและการปรับอัตราอากรขาเข้าตามรายการต่าง ๆ ยังเป็น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงต่อไป สำหรับรายละเอียดของรายได้ภาษีแต่ละประเภทที่สำคัญมีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงถึงร้อยละ 17.3 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย เงินฝากลดลงต่ำมาก และมาตรการที่ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิในช่วง 50,000 บาทแรก ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542
ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.5 โดยจัดเก็บได้จากบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์เป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วย
เหลือสภาพคล่องให้กับ ผู้ประกอบการ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย แก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อม
นอกจากนี้มีกิจการบางแห่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.5 แม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 นับตั้งแต่
วันที่ 1 เมษายน 2542
ภาษีสรรพสามิตและอากร ขาเข้าปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 1.4 และ 31.6 ตามลำดับ เนื่องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรขยายตัวร้อยละ 10.2 เนื่องจากมีรายได้จากการชำระคืนต้นเงินกู้ขององค์กรบางแห่ง ได้แก่ บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และมีการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สำคัญคือ สำนักงานสลากกินแบ่ง
รัฐบาลและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
รายได้รัฐบาล (พันล้านบาท)
งบประมาณ
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3P/ สะสม 9 เดือน P/
รายได้ทั้งหมด 709.9 165.4 180.3 210.2 555.9
(-2.4) -1.9 -0.4 -10.9 -4.6
ภาษี 620.1 141.2 166 187.9 495.1
(-4.5) -3.9 (-1.7) -9.6 -4
ฐานรายได้ 234.4 37 63.8 83.6 184.3
(-5.8) (-21.7) (-3.2) -6.1 (-3.9)
บุคคลธรรมดา 101.2 19.1 26.9 21.4 67.4
(-14.8) (-32.7) (-11.8) (-5.3) (-17.3)
นิติบุคคล 101.3 13.1 30.9 49.3 93.3
-11.6 -5.2 -11.1 -15.6 -12.5
ฐานการบริโภค 319.3 82.2 81.9 83.9 248.1
(-4.6) -11.4 (-6.3) -11.1 -4.8
มูลค่าเพิ่ม 131.9 35.8 34.5 36.4 106.7
(-18.7) -22.8 (-19.7) -25.6 -5.5
สรรพสามิต 163.6 41.6 42.4 38.8 122.8
-7.3 -3.5 -5.8 (-5.0) -1.4
ฐานการค้าระหว่างประเทศ 66.4 22 20.2 20.4 62.7
-1 -47.3 -30.8 -18.8 -31.6
รายได้อื่น 89.8 24.3 14.3 22.3 60.8
-15.2 (-8.0) -32 -23.7 -10.2
P/ ข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาส ที่ 3 ของปีงบประมาณ เป็นไปตามเป้าหมายโดยมีรายจ่ายทั้งสิ้น 217.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อนร้อยละ 12.3 ตามปัจจัยฤดูปกติที่รายจ่ายจะเร่งตัวขึ้นใน ไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน ทั้งนี้ จำแนกเป็นรายจ่ายจาก ปีงบประมาณ
ปีปัจจุบันและปีก่อน ๆ 202.8 และ 15.1 พันล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนแล้ว รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.7
สำหรับรายจ่ายจากมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการเงินกู้มิยาซาวา) เริ่มทยอยเบิกจ่ายได้ลดลง
เนื่องจากเป็นช่วงสุดท้ายของ โครงการ ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 มีการเบิก จ่ายได้ 3.1 พันล้านบาท ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ
เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 14.7 พันล้านบาท และรัฐบาลจะสามารถ เบิกจ่ายได้อีกประมาณ 6.4 พันล้านบาท ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ
โดยรวมภาพรวมการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 633.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.6 เป็นผลจากการ
เร่งตัวของการเบิกจ่ายจาก งบประมาณปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 63.7 ขณะที่ รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนลดลง
ร้อยละ 21.0 จากการที่วงเงินงบประมาณปีก่อน ๆ เหลือจ่ายน้อยลง
สำหรับรายจ่ายจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543 ปรากฏว่ารายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 10.4 เทียบกับระยะ เดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 โดยเฉพาะรายจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างและ การซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 2 และ 0.6 ตามลำดับ แสดงถึงการควบคุมรายจ่ายประจำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวลดลงร้อยละ 7.6 เนื่อง
จากการเบิกจ่ายจากงบประมาณ ปีก่อน ๆ ลดลงตามขนาดของวงเงิน งบประมาณรายจ่ายที่ถูกควบคุมในช่วงปี 2541 และ 2542 ทำให้เหลือวงเงิน
รายจ่าย ลงทุนจากปีก่อนลดลง
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543
จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
รายจ่ายจริง 446 470.1 496.3
รายจ่ายประจำ 277.1 343.8 379.6
(D %) (-9.7) -24 -10.4
เงินเดือนและค่าจ้าง 160.2 172 175.4
ซื้อสินค้าและบริการ 74.4 76.7 77.2
รายจ่ายลงทุน 168.9 126.3 116.7
(D %) (-12.1) (-25.2) (-7.6)
การสะสมทุนของรัฐบาล 154.1 109 97.5
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงาน มีลักษณะใกล้เคียงกับปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ พบว่ารายจ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ยังคงขยายตัว
ร้อยละ 15 ต่อเนื่องจาก งบประมาณก่อน เนื่องจากมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน จำนวน 25.1 พันล้านบาท
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่าการใช้จ่าย ของรัฐบาลด้านสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย รายจ่ายการสังคม
งเคราะห์และการศึกษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 และ 1.3 ต่อเนื่องจาก ปีก่อน
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ
จำแนกตามลักษณะงาน
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
การบริหารทั่วไป 102.8 97.7 98.8
(D %) (-10.6) (-5.0) -1.1
การบริการชุมชน 190.7 218.1 223.3
(D %) (-6.7) -14.4 -2.4
การศึกษา 111.9 130.9 132.6
การสังคมสงเคราะห์ 19.6 23.4 32.4
การเศรษฐกิจ 117.3 100.3 112.2
(D %) (-18.4) (-14.5) -11.9
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
การรับจ่ายเงินกู้ ในไตรมาส ที่ 3 ของปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 5 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้น
สุทธิจำนวน 7 พันล้านบาท และมีการเบิกเงินกู้ต่างประเทศ 0.9 พันล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ออกพันธบัตรเพื่อเพิ่มทุนสถาบันการเงิน
(พันธบัตร Tier 1) สำหรับธนาคารทหารไทย จำนวน 19.9 พันล้านบาท และพันธบัตร Tier 2 สำหรับบริษัทเงินทุนบุคคลัภย์และธนาคาร
ไทยพาณิชย์ เป็นจำนวนรวม 0.7 พันล้านบาท ด้านการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 0.7 พันล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ ต่างประเทศอีกจำนวน
1.3 พันล้านบาท
โดยรวม 9 เดือนแรกของปี งบประมาณนี้ มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินสดจำนวนอย่างละ
20 พันล้านบาท ส่วนตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้นสุทธิ 5 พันล้านบาท จากสิ้นปีงบประมาณก่อนและมีการเบิกเงินกู้ต่างประเทศ 24.7 พันล้านบาท ในขณะที่มี
การออกพันธบัตร Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 25.8 และ 5.4 พันล้านบาท ตามลำดับ สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 3.7 พันล้านบาท
เป็นพันธบัตร Tier 1 จำนวน 0.5 พันล้านบาท ส่วนการชำระคืนต้นเงินกู้ต่างประเทศ มีจำนวน 4.1 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ของปีงบประมาณทั้งสิ้น 92.1 พันล้านบาท
รายได้ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีจากการนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้น รายจ่ายของรัฐบาล
ในไตรมาสที่ 3 เป็นไปตามเป้าหมายโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 217.9 พันล้านบาท ทำให้รายจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 633.9 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2543 (เมษายน | มิถุนายน 2543) รัฐบาลขาดดุลเงินสดลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากรายได้
ที่เพิ่มขึ้นสูงจากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยดุลเงินสดใน ไตรมาสที่ 2 ขาดดุลรวม 12.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลในงบประมาณ 7.7
พันล้านบาท และดุลนอกงบประมาณขาดดุล 4.8 พันล้านบาท ในจำนวนนี้มีรายจ่ายตามโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ (โครงการเงินกู้มิยาซาวา)
ที่เบิกจ่ายได้ 3.1 พันล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 | มิถุนายน 2543) รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 92.1 พันล้านบาท รวม
รายจ่ายโครงการเงินกู้มิยาซาวา ที่เบิกจ่ายได้ 14.7 พันล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นมิถุนายน 2543 แรงกระตุ้นจากขาดดุล เงินสดของรัฐบาลเป็นไป
