นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้จัดให้มีการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มของเดือนพฤษภาคม 2543 เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2543 ที่ผ่านมา ณ สำนักบริหารการนำเข้าและส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ ถนนสนามบินน้ำ-นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการบริหารการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังประเทศที่มีข้อตกลงกับประเทศไทย พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้การจัดสรรโควตากองกลางสำหรับปี 2543 ให้จัดสรรโดยวิธีประมูลเป็นหลัก
คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรโควตากองกลางสินค้าสิ่งทอที่กระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งขึ้น โดยมีผู้แทนจากภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วย ได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข การประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่ม โดยเน้นวิธีการประมูลที่จะทำให้เกิดการแข่งขันกัน ป้องกันการรวมหัวกันระหว่างผู้ส่งออกที่ยื่นประมูลและไม่เป็นการเพิ่มต้นทุนและสร้างภาระในการส่งออก
วิธีการจัดสรรโควตากองกลางสินค้าสิ่งทอที่ส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงตามระเบียบเดิมจะจัดสรรโดยวิธีหารเฉลี่ยตามปริมาณคำขอจัดสรรโควตา ซึ่งทำให้ปริมาณที่ผู้ส่งออกแต่ละรายได้รับจัดสรรไม่เพียงพอที่จะส่งออกได้ในเชิงพาณิชย์และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ส่งออกที่มีความต้องการใช้โควตาในการส่งออกอย่างแท้จริง ดังนั้นระเบียบใหม่จึงได้เปลี่ยนมาเป็นการจัดสรรโดยวิธีประมูล เนื่องจากเป็นวิธีการที่โปร่งใสและยุติธรรมต่อผู้ส่งออกแต่ละรายที่จะมีโอกาสได้รับการจัดสรรโควตาตรงตามความต้องการและเท่าเทียมกัน
หลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ในการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนดไว้ คือ
1. รายการที่นำมาจัดสรรโดยวิธีประมูล เป็นรายการที่ปริมาณคำขอรับจัดสรรโควตา (demand) มากกว่าปริมาณโควตาคงเหลือที่นำมาจัดสรร (Supply) และมีปริมาณโควตาที่หารเฉลี่ยต่อรายน้อยกว่าปริมาณที่สามารถส่งออกได้ในเชิงพาณิชย์
2. ผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล ต้องเป็นผู้ส่งออกที่ได้ยื่นขอรับการจัดสรรโควตากองกลางสำหรับรายการที่จะนำมาประมูลในเดือนนั้น ๆ ไว้แล้ว
3. การแบ่งกลุ่มและการยื่นประมูล ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ยื่นประมูลตามปริมาณโควตาที่ได้ยื่นขอรับจัดสรรของสินค้าแต่ละรายการเพื่อให้เป็นการแข่งขันในระหว่างกลุ่มตามความต้องการใช้โควตาส่งออกที่เป็นจริง และเพื่อให้ผู้ส่งออกรายเล็กไม่ต้องไปแข่งกับรายใหญ่ โดยกำหนดให้ผู้ยื่นประมูลแต่ละรายการสามารถยื่นได้ไม่เกินปริมาณที่ตนเองได้ยื่นขอรับจัดสรรในเดือนนั้น ๆ และไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มของแต่ละรายการสินค้า
4. การตัดสินผลการประมูล จะใช้ราคาค่าตอบแทนที่เสนอในการประมูลสำหรับแต่ละรายการสินค้าและในแต่ละกลุ่มเป็นเกณฑ์ โดยผู้เสนอราคาสูงกว่าจะเป็นผู้ชนะการประมูลตามลำดับจนกว่าจะครบปริมาณโควตาในแต่ละกลุ่มของแต่ละรายการที่นำมาประมูลนั้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยเพิ่มเติมว่าสำหรับการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2543 นั้น การดำเนินการประมูลได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถประการผลการประมูลได้ในวันเดียวกัน โดยสรุปผลการประมูลได้ดังนี้
