ผลการดำเนินงานของ ธสน. มียอดขาดทุนในปี 2542 เนื่องจากการเร่งสำรองให้เต็มภาระที่ต้องสำรองสำหรับหนี้จัดชั้นทั้งหมดและผลกระทบด้านค่าธรรมเนียมจ่าย เนื่องจากการชำระคืนเงินกู้ ADB ก่อนครบกำหนด
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ ธสน. ในปี 2542 ว่า สินทรัพย์รวมของ ธสน. ณ สิ้นปี 2542 เท่ากับ 53,080 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเมื่อสิ้นปี 2541 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 53,193 ล้านบาท ในจำนวนนี้ สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปให้กู้ต่อแก่ผู้ส่งออกลดต่ำลงมาก จนเหลือยอดคงค้างเพียง 4,408 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 ส่วนสินเชื่อที่ ธสน. ให้โดยตรงแก่ผู้ส่งออกในประเทศและนักลงทุนไทยที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น 23% จากยอดคงค้างเมื่อสิ้นปี 2541
สำหรับปริมาณธุรกิจสะสมของ ธสน. ตลอดทั้งปี 2542 ต่ำกว่าปี 2541 ถึง 33% โดยลดลงจาก 285,822 ล้านบาท ในปี 2541 เหลือ 190,222 ล้านบาท ในปี 2542 สำเหตุสำคัญเนื่องมาจากปริมาณธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 46% จาก 215,638 ล้านบาท ในปี 2541 เหลือเพียง 116,177 ล้านบาท ในปี 2542 ในขณะที่ ปริมาณธุรกิจที่ ธสน. ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น 6% จาก 70,184 ล้านบาทในปี 2541 เป็น 74,045 ล้านบาท ในปี 2542
ส่วนความสามารถในการทำกำไรนั้น ธสน. มีกำไรก่อนกันสำรองและค่าตัดจ่ายพิเศษ 1,275 ล้านบาท ในปี 2542 ลดลงจาก 1,635 ล้านบาท เมื่อปี 2541 ในปี 2542 นี้ ธสน. กันสำรองหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออกเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,568 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกันสำรองเต็ม 100% ของภาระที่ต้องสำรองสำหรับ NPL ทั้งหมดของ ธสน. (Full Provision) ในปี 2542 โดยใช้เกณฑ์หนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนเป็น NPL เมื่อรวมกับการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 99 ล้านบาทแล้ว ทำให้ผลการดำเนินงานของ ธสน. ขาดทุนจำนวน 392 ล้านบาท
นอกจากนี้ในปี 2542 ธสน. ต้องชำระคืนเงินกู้ ADB Co-Financing ก่อนครบกำหนดเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไม่มีความต้องการใช้เงินกู้ดังกล่าว เป็นผลให้ ธสน. จำเป็นต้องตัดจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้ ADB ทั้งหมด จำนวน 429 ล้านบาท ในปี 2542 นี้ แทนที่จะทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในช่วง 4 ปีข้างหน้าตามอายุของเงินกู้ การตัดจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้ ADB ทั้งหมดในครั้งนี้ทำให้ผลการดำเนินงานของ ธสน. ในปี 2542 มียอดขาดทุนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 821 ล้านบาท
กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยถึงแนวทางการทำธุรกิจของ ธสน. ในปี 2543 ว่า ธสน. ได้ปรับนโยบายธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยกลับไปเน้นการทำหน้าที่ธนาคารเฉพาะกิจ กล่าวคือให้บริการสินเชื่อเสริมในจุดที่ธนาคารพาณิชย์ยังดูแลไม่ทั่วถึงหรือไม่เพียงพอ เช่น ผู้ส่งออกรายย่อยและรายใหญ่ ฯลฯ ตลอดจนการให้สินเชื่อเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เช่น สินเชื่อพาณิชย์นาวี สินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร รวมทั้งบริการประกันการส่งออกซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ ธสน. ดำเนินการอยู่ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2543--
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ ธสน. ในปี 2542 ว่า สินทรัพย์รวมของ ธสน. ณ สิ้นปี 2542 เท่ากับ 53,080 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเมื่อสิ้นปี 2541 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 53,193 ล้านบาท ในจำนวนนี้ สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปให้กู้ต่อแก่ผู้ส่งออกลดต่ำลงมาก จนเหลือยอดคงค้างเพียง 4,408 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 ส่วนสินเชื่อที่ ธสน. ให้โดยตรงแก่ผู้ส่งออกในประเทศและนักลงทุนไทยที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น 23% จากยอดคงค้างเมื่อสิ้นปี 2541
สำหรับปริมาณธุรกิจสะสมของ ธสน. ตลอดทั้งปี 2542 ต่ำกว่าปี 2541 ถึง 33% โดยลดลงจาก 285,822 ล้านบาท ในปี 2541 เหลือ 190,222 ล้านบาท ในปี 2542 สำเหตุสำคัญเนื่องมาจากปริมาณธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 46% จาก 215,638 ล้านบาท ในปี 2541 เหลือเพียง 116,177 ล้านบาท ในปี 2542 ในขณะที่ ปริมาณธุรกิจที่ ธสน. ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น 6% จาก 70,184 ล้านบาทในปี 2541 เป็น 74,045 ล้านบาท ในปี 2542
ส่วนความสามารถในการทำกำไรนั้น ธสน. มีกำไรก่อนกันสำรองและค่าตัดจ่ายพิเศษ 1,275 ล้านบาท ในปี 2542 ลดลงจาก 1,635 ล้านบาท เมื่อปี 2541 ในปี 2542 นี้ ธสน. กันสำรองหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออกเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,568 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกันสำรองเต็ม 100% ของภาระที่ต้องสำรองสำหรับ NPL ทั้งหมดของ ธสน. (Full Provision) ในปี 2542 โดยใช้เกณฑ์หนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนเป็น NPL เมื่อรวมกับการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 99 ล้านบาทแล้ว ทำให้ผลการดำเนินงานของ ธสน. ขาดทุนจำนวน 392 ล้านบาท
นอกจากนี้ในปี 2542 ธสน. ต้องชำระคืนเงินกู้ ADB Co-Financing ก่อนครบกำหนดเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไม่มีความต้องการใช้เงินกู้ดังกล่าว เป็นผลให้ ธสน. จำเป็นต้องตัดจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้ ADB ทั้งหมด จำนวน 429 ล้านบาท ในปี 2542 นี้ แทนที่จะทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในช่วง 4 ปีข้างหน้าตามอายุของเงินกู้ การตัดจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้ ADB ทั้งหมดในครั้งนี้ทำให้ผลการดำเนินงานของ ธสน. ในปี 2542 มียอดขาดทุนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 821 ล้านบาท
กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยถึงแนวทางการทำธุรกิจของ ธสน. ในปี 2543 ว่า ธสน. ได้ปรับนโยบายธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยกลับไปเน้นการทำหน้าที่ธนาคารเฉพาะกิจ กล่าวคือให้บริการสินเชื่อเสริมในจุดที่ธนาคารพาณิชย์ยังดูแลไม่ทั่วถึงหรือไม่เพียงพอ เช่น ผู้ส่งออกรายย่อยและรายใหญ่ ฯลฯ ตลอดจนการให้สินเชื่อเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เช่น สินเชื่อพาณิชย์นาวี สินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร รวมทั้งบริการประกันการส่งออกซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ ธสน. ดำเนินการอยู่ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2543--