บทสรุปสำหรับนักลงทุน
อาหารเช้าธัญชาติในอดีตอยู่ในรูปแบบของอาหารของชาวตะวันตกที่ทำจากแป้งสาลีหรือที่เรียกกันว่า Cereal ซึ่งรับประทานกับนมหรือโกโก้ ปัจจุบันอาหารเช้าธัญชาติแบบไทยๆ ได้มีการพัฒนาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นในประเทศมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ธัญพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ข้าวกล้อง ผสมกับพืชผักอื่นๆ เช่น กล้วยน้ำว้า แครอท ฟักทอง เป็นต้น ซึ่งได้คุณค่าทางอาหารสูงและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นของไทย อีกทั้งยังสามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคจากการบริโภคอาหารแบบตะวันตก ทดแทนด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
ตลาดอาหารเช้าธัญชาติในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีมากตามกระแสการบริโภคสมัยใหม่มีทั้งต้องการความรวดเร็ว ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนและตามกระแสความใส่ใจต่อสุขภาพของคนยุคใหม่ทุกเพศทุกวัย จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางโดยสามารถกระจายสินค้าได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป ส่วนตลาดการส่งออกนั้นก็มีแนวโน้มที่ดีโดยมีการส่งออกขยายตัวโดยตลอด ตลาดหลักของไทยคือประเทศในแถบเอเชีย และประเทศเพื่อนบ้าน
ผู้ผลิตอาหารเช้าธัญชาติในระดับอุตสาหกรรมปัจจุบันมีเพียง 3 ราย โดยเป็นบริษัทข้ามชาติ 1 บริษัท คือ เนสเล่ท์ และบริษัทของคนไทย คือ บริษัทอาหารจานทอง จำกัด ผลิตสินค้ายี่ห้อ “กู๊ดไทม์” หจก. ซินอกรีฟู้ด ผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อ “Golden Rice” ส่วนผู้ผลิตอื่นๆ เป็นระดับกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มแม่บ้าน ซึ่งผลิตสินค้าในระดับท้องถิ่นและยังไม่ได้มาตรฐานในระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจเข้ามาลงทุนในระดับอุตสาหกรรมน่าจะมีโอกาสทางการตลาดสูงจากกระแสการตอบรับของตลาดที่มีอยู่แล้วดังกล่าว ทั้งนี้ในการผลิตสามารถใช้วัตถุดิบทั้งหมดได้จากภายในประเทศ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ลูกเดือย ข้าวโพด แครอท ฟักทอง ซึ่งหาได้ง่ายและมีราคาถูก ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตก็สามารถจัดหาได้จากผู้ขายเครื่องจักรในประเทศ
การลงทุนนั้นสำหรับกิจการที่มีขนาดเล็กใช้เงินทุนประมาณ 1 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร คือเครื่องจักรและอุปกรณ์ประมาณ 40 % และอีก 60 % เป็นเงินลงทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า 90% ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภค ส่วนค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการขายนั้นประมาณ 10 % ของเงินทุน-หมุนเวียน นอกเหนือจากการลงทุนด้วยการผลิตเองแล้วนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่อาจใช้วิธีการจ้างให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ผลิตสินค้าได้ดีอยู่แล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารธัญชาติจากโครงการหนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์ นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการปรับปรุงรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ การขอการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วทำการตลาดโดยการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงตามลักษณะของช่องทางการจำหน่ายสมัยใหม่ในปัจจุบันก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการลงทุนที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ถ้าลงทุนขั้นต้น 1 ล้านบาท และสามารถจำหน่ายได้ 50 ตัน/ปี ในระดับราคาเฉลี่ย 4 บาท/ซอง(30 กรัม) โดยมีกำไรเฉลี่ยประมาณ 20% ของยอดขายตลอดอายุโครงการ 5 ปี จะคืนทุนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 130%
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อาหารเช้าธัญชาติในอดีตอยู่ในรูปแบบของอาหารของชาวตะวันตกที่ทำจากแป้งสาลีหรือที่เรียกกันว่า Cereal ซึ่งรับประทานกับนมหรือโกโก้ ปัจจุบันอาหารเช้าธัญชาติแบบไทยๆ ได้มีการพัฒนาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นในประเทศมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ธัญพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ข้าวกล้อง ผสมกับพืชผักอื่นๆ เช่น กล้วยน้ำว้า แครอท ฟักทอง เป็นต้น ซึ่งได้คุณค่าทางอาหารสูงและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นของไทย อีกทั้งยังสามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคจากการบริโภคอาหารแบบตะวันตก ทดแทนด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
ตลาดอาหารเช้าธัญชาติในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีมากตามกระแสการบริโภคสมัยใหม่มีทั้งต้องการความรวดเร็ว ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนและตามกระแสความใส่ใจต่อสุขภาพของคนยุคใหม่ทุกเพศทุกวัย จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางโดยสามารถกระจายสินค้าได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป ส่วนตลาดการส่งออกนั้นก็มีแนวโน้มที่ดีโดยมีการส่งออกขยายตัวโดยตลอด ตลาดหลักของไทยคือประเทศในแถบเอเชีย และประเทศเพื่อนบ้าน
ผู้ผลิตอาหารเช้าธัญชาติในระดับอุตสาหกรรมปัจจุบันมีเพียง 3 ราย โดยเป็นบริษัทข้ามชาติ 1 บริษัท คือ เนสเล่ท์ และบริษัทของคนไทย คือ บริษัทอาหารจานทอง จำกัด ผลิตสินค้ายี่ห้อ “กู๊ดไทม์” หจก. ซินอกรีฟู้ด ผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อ “Golden Rice” ส่วนผู้ผลิตอื่นๆ เป็นระดับกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มแม่บ้าน ซึ่งผลิตสินค้าในระดับท้องถิ่นและยังไม่ได้มาตรฐานในระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจเข้ามาลงทุนในระดับอุตสาหกรรมน่าจะมีโอกาสทางการตลาดสูงจากกระแสการตอบรับของตลาดที่มีอยู่แล้วดังกล่าว ทั้งนี้ในการผลิตสามารถใช้วัตถุดิบทั้งหมดได้จากภายในประเทศ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ลูกเดือย ข้าวโพด แครอท ฟักทอง ซึ่งหาได้ง่ายและมีราคาถูก ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตก็สามารถจัดหาได้จากผู้ขายเครื่องจักรในประเทศ
การลงทุนนั้นสำหรับกิจการที่มีขนาดเล็กใช้เงินทุนประมาณ 1 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร คือเครื่องจักรและอุปกรณ์ประมาณ 40 % และอีก 60 % เป็นเงินลงทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า 90% ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภค ส่วนค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการขายนั้นประมาณ 10 % ของเงินทุน-หมุนเวียน นอกเหนือจากการลงทุนด้วยการผลิตเองแล้วนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่อาจใช้วิธีการจ้างให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ผลิตสินค้าได้ดีอยู่แล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารธัญชาติจากโครงการหนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์ นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการปรับปรุงรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ การขอการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วทำการตลาดโดยการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงตามลักษณะของช่องทางการจำหน่ายสมัยใหม่ในปัจจุบันก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการลงทุนที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ถ้าลงทุนขั้นต้น 1 ล้านบาท และสามารถจำหน่ายได้ 50 ตัน/ปี ในระดับราคาเฉลี่ย 4 บาท/ซอง(30 กรัม) โดยมีกำไรเฉลี่ยประมาณ 20% ของยอดขายตลอดอายุโครงการ 5 ปี จะคืนทุนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 130%
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--