1. สินค้าที่นำมาประมูลมี 22 รายการ เป็นของสหรัฐอเมริกา 14 รายการ ได้แก่ชุดสตรีเสื้อเชิ้ตของผู้ชายและเด็กชาย เสื้อสเวทเตอร์ กางเกงขายาว ชุดนอน เสื้อโค้ทและเสื้อแจ็กเก็ต เสื้อเชิ้ตและกระโปรงสตรีเป็นต้น สหภาพยุโรป 1 รายการ คือ กางเกงของผู้ชายและเด็กชาย
2. ผลการประมูลในครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลเมื่อเดือนเมษายน 2543 ปรากฏว่ามีผู้ส่งออกที่สนใจเข้ายื่นประมูลจำนวน 924 ราย เพิ่มขึ้นจาก 710 รายและมีผู้ชนะการประมูลจำนวน 338 ราย เพิ่มขึ้นจาก 286 รายแม้ว่าปริมาณโควตาที่นำมาประมูลจะน้อยกว่าครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีประมูลเป็นการตอบสนองต่อผู้ส่งออกที่ต้องการใช้โควตามในการส่งออกที่แท้จริง
3. จากการพิจารณาราคาค่าตอบแทนสูงสุดที่เสนอประมูลปรากฏว่าระดับราคาของสินค้ารายการเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงจากการประมูลครั้งแรก โดยเฉพาะรายการที่มีความต้องการใช้โควตาสูง อาทิ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา รายการ 347/348/847 (กางเกงผ้าฝ้าย) ราคาประมูลสูงสุดลดลงจาก 2,460 บาทต่อโหลเหลือเพียง 1,505 บาท/โหล รายการ 438 (เสื้อผ้าถัก) ราคาลดลงจาก 1,000 บาทต่อโหล เหลือเพียง 601 บาทต่อโหล และรายการ 647/648 (กางเกงผ้าใยประดิษฐ์) ราคาลดลงจาก 1,000 บาทต่อโหล เหลือเพียง 540 ต่อโหล แสดงให้เห็นว่าต้นทุนราคาที่เสนอประมูลของผู้ส่งออกมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้สินค้าบางรายการยังมีราคาที่ชนะประมูลแตกต่าง และต่ำมาก เช่นรายการ 351/651 (ชุดนอน) ราคาที่ชนะประมูลสูงสุด คือ 304 บาทต่อโหล ในขณะที่ราคาชนะประมูลต่ำสุด คือ 1 บาทต่อโหลเท่านั้น แสดงว่าประมูลโควตาเป็นไปอย่างเป็นธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์
สำหรับเงินค่าตอบแทนที่ได้จากการประมูลทั้งหมด กรมการค้าต่างประเทศจะนำส่งกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
-กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรโควตากองกลางสินค้าสิ่งทอที่กระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งขึ้น โดยมีผู้แทนจากภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วย ได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข การประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่ม โดยเน้นวิธีการประมูลที่จะทำให้เกิดการแข่งขันกัน ป้องกันการรวมหัวกันระหว่างผู้ส่งออกที่ยื่นประมูลและไม่เป็นการเพิ่มต้นทุนและสร้างภาระในการส่งออก
วิธีการจัดสรรโควตากองกลางสินค้าสิ่งทอที่ส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงตามระเบียบเดิมจะจัดสรรโดยวิธีหารเฉลี่ยตามปริมาณคำขอจัดสรรโควตา ซึ่งทำให้ปริมาณที่ผู้ส่งออกแต่ละรายได้รับจัดสรรไม่เพียงพอที่จะส่งออกได้ในเชิงพาณิชย์และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ส่งออกที่มีความต้องการใช้โควตาในการส่งออกอย่างแท้จริง ดังนั้นระเบียบใหม่จึงได้เปลี่ยนมาเป็นการจัดสรรโดยวิธีประมูล เนื่องจากเป็นวิธีการที่โปร่งใสและยุติธรรมต่อผู้ส่งออกแต่ละรายที่จะมีโอกาสได้รับการจัดสรรโควตาตรงตามความต้องการและเท่าเทียมกัน
หลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ในการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนดไว้ คือ
