คำกล่าว ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในการเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการการกำหนดยุทธศาสตร์การประกันภัยแห่งชาติ ณ หอประชุมสถาบันราชภัฏสวนดุสิต วันพุธที่ 12 มีนาคม 2546 เวลา 09.20 น.
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ท่านปลัด ท่านอธิบดี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ตลอดจนผู้แทนสมาคมภาคธุรกิจประกันภัย
ผู้แทนฝ่ายวิชาการ ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพรักทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมประชุมกำหนดยุทธศาสตร์การประกันภัยแห่งชาติในวันนี้ หน้าที่ของรัฐบาล คือว่าทำอย่างไรถึงจะให้ระบบที่มีกลุ่มคนตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสมดุล เพื่อให้เป็นหุ้นส่วนที่จะสร้างความเจริญให้กับภาคนั้นๆ ซึ่งผมเองได้ให้เวลากับภาคเอกชนในทุกๆ วันศุกร์ เพื่อให้มาพบกัน มาบอกกับผมว่าการทำมาหากินของเขามีอุปสรรคอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลมีกฎกติกาอะไรที่มากไปน้อยไป ที่ทำให้เขาทำงานไม่สะดวก ผมรับฟังและได้แก้ไขไปหลายภาคธุรกิจแล้ววันนี้ภาคประกันภัยก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมกำหนดยุทธศาสตร์โดยการเอาทุกๆ ฝ่ายมานั่งคุยกัน ร่วมกันคิดร่วมกันทำ และหาทางออกด้วยกัน
ประเทศไทยเราและหลายๆประเทศเช่นกันได้รับอิทธิพลของระบบคิดที่เป็นความคิดที่เรียกว่า division of labor คือต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ โดยมีการร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันน้อยมาก ความคิดของการเป็นหุ้นส่วนไม่ค่อยเกิด ความคิดของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือ citizen center government หรือ customer center company ก็ยังไม่ค่อยเกิด วันนี้โลกเปลี่ยนความคิดเหล่านี้เปลี่ยนหมดแล้วเรื่องของการเป็นหุ้นส่วน เรื่องของการมีส่วนร่วม เรื่องของรัฐบาลที่ดีต้องเป็น citizen center government เรื่องของบริษัทที่ดีต้องเป็น customer center company เป็นเรื่องที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาไปตรงนี้หมดแล้ว และวันนี้ประเทศไทยเราเริ่ม เปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่เป็น citizen center governmentบางคนไม่เข้าใจก็ออกมาโจมตีรัฐบาล แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นคือความคิดที่ล้าสมัยมากและตามไม่ทัน
สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำวันนี้และพวกท่านทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจประกันภัยที่เรามารวมกัน วันนี้ เรากำลังจะทำให้ภาคธุรกิจประกันภัยนั้นเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ภาพรวมของรัฐบาลแน่นอนครับ ส่วนหนึ่งที่เราพูดกันตลอดเวลา สองวันนี้ทางเลขาฯ กลต. เพิ่งพูดว่าประเทศไทยเราใช้เงินออมอยู่ในภาคเดียว คือภาคธนาคารมากถึง 80 % ซึ่งในโลกยุคใหม่เขาไม่ต้องการเอาไข่ทั้งหมดอยู่ในตะกร้าใบเดียว ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเหมือนที่ผ่านมา ระบบธนาคารพังก็หมดทั้งประเทศเพราะไม่มีอะไรสมดุล หน้าที่ที่สมดุลจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญ เพราะฉะนั้นวันนี้รัฐบาลเองก็อยากจะเห็นการกระจายความเสี่ยง ไม่ใช่เรื่องของแค่เงินออมอย่างเดียว เรื่องของเงินออมของประเทศนั้นแน่นอนการกระจายความเสี่ยง การประกันชีวิต ก็เป็นอันหนึ่งที่เป็นการ กระจายความเสี่ยงของภาคการออม