ตามเป้าหมาย
ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2543
(เม.ย.-มิ.ย. 43) P/ (ต.ค. 42 - มิ.ย 43) P/
รายได้ 210.2 555.9
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) -10.9 -4.6
รายจ่าย 217.9 633.9
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) -2.7 -4.6
ปีงบประมาณปัจจุบัน 202.6 543.2
ปีงบประมาณก่อน 15.1 89.6
เงินคงคลัง 0.2 1.1
ดุลในงบประมาณ -7.7 -78
ดุลนอกงบประมาณ -4.8 -14.1
ดุลเงินสด -12.5 -92.1
P/ ข้อมูลเบื้องต้นที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายได้
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งบประมาณ 2543 รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 555.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกัน
ปีก่อน เนื่องจากมีการขยายตัวของภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีจากการนำเข้าสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม (แม้ว่ามีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก
ร้อยละ 10 เป็น ร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542) อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยและการปรับอัตราอากรขาเข้าตามรายการต่าง ๆ ยังเป็น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงต่อไป สำหรับรายละเอียดของรายได้ภาษีแต่ละประเภทที่สำคัญมีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงถึงร้อยละ 17.3 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย เงินฝากลดลงต่ำมาก และมาตรการที่ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิในช่วง 50,000 บาทแรก ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542
ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.5 โดยจัดเก็บได้จากบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์เป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วย
เหลือสภาพคล่องให้กับ ผู้ประกอบการ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย แก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อม
นอกจากนี้มีกิจการบางแห่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.5 แม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 นับตั้งแต่
วันที่ 1 เมษายน 2542
ภาษีสรรพสามิตและอากร ขาเข้าปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 1.4 และ 31.6 ตามลำดับ เนื่องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรขยายตัวร้อยละ 10.2 เนื่องจากมีรายได้จากการชำระคืนต้นเงินกู้ขององค์กรบางแห่ง ได้แก่ บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และมีการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สำคัญคือ สำนักงานสลากกินแบ่ง
รัฐบาลและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
รายได้รัฐบาล (พันล้านบาท)
งบประมาณ
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3P/ สะสม 9 เดือน P/
รายได้ทั้งหมด 709.9 165.4 180.3 210.2 555.9
(-2.4) -1.9 -0.4 -10.9 -4.6
ภาษี 620.1 141.2 166 187.9 495.1
(-4.5) -3.9 (-1.7) -9.6 -4
ฐานรายได้ 234.4 37 63.8 83.6 184.3
(-5.8) (-21.7) (-3.2) -6.1 (-3.9)
บุคคลธรรมดา 101.2 19.1 26.9 21.4 67.4
(-14.8) (-32.7) (-11.8) (-5.3) (-17.3)
นิติบุคคล 101.3 13.1 30.9 49.3 93.3
-11.6 -5.2 -11.1 -15.6 -12.5
ฐานการบริโภค 319.3 82.2 81.9 83.9 248.1
(-4.6) -11.4 (-6.3) -11.1 -4.8
มูลค่าเพิ่ม 131.9 35.8 34.5 36.4 106.7
(-18.7) -22.8 (-19.7) -25.6 -5.5
สรรพสามิต 163.6 41.6 42.4 38.8 122.8
-7.3 -3.5 -5.8 (-5.0) -1.4
ฐานการค้าระหว่างประเทศ 66.4 22 20.2 20.4 62.7
-1 -47.3 -30.8 -18.8 -31.6
รายได้อื่น 89.8 24.3 14.3 22.3 60.8
-15.2 (-8.0) -32 -23.7 -10.2
P/ ข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาส ที่ 3 ของปีงบประมาณ เป็นไปตามเป้าหมายโดยมีรายจ่ายทั้งสิ้น 217.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อนร้อยละ 12.3 ตามปัจจัยฤดูปกติที่รายจ่ายจะเร่งตัวขึ้นใน ไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน ทั้งนี้ จำแนกเป็นรายจ่ายจาก ปีงบประมาณ
ปีปัจจุบันและปีก่อน ๆ 202.8 และ 15.1 พันล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนแล้ว รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.7
สำหรับรายจ่ายจากมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการเงินกู้มิยาซาวา) เริ่มทยอยเบิกจ่ายได้ลดลง
