นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภาระบุว่าเรื่องที่ฝ่ายค้านยื่นขอให้ส่งเรื่องปัญหาความขัดแย้งทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ไม่เข้าข่ายมาตรา 266 ที่จะใช้อำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า รู้สึกเสียดาย เพราะคิดว่าแนวทางของการที่จะคลี่คลายเรื่องนี้อย่างดีที่สุดน่าจะเป็นการใช้ช่องทางของรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และตนก็เชื่อว่าไม่เกินความสามารถของประธานรัฐสภาที่จะใช้ช่องทางนี้ โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เพราะตอนนี้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องของอำนาจหน้าที่ และอาจจะไม่ต้องถามในเรื่องคุณสมบัติของคุณหญิงจารุวรรณ แต่สามารถที่จะถามเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดว่า สิ่งที่วุฒิสภาดำเนินการนั้น ควรจะดำเนินการไปในทางไหน และนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาควรจะดำเนินการในเรื่องนี้ต่ออย่างไร เมื่อวุฒิสภามีมติเลือกนายวิสุทธิ์ มนตริวัติ เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อย่างไรก็ตามการที่ประธานรัฐสภาจะไม่ส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก็ถือเป็นอำนาจและเป็นความรับผิดชอบของประธานรัฐสภาเอง
‘ผมเพียงแต่เสียดายว่า เราได้เสนอแนะทางออกที่เราคิดว่าเป็นไปได้ และน่าจะเป็นวิธีการในการคลี่คลายวิกฤตินี้ได้ดี แต่เมื่อท่านประธานรัฐสภาจะไม่ส่ง ก็ต้องขึ้นอยู่กับประธานวุฒิสภาว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป เมื่อเราส่งเรื่องไปให้แล้วท่านประธานรัฐสภาปฏิเสธแนวทางนี้ ก็คงต้องดูว่าท่านและท่านประธานวุฒิสภาจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร โดยที่ไม่สร้างปัญหาเพิ่มเติมในสังคม’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่นายโภคินระบุว่าเหตุที่ไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพราะทางวุฒิสภาไม่ได้สงสัยในอำนาจของตัวเองนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากวุฒิสภาสงสัย ก็สามารถถามเองได้ในฐานะขององค์กร ไม่จำเป็นต้องร้องขอมายังประธานรัฐสภา แต่ที่รัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ให้อำนาจประธานรัฐสภาก็คือ เพื่อใช้ในกรณีที่องค์กรนั้นไม่ได้ร้องขอ แต่ประธานรัฐสภาเห็นว่าควรหาคำตอบ และตนยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่ได้ส่งเรื่องให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องให้ตีความคุณสมบัติของบุคคล แต่ต้องการให้ประธานรัฐสภาได้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องของอำนาจหน้าที่ขององค์กร และตนเชื่อว่าไม่ได้เกินความสามารถของประธานรัฐสภาที่จะตั้งคำถามไปได้
ส่วนกรณีที่ประธานวุฒิสภาแนะให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาไปสมัครเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คนละประเด็นกัน เพราะเวลานี้คงไม่ใช่ประเด็นที่จะมาหาคำตอบจากตัวบุคคล เพราะได้กลายเป็นความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของความชอบหรือไม่ชอบในกระบวนการต่าง ๆ
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่กรรมการป.ป.ช.อีก 8 คนที่เหลือลาออกจากการเป็นป.ป.ช.ว่า ไม่เกินวันพรุ่งนี้ (31 พ.ค.) พรรคจะได้ข้อยุติเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยในวันนี้กำลังดูรายละเอียดของถ้อยคำและสาระเพื่อที่จะปรึกษากับทางพรรคชาติไทย เพราะพรรคจะใช้ชื่อ 2 พรรคในการเสนอแก้ไข ทั้งนี้ในความเห็นที่ยังไม่ตรงกันว่าจะให้ตัวแทนของประชาชนส่วนไหนมาร่วมเป็นกรรมการสรรหาแทนตัวแทนพรรคการเมืองนั้น ต้องพิจารณาร่วมกัน ซึ่งในส่วนของหลักการที่จะให้มีตัวแทนของประชาชนหากสามารถที่จะกำหนดรูปแบบให้เป็นที่ยอมรับได้ ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ที่ผ่านมาเกิดปัญหาหลายครั้ง โดยก่อนหน้านี้ตนเข้าใจว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็มองว่า พรรคการเมืองจะเป็นตัวแทนของประชาชน เพราะเป็นผู้แทนอยู่แล้ว แต่พอปฏิบัติกลับเห็นได้ชัดว่า ปัญหาคือความเป็นตัวแทนของพรรคเป็นอุปสรรค และไม่ตรงกับเจตนารมณ์เรื่องความเป็นอิสระขององค์กรเหล่านี้ หรือในกรณีขององค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ ก็มีความพยายามเขียนในกฎหมายหลายฉบับ แต่ที่ผ่านมามักจะมีปัญหา โดยกรณีเลือกคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พอพยายามจะหาตัวแทนขององค์กรภาคประชาชน ก็ไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ ดังนั้นหากมีใครสามารถที่จะหาคำตอบตรงนี้ได้ ก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้ายังไม่สามารถที่จะหาคำตอบตรงนี้ได้ ก็มีทางเลือกอื่น ซึ่งขณะนี้ตนคิดว่าการได้ตัวแทนของฝ่ายตุลาการหรือองค์กรอิสระกับตัวแทนของภาควิชาการ น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสม ‘ไม่มีปัญหา พรุ่งนี้คงได้ข้อยุติร่วมกัน เพราะทุกคนก็ตระหนักถึงความเร่งด่วนของเรื่อง และจะเอาจุดใหญ่ก่อน คือเราถอดการแทรกแซงทางการเมืองออกให้เห็นเป็นรูปธรรม’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่คิดที่จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่น เพราะไม่ต้องการให้เกิดความสับสน และถือว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เป็นการตัดอำนาจของพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้เสนอเอง และเป็นเรื่องของการที่จะรักษาไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องขององค์กรอิสระ ในขณะที่ประเด็นอื่นยังมีข้อโต้แย้ง หากนำไปเสนอพร้อมกันจะเป็นอุปสรรคในการผลักดันเรื่องนี้ สำหรับกรอบเวลาในการพิจารณาเลือกกรรมการป.ป.ช.ภายใน 30 วันจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็สามารถเขียนบทเฉพาะกาลเพื่อมารองรับกับสถานการณ์ในขณะนั้นได้
ส่วนที่นายโภคิน ระบุว่าในส่วนของตัวแทนพรรคการเมือง แม้มีไม่ถึง 5พรรคก็สามารถที่จะพิจารณาเลือกกรรมการสรรหาได้โดยไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นความเห็นของนายโภคิน แต่หากวันหนึ่งคนอื่นมีความเห็นว่าไม่ได้เป็นเช่นนี้ และได้มีการสรรหาไปแล้วเกิดปัญหาร้องเรียนกันอีก ก็จะย้อนรอยปัญหาความชอบหรือไม่ชอบในเรื่องของกระบวนการสรรหากันอีก และที่สำคัญวันนี้มาถึงโอกาสทองที่พรรคการเมืองจะแสดงท่าทีที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการสรรห
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีบอกว่าหากมีประเด็นอื่นที่ประชาชนอยากจะแก้ไขก็ให้เสนอมาได้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขออย่าทำให้เกิดความสับสนเลย และที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลไม่เคยพูดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พรรคประชาธิปัตย์พูดชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าเกิดปัญหาขึ้นเรื่องตัวแทนพรรคการเมือง ดังนั้นประเด็นนี้มีความชัดเจนในตัวเองแล้ว และหากเปิดข้อเสนอว่าแก้ไขประเด็นอื่นอีก จะมีข้อเสนอมาอีกเยอะ และอาจเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งสุดท้ายจะทำให้เรื่องที่จำเป็นต้องทำเร่งด่วนจะเสียไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 พ.ค. 2548--จบ--
-ดท-
‘ผมเพียงแต่เสียดายว่า เราได้เสนอแนะทางออกที่เราคิดว่าเป็นไปได้ และน่าจะเป็นวิธีการในการคลี่คลายวิกฤตินี้ได้ดี แต่เมื่อท่านประธานรัฐสภาจะไม่ส่ง ก็ต้องขึ้นอยู่กับประธานวุฒิสภาว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป เมื่อเราส่งเรื่องไปให้แล้วท่านประธานรัฐสภาปฏิเสธแนวทางนี้ ก็คงต้องดูว่าท่านและท่านประธานวุฒิสภาจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร โดยที่ไม่สร้างปัญหาเพิ่มเติมในสังคม’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่นายโภคินระบุว่าเหตุที่ไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพราะทางวุฒิสภาไม่ได้สงสัยในอำนาจของตัวเองนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากวุฒิสภาสงสัย ก็สามารถถามเองได้ในฐานะขององค์กร ไม่จำเป็นต้องร้องขอมายังประธานรัฐสภา แต่ที่รัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ให้อำนาจประธานรัฐสภาก็คือ เพื่อใช้ในกรณีที่องค์กรนั้นไม่ได้ร้องขอ แต่ประธานรัฐสภาเห็นว่าควรหาคำตอบ และตนยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่ได้ส่งเรื่องให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องให้ตีความคุณสมบัติของบุคคล แต่ต้องการให้ประธานรัฐสภาได้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องของอำนาจหน้าที่ขององค์กร และตนเชื่อว่าไม่ได้เกินความสามารถของประธานรัฐสภาที่จะตั้งคำถามไปได้
