บทสรุปสำหรับนักลงทุน
บะหมี่ผสมใยอาหารคือการนำเอาบะหมี่ที่ทำจากแป้งสาลีทั่วไปมาเพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยการเติมผักบางอย่างผสมลงไปในเส้นบะหมี่ ที่นิยมผสมคือ คะน้า ฟักทอง มะเขือเทศ รวมทั้งข้าวกล้องทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นรูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพมีวิตามินเพิ่มขึ้นