สรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2544
ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544
ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
---------------------------
นางบุญทิพา สิมะสกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของสมาชิกเอเปค 21 ประเทศได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับการดำเนินงานตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 และมติที่ประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมีผลการประชุมด้านเศรษฐกิจและการค้า สรุปได้ดังนี้
ในการประเมินบทบาทและทิศทางในอนาคตของเอเปค สมาชิกได้ยืนยันการปฏิบัติตามข้อผูกพันในกรอบเอเปคอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
สำหรับการจัดลำดับความสำคัญของงานในปีนี้ ที่ประชุมตกลงให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้ารอบใหม่ภายใต้กรอบ WTO ข้อมูลการจัดตั้งเขตการค้าเสรี การอำนวยความสะดวกทางการค้า การติดตามแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจใหม่ การเสริมสร้างแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคล เครือข่ายรองรับผลกระทบทางสังคม และแผนงานสื่อประโยชน์ของการเปิดเสรีสู่สาธารณชน
สมาชิกตกลงจะดำเนินการเพื่อสร้างแรงกระตุ้น (momentum) ให้เกิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ และเห็นว่ากำหนดจัดประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคในเดือนมิถุนายน และรัฐมนตรีเอเปคในเดือนตุลาคม ศกนี้ เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่เอเปคจะแสดงการสนับสนุนและผลักดันให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ในปีนี้
ที่ประชุมเห็นชอบแผนงาน strategic APEC plan ที่ริเริ่มโดยญี่ปุ่น สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO และตกลงจะดำเนินการตามแผนงานนี้โดยเร็วผ่านความช่วยเหลือกองทุน TILF ของเอเปค และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ตลอดจนสมาชิกพัฒนาแล้วของเอเปคที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เพื่อสนับสนุนการเริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านนี้ให้มีความยั่งยืนในระยะยาว
ที่ประชุมสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนและจีนไทเปโดยเร็ว และให้มีความก้าวหน้าในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซียและเวียดนาม
ที่ประชุมยืนยันให้แผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) เป็นกลไกสำคัญที่ สุดในการบรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีของสมาชิกเอเปค และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการเอเปคแต่งตั้ง focal point เพื่อให้คำแนะนำ ประสานงาน และช่วยเหลือสมาชิกในการจัดทำ e-IAP ตามระบบใหม่
ที่ประชุมรับทราบเรื่องที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ศกนี้ และให้สมาชิกหารือกันต่อไปเพื่อเร่งหาข้อสรุปของ Terms of Reference สำหรับการจัดประชุม APEC Chemical Dialogue ที่สหรัฐฯ ยกร่างขึ้น
ที่ประชุมเน้นความสำคัญต่องานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิกในการปฏิบัติตามหลักการด้านนี้ รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอของ แคนาดาให้มีการศึกษาประโยชน์ของการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการจัดทำโครงการนำร่องด้านนี้
ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC Investment Mart ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย ในปี 2546 ซึ่งเป็นปีที่ไทยจะเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค
ไทยเสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำความตกลงเขตการค้าเสรีในภูมิภาค รวมทั้งการทำความตกลงการค้าเสรีสองฝ่าย โดยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสภาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council: PECC) และขอให้ประเทศพัฒนาแล้วที่มีประสบการณ์ด้านนี้ ช่วยส่งวิทยากรมาบรรยายประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้ ทั้งนี้ ไทยยังยืนยันสนับสนุนการค้าระบบพหุภาคีอย่างมั่นคง
ที่ประชุมสนับสนุนการจัดประชุมร่วมระหว่าง APEC —OECD ในเรื่องการปฏิรูปกฎระเบียบระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่สิงคโปร์ นอกจากนั้น ได้มอบหมายให้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุนหารือกันเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปในด้านการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ รวมทั้งกลไกการประสานงานเรื่องนี้
ที่ประชุมตกลงจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Ad Hoc Task Force) เพื่อจัดทำแผนแม่บทเรื่อง e-APEC รวมทั้งเห็นชอบการขยายเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกไปอีก 2 ปี และให้เน้นงานด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิก (capacity building) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human resource development) ต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544
ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
---------------------------
นางบุญทิพา สิมะสกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของสมาชิกเอเปค 21 ประเทศได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับการดำเนินงานตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 และมติที่ประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมีผลการประชุมด้านเศรษฐกิจและการค้า สรุปได้ดังนี้
ในการประเมินบทบาทและทิศทางในอนาคตของเอเปค สมาชิกได้ยืนยันการปฏิบัติตามข้อผูกพันในกรอบเอเปคอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
สำหรับการจัดลำดับความสำคัญของงานในปีนี้ ที่ประชุมตกลงให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้ารอบใหม่ภายใต้กรอบ WTO ข้อมูลการจัดตั้งเขตการค้าเสรี การอำนวยความสะดวกทางการค้า การติดตามแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจใหม่ การเสริมสร้างแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคล เครือข่ายรองรับผลกระทบทางสังคม และแผนงานสื่อประโยชน์ของการเปิดเสรีสู่สาธารณชน
สมาชิกตกลงจะดำเนินการเพื่อสร้างแรงกระตุ้น (momentum) ให้เกิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ และเห็นว่ากำหนดจัดประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคในเดือนมิถุนายน และรัฐมนตรีเอเปคในเดือนตุลาคม ศกนี้ เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่เอเปคจะแสดงการสนับสนุนและผลักดันให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ในปีนี้
ที่ประชุมเห็นชอบแผนงาน strategic APEC plan ที่ริเริ่มโดยญี่ปุ่น สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO และตกลงจะดำเนินการตามแผนงานนี้โดยเร็วผ่านความช่วยเหลือกองทุน TILF ของเอเปค และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ตลอดจนสมาชิกพัฒนาแล้วของเอเปคที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เพื่อสนับสนุนการเริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านนี้ให้มีความยั่งยืนในระยะยาว
ที่ประชุมสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนและจีนไทเปโดยเร็ว และให้มีความก้าวหน้าในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซียและเวียดนาม
ที่ประชุมยืนยันให้แผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) เป็นกลไกสำคัญที่ สุดในการบรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีของสมาชิกเอเปค และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการเอเปคแต่งตั้ง focal point เพื่อให้คำแนะนำ ประสานงาน และช่วยเหลือสมาชิกในการจัดทำ e-IAP ตามระบบใหม่
ที่ประชุมรับทราบเรื่องที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ศกนี้ และให้สมาชิกหารือกันต่อไปเพื่อเร่งหาข้อสรุปของ Terms of Reference สำหรับการจัดประชุม APEC Chemical Dialogue ที่สหรัฐฯ ยกร่างขึ้น
ที่ประชุมเน้นความสำคัญต่องานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิกในการปฏิบัติตามหลักการด้านนี้ รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอของ แคนาดาให้มีการศึกษาประโยชน์ของการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการจัดทำโครงการนำร่องด้านนี้
ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC Investment Mart ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย ในปี 2546 ซึ่งเป็นปีที่ไทยจะเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค
ไทยเสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำความตกลงเขตการค้าเสรีในภูมิภาค รวมทั้งการทำความตกลงการค้าเสรีสองฝ่าย โดยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสภาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council: PECC) และขอให้ประเทศพัฒนาแล้วที่มีประสบการณ์ด้านนี้ ช่วยส่งวิทยากรมาบรรยายประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้ ทั้งนี้ ไทยยังยืนยันสนับสนุนการค้าระบบพหุภาคีอย่างมั่นคง
ที่ประชุมสนับสนุนการจัดประชุมร่วมระหว่าง APEC —OECD ในเรื่องการปฏิรูปกฎระเบียบระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่สิงคโปร์ นอกจากนั้น ได้มอบหมายให้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุนหารือกันเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปในด้านการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ รวมทั้งกลไกการประสานงานเรื่องนี้
ที่ประชุมตกลงจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Ad Hoc Task Force) เพื่อจัดทำแผนแม่บทเรื่อง e-APEC รวมทั้งเห็นชอบการขยายเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกไปอีก 2 ปี และให้เน้นงานด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิก (capacity building) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human resource development) ต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-