1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
อุทกภัย : ความเสียหายพื้นที่การเกษตรเนื่องจากอุทกภัย
จากการที่ประเทศไทยมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออก-เฉียงเหนือของประเทศ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นทั่วทุกภาคและฝนตกหนักบางพื้นที่ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จึงเกิดน้ำป่าไหลบ่าท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้รับความเสียหาย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ได้สำรวจพื้นที่เสียหายเนื่องจากอุทกภัย (ตารางแนบท้าย) สรุปได้ดังนี้
1) กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานว่า พื้นที่การเกษตรประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 13 กรกฎาคม 2543 มี 15 จังหวัดมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 2,224,321 ไร่ เสียหาย 1,387,447 ไร่ หรือร้อยละ 62.38 ของพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งหมด มีเกษตรกร ได้รับความเดือดร้อน 187,140 ราย จำนวน 995 ตำบล แยกเป็นรายพืช คือ ข้าวเสียหายร้อยละ 96.08 ของพื้นที่เสียหายทั้งหมด ถั่วเหลืองร้อยละ 2.47 มันสำปะหลังร้อยละ 0.45 พืชผักร้อยละ 0.32 ข้าวโพดร้อยละ 0.24 พืชอื่น ๆ ร้อยละ 0.44
2) กรมประมง รายงานว่า ความเสียหายเกษตรกรประมงประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 14 กรกฎาคม 2543 มี 9 จังหวัด 20 อำเภอ เกษตรกร 4,803 ราย พื้นที่เสียหาย 5,963 ไร่ จำนวนบ่อปลา 6,757 บ่อ เป็นพันธุ์สัตว์น้ำจืด 33,051,550 ตัว มูลค่าความเสียหาย 24,372,030 บาท
3) กรมปศุสัตว์ รายงานว่า จังหวัดที่มีพื้นที่ประสบภัยระหว่างเดือนมิถุนายน -14 กรกฎาคม 2543 มี 7 จังหวัด 44 อำเภอ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับความเดือดร้อน 14,608 ครัวเรือน จำนวนสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 359,645 ตัว แยกเป็นไก่ร้อยละ 60.76 เป็ดร้อยละ 32.24 โคร้อยละ 4.01 กระบือร้อยละ 2.40 สุกรร้อยละ 0.59 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด 3,435 ไร่ แยกเป็นแปลงธรรมชาติร้อยละ 90.28 แปลงหญ้าส่วนตัวร้อยละ 9-72
แนวทางแก้ไข
1) จากการที่มีพื้นที่ประสบอุทกภัยทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จังหวัดสามารถเบิกเงินจากงบประมาณฉุกเฉินได้ทันทีระหว่างยังไม่ได้รับงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกร โดยเกษตรจังหวัดเบิกจ่ายได้ต่อหนึ่งภัยธรรมชาติ ไม่เกิน 1,000,000 บาท ปศุสัตว์จังหวัด 500,000 บาท ประมงจังหวัด 500,000 บาท ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร ถ้าจังหวัดใดมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่จังหวัดมีอยู่ ก็ยังมีงบประมาณจากส่วนกลางอีก 2.5 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ทันทีกรณีจำเป็นเร่งด่วน
2) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ครม. อนุมัติหลักการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังระยะวิกฤติหรือช่วยเหลือเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการโดยใช้เงินงบกลาง เพื่อการแจกจ่ายพันธุ์ข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีสำรองไว้ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั่วประเทศ และการแจกจ่ายปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมี ปี 2540-2541 ที่ยังคงเหลืออยู่ สำหรับการใช้งบกลางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย ให้จ่ายตามมูลค่าเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดการเบิกจ่ายต่อไป
3) ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการฟื้นฟูช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีสภาพความเป็นอยู่เหมือนก่อนได้รับความเสียหายเนื่องมาจากอุทกภัย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : รับจำนำข้าวโพดปี 2543/44
สถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543/44 คาดว่าพื้นที่ปลูกมี 8.154 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 8.052 ล้านไร่ของปี 2542/43 ร้อยละ 1.27 เนื่องจากราคาที่เกษตรกรได้รับปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต โดยเฉพาะแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมาและสระแก้ว และในปีนี้สภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ข้าวโพดได้รับน้ำฝนในปริมาณที่เพียงพอและเกษตรกรมีการใช้ข้าวโพดลูกผสมทำให้ผลผลิตรวมจะได้ 4.484 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.390 ล้านตันของปีที่แล้วร้อยละ 2.14สำหรับผลผลิตต่อไร่จะได้ไร่ละ 550 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ได้ไร่ละ 545 กิโลกรัมหรือร้อยละ 0.92 ความต้องการใช้ข้าวโพดคาดว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับปีที่แล้วคือประมาณ 4 ล้านตัน