ส่วนกรณีที่ประธานวุฒิสภาแนะให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาไปสมัครเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คนละประเด็นกัน เพราะเวลานี้คงไม่ใช่ประเด็นที่จะมาหาคำตอบจากตัวบุคคล เพราะได้กลายเป็นความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของความชอบหรือไม่ชอบในกระบวนการต่าง ๆ
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่กรรมการป.ป.ช.อีก 8 คนที่เหลือลาออกจากการเป็นป.ป.ช.ว่า ไม่เกินวันพรุ่งนี้ (31 พ.ค.) พรรคจะได้ข้อยุติเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยในวันนี้กำลังดูรายละเอียดของถ้อยคำและสาระเพื่อที่จะปรึกษากับทางพรรคชาติไทย เพราะพรรคจะใช้ชื่อ 2 พรรคในการเสนอแก้ไข ทั้งนี้ในความเห็นที่ยังไม่ตรงกันว่าจะให้ตัวแทนของประชาชนส่วนไหนมาร่วมเป็นกรรมการสรรหาแทนตัวแทนพรรคการเมืองนั้น ต้องพิจารณาร่วมกัน ซึ่งในส่วนของหลักการที่จะให้มีตัวแทนของประชาชนหากสามารถที่จะกำหนดรูปแบบให้เป็นที่ยอมรับได้ ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ที่ผ่านมาเกิดปัญหาหลายครั้ง โดยก่อนหน้านี้ตนเข้าใจว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็มองว่า พรรคการเมืองจะเป็นตัวแทนของประชาชน เพราะเป็นผู้แทนอยู่แล้ว แต่พอปฏิบัติกลับเห็นได้ชัดว่า ปัญหาคือความเป็นตัวแทนของพรรคเป็นอุปสรรค และไม่ตรงกับเจตนารมณ์เรื่องความเป็นอิสระขององค์กรเหล่านี้ หรือในกรณีขององค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ ก็มีความพยายามเขียนในกฎหมายหลายฉบับ แต่ที่ผ่านมามักจะมีปัญหา โดยกรณีเลือกคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พอพยายามจะหาตัวแทนขององค์กรภาคประชาชน ก็ไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ ดังนั้นหากมีใครสามารถที่จะหาคำตอบตรงนี้ได้ ก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้ายังไม่สามารถที่จะหาคำตอบตรงนี้ได้ ก็มีทางเลือกอื่น ซึ่งขณะนี้ตนคิดว่าการได้ตัวแทนของฝ่ายตุลาการหรือองค์กรอิสระกับตัวแทนของภาควิชาการ น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสม ‘ไม่มีปัญหา พรุ่งนี้คงได้ข้อยุติร่วมกัน เพราะทุกคนก็ตระหนักถึงความเร่งด่วนของเรื่อง และจะเอาจุดใหญ่ก่อน คือเราถอดการแทรกแซงทางการเมืองออกให้เห็นเป็นรูปธรรม’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่คิดที่จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่น เพราะไม่ต้องการให้เกิดความสับสน และถือว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เป็นการตัดอำนาจของพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้เสนอเอง และเป็นเรื่องของการที่จะรักษาไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องขององค์กรอิสระ ในขณะที่ประเด็นอื่นยังมีข้อโต้แย้ง หากนำไปเสนอพร้อมกันจะเป็นอุปสรรคในการผลักดันเรื่องนี้ สำหรับกรอบเวลาในการพิจารณาเลือกกรรมการป.ป.ช.ภายใน 30 วันจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็สามารถเขียนบทเฉพาะกาลเพื่อมารองรับกับสถานการณ์ในขณะนั้นได้
ส่วนที่นายโภคิน ระบุว่าในส่วนของตัวแทนพรรคการเมือง แม้มีไม่ถึง 5พรรคก็สามารถที่จะพิจารณาเลือกกรรมการสรรหาได้โดยไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นความเห็นของนายโภคิน แต่หากวันหนึ่งคนอื่นมีความเห็นว่าไม่ได้เป็นเช่นนี้ และได้มีการสรรหาไปแล้วเกิดปัญหาร้องเรียนกันอีก ก็จะย้อนรอยปัญหาความชอบหรือไม่ชอบในเรื่องของกระบวนการสรรหากันอีก และที่สำคัญวันนี้มาถึงโอกาสทองที่พรรคการเมืองจะแสดงท่าทีที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการสรรห
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีบอกว่าหากมีประเด็นอื่นที่ประชาชนอยากจะแก้ไขก็ให้เสนอมาได้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขออย่าทำให้เกิดความสับสนเลย และที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลไม่เคยพูดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พรรคประชาธิปัตย์พูดชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าเกิดปัญหาขึ้นเรื่องตัวแทนพรรคการเมือง ดังนั้นประเด็นนี้มีความชัดเจนในตัวเองแล้ว และหากเปิดข้อเสนอว่าแก้ไขประเด็นอื่นอีก จะมีข้อเสนอมาอีกเยอะ และอาจเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งสุดท้ายจะทำให้เรื่องที่จำเป็นต้องทำเร่งด่วนจะเสียไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 พ.ค. 2548--จบ--
-ดท-