ถ้าหากว่าทุกวงการมีคำว่าความเป็นมืออาชีพ ข้อแรกที่ผมพูดนี้ความรู้จริงในวิชา เขามีวิชาการเรียนเขามีวิชาการกระจายความเสี่ยง ซึ่งผมก็เห็นใจและเข้าใจบริษัทประกันเล็กๆ ที่มีลูกค้าน้อยๆ ก็เจอค่าใช้จ่ายค่าพนักงาน ค่าอะไรต่ออะไรไป เงินก็หมด มีเบี้ยน้อยก็เก็บเบี้ยไว้เอง รับกินรับใช้แต่ผู้เดียว ผลสุดท้ายบริษัทพังเอง ลูกค้าไฟไหม้บริษัทก็ไหม้ด้วย นี่เป็นสิ่งที่ผมเป็นห่วง แต่แน่นอนครับส่วนใหญ่ไม่เป็น ส่วนน้อยอาจจะเป็นเพราะเนื่องจากว่าเบี้ยประกันน้อยหรืออะไรก็แล้วแต่ ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ แต่ความเป็นมืออาชีพแรกที่สำคัญคือต้องรู้จริง ท่านจะต้องจ้างมืออาชีพ และแน่นอนผู้ควบคุมคือกรมการประกันภัยต้องรู้จริงอีกเหมือนกัน แต่รู้จริงคนเดียวไม่ได้ ต้องรู้และแบ่งปันในอุตสาหกรรม แล้วอุตสาหกรรมจะมีการปรับเปลี่ยน ภาคธุรกิจจะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในเมื่อโลกพัฒนา เพราะฉะนั้นเรื่องของความรู้จริงในวิชาชีพเป็นหัวใจของความสำเร็จในข้อที่ 1
ส่วนข้อที่ 2 ของความเป็นมืออาชีพ คือจรรยาบรรณในวิชาชีพ ถ้าวิชาชีพไหนไร้ซึ่งจรรยาบรรณขาดระบบการควบคุมตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันเอง โดยระบบจรรยาบรรณนั้น กลุ่มวิชาชีพนั้นจะเป็นวิชาชีพที่น่ารังเกียจ เพราะเป็นวิชาชีพที่คนมองว่าจ้องแต่จะเอาประโยชน์จากประชาชนและลูกค้า ซึ่งเสียหายเพราะฉะนั้นการที่เรามีจรรยาบรรณ กำหนดกันเอง นั่งคุยกันประชุมกันว่าจรรยาบรรณในวิชาชีพของบริษัทประกันภัยที่ดีคืออะไร ประกันชีวิตคืออะไร แล้วมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง ตรงนั้นจะทำให้วิชาชีพของท่านเป็นวิชาชีพที่มีแต่คนยอมรับ ยกย่องสรรเสริญโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา เราไม่ต้องไปบอกเขาว่าเราหล่อเราเท่ เพราะพฤติกรรมต่างหากที่จะบอก เพราะฉะนั้นจรรยาบรรณในวิชาชีพกับความรู้จริงประกอบกันสองอย่างเรียกว่ามืออาชีพ ผมอยากเห็นประกันภัย ประกันชีวิตมีความเป็นมืออาชีพที่สูงขึ้น มาตรฐานดีขึ้น ผมเข้าใจที่ผ่านมา คือเราไม่ต้องพูดเรื่องอดีต เราพูดเรื่องอนาคต มองไปข้างหน้า วันนี้คนยุคใหม่ไม่ต้องไปเสียเวลาและไม่ต้องหลงใหลกับความสำเร็จในอดีตจนผลสุดท้ายก็เป็นกับดักของอนาคต และไม่ต้องไปนั่งต่อว่ากันในอดีต เราคิดอย่างเดียวว่าวันนี้เราจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมนี้ ให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ประชาชนศรัทธา และเป็นทางเลือกในการออมเงิน ของประชาชน คือประกันชีวิต เป็นสิ่งที่ประชาชนจะฝากความเสี่ยงไว้ว่าถ้าเขาไม่อยู่บ้าน ไฟไหม้บ้านแล้วเขาไม่ต้องหมดตัว
สมัยที่ผมเรียนที่อเมริกา ผมไม่ประกันภัยรถตัวเอง ซึ่งเสี่ยงมากเพราะความไม่รู้ ไม่รู้ว่าว่าในอเมริกานั้นเรียกค่าชดใช้กันหนักขนาดไหน คือตอนแรกผมซื้อรถเก่า ซื้อเงินสดซึ่งเขาไม่บังคับ แต่ถ้าซื้อเงินผ่อนธนาคารบังคับ แต่ว่าซื้อเงินสดนี้รถเก่าๆ ถูกๆอันตรายมาก ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเรียกว่าผมเงินก็ไม่มี รับทุน ก.พ.เดือนละ 160 เหรียญ ก็คงไม่เหลืออะไร นี่คือสิ่งที่ผมเสี่ยง ผมมานั่งนึกย้อนกลับมาทีหลังว่าทำไมผมเสี่ยงวันนั้น นี่โชคดีที่ผมรอด ถ้าเกิดผมไปชนคนขาหัก เขาเรียกค่าชดเชยผม หมดเลยนะ เพราะในอเมริการะบบพวกนี้รุนแรง ประเทศไทยก็เช่นกัน บางครั้งหลายคนไม่รู้ครับ คือคนไทยชอบเสี่ยงอยู่แล้ว ซึ่งความชอบเสี่ยงของคนไทยนี้ต้องไม่นำมาสู่ของบริษัทเองชอบเสี่ยงด้วย บริษัทอย่าไปเสี่ยงรับกินรับใช้เองไม่ได้นะ อีกครั้งหนึ่งนี่คือนิสัยคนไทย ตอนที่ผมทำธุรกิจ ผมต้องยิงดาวเทียมไทยคม ค่า เบี้ยประกันภัย 17 % ต่อรองมาแล้วเหลือ 15 % ซึ่ง 15 % นี่หลายบาท ตอนนั้นผมจำไม่ได้ หลายร้อยล้านบาท แล้วผมตอนนั้นเงินสดมีมาก กำลังรวยพอดี เพิ่งรวยใหม่ๆ เข้าใจว่าถ้าผมจำไม่ผิด 2,000 กว่าล้านบาท ถ้าสมมติว่าเกิดมีอะไรเกิดขึ้นก็หมดไป 2,000 กว่าล้านบาท