1. รายการที่นำมาจัดสรรโดยวิธีประมูล เป็นรายการที่ปริมาณคำขอรับจัดสรรโควตา (demand) มากกว่าปริมาณโควตาคงเหลือที่นำมาจัดสรร (Supply) และมีปริมาณโควตาที่หารเฉลี่ยต่อรายน้อยกว่าปริมาณที่สามารถส่งออกได้ในเชิงพาณิชย์
2. ผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล ต้องเป็นผู้ส่งออกที่ได้ยื่นขอรับการจัดสรรโควตากองกลางสำหรับรายการที่จะนำมาประมูลในเดือนนั้น ๆ ไว้แล้ว
3. การแบ่งกลุ่มและการยื่นประมูล ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ยื่นประมูลตามปริมาณโควตาที่ได้ยื่นขอรับจัดสรรของสินค้าแต่ละรายการเพื่อให้เป็นการแข่งขันในระหว่างกลุ่มตามความต้องการใช้โควตาส่งออกที่เป็นจริง และเพื่อให้ผู้ส่งออกรายเล็กไม่ต้องไปแข่งกับรายใหญ่ โดยกำหนดให้ผู้ยื่นประมูลแต่ละรายการสามารถยื่นได้ไม่เกินปริมาณที่ตนเองได้ยื่นขอรับจัดสรรในเดือนนั้น ๆ และไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มของแต่ละรายการสินค้า
4. การตัดสินผลการประมูล จะใช้ราคาค่าตอบแทนที่เสนอในการประมูลสำหรับแต่ละรายการสินค้าและในแต่ละกลุ่มเป็นเกณฑ์ โดยผู้เสนอราคาสูงกว่าจะเป็นผู้ชนะการประมูลตามลำดับจนกว่าจะครบปริมาณโควตาในแต่ละกลุ่มของแต่ละรายการที่นำมาประมูลนั้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยเพิ่มเติมว่าสำหรับการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2543 นั้น การดำเนินการประมูลได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถประการผลการประมูลได้ในวันเดียวกัน โดยสรุปผลการประมูลได้ดังนี้
1. สินค้าที่นำมาประมูลมี 22 รายการ เป็นของสหรัฐอเมริกา 14 รายการ ได้แก่ชุดสตรีเสื้อเชิ้ตของผู้ชายและเด็กชาย เสื้อสเวทเตอร์ กางเกงขายาว ชุดนอน เสื้อโค้ทและเสื้อแจ็กเก็ต เสื้อเชิ้ตและกระโปรงสตรีเป็นต้น สหภาพยุโรป 1 รายการ คือ กางเกงของผู้ชายและเด็กชาย
2. ผลการประมูลในครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลเมื่อเดือนเมษายน 2543 ปรากฏว่ามีผู้ส่งออกที่สนใจเข้ายื่นประมูลจำนวน 924 ราย เพิ่มขึ้นจาก 710 รายและมีผู้ชนะการประมูลจำนวน 338 ราย เพิ่มขึ้นจาก 286 รายแม้ว่าปริมาณโควตาที่นำมาประมูลจะน้อยกว่าครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีประมูลเป็นการตอบสนองต่อผู้ส่งออกที่ต้องการใช้โควตามในการส่งออกที่แท้จริง
3. จากการพิจารณาราคาค่าตอบแทนสูงสุดที่เสนอประมูลปรากฏว่าระดับราคาของสินค้ารายการเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงจากการประมูลครั้งแรก โดยเฉพาะรายการที่มีความต้องการใช้โควตาสูง อาทิ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา รายการ 347/348/847 (กางเกงผ้าฝ้าย) ราคาประมูลสูงสุดลดลงจาก 2,460 บาทต่อโหลเหลือเพียง 1,505 บาท/โหล รายการ 438 (เสื้อผ้าถัก) ราคาลดลงจาก 1,000 บาทต่อโหล เหลือเพียง 601 บาทต่อโหล และรายการ 647/648 (กางเกงผ้าใยประดิษฐ์) ราคาลดลงจาก 1,000 บาทต่อโหล เหลือเพียง 540 ต่อโหล แสดงให้เห็นว่าต้นทุนราคาที่เสนอประมูลของผู้ส่งออกมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้สินค้าบางรายการยังมีราคาที่ชนะประมูลแตกต่าง และต่ำมาก เช่นรายการ 351/651 (ชุดนอน) ราคาที่ชนะประมูลสูงสุด คือ 304 บาทต่อโหล ในขณะที่ราคาชนะประมูลต่ำสุด คือ 1 บาทต่อโหลเท่านั้น แสดงว่าประมูลโควตาเป็นไปอย่างเป็นธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์
สำหรับเงินค่าตอบแทนที่ได้จากการประมูลทั้งหมด กรมการค้าต่างประเทศจะนำส่งกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
-กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-