ข้าวโพดรุ่น 1 ปี 2543/44 เกษตรกรอยู่ในระหว่างการเพาะปลูก บางรายที่ปลูกก่อนเริ่มเก็บเกี่ยวแล้วประมาณร้อยละ 3 - 5 ของผลผลิต ขณะนี้ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % ในเดือนกรกฎาคมมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.92 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 4.40 บาทของเดือนมิถุนายนร้อยละ 10.91 คาดว่าราคาข้าวโพดจะโน้มต่ำลงอีกหลังจากที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนกันยายน - ตุลาคมจะมีผลผลิตออกมากที่สุดประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตซึ่งเกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ ประธานประชาคมชาวไร่ข้าวโพดและเลขาธิการสมาพันธ์กลุ่มอาชีพเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำตัวแทนชาวไร่ข้าวโพดจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าพบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 เพื่อขอบคุณนโยบายข้าวโพดของรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาราคาข้าวโพดและขอให้แทรกแซงราคาในปี 2543/44 ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหาและมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
กระทรวงพาณิชย์ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตร ได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 และมีมติให้แทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 ด้วยการรับจำนำเหมือนเช่นการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2542/43 โดยรัฐจะรับภาระที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างราคารับจำนำกับราคาขายตามที่เป็นจริง จะไม่รับภาระค่าเสียหายอื่น ๆ เช่นการสูญเสียน้ำหนักและการเสื่อมคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้นอกเหนือไปจากกรอบที่อนุมัติไว้ และให้อคส.เป็นผู้ดำเนินการจัดจำหน่ายข้าวโพดเมื่อพ้นระยะเวลาไถ่ถอน ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1) ราคารับจำนำข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14.5 % ณ แหล่งผลิต (ยุ้งฉางของเกษตรกร ) กก.ละ 3.90 บาท หรือหน้าไซโล กก.ละ 4.10 บาท
2) ปริมาณรับจำนำข้าวโพดทั้งหมด 500,000 ตัน ให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) รับจำนำจำนวน 250,000 ตัน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) รับจำนำจำนวน 150,000 ตัน โดยรับฝากเก็บและออกใบประทวนสินค้าจากเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำใบประทวนสินค้าที่อคส.และอ.ต.ก. รับฝากเก็บ จำนวน 400,000 ตันและรับจำนำจากเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเองจำนวน 100,000 ตัน
3) ระยะเวลารับจำนำและชำระคืนเงินกู้ ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ สิงหาคม - ธันวาคม 2543 กำหนดไถ่ถอนให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการสิงหาคม 2543 - มิถุนายน 2544
อ้อย : ราคาอ้อยปีหน้ามีโอกาสฟื้นตัว
บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คส่งมอบเดือนตุลาคม ได้เคลื่อนไหวมาอยู่ในระดับสูงสุด 10.46 เซนต์ต่อปอนด์ หรือประมาณกิโลกรัมละ 9 บาท ซึ่งสูงสุดในรอบ 29 เดือน โดยปัจจัยที่มีผลต่อตลาด คือ ข่าวการลดลงของผลผลิตน้ำตาลของบราซิล เนื่องจากภาวะความแห้งแล้ง การลดลงของผลผลิตน้ำตาลของยุโรป และปัญหาสภาพอากาศที่จะมีผลต่อการผลิตน้ำตาลของออสเตรเลีย ในขณะที่คำสั่งซื้อน้ำตาลในตลาดได้มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ติดตามภาวะราคาน้ำตาลในตลาดโลกดังกล่าวแล้ว เห็นว่าหากราคาน้ำตาลไม่ขยับลดลงไปกว่านี้ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเหรียญ-สหรัฐฯ ไม่ต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คืออัตรา 40-41 บาท จะมีผลให้ราคาอ้อยขั้นต้นของผลผลิต 2543/44 ที่เริ่มในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีโอกาสสูงถึงตันละ 600 บาท ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกลับมาฟื้นตัวขึ้นได้อีก รวมทั้งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยที่จะต้องถูกหักเงินจากค่าอ้อยขั้นต้นเป็นปีแรก เพื่อนำไปชำระเงินที่กู้มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ได้ใช้ไปในการยกระดับราคาอ้อยในฤดูการผลิตนี้และฤดูการผลิตที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 24-30 ก.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
อุทกภัย : ความเสียหายพื้นที่การเกษตรเนื่องจากอุทกภัย
จากการที่ประเทศไทยมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออก-เฉียงเหนือของประเทศ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นทั่วทุกภาคและฝนตกหนักบางพื้นที่ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จึงเกิดน้ำป่าไหลบ่าท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้รับความเสียหาย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ได้สำรวจพื้นที่เสียหายเนื่องจากอุทกภัย (ตารางแนบท้าย) สรุปได้ดังนี้
1) กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานว่า พื้นที่การเกษตรประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 13 กรกฎาคม 2543 มี 15 จังหวัดมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 2,224,321 ไร่ เสียหาย 1,387,447 ไร่ หรือร้อยละ 62.38 ของพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งหมด มีเกษตรกร ได้รับความเดือดร้อน 187,140 ราย จำนวน 995 ตำบล แยกเป็นรายพืช คือ ข้าวเสียหายร้อยละ 96.08 ของพื้นที่เสียหายทั้งหมด ถั่วเหลืองร้อยละ 2.47 มันสำปะหลังร้อยละ 0.45 พืชผักร้อยละ 0.32 ข้าวโพดร้อยละ 0.24 พืชอื่น ๆ ร้อยละ 0.44
2) กรมประมง รายงานว่า ความเสียหายเกษตรกรประมงประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 14 กรกฎาคม 2543 มี 9 จังหวัด 20 อำเภอ เกษตรกร 4,803 ราย พื้นที่เสียหาย 5,963 ไร่ จำนวนบ่อปลา 6,757 บ่อ เป็นพันธุ์สัตว์น้ำจืด 33,051,550 ตัว มูลค่าความเสียหาย 24,372,030 บาท
3) กรมปศุสัตว์ รายงานว่า จังหวัดที่มีพื้นที่ประสบภัยระหว่างเดือนมิถุนายน -14 กรกฎาคม 2543 มี 7 จังหวัด 44 อำเภอ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับความเดือดร้อน 14,608 ครัวเรือน จำนวนสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 359,645 ตัว แยกเป็นไก่ร้อยละ 60.76 เป็ดร้อยละ 32.24 โคร้อยละ 4.01 กระบือร้อยละ 2.40 สุกรร้อยละ 0.59 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด 3,435 ไร่ แยกเป็นแปลงธรรมชาติร้อยละ 90.28 แปลงหญ้าส่วนตัวร้อยละ 9-72
แนวทางแก้ไข
1) จากการที่มีพื้นที่ประสบอุทกภัยทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จังหวัดสามารถเบิกเงินจากงบประมาณฉุกเฉินได้ทันทีระหว่างยังไม่ได้รับงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกร โดยเกษตรจังหวัดเบิกจ่ายได้ต่อหนึ่งภัยธรรมชาติ ไม่เกิน 1,000,000 บาท ปศุสัตว์จังหวัด 500,000 บาท ประมงจังหวัด 500,000 บาท ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร ถ้าจังหวัดใดมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่จังหวัดมีอยู่ ก็ยังมีงบประมาณจากส่วนกลางอีก 2.5 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ทันทีกรณีจำเป็นเร่งด่วน
2) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ครม. อนุมัติหลักการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังระยะวิกฤติหรือช่วยเหลือเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการโดยใช้เงินงบกลาง เพื่อการแจกจ่ายพันธุ์ข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีสำรองไว้ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั่วประเทศ และการแจกจ่ายปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมี ปี 2540-2541 ที่ยังคงเหลืออยู่ สำหรับการใช้งบกลางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย ให้จ่ายตามมูลค่าเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดการเบิกจ่ายต่อไป
3) ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการฟื้นฟูช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีสภาพความเป็นอยู่เหมือนก่อนได้รับความเสียหายเนื่องมาจากอุทกภัย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : รับจำนำข้าวโพดปี 2543/44
สถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543/44 คาดว่าพื้นที่ปลูกมี 8.154 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 8.052 ล้านไร่ของปี 2542/43 ร้อยละ 1.27 เนื่องจากราคาที่เกษตรกรได้รับปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต โดยเฉพาะแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมาและสระแก้ว และในปีนี้สภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ข้าวโพดได้รับน้ำฝนในปริมาณที่เพียงพอและเกษตรกรมีการใช้ข้าวโพดลูกผสมทำให้ผลผลิตรวมจะได้ 4.484 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.390 ล้านตันของปีที่แล้วร้อยละ 2.14สำหรับผลผลิตต่อไร่จะได้ไร่ละ 550 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ได้ไร่ละ 545 กิโลกรัมหรือร้อยละ 0.92 ความต้องการใช้ข้าวโพดคาดว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับปีที่แล้วคือประมาณ 4 ล้านตัน
ข้าวโพดรุ่น 1 ปี 2543/44 เกษตรกรอยู่ในระหว่างการเพาะปลูก บางรายที่ปลูกก่อนเริ่มเก็บเกี่ยวแล้วประมาณร้อยละ 3 - 5 ของผลผลิต ขณะนี้ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % ในเดือนกรกฎาคมมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.92 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 4.40 บาทของเดือนมิถุนายนร้อยละ 10.91 คาดว่าราคาข้าวโพดจะโน้มต่ำลงอีกหลังจากที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนกันยายน - ตุลาคมจะมีผลผลิตออกมากที่สุดประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตซึ่งเกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ ประธานประชาคมชาวไร่ข้าวโพดและเลขาธิการสมาพันธ์กลุ่มอาชีพเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำตัวแทนชาวไร่ข้าวโพดจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าพบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 เพื่อขอบคุณนโยบายข้าวโพดของรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาราคาข้าวโพดและขอให้แทรกแซงราคาในปี 2543/44 ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหาและมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
กระทรวงพาณิชย์ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตร ได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 และมีมติให้แทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 ด้วยการรับจำนำเหมือนเช่นการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2542/43 โดยรัฐจะรับภาระที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างราคารับจำนำกับราคาขายตามที่เป็นจริง จะไม่รับภาระค่าเสียหายอื่น ๆ เช่นการสูญเสียน้ำหนักและการเสื่อมคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้นอกเหนือไปจากกรอบที่อนุมัติไว้ และให้อคส.เป็นผู้ดำเนินการจัดจำหน่ายข้าวโพดเมื่อพ้นระยะเวลาไถ่ถอน ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1) ราคารับจำนำข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14.5 % ณ แหล่งผลิต (ยุ้งฉางของเกษตรกร ) กก.ละ 3.90 บาท หรือหน้าไซโล กก.ละ 4.10 บาท
2) ปริมาณรับจำนำข้าวโพดทั้งหมด 500,000 ตัน ให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) รับจำนำจำนวน 250,000 ตัน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) รับจำนำจำนวน 150,000 ตัน โดยรับฝากเก็บและออกใบประทวนสินค้าจากเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำใบประทวนสินค้าที่อคส.และอ.ต.ก. รับฝากเก็บ จำนวน 400,000 ตันและรับจำนำจากเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเองจำนวน 100,000 ตัน
3) ระยะเวลารับจำนำและชำระคืนเงินกู้ ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ สิงหาคม - ธันวาคม 2543 กำหนดไถ่ถอนให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการสิงหาคม 2543 - มิถุนายน 2544
อ้อย : ราคาอ้อยปีหน้ามีโอกาสฟื้นตัว
บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คส่งมอบเดือนตุลาคม ได้เคลื่อนไหวมาอยู่ในระดับสูงสุด 10.46 เซนต์ต่อปอนด์ หรือประมาณกิโลกรัมละ 9 บาท ซึ่งสูงสุดในรอบ 29 เดือน โดยปัจจัยที่มีผลต่อตลาด คือ ข่าวการลดลงของผลผลิตน้ำตาลของบราซิล เนื่องจากภาวะความแห้งแล้ง การลดลงของผลผลิตน้ำตาลของยุโรป และปัญหาสภาพอากาศที่จะมีผลต่อการผลิตน้ำตาลของออสเตรเลีย ในขณะที่คำสั่งซื้อน้ำตาลในตลาดได้มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ติดตามภาวะราคาน้ำตาลในตลาดโลกดังกล่าวแล้ว เห็นว่าหากราคาน้ำตาลไม่ขยับลดลงไปกว่านี้ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเหรียญ-สหรัฐฯ ไม่ต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คืออัตรา 40-41 บาท จะมีผลให้ราคาอ้อยขั้นต้นของผลผลิต 2543/44 ที่เริ่มในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีโอกาสสูงถึงตันละ 600 บาท ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกลับมาฟื้นตัวขึ้นได้อีก รวมทั้งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยที่จะต้องถูกหักเงินจากค่าอ้อยขั้นต้นเป็นปีแรก เพื่อนำไปชำระเงินที่กู้มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ได้ใช้ไปในการยกระดับราคาอ้อยในฤดูการผลิตนี้และฤดูการผลิตที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 24-30 ก.ค. 2543--
-สส-