แต่ว่าเราต้องใช้ประมาณ 300 กว่าล้านบาทในการเสียค่าเบี้ยประกัน ก็มีความรู้สึกอยากจะเสี่ยง นี่คือนิสัยคนไทยซึ่งไม่ใช่ดี ตอนหลังมาพรรคพวกพยายามบอกผมว่าอย่าทำเลยจ่ายเถอะ ผมก็เลยจ่ายไปทั้งๆ ที่เสียดาย แล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นี่คือจุดหนึ่งที่จะ break barrier ว่าทำอย่างไรถึงจะให้คนไทยมาเป็นลูกค้า นี่คือนิสัยคนไทย และอีกมุมหนึ่งนิสัยคนไทย คือผมอีกเหมือนกัน ถ้าถูกบังคับก็ต้องทำ ในวันที่ผมต้องไปกู้เงินธนาคารทหารไทย ในวันนั้นผมไม่มีหลักทรัพย์อะไรเลย มีแต่โครงการเอาไปให้ ธนาคารเขาก็ศรัทธาว่าผมทำได้ แล้วถ้าผมมีปัญหาคือว่าถ้าผมตายแล้วจะทำอย่างไร ก็บังคับให้ผมประกันชีวิต ผมก็ไปไล่ประกันชีวิต ผลสุดท้ายเขามีผลออกมาว่าผมประกันเท่าไร วันนั้นผมประกันเข้าใจว่าประมาณ 67 ล้านบาท เขาบอกว่าผมประกันมากกว่าคุณอุเทน ฯ อีก ซึ่งวันนั้นคุณอุเทน ฯ ถือว่ารวยมาก รวยกว่าผม
ผลสุดท้ายเขาหยุด แต่ผมต้องกู้เงินเป็นร้อยล้านบาท ธนาคารก็บังคับ แล้วประกันชีวิตได้แค่นั้นเพราะว่าเขาบอกว่าไม่ได้แล้ว มากไป เขาก็กลัวว่าผมจะฆ่าตัวตายเอาประกัน นี่คือสิ่งที่ให้รู้ว่าคนไทยถ้ามีกติกาบังคับก็ทำ ไม่มีกติกาบังคับจะคำนวณความเสี่ยงเอาเอง แต่ความเสี่ยงนี้บางครั้งเราก็รู้ว่าคนแทงหวยทุกวันนี้ความเป็นไปได้ในการถูกหวยน้อย แทงเลขท้ายสองตัว 100 ครั้งถ้าเปลี่ยนเลขตลอดเวลาดีไม่ดีไม่ถูกสักครั้ง ถ้าถูกก็ยังได้เงินน้อยกว่าที่แทง แต่คนไทยก็ยังอดเสี่ยงไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เราจะต้องพูดกันว่าทำอย่างไรถึงจะฝ่าฟันอุปสรรคของวัฒนธรรมแบบนี้ได้ ไม่บังคับ ไม่ทำ บังคับก็ทำ อยากจะให้ช่วงเวลาที่เราอยู่กันนี้ได้คุยกันให้ชัดเจน สิ่งที่สำคัญที่เรามาคุยกันตรงนี้ เราต้องการแก้ปัญหาร่วมกัน คือรัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 3 กลุ่มนี้จะต้องรักกัน ต้องคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน แล้วต้องสมดุลผลประโยชน์ รัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวก ถึงแม้ว่าบางครั้งจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม คือรัฐต้องมีทั้งไม้แข็งและไม้นวม (iron fist and velvet glove) แต่พยายามใช้ความนุ่มนวลให้มาก ในฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวก จะใช้ไม้แข็งต่อเมื่อมีคนที่ไม่ยอมรับกติกาที่เป็นกติกาที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน รัฐก็ต้องเป็นไม้แข็ง ทำหน้าที่ผู้ควบคุม ซึ่งจะใช้ให้น้อยที่สุดแต่ขอให้รัฐทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 80 % ต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวก
เพราะฉะนั้นหวังว่าท่านทั้งหลายเราจะต้องมีกติการ่วมกันที่ให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่ที่สำคัญ ลูกค้าหรือประชาชนอยู่ได้ ธุรกิจของท่านอยู่ได้ ถ้าลูกค้าและประชาชนอยู่ไม่ได้ ศรัทธาท่านไม่ได้ ท่านไม่สร้างความศรัทธาให้เขา ธุรกิจท่านก็อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นลูกค้าถูกเสมอ แต่ว่าเราก็ต้องคิดให้ดีว่ากติกาจะเป็นอย่างไร รัฐบาลมีหน้าที่เป็นกรรมการกลางที่จะรับกติการ่วมกัน ทัศนคติตรงนี้ต้องเป็นแบบนี้ ถ้าทัศนคติรัฐบาลบอกว่า 1 -- 2 -- 3 -- 4 -- 5 ต้องทำอย่างนี้ แล้วไม่ฟังใครก็ลำบาก แต่แน่นอนครับ กรมการประกันภัยหน่วยงานเดียวไม่เป็นมืออาชีพสูงพอเพราะความรู้นั้นพัฒนาเร็ว เพราะฉะนั้นระบบการเงิน การทองอะไร ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องช่วย ระบบการพัฒนาความเสี่ยงของภาคธุรกิจต่างๆ ก็เปลี่ยนไป บางเรื่องที่เคยเสี่ยงมากในอดีตวันนี้เสี่ยงน้อยลง เพราะเทคโนโลยีพัฒนาการขึ้นมา มันต้องปรับตัวตลอดเวลา การประกันชีวิตก็เช่นกัน วันนี้การประกันชีวิตเราจะบอกว่าคุณรับเบี้ยประกันมาแล้ว คุณลงทุนได้แค่ 1-2-3 แต่เครื่องมือต่างๆ ได้เกิดขึ้นมาใหม่อีกแล้ว ซึ่งต้องพัฒนา