เนื่องจากเป็นช่วงสุดท้ายของ โครงการ ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 มีการเบิก จ่ายได้ 3.1 พันล้านบาท ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ
เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 14.7 พันล้านบาท และรัฐบาลจะสามารถ เบิกจ่ายได้อีกประมาณ 6.4 พันล้านบาท ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ
โดยรวมภาพรวมการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 633.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.6 เป็นผลจากการ
เร่งตัวของการเบิกจ่ายจาก งบประมาณปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 63.7 ขณะที่ รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนลดลง
ร้อยละ 21.0 จากการที่วงเงินงบประมาณปีก่อน ๆ เหลือจ่ายน้อยลง
สำหรับรายจ่ายจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543 ปรากฏว่ารายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 10.4 เทียบกับระยะ เดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 โดยเฉพาะรายจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างและ การซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 2 และ 0.6 ตามลำดับ แสดงถึงการควบคุมรายจ่ายประจำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวลดลงร้อยละ 7.6 เนื่อง
จากการเบิกจ่ายจากงบประมาณ ปีก่อน ๆ ลดลงตามขนาดของวงเงิน งบประมาณรายจ่ายที่ถูกควบคุมในช่วงปี 2541 และ 2542 ทำให้เหลือวงเงิน
รายจ่าย ลงทุนจากปีก่อนลดลง
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543
จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
รายจ่ายจริง 446 470.1 496.3
รายจ่ายประจำ 277.1 343.8 379.6
(D %) (-9.7) -24 -10.4
เงินเดือนและค่าจ้าง 160.2 172 175.4
ซื้อสินค้าและบริการ 74.4 76.7 77.2
รายจ่ายลงทุน 168.9 126.3 116.7
(D %) (-12.1) (-25.2) (-7.6)
การสะสมทุนของรัฐบาล 154.1 109 97.5
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงาน มีลักษณะใกล้เคียงกับปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ พบว่ารายจ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ยังคงขยายตัว
ร้อยละ 15 ต่อเนื่องจาก งบประมาณก่อน เนื่องจากมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน จำนวน 25.1 พันล้านบาท
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่าการใช้จ่าย ของรัฐบาลด้านสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย รายจ่ายการสังคม
งเคราะห์และการศึกษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 และ 1.3 ต่อเนื่องจาก ปีก่อน
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ
จำแนกตามลักษณะงาน
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
การบริหารทั่วไป 102.8 97.7 98.8
(D %) (-10.6) (-5.0) -1.1
การบริการชุมชน 190.7 218.1 223.3
(D %) (-6.7) -14.4 -2.4
การศึกษา 111.9 130.9 132.6
การสังคมสงเคราะห์ 19.6 23.4 32.4
การเศรษฐกิจ 117.3 100.3 112.2
(D %) (-18.4) (-14.5) -11.9
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและสายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
การรับจ่ายเงินกู้ ในไตรมาส ที่ 3 ของปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 5 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้น
สุทธิจำนวน 7 พันล้านบาท และมีการเบิกเงินกู้ต่างประเทศ 0.9 พันล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ออกพันธบัตรเพื่อเพิ่มทุนสถาบันการเงิน
(พันธบัตร Tier 1) สำหรับธนาคารทหารไทย จำนวน 19.9 พันล้านบาท และพันธบัตร Tier 2 สำหรับบริษัทเงินทุนบุคคลัภย์และธนาคาร
ไทยพาณิชย์ เป็นจำนวนรวม 0.7 พันล้านบาท ด้านการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 0.7 พันล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ ต่างประเทศอีกจำนวน
1.3 พันล้านบาท
โดยรวม 9 เดือนแรกของปี งบประมาณนี้ มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินสดจำนวนอย่างละ
20 พันล้านบาท ส่วนตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้นสุทธิ 5 พันล้านบาท จากสิ้นปีงบประมาณก่อนและมีการเบิกเงินกู้ต่างประเทศ 24.7 พันล้านบาท ในขณะที่มี
การออกพันธบัตร Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 25.8 และ 5.4 พันล้านบาท ตามลำดับ สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 3.7 พันล้านบาท
เป็นพันธบัตร Tier 1 จำนวน 0.5 พันล้านบาท ส่วนการชำระคืนต้นเงินกู้ต่างประเทศ มีจำนวน 4.1 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-