กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. เมื่อวันที่27-30 สิงหาคม 2543 ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือเรื่องปัญหายาเสพติด กับบุคคลสำคัญของฝ่ายจีน ดังนี้
1.1 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2543
1.1.1 นาย ไป๋ จิ่งฝู (Bai Jingfu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงรักษาความสงบภายใน
1.1.2 นายหยาง เจี๋ยฉือ (Yang Jiechi) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
1.1.3 นายหลัว ก้าน (Luo Gan) สมาชิกคณะกรรมการโปลิตบุโรพรรคคอมมิวนิสต์จีน และมนตรีแห่งรัฐ
1.2 ที่นครคุนหมิง เมื่อวันที่ 29 และ 30 สิงหาคม 2543
1.2.1 นายหลี่ เจียถิง (Li Jiating) ผู้ว่าการมณฑลยูนนาน
1.2.2 นายหลี่ ฮั่นไป๋ (Li Han Bai) รองผู้ว่าการมณฑลยูนนาน ดูแลด้านการปราบปราม ยาเสพติด
2. สรุปประเด็นการหารือ ดังนี้
2.1 ทั้งฝ่ายจีนและไทยเห็นว่า ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจาก ปัญหาดังกล่าวเป็นภัยไม่เฉพาะแต่กับไทยและจีนเท่านั้น แต่เป็นภัยโดยตรงต่อมนุษยชาติและปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบโดยตรงต่อสังคมและต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และของภูมิภาค
2.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และอย่างครบวงจรรอบด้าน นับตั้งแต่การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล การป้องกันและปราบปราม การควบคุมเคลื่อนย้ายอุปกรณ์และสารเคมี ไปจนถึงการฟื้นฟูบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs จึงเห็นพ้องกันที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดอย่างครบวงจรและเป็นระบบยิ่งขึ้น ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี กล่าวคือ 2.2.1 ในกรอบทวิภาคี
(ก) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะประสานและกระชับความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและประสบการณ์ระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ในการนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ประสานงานติดต่อด้านยาเสพติด (Drug Liaison) ประจำสถานเอกอัครราชทูตในเมืองหลวงของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายจีนเห็นด้วยและสนับสนุน ข้อเสนอของฝ่ายไทยอย่างเต็มที่
(ข) ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการสกัดกั้นสารตั้งต้น ตลอดจนอุปกรณ์และ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตยาบ้า
(ค) ฝ่ายจีนสนับสนุนข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะให้มีความตกลงในรูปของบันทึก ความเข้าใจ (MOU) ซึ่งจะเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่าง สมบูรณ์แบบ
2.2.2 ในกรอบพหุภาคี
(ก) ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสากล มีผลกระทบต่อมวล มนุษยชาติ ซึ่งหลายประเทศเผชิญกับปัญหานี้ร่วมกัน และเป็นปัญหาที่จะต้องร่วมมือกันแก้ไขไม่เฉพาะ ระหว่างไทยกับจีนเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
(ข) นอกจากจะสนับสนุนดำริของฝ่ายไทยที่จะจัดประชุมระหว่างประเทศใน ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยยาเสพติด (International Congress : In Pursuit of a Drug Free ASEAN) โดย ร่วมกับ UNDCP ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2543 แล้ว จีนจะเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว ด้วย ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือที่ครบวงจรในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างสัมฤทธิผลต่อไป
(ค) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมีความรับผิดชอบ ร่วมกันในการปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยความจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นประเทศผู้ผลิต ผู้ส่งผ่าน หรือผู้เสพ ซึ่งจะต้องช่วยเหลือและร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ปัญหายาเสพติดจึงเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันของทุกประเทศที่จะร่วมมือ ดังเช่นที่ไทยและจีนได้แสดงให้เห็นถึงการมีความรับผิดชอบ ร่วมกันในเรื่องนี้ตลอดมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
1. เมื่อวันที่27-30 สิงหาคม 2543 ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือเรื่องปัญหายาเสพติด กับบุคคลสำคัญของฝ่ายจีน ดังนี้
1.1 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2543
1.1.1 นาย ไป๋ จิ่งฝู (Bai Jingfu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงรักษาความสงบภายใน
1.1.2 นายหยาง เจี๋ยฉือ (Yang Jiechi) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
1.1.3 นายหลัว ก้าน (Luo Gan) สมาชิกคณะกรรมการโปลิตบุโรพรรคคอมมิวนิสต์จีน และมนตรีแห่งรัฐ
1.2 ที่นครคุนหมิง เมื่อวันที่ 29 และ 30 สิงหาคม 2543
1.2.1 นายหลี่ เจียถิง (Li Jiating) ผู้ว่าการมณฑลยูนนาน
1.2.2 นายหลี่ ฮั่นไป๋ (Li Han Bai) รองผู้ว่าการมณฑลยูนนาน ดูแลด้านการปราบปราม ยาเสพติด
2. สรุปประเด็นการหารือ ดังนี้
2.1 ทั้งฝ่ายจีนและไทยเห็นว่า ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจาก ปัญหาดังกล่าวเป็นภัยไม่เฉพาะแต่กับไทยและจีนเท่านั้น แต่เป็นภัยโดยตรงต่อมนุษยชาติและปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบโดยตรงต่อสังคมและต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และของภูมิภาค
2.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และอย่างครบวงจรรอบด้าน นับตั้งแต่การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล การป้องกันและปราบปราม การควบคุมเคลื่อนย้ายอุปกรณ์และสารเคมี ไปจนถึงการฟื้นฟูบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs จึงเห็นพ้องกันที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดอย่างครบวงจรและเป็นระบบยิ่งขึ้น ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี กล่าวคือ 2.2.1 ในกรอบทวิภาคี
(ก) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะประสานและกระชับความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและประสบการณ์ระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ในการนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ประสานงานติดต่อด้านยาเสพติด (Drug Liaison) ประจำสถานเอกอัครราชทูตในเมืองหลวงของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายจีนเห็นด้วยและสนับสนุน ข้อเสนอของฝ่ายไทยอย่างเต็มที่
(ข) ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการสกัดกั้นสารตั้งต้น ตลอดจนอุปกรณ์และ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตยาบ้า
(ค) ฝ่ายจีนสนับสนุนข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะให้มีความตกลงในรูปของบันทึก ความเข้าใจ (MOU) ซึ่งจะเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่าง สมบูรณ์แบบ
2.2.2 ในกรอบพหุภาคี
(ก) ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสากล มีผลกระทบต่อมวล มนุษยชาติ ซึ่งหลายประเทศเผชิญกับปัญหานี้ร่วมกัน และเป็นปัญหาที่จะต้องร่วมมือกันแก้ไขไม่เฉพาะ ระหว่างไทยกับจีนเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
(ข) นอกจากจะสนับสนุนดำริของฝ่ายไทยที่จะจัดประชุมระหว่างประเทศใน ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยยาเสพติด (International Congress : In Pursuit of a Drug Free ASEAN) โดย ร่วมกับ UNDCP ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2543 แล้ว จีนจะเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว ด้วย ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือที่ครบวงจรในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างสัมฤทธิผลต่อไป
(ค) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมีความรับผิดชอบ ร่วมกันในการปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยความจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นประเทศผู้ผลิต ผู้ส่งผ่าน หรือผู้เสพ ซึ่งจะต้องช่วยเหลือและร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ปัญหายาเสพติดจึงเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันของทุกประเทศที่จะร่วมมือ ดังเช่นที่ไทยและจีนได้แสดงให้เห็นถึงการมีความรับผิดชอบ ร่วมกันในเรื่องนี้ตลอดมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-