ส่วนผู้ควบคุมจะต้องปรับตัวเองให้ทันสมัยตลอดเวลาว่ามีพัฒนาการอะไรบ้าง แล้วสมควรที่จะไปเสี่ยงได้แค่ไหน เพราะโดยธรรมชาติคนที่รับราชการคือคนที่ไม่กล้าเสี่ยง เพราะฉะนั้นก็เพิ่มการกล้าเสี่ยงของภาคราชการขึ้นมาหน่อย แต่ขณะเดียวกันนั้นภาคเอกชนก็อย่าผาดโผนมาก เพราะนี่คือเงินที่เราจะต้องปกป้องไว้สำหรับเวลามีอะไรเกิดขึ้น ประชาชนเขาจะได้ไม่เดือดร้อนเพราะเราไปเสี่ยงมากเกินไป ไม่จำเป็นต้องไปซื้อรูปของแวนโก๊ะรูปละพันล้าน เหมือนที่ประกันภัยของญี่ปุ่นซื้อ ท่านรู้ไหมว่าเหตุผลคืออะไร ผมฟังเขามาอีกทีไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า เขาบอกเหตุผลว่าถ้ามีงานศิลปะในประเทศเขามากๆ จะไม่มีใครทิ้งระเบิด เพราะเขาบอกว่านี้คือสิ่งที่เป็นมรดกโลกที่จะต้องเก็บไว้ เพราะฉะนั้นทุกคนก็ไม่อยากทำลาย จะเก็บไว้ก็เลยต้องมีรูปพวกนี้
วันนี้ผมเปิดประชุมเพื่อต้องการให้ทุกคนมีความคิดร่วมกันว่า ตกลงเราจะไปกันอย่างนี้คือ
1. ภาคเอกชนจะต้องมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อเขา เขาได้เราได้ เพราะฉะนั้นภาคเอกชนจะต้องหาทางว่าที่ผ่านมานี้ผมลงทุนอะไรก็ไม่ได้เพราะอะไร อย่างไร และอธิบายกันให้รู้ว่าความเสี่ยงได้เปลี่ยนไปอย่างไร ให้ภาครัฐได้รู้ ภาครัฐก็เปิดใจกว้างที่จะรับฟังตัวแทนต่างๆ ทั้งภาครัฐด้วยกันเองและภาคเอกชน เพื่อให้รู้ว่าสิ่งนี้ที่ทำมาทำไมถึงไม่โต และภาคประชาชนก็ต้องมาดูว่าวัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไรทำอย่างไรถึงจะฝ่าฟันอุปสรรค (break barrier) ของวัฒนธรรมที่เคยชินกันมา วันนี้ผมทราบว่ารถยนต์ที่ซื้อเงินสดก็ไม่ค่อยประกันกันเท่าไร ยกเว้นประกัน พ.ร.บ. บุคคลที่ 3 อีกอันคือบ้านเรือนก็ไม่ค่อยประกัน สถานที่ราชการยังไม่ประกันเช่นกัน เพราะไม่มีกติกาให้ประกัน ก็เลยไม่ประกัน ถ้าประกันก็ต้องมีคนมาบอกว่าทำไมตั้งงบประมาณเสียค่าประกันภัย แล้วก็จะมาตรวจสอบว่าประกันกับบริษัทไหน มีญาติพี่น้อง ญาติโกโหติกาอยู่หรือเปล่า นี่เป็นธรรมชาติของการเมือง แต่ไม่เป็นไรครับ ทุกอย่างเป็นเรื่องของกรอบกติกาที่เหมาะสม ที่เป็นประโยชน์
รัฐบาลนี้เปิดใจกว้างรับฟัง และอยากให้ทุกธุรกิจอยู่ได้ ขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลมีหุ้นในทุกธุรกิจมากกว่าเจ้าของบริษัทเอง เพราะเราเก็บภาษีทุกขั้นตอน แล้วถ้าท่านมีกำไรเราก็ได้ภาษีมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นเราไม่เคยรังเกียจว่าท่านจะกำไร แต่ขอให้กำไรบนพื้นฐานที่ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย เพราะเราเก็บภาษีทุกขั้นตอนแล้วถ้าท่านมีกำไรเราก็ได้ภาษีมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นเราไม่เคยรังเกียจว่าท่านจะกำไร แต่ขอให้กำไรบนพื้นฐานที่ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย หวังว่าการประชุมสัมมนานี้จะได้ยุทธศาสตร์ของการประกันภัยแห่งชาติที่เป็นประโยชน์ต่อทุกๆ ฝ่ายไม่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าเมื่อไรมีคนได้ข้างเดียวแสดงว่าคนในระบบกำลังมีคนที่สูญเสีย แต่ถ้าเราสามารถสร้างบรรยากาศแห่งการได้ที่เท่าเทียมกัน การได้ที่ไม่มากเกินไป ได้พอสมควรที่สมดุล อันนี้จะทำให้เป็นระยะยาว คือถ้าคนหวังระยะสั้นตีหัวเข้าบ้าน ก็คงจะไม่มีความเป็นมืออาชีพอย่างที่เราอยากเห็น หวังว่าการประชุมวันนี้จะทำให้ทุกๆท่านได้เปิดใจกว้างและทำงานร่วมกันเสนอความคิดที่สร้างสรรค์ต่อวงการประกันภัยแห่งชาติ ขอบคุณครับ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
วิมลมาส รัตนมณี / ถอดเทป / พิมพ์
