บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม
ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถามของ นายธีระชัย ศิริขันธ์ เรื่อง มาตรการแก้ไข
ปัญหาด้านการเกษตรแบบยั่งยืน ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) และรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถามของ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เรื่อง การจัดการ
อิทธิพลและอำนาจมืด ถาม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถามของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง ปัญหาของชาวนา
โรงสี พ่อค้าส่งออกต่อนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ถาม นายกรัฐมนตรี
ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถามของ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ เรื่อง การเสนอภาพโป๊
ของสื่อหนังสือพิมพ์ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถามของ นายพายัพ ปั้นเกตุ เรื่อง การส่งเสริมพืช
เศรษฐกิจที่สำคัญในพื้นที่ ๖ จังหวัด ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายนที ขลิบทอง) ได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ตอบ โดยในระหว่างการพิจารณากระทู้ถามนี้ รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
๒.๓ กระทู้ถามของ นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ เรื่อง การขาดแคลน
สาธารณูปโภคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. …. รวมผู้เสนอ ๖ ฉบับ คือ
(๑) คณะรัฐมนตรี
(๒) นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ กับคณะ
(๓) นายปรีชา มุสิกุล กับคณะ
(๔) นายอำนวย คลังผา และว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
(๕) นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร และพันตำรวจเอก ทิน วงศ์ปลั่ง
(๖) นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล และนายชลน่าน ศรีแก้ว
โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑
ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราช
บัญญัติทั้ง ๖ ฉบับ พร้อมกันไปและมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน
๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ๒. นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
๓. พันโท ต่อพงษ์ กุลครรชิต ๔. นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา
๕. นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ๖. ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
๗. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง ๘. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
๙. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ๑๐. นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง
๑๑. นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ๑๒. นายอุดมเดช รัตนเสถียร
๑๓. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๑๔. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
๑๕. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ๑๖. นายสุธา ชันแสง
๑๗. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๘. นายมงคล กิมสูนจันทร์
๑๙. นายเสริมสุข เหลาหชัยอรุณ ๒๐. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
๒๑. นางระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์ ๒๒. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๒๓. นายปรีชา มุสิกุล ๒๔. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๕. นายอุทัย สุดสุข ๒๖. นายสมนึก อมรสิริพาณิชย์
๒๗. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ ๒๘. นายชัยพร ทองประเสริฐ
๒๙. นางยุพดี ศิริสินสุข ๓๐. นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร
๓๑. นายวิทูร กรุณา ๓๒. นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์
๓๓. นายประภาส วีระเสถียร ๓๔. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๓๕. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษา
ที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗.๒ และ ๗.๓ ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิทยา บันทุปา เป็นกรรมาธิการแทน
นายไพศาล จันทวารา
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายไพศาล จันทวารา เป็นกรรมาธิการแทน
นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๔๐ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๖ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๖ ฉบับ)
********************************
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม
ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถามของ นายธีระชัย ศิริขันธ์ เรื่อง มาตรการแก้ไข
ปัญหาด้านการเกษตรแบบยั่งยืน ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) และรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถามของ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เรื่อง การจัดการ
อิทธิพลและอำนาจมืด ถาม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถามของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง ปัญหาของชาวนา
โรงสี พ่อค้าส่งออกต่อนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ถาม นายกรัฐมนตรี
ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถามของ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ เรื่อง การเสนอภาพโป๊
ของสื่อหนังสือพิมพ์ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถามของ นายพายัพ ปั้นเกตุ เรื่อง การส่งเสริมพืช
เศรษฐกิจที่สำคัญในพื้นที่ ๖ จังหวัด ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายนที ขลิบทอง) ได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ตอบ โดยในระหว่างการพิจารณากระทู้ถามนี้ รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
๒.๓ กระทู้ถามของ นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ เรื่อง การขาดแคลน
สาธารณูปโภคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. …. รวมผู้เสนอ ๖ ฉบับ คือ
(๑) คณะรัฐมนตรี
(๒) นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ กับคณะ
(๓) นายปรีชา มุสิกุล กับคณะ
(๔) นายอำนวย คลังผา และว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
(๕) นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร และพันตำรวจเอก ทิน วงศ์ปลั่ง
(๖) นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล และนายชลน่าน ศรีแก้ว
โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑
ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราช
บัญญัติทั้ง ๖ ฉบับ พร้อมกันไปและมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน
๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ๒. นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
๓. พันโท ต่อพงษ์ กุลครรชิต ๔. นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา
๕. นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ๖. ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
๗. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง ๘. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
๙. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ ๑๐. นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง
๑๑. นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ๑๒. นายอุดมเดช รัตนเสถียร
๑๓. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๑๔. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
๑๕. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ๑๖. นายสุธา ชันแสง
๑๗. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๘. นายมงคล กิมสูนจันทร์
๑๙. นายเสริมสุข เหลาหชัยอรุณ ๒๐. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
๒๑. นางระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์ ๒๒. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๒๓. นายปรีชา มุสิกุล ๒๔. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๕. นายอุทัย สุดสุข ๒๖. นายสมนึก อมรสิริพาณิชย์
๒๗. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ ๒๘. นายชัยพร ทองประเสริฐ
๒๙. นางยุพดี ศิริสินสุข ๓๐. นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร
๓๑. นายวิทูร กรุณา ๓๒. นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์
๓๓. นายประภาส วีระเสถียร ๓๔. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๓๕. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษา
ที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗.๒ และ ๗.๓ ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิทยา บันทุปา เป็นกรรมาธิการแทน
นายไพศาล จันทวารา
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายไพศาล จันทวารา เป็นกรรมาธิการแทน
นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๔๐ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๖ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๖ ฉบับ)
********************************