1. สถานการณ์การผลิต
เทคนิคการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาในอดีตการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดต้องเอาน้ำเค็มมาเติมลงบ่อระหว่างการเลี้ยง แต่ปัจจุบันมีวิธีทำให้กุ้งได้รับความเค็มโดยไม่ต้องให้ตัวกุ้งแช่อยู่ในน้ำเค็ม คือ การเติมน้ำทะเลแห้งลงในอาหารเพียงเล็กน้อยก็พอ โดยใช้น้ำทะเลแห้งละลายน้ำก่อนแล้ว เอาไปพรมลงเม็ดอาหารกุ้งให้พอชื้น ใส่สเม็คไทค์ผง 3% คลุกเคล้าแล้วเคลือบด้วยไข่ไก่สด (ใช้ทั้งไข่ขาวและไข่แดง) ซึ่งกุ้งจะได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ จากเกลือน้ำทะเลแห้งอย่างเพียงพอและวิธีนี้จะไม่เพิ่มความเค็มแก่น้ำและดิน
ส่วนการเลือกเกลือมาใช้เป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องไม่ใช้เกลือป่นเพราะในเกลือป่นมีแต่โซเดียมคลอไรด์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งขาดแร่ธาตุปลีกย่อยอีกหลายชนิด ข้อสำคัญ เวลาตากน้ำทะเลจนเข้มเข้าถึงจุดที่โซเดียมคลอไรด์ตกผลึก อย่าปล่อยน้ำออกไปเพื่อให้เกลือแห้ง เพราะเกลือแห้งจะขาดแร่ธาตุปลีกย่อยที่สำคัญหลายชนิด ต้องตากให้แห้งคานาเกลือ จึงจะเป็นเกลือน้ำทะเลแห้งไว้ใช้ผสมอาหารให้กุ้งกินแทนการใส่เกลือในบ่อ และการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบนี้ไม่เป็นการเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-10 สค. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,046.29 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 465.93 ตัน สัตว์น้ำจืด 580.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.21 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.25 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.15 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 38.30 ตัน
2. สถานการณ์การตลาดความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.72 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 280.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 276.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ345.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 347.14 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.31 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ15.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 15.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ78.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.19 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 13-17 สค. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 13-19 ส.ค. 2544--
-สส-
เทคนิคการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาในอดีตการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดต้องเอาน้ำเค็มมาเติมลงบ่อระหว่างการเลี้ยง แต่ปัจจุบันมีวิธีทำให้กุ้งได้รับความเค็มโดยไม่ต้องให้ตัวกุ้งแช่อยู่ในน้ำเค็ม คือ การเติมน้ำทะเลแห้งลงในอาหารเพียงเล็กน้อยก็พอ โดยใช้น้ำทะเลแห้งละลายน้ำก่อนแล้ว เอาไปพรมลงเม็ดอาหารกุ้งให้พอชื้น ใส่สเม็คไทค์ผง 3% คลุกเคล้าแล้วเคลือบด้วยไข่ไก่สด (ใช้ทั้งไข่ขาวและไข่แดง) ซึ่งกุ้งจะได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ จากเกลือน้ำทะเลแห้งอย่างเพียงพอและวิธีนี้จะไม่เพิ่มความเค็มแก่น้ำและดิน
ส่วนการเลือกเกลือมาใช้เป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องไม่ใช้เกลือป่นเพราะในเกลือป่นมีแต่โซเดียมคลอไรด์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งขาดแร่ธาตุปลีกย่อยอีกหลายชนิด ข้อสำคัญ เวลาตากน้ำทะเลจนเข้มเข้าถึงจุดที่โซเดียมคลอไรด์ตกผลึก อย่าปล่อยน้ำออกไปเพื่อให้เกลือแห้ง เพราะเกลือแห้งจะขาดแร่ธาตุปลีกย่อยที่สำคัญหลายชนิด ต้องตากให้แห้งคานาเกลือ จึงจะเป็นเกลือน้ำทะเลแห้งไว้ใช้ผสมอาหารให้กุ้งกินแทนการใส่เกลือในบ่อ และการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบนี้ไม่เป็นการเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-10 สค. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,046.29 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 465.93 ตัน สัตว์น้ำจืด 580.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.21 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.25 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.15 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 38.30 ตัน
2. สถานการณ์การตลาดความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.72 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 280.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 276.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ345.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 347.14 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.31 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ15.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 15.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ78.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.19 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 13-17 สค. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 13-19 ส.ค. 2544--
-สส-