ดวงฤดี รัตนโอฬาร / ตรวจ
แหล่งที่มา : www.thaigov.go.th/news/speech/thaksin/sp12mar46-1.htm--จบ--
-ชต-
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ท่านปลัด ท่านอธิบดี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ตลอดจนผู้แทนสมาคมภาคธุรกิจประกันภัย
ผู้แทนฝ่ายวิชาการ ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพรักทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมประชุมกำหนดยุทธศาสตร์การประกันภัยแห่งชาติในวันนี้ หน้าที่ของรัฐบาล คือว่าทำอย่างไรถึงจะให้ระบบที่มีกลุ่มคนตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสมดุล เพื่อให้เป็นหุ้นส่วนที่จะสร้างความเจริญให้กับภาคนั้นๆ ซึ่งผมเองได้ให้เวลากับภาคเอกชนในทุกๆ วันศุกร์ เพื่อให้มาพบกัน มาบอกกับผมว่าการทำมาหากินของเขามีอุปสรรคอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลมีกฎกติกาอะไรที่มากไปน้อยไป ที่ทำให้เขาทำงานไม่สะดวก ผมรับฟังและได้แก้ไขไปหลายภาคธุรกิจแล้ววันนี้ภาคประกันภัยก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมกำหนดยุทธศาสตร์โดยการเอาทุกๆ ฝ่ายมานั่งคุยกัน ร่วมกันคิดร่วมกันทำ และหาทางออกด้วยกัน
ประเทศไทยเราและหลายๆประเทศเช่นกันได้รับอิทธิพลของระบบคิดที่เป็นความคิดที่เรียกว่า division of labor คือต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ โดยมีการร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันน้อยมาก ความคิดของการเป็นหุ้นส่วนไม่ค่อยเกิด ความคิดของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือ citizen center government หรือ customer center company ก็ยังไม่ค่อยเกิด วันนี้โลกเปลี่ยนความคิดเหล่านี้เปลี่ยนหมดแล้วเรื่องของการเป็นหุ้นส่วน เรื่องของการมีส่วนร่วม เรื่องของรัฐบาลที่ดีต้องเป็น citizen center government เรื่องของบริษัทที่ดีต้องเป็น customer center company เป็นเรื่องที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาไปตรงนี้หมดแล้ว และวันนี้ประเทศไทยเราเริ่ม เปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่เป็น citizen center governmentบางคนไม่เข้าใจก็ออกมาโจมตีรัฐบาล แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นคือความคิดที่ล้าสมัยมากและตามไม่ทัน
สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำวันนี้และพวกท่านทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจประกันภัยที่เรามารวมกัน วันนี้ เรากำลังจะทำให้ภาคธุรกิจประกันภัยนั้นเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ภาพรวมของรัฐบาลแน่นอนครับ ส่วนหนึ่งที่เราพูดกันตลอดเวลา สองวันนี้ทางเลขาฯ กลต. เพิ่งพูดว่าประเทศไทยเราใช้เงินออมอยู่ในภาคเดียว คือภาคธนาคารมากถึง 80 % ซึ่งในโลกยุคใหม่เขาไม่ต้องการเอาไข่ทั้งหมดอยู่ในตะกร้าใบเดียว ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเหมือนที่ผ่านมา ระบบธนาคารพังก็หมดทั้งประเทศเพราะไม่มีอะไรสมดุล หน้าที่ที่สมดุลจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญ เพราะฉะนั้นวันนี้รัฐบาลเองก็อยากจะเห็นการกระจายความเสี่ยง ไม่ใช่เรื่องของแค่เงินออมอย่างเดียว เรื่องของเงินออมของประเทศนั้นแน่นอนการกระจายความเสี่ยง การประกันชีวิต ก็เป็นอันหนึ่งที่เป็นการ กระจายความเสี่ยงของภาคการออม
