ภายในปี 2544 นี้ คาดว่าไต้หวันซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 7 ของไทยจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ได้เช่นเดียวกับจีน เนื่องจากไต้หวันบรรลุข้อตกลงทางการค้าในระดับทวิภาคีกับประเทศสมาชิก WTO แล้วทุกประเทศ โดยจีนมีท่าทีจะสนับสนุนให้ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO ภายหลังจากจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วอีกด้วย
พันธกรณีในด้านการค้าสินค้า (Trade in Goods) ที่ไต้หวันจะต้องปฏิบัติหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO มีดังนี้
1. ลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษี ไต้หวันมีพันธกรณีที่จะต้องลดอัตราภาษีจากเฉลี่ย 8.2% ลงเหลือเฉลี่ย 5.0% ทันทีที่ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยอัตราภาษีที่ลดครอบคลุมสินค้าเกษตรกรรม 1,021 รายการและสินค้าอุตสาหกรรม 3,470 รายการ
2. ลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ไต้หวันมีพันธกรณีสำคัญที่ต้องลดและยกเลิกการห้ามนำเข้าและการกำหนดปริมาณการนำเข้า ฯลฯ เพื่อเปิดตลาดให้มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ มากขึ้น
ผลต่อการส่งออกสินค้าสำคัญของไทย หลังจากไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ไทยส่งออกไปไต้หวันจะได้รับผลดังนี้
- เซมิคอนดักเตอร์ ปัจจุบันไต้หวันเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำกว่า 1% ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ของไทยจะไม่ได้รับประโยชน์มากนักจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวัน
- รถยนต์ เดิมไต้หวันกำหนดโควตานำเข้ารถยนต์จากไทยประมาณ 4,000 คัน/ปี และขยายปริมาณโควตาเพิ่มขึ้นปีละ 10% โดยเรียกเก็บภาษีรถยนต์ที่นำเข้าตามโควตาในอัตรา 30-40% แต่เมื่อไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว จะขยายโควตาการนำเข้ารถยนต์จากไทยเป็น 10,000 คัน/ปี โดยจะขยายโควตาเพิ่มขึ้นปีละ 20% ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันจะเรียกเก็บภาษีรถยนต์ที่นำเข้าตามโควตาในอัตรา 29% โดยอัตราภาษีที่เรียกเก็บจะค่อยๆ ลดลงและจะลดลงเหลือ 20% ในปีที่ 10 ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกรถยนต์ของไทยได้รับประโยชน์จากโควตาที่เพิ่มขึ้นและด้วยอัตราภาษีที่ลดลง
2. สินค้าเกษตรกรรม ปัจจุบันไต้หวันห้ามนำเข้าข้าว อาหารประเภทเนื้อสัตว์ รวมทั้งผลไม้หลายชนิดจากต่างประเทศ แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ไต้หวันมีพันธกรณีที่จะต้องเปิดตลาดสินค้าดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก จึงคาดว่าผู้ส่งออกไทยจะสามารถขยายการส่งออกสินค้าเกษตรหลายชนิดไปไต้หวันเพิ่มขึ้น ดังนี้
- ข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวจากไทยรวม 123,823 เมตริกตัน/ปี และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 249,647 เมตริกตัน/ปี
- เนื้อไก่ ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าเนื้อไก่จากไทยรวม 15,330 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 25-40% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 36,660 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 20-40%
- ปลาซาร์ดีน ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าปลาซาร์ดีนจากไทยรวม 508 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 21% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,271 เมตริกตัน/ปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราคงเดิม
- ผลไม้ ปัจจุบันไต้หวันอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยเพียง 4 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และมะพร้าว แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ไต้หวันตกลงจะเปิดตลาดผลไม้หลายชนิดให้แก่ไทย อาทิ
- ส้มโอสด ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าส้มโอสดจากไทยรวม 1,720 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 25% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 4,300 เมตริกตัน/ปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราคงเดิม
- มะม่วงสด ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้ามะม่วงสดจากไทยรวม 5,120 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 25% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 12,755 เมตริกตัน/ปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราคงเดิม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
พันธกรณีในด้านการค้าสินค้า (Trade in Goods) ที่ไต้หวันจะต้องปฏิบัติหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO มีดังนี้
1. ลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษี ไต้หวันมีพันธกรณีที่จะต้องลดอัตราภาษีจากเฉลี่ย 8.2% ลงเหลือเฉลี่ย 5.0% ทันทีที่ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยอัตราภาษีที่ลดครอบคลุมสินค้าเกษตรกรรม 1,021 รายการและสินค้าอุตสาหกรรม 3,470 รายการ
2. ลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ไต้หวันมีพันธกรณีสำคัญที่ต้องลดและยกเลิกการห้ามนำเข้าและการกำหนดปริมาณการนำเข้า ฯลฯ เพื่อเปิดตลาดให้มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ มากขึ้น
ผลต่อการส่งออกสินค้าสำคัญของไทย หลังจากไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ไทยส่งออกไปไต้หวันจะได้รับผลดังนี้
- เซมิคอนดักเตอร์ ปัจจุบันไต้หวันเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำกว่า 1% ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ของไทยจะไม่ได้รับประโยชน์มากนักจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวัน
- รถยนต์ เดิมไต้หวันกำหนดโควตานำเข้ารถยนต์จากไทยประมาณ 4,000 คัน/ปี และขยายปริมาณโควตาเพิ่มขึ้นปีละ 10% โดยเรียกเก็บภาษีรถยนต์ที่นำเข้าตามโควตาในอัตรา 30-40% แต่เมื่อไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว จะขยายโควตาการนำเข้ารถยนต์จากไทยเป็น 10,000 คัน/ปี โดยจะขยายโควตาเพิ่มขึ้นปีละ 20% ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันจะเรียกเก็บภาษีรถยนต์ที่นำเข้าตามโควตาในอัตรา 29% โดยอัตราภาษีที่เรียกเก็บจะค่อยๆ ลดลงและจะลดลงเหลือ 20% ในปีที่ 10 ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกรถยนต์ของไทยได้รับประโยชน์จากโควตาที่เพิ่มขึ้นและด้วยอัตราภาษีที่ลดลง
2. สินค้าเกษตรกรรม ปัจจุบันไต้หวันห้ามนำเข้าข้าว อาหารประเภทเนื้อสัตว์ รวมทั้งผลไม้หลายชนิดจากต่างประเทศ แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ไต้หวันมีพันธกรณีที่จะต้องเปิดตลาดสินค้าดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก จึงคาดว่าผู้ส่งออกไทยจะสามารถขยายการส่งออกสินค้าเกษตรหลายชนิดไปไต้หวันเพิ่มขึ้น ดังนี้
- ข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวจากไทยรวม 123,823 เมตริกตัน/ปี และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 249,647 เมตริกตัน/ปี
- เนื้อไก่ ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าเนื้อไก่จากไทยรวม 15,330 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 25-40% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 36,660 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 20-40%
- ปลาซาร์ดีน ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าปลาซาร์ดีนจากไทยรวม 508 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 21% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,271 เมตริกตัน/ปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราคงเดิม
- ผลไม้ ปัจจุบันไต้หวันอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยเพียง 4 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และมะพร้าว แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ไต้หวันตกลงจะเปิดตลาดผลไม้หลายชนิดให้แก่ไทย อาทิ
- ส้มโอสด ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้าส้มโอสดจากไทยรวม 1,720 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 25% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 4,300 เมตริกตัน/ปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราคงเดิม
- มะม่วงสด ในปีแรกที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ไต้หวันกำหนดโควตานำเข้ามะม่วงสดจากไทยรวม 5,120 เมตริกตัน/ปี โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตรา 25% และภายในปีที่ 6 จะขยายโควตาให้เพิ่มขึ้นเป็น 12,755 เมตริกตัน/ปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราคงเดิม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-