กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
เมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2543 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ และนายจอม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งกัมพูชา ได้ร่วมกันลงนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-กัมพูชา การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ทางการค้าไทย-กัมพูชามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือการค้าทวิภาคีไทย-กัมพูชา เจรจาแก้ปัญหา อุปสรรคทางการค้า และเพื่อส่งเสริมการค้าและพัฒนาให้การค้าสองฝ่ายขยายตัว รวมทั้งกระตุ้นให้เกิด ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนสองฝ่ายในอันที่จะส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนขยายตัว
คณะกรรมการร่วมทางการค้าดังกล่าว มีหน้าที่ดังนี้
- จัดประชุมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พิจารณาทบทวนความคืบหน้าด้านการค้าและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดสาขาด้านการค้า ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
- เสนอแนะมาตรการต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการขยายตัวและการพัฒนาปรับปรุง รูปแบบทางการค้าระหว่างสองประเทศ
- ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศ
การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าจะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ และมี องค์ประกอบผู้แทนทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยและ กัมพูชามีกรอบการหารือด้านทวิภาคีภายใต้คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา โดยความ รับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศของสองประเทศ แต่ยังไม่มีกรอบเจรจาหารือด้านการค้า โดยเฉพาะ และด้วยความพยายามของกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่าย จึงเห็นพ้องกันให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee-JTC) ขึ้น เพื่อให้สามารถหารือกันได้โดยตรงและ สม่ำเสมอยิ่งขึ้น ซึ่งจะยังผลให้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันประสบผล สำเร็จมากขึ้นโดยเร็วในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว 21 ประเทศ ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่ 22 และที่ผ่านมากลไกการเจรจาภายใต้กรอบ JTC เป็นไปอย่างได้ผล เพราะสามารถเจรจาหารือกันได้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถเจาะลึกในประเด็น การค้าทวิภาคีได้อย่างเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ประเทศไทยมี JTC กับประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สปป.ลาว สหภาพพม่า และฟิลิปปินส์ กัมพูชานับเป็นประเทศที่ 5 ประเทศกัมพูชาเป็น ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ถึงแม้ว่ามูลค่าการค้าในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก แต่ก็มีลู่ทางขยายตัวได้อีกมาก กัมพูชามีสัดส่วนการค้าร้อยละ 0.3 ของการค้าไทยกับทั่วโลก ปริมาณการค้าในระหว่างปี 2538-2542 เฉลี่ยปีละ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกเฉลี่ย 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าเฉลี่ย 65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับกัมพูชาเฉลี่ยปีละ 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2539-2541 ปริมาณการค้าสองฝ่ายมีแนวโน้มลดลง เป็นเพราะต่างได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจในเอเชีย แต่ในปี 2542 ปริมาณการค้าได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ทางการค้าไทย-กัมพูชา นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเป็นกรอบเจรจาหารือด้านการขยายความสัมพันธ์ ทวิภาคีต่อกันโดยตรง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
เมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2543 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ และนายจอม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งกัมพูชา ได้ร่วมกันลงนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-กัมพูชา การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ทางการค้าไทย-กัมพูชามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือการค้าทวิภาคีไทย-กัมพูชา เจรจาแก้ปัญหา อุปสรรคทางการค้า และเพื่อส่งเสริมการค้าและพัฒนาให้การค้าสองฝ่ายขยายตัว รวมทั้งกระตุ้นให้เกิด ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนสองฝ่ายในอันที่จะส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนขยายตัว
คณะกรรมการร่วมทางการค้าดังกล่าว มีหน้าที่ดังนี้
- จัดประชุมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พิจารณาทบทวนความคืบหน้าด้านการค้าและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดสาขาด้านการค้า ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
- เสนอแนะมาตรการต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการขยายตัวและการพัฒนาปรับปรุง รูปแบบทางการค้าระหว่างสองประเทศ
- ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศ
การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าจะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ และมี องค์ประกอบผู้แทนทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยและ กัมพูชามีกรอบการหารือด้านทวิภาคีภายใต้คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา โดยความ รับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศของสองประเทศ แต่ยังไม่มีกรอบเจรจาหารือด้านการค้า โดยเฉพาะ และด้วยความพยายามของกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่าย จึงเห็นพ้องกันให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee-JTC) ขึ้น เพื่อให้สามารถหารือกันได้โดยตรงและ สม่ำเสมอยิ่งขึ้น ซึ่งจะยังผลให้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันประสบผล สำเร็จมากขึ้นโดยเร็วในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว 21 ประเทศ ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่ 22 และที่ผ่านมากลไกการเจรจาภายใต้กรอบ JTC เป็นไปอย่างได้ผล เพราะสามารถเจรจาหารือกันได้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถเจาะลึกในประเด็น การค้าทวิภาคีได้อย่างเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ประเทศไทยมี JTC กับประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สปป.ลาว สหภาพพม่า และฟิลิปปินส์ กัมพูชานับเป็นประเทศที่ 5 ประเทศกัมพูชาเป็น ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ถึงแม้ว่ามูลค่าการค้าในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก แต่ก็มีลู่ทางขยายตัวได้อีกมาก กัมพูชามีสัดส่วนการค้าร้อยละ 0.3 ของการค้าไทยกับทั่วโลก ปริมาณการค้าในระหว่างปี 2538-2542 เฉลี่ยปีละ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกเฉลี่ย 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าเฉลี่ย 65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับกัมพูชาเฉลี่ยปีละ 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2539-2541 ปริมาณการค้าสองฝ่ายมีแนวโน้มลดลง เป็นเพราะต่างได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจในเอเชีย แต่ในปี 2542 ปริมาณการค้าได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ทางการค้าไทย-กัมพูชา นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเป็นกรอบเจรจาหารือด้านการขยายความสัมพันธ์ ทวิภาคีต่อกันโดยตรง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-