ถ้าหากว่าทุกวงการมีคำว่าความเป็นมืออาชีพ ข้อแรกที่ผมพูดนี้ความรู้จริงในวิชา เขามีวิชาการเรียนเขามีวิชาการกระจายความเสี่ยง ซึ่งผมก็เห็นใจและเข้าใจบริษัทประกันเล็กๆ ที่มีลูกค้าน้อยๆ ก็เจอค่าใช้จ่ายค่าพนักงาน ค่าอะไรต่ออะไรไป เงินก็หมด มีเบี้ยน้อยก็เก็บเบี้ยไว้เอง รับกินรับใช้แต่ผู้เดียว ผลสุดท้ายบริษัทพังเอง ลูกค้าไฟไหม้บริษัทก็ไหม้ด้วย นี่เป็นสิ่งที่ผมเป็นห่วง แต่แน่นอนครับส่วนใหญ่ไม่เป็น ส่วนน้อยอาจจะเป็นเพราะเนื่องจากว่าเบี้ยประกันน้อยหรืออะไรก็แล้วแต่ ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ แต่ความเป็นมืออาชีพแรกที่สำคัญคือต้องรู้จริง ท่านจะต้องจ้างมืออาชีพ และแน่นอนผู้ควบคุมคือกรมการประกันภัยต้องรู้จริงอีกเหมือนกัน แต่รู้จริงคนเดียวไม่ได้ ต้องรู้และแบ่งปันในอุตสาหกรรม แล้วอุตสาหกรรมจะมีการปรับเปลี่ยน ภาคธุรกิจจะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในเมื่อโลกพัฒนา เพราะฉะนั้นเรื่องของความรู้จริงในวิชาชีพเป็นหัวใจของความสำเร็จในข้อที่ 1
ส่วนข้อที่ 2 ของความเป็นมืออาชีพ คือจรรยาบรรณในวิชาชีพ ถ้าวิชาชีพไหนไร้ซึ่งจรรยาบรรณขาดระบบการควบคุมตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันเอง โดยระบบจรรยาบรรณนั้น กลุ่มวิชาชีพนั้นจะเป็นวิชาชีพที่น่ารังเกียจ เพราะเป็นวิชาชีพที่คนมองว่าจ้องแต่จะเอาประโยชน์จากประชาชนและลูกค้า ซึ่งเสียหายเพราะฉะนั้นการที่เรามีจรรยาบรรณ กำหนดกันเอง นั่งคุยกันประชุมกันว่าจรรยาบรรณในวิชาชีพของบริษัทประกันภัยที่ดีคืออะไร ประกันชีวิตคืออะไร แล้วมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง ตรงนั้นจะทำให้วิชาชีพของท่านเป็นวิชาชีพที่มีแต่คนยอมรับ ยกย่องสรรเสริญโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา เราไม่ต้องไปบอกเขาว่าเราหล่อเราเท่ เพราะพฤติกรรมต่างหากที่จะบอก เพราะฉะนั้นจรรยาบรรณในวิชาชีพกับความรู้จริงประกอบกันสองอย่างเรียกว่ามืออาชีพ ผมอยากเห็นประกันภัย ประกันชีวิตมีความเป็นมืออาชีพที่สูงขึ้น มาตรฐานดีขึ้น ผมเข้าใจที่ผ่านมา คือเราไม่ต้องพูดเรื่องอดีต เราพูดเรื่องอนาคต มองไปข้างหน้า วันนี้คนยุคใหม่ไม่ต้องไปเสียเวลาและไม่ต้องหลงใหลกับความสำเร็จในอดีตจนผลสุดท้ายก็เป็นกับดักของอนาคต และไม่ต้องไปนั่งต่อว่ากันในอดีต เราคิดอย่างเดียวว่าวันนี้เราจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมนี้ ให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ประชาชนศรัทธา และเป็นทางเลือกในการออมเงิน ของประชาชน คือประกันชีวิต เป็นสิ่งที่ประชาชนจะฝากความเสี่ยงไว้ว่าถ้าเขาไม่อยู่บ้าน ไฟไหม้บ้านแล้วเขาไม่ต้องหมดตัว
สมัยที่ผมเรียนที่อเมริกา ผมไม่ประกันภัยรถตัวเอง ซึ่งเสี่ยงมากเพราะความไม่รู้ ไม่รู้ว่าว่าในอเมริกานั้นเรียกค่าชดใช้กันหนักขนาดไหน คือตอนแรกผมซื้อรถเก่า ซื้อเงินสดซึ่งเขาไม่บังคับ แต่ถ้าซื้อเงินผ่อนธนาคารบังคับ แต่ว่าซื้อเงินสดนี้รถเก่าๆ ถูกๆอันตรายมาก ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเรียกว่าผมเงินก็ไม่มี รับทุน ก.พ.เดือนละ 160 เหรียญ ก็คงไม่เหลืออะไร นี่คือสิ่งที่ผมเสี่ยง ผมมานั่งนึกย้อนกลับมาทีหลังว่าทำไมผมเสี่ยงวันนั้น นี่โชคดีที่ผมรอด ถ้าเกิดผมไปชนคนขาหัก เขาเรียกค่าชดเชยผม หมดเลยนะ เพราะในอเมริการะบบพวกนี้รุนแรง ประเทศไทยก็เช่นกัน บางครั้งหลายคนไม่รู้ครับ คือคนไทยชอบเสี่ยงอยู่แล้ว ซึ่งความชอบเสี่ยงของคนไทยนี้ต้องไม่นำมาสู่ของบริษัทเองชอบเสี่ยงด้วย บริษัทอย่าไปเสี่ยงรับกินรับใช้เองไม่ได้นะ อีกครั้งหนึ่งนี่คือนิสัยคนไทย ตอนที่ผมทำธุรกิจ ผมต้องยิงดาวเทียมไทยคม ค่า เบี้ยประกันภัย 17 % ต่อรองมาแล้วเหลือ 15 % ซึ่ง 15 % นี่หลายบาท ตอนนั้นผมจำไม่ได้ หลายร้อยล้านบาท แล้วผมตอนนั้นเงินสดมีมาก กำลังรวยพอดี เพิ่งรวยใหม่ๆ เข้าใจว่าถ้าผมจำไม่ผิด 2,000 กว่าล้านบาท ถ้าสมมติว่าเกิดมีอะไรเกิดขึ้นก็หมดไป 2,000 กว่าล้านบาท แต่ว่าเราต้องใช้ประมาณ 300 กว่าล้านบาทในการเสียค่าเบี้ยประกัน ก็มีความรู้สึกอยากจะเสี่ยง นี่คือนิสัยคนไทยซึ่งไม่ใช่ดี ตอนหลังมาพรรคพวกพยายามบอกผมว่าอย่าทำเลยจ่ายเถอะ ผมก็เลยจ่ายไปทั้งๆ ที่เสียดาย แล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นี่คือจุดหนึ่งที่จะ break barrier ว่าทำอย่างไรถึงจะให้คนไทยมาเป็นลูกค้า นี่คือนิสัยคนไทย และอีกมุมหนึ่งนิสัยคนไทย คือผมอีกเหมือนกัน ถ้าถูกบังคับก็ต้องทำ ในวันที่ผมต้องไปกู้เงินธนาคารทหารไทย ในวันนั้นผมไม่มีหลักทรัพย์อะไรเลย มีแต่โครงการเอาไปให้ ธนาคารเขาก็ศรัทธาว่าผมทำได้ แล้วถ้าผมมีปัญหาคือว่าถ้าผมตายแล้วจะทำอย่างไร ก็บังคับให้ผมประกันชีวิต ผมก็ไปไล่ประกันชีวิต ผลสุดท้ายเขามีผลออกมาว่าผมประกันเท่าไร วันนั้นผมประกันเข้าใจว่าประมาณ 67 ล้านบาท เขาบอกว่าผมประกันมากกว่าคุณอุเทน ฯ อีก ซึ่งวันนั้นคุณอุเทน ฯ ถือว่ารวยมาก รวยกว่าผม
ผลสุดท้ายเขาหยุด แต่ผมต้องกู้เงินเป็นร้อยล้านบาท ธนาคารก็บังคับ แล้วประกันชีวิตได้แค่นั้นเพราะว่าเขาบอกว่าไม่ได้แล้ว มากไป เขาก็กลัวว่าผมจะฆ่าตัวตายเอาประกัน นี่คือสิ่งที่ให้รู้ว่าคนไทยถ้ามีกติกาบังคับก็ทำ ไม่มีกติกาบังคับจะคำนวณความเสี่ยงเอาเอง แต่ความเสี่ยงนี้บางครั้งเราก็รู้ว่าคนแทงหวยทุกวันนี้ความเป็นไปได้ในการถูกหวยน้อย แทงเลขท้ายสองตัว 100 ครั้งถ้าเปลี่ยนเลขตลอดเวลาดีไม่ดีไม่ถูกสักครั้ง ถ้าถูกก็ยังได้เงินน้อยกว่าที่แทง แต่คนไทยก็ยังอดเสี่ยงไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เราจะต้องพูดกันว่าทำอย่างไรถึงจะฝ่าฟันอุปสรรคของวัฒนธรรมแบบนี้ได้ ไม่บังคับ ไม่ทำ บังคับก็ทำ อยากจะให้ช่วงเวลาที่เราอยู่กันนี้ได้คุยกันให้ชัดเจน สิ่งที่สำคัญที่เรามาคุยกันตรงนี้ เราต้องการแก้ปัญหาร่วมกัน คือรัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 3 กลุ่มนี้จะต้องรักกัน ต้องคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน แล้วต้องสมดุลผลประโยชน์ รัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวก ถึงแม้ว่าบางครั้งจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม คือรัฐต้องมีทั้งไม้แข็งและไม้นวม (iron fist and velvet glove) แต่พยายามใช้ความนุ่มนวลให้มาก ในฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวก จะใช้ไม้แข็งต่อเมื่อมีคนที่ไม่ยอมรับกติกาที่เป็นกติกาที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน รัฐก็ต้องเป็นไม้แข็ง ทำหน้าที่ผู้ควบคุม ซึ่งจะใช้ให้น้อยที่สุดแต่ขอให้รัฐทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 80 % ต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวก
เพราะฉะนั้นหวังว่าท่านทั้งหลายเราจะต้องมีกติการ่วมกันที่ให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่ที่สำคัญ ลูกค้าหรือประชาชนอยู่ได้ ธุรกิจของท่านอยู่ได้ ถ้าลูกค้าและประชาชนอยู่ไม่ได้ ศรัทธาท่านไม่ได้ ท่านไม่สร้างความศรัทธาให้เขา ธุรกิจท่านก็อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นลูกค้าถูกเสมอ แต่ว่าเราก็ต้องคิดให้ดีว่ากติกาจะเป็นอย่างไร รัฐบาลมีหน้าที่เป็นกรรมการกลางที่จะรับกติการ่วมกัน ทัศนคติตรงนี้ต้องเป็นแบบนี้ ถ้าทัศนคติรัฐบาลบอกว่า 1 -- 2 -- 3 -- 4 -- 5 ต้องทำอย่างนี้ แล้วไม่ฟังใครก็ลำบาก แต่แน่นอนครับ กรมการประกันภัยหน่วยงานเดียวไม่เป็นมืออาชีพสูงพอเพราะความรู้นั้นพัฒนาเร็ว เพราะฉะนั้นระบบการเงิน การทองอะไร ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องช่วย ระบบการพัฒนาความเสี่ยงของภาคธุรกิจต่างๆ ก็เปลี่ยนไป บางเรื่องที่เคยเสี่ยงมากในอดีตวันนี้เสี่ยงน้อยลง เพราะเทคโนโลยีพัฒนาการขึ้นมา มันต้องปรับตัวตลอดเวลา การประกันชีวิตก็เช่นกัน วันนี้การประกันชีวิตเราจะบอกว่าคุณรับเบี้ยประกันมาแล้ว คุณลงทุนได้แค่ 1-2-3 แต่เครื่องมือต่างๆ ได้เกิดขึ้นมาใหม่อีกแล้ว ซึ่งต้องพัฒนา
ส่วนผู้ควบคุมจะต้องปรับตัวเองให้ทันสมัยตลอดเวลาว่ามีพัฒนาการอะไรบ้าง แล้วสมควรที่จะไปเสี่ยงได้แค่ไหน เพราะโดยธรรมชาติคนที่รับราชการคือคนที่ไม่กล้าเสี่ยง เพราะฉะนั้นก็เพิ่มการกล้าเสี่ยงของภาคราชการขึ้นมาหน่อย แต่ขณะเดียวกันนั้นภาคเอกชนก็อย่าผาดโผนมาก เพราะนี่คือเงินที่เราจะต้องปกป้องไว้สำหรับเวลามีอะไรเกิดขึ้น ประชาชนเขาจะได้ไม่เดือดร้อนเพราะเราไปเสี่ยงมากเกินไป ไม่จำเป็นต้องไปซื้อรูปของแวนโก๊ะรูปละพันล้าน เหมือนที่ประกันภัยของญี่ปุ่นซื้อ ท่านรู้ไหมว่าเหตุผลคืออะไร ผมฟังเขามาอีกทีไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า เขาบอกเหตุผลว่าถ้ามีงานศิลปะในประเทศเขามากๆ จะไม่มีใครทิ้งระเบิด เพราะเขาบอกว่านี้คือสิ่งที่เป็นมรดกโลกที่จะต้องเก็บไว้ เพราะฉะนั้นทุกคนก็ไม่อยากทำลาย จะเก็บไว้ก็เลยต้องมีรูปพวกนี้
วันนี้ผมเปิดประชุมเพื่อต้องการให้ทุกคนมีความคิดร่วมกันว่า ตกลงเราจะไปกันอย่างนี้คือ
1. ภาคเอกชนจะต้องมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อเขา เขาได้เราได้ เพราะฉะนั้นภาคเอกชนจะต้องหาทางว่าที่ผ่านมานี้ผมลงทุนอะไรก็ไม่ได้เพราะอะไร อย่างไร และอธิบายกันให้รู้ว่าความเสี่ยงได้เปลี่ยนไปอย่างไร ให้ภาครัฐได้รู้ ภาครัฐก็เปิดใจกว้างที่จะรับฟังตัวแทนต่างๆ ทั้งภาครัฐด้วยกันเองและภาคเอกชน เพื่อให้รู้ว่าสิ่งนี้ที่ทำมาทำไมถึงไม่โต และภาคประชาชนก็ต้องมาดูว่าวัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไรทำอย่างไรถึงจะฝ่าฟันอุปสรรค (break barrier) ของวัฒนธรรมที่เคยชินกันมา วันนี้ผมทราบว่ารถยนต์ที่ซื้อเงินสดก็ไม่ค่อยประกันกันเท่าไร ยกเว้นประกัน พ.ร.บ. บุคคลที่ 3 อีกอันคือบ้านเรือนก็ไม่ค่อยประกัน สถานที่ราชการยังไม่ประกันเช่นกัน เพราะไม่มีกติกาให้ประกัน ก็เลยไม่ประกัน ถ้าประกันก็ต้องมีคนมาบอกว่าทำไมตั้งงบประมาณเสียค่าประกันภัย แล้วก็จะมาตรวจสอบว่าประกันกับบริษัทไหน มีญาติพี่น้อง ญาติโกโหติกาอยู่หรือเปล่า นี่เป็นธรรมชาติของการเมือง แต่ไม่เป็นไรครับ ทุกอย่างเป็นเรื่องของกรอบกติกาที่เหมาะสม ที่เป็นประโยชน์
รัฐบาลนี้เปิดใจกว้างรับฟัง และอยากให้ทุกธุรกิจอยู่ได้ ขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลมีหุ้นในทุกธุรกิจมากกว่าเจ้าของบริษัทเอง เพราะเราเก็บภาษีทุกขั้นตอน แล้วถ้าท่านมีกำไรเราก็ได้ภาษีมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นเราไม่เคยรังเกียจว่าท่านจะกำไร แต่ขอให้กำไรบนพื้นฐานที่ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย เพราะเราเก็บภาษีทุกขั้นตอนแล้วถ้าท่านมีกำไรเราก็ได้ภาษีมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นเราไม่เคยรังเกียจว่าท่านจะกำไร แต่ขอให้กำไรบนพื้นฐานที่ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย หวังว่าการประชุมสัมมนานี้จะได้ยุทธศาสตร์ของการประกันภัยแห่งชาติที่เป็นประโยชน์ต่อทุกๆ ฝ่ายไม่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าเมื่อไรมีคนได้ข้างเดียวแสดงว่าคนในระบบกำลังมีคนที่สูญเสีย แต่ถ้าเราสามารถสร้างบรรยากาศแห่งการได้ที่เท่าเทียมกัน การได้ที่ไม่มากเกินไป ได้พอสมควรที่สมดุล อันนี้จะทำให้เป็นระยะยาว คือถ้าคนหวังระยะสั้นตีหัวเข้าบ้าน ก็คงจะไม่มีความเป็นมืออาชีพอย่างที่เราอยากเห็น หวังว่าการประชุมวันนี้จะทำให้ทุกๆท่านได้เปิดใจกว้างและทำงานร่วมกันเสนอความคิดที่สร้างสรรค์ต่อวงการประกันภัยแห่งชาติ ขอบคุณครับ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
วิมลมาส รัตนมณี / ถอดเทป / พิมพ์
ดวงฤดี รัตนโอฬาร / ตรวจ
แหล่งที่มา : www.thaigov.go.th/news/speech/thaksin/sp12mar46-1.htm--จบ--
-ชต-