นายวิทูร ตุลยานนท์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) โดย นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 มีวาระการรายงานให้ที่ประชุมทราบ เรื่อง ผลการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการในเรื่องนโยบายความปลอดภัยของอาหารของ สหภาพยุโรป ดังนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการในเรื่องนโยบายความปลอดภัยของอาหารของ สหภาพยุโรป ซึ่งมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน ได้กำหนดท่าทีและข้อคิดเห็นของประเทศไทย ต่อ "สมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของอาหาร" ของสหภาพยุโรปซึ่งได้รับความเห็นชอบจากประธาน กนศ. แล้วและได้ส่งข้อสรุปท่าทีไทยให้กระทรวงการต่างประเทศสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศฯ ณ กรุงบรัสเซลส์เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อปลายเดือนเมษายน 2543
ข้อสรุปท่าทีไทยในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย
(1) นโยบายและการดำเนินการตามสมุดปกขาวของสหภาพฯ ต้องไม่ขัดต่อพันธความตกลงภายใต้ องค์การการค้าโลก
(2) การดำเนินการรวมทั้งกฎระเบียบที่สหภาพฯจะนำมาบังคับใช้ ควรเน้นการปฏิบัติที่เท่าเทียมและ ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสหภาพฯ กับประเทศที่สาม
(3) การกำหนดกฎระเบียบมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารต้องอ้างอิงการปฏิบัติโดยใช้มาตรฐาน ความปลอดภัยสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
(4) การดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายสมุดปกขาวควรเป็นไปด้วยความโปร่งใส และไม่มีเจตนาในการ กีดกันทางการค้าแอบแฝง
(5) สหภาพฯ ควรพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ หรือมาตรการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของความสามารถในการปรับตัวและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามประเภทอุตสาหกรรมเป็นหลัก
(6) ขอให้สหภาพฯพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของธุรกิจในประเทศที่สาม เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานที่สหภาพฯ กำหนด และลดความเสี่ยงของผู้บริโภคในสหภาพฯ จากการบริโภคอาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ
นอกจากนี้ ยังได้เสนอข้อคิดเห็นในรายละเอียดเกี่ยวกับสมุดปกขาวฯ อีก 2 ประเด็น คือ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง European Food Authority (EFA) และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนอื่นๆ ในสมุดปกขาวที่จะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยกับสหภาพฯ ด้วย
--กรมการส่งเสริมการส่งออก มิถุนายน 2543--
-ยก-
ข้อสรุปท่าทีไทยในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย
(1) นโยบายและการดำเนินการตามสมุดปกขาวของสหภาพฯ ต้องไม่ขัดต่อพันธความตกลงภายใต้ องค์การการค้าโลก
(2) การดำเนินการรวมทั้งกฎระเบียบที่สหภาพฯจะนำมาบังคับใช้ ควรเน้นการปฏิบัติที่เท่าเทียมและ ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสหภาพฯ กับประเทศที่สาม
(3) การกำหนดกฎระเบียบมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารต้องอ้างอิงการปฏิบัติโดยใช้มาตรฐาน ความปลอดภัยสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
(4) การดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายสมุดปกขาวควรเป็นไปด้วยความโปร่งใส และไม่มีเจตนาในการ กีดกันทางการค้าแอบแฝง
(5) สหภาพฯ ควรพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ หรือมาตรการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของความสามารถในการปรับตัวและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามประเภทอุตสาหกรรมเป็นหลัก
(6) ขอให้สหภาพฯพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของธุรกิจในประเทศที่สาม เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานที่สหภาพฯ กำหนด และลดความเสี่ยงของผู้บริโภคในสหภาพฯ จากการบริโภคอาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ
นอกจากนี้ ยังได้เสนอข้อคิดเห็นในรายละเอียดเกี่ยวกับสมุดปกขาวฯ อีก 2 ประเด็น คือ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง European Food Authority (EFA) และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนอื่นๆ ในสมุดปกขาวที่จะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยกับสหภาพฯ ด้วย
--กรมการส่งเสริมการส่งออก มิถุนายน 2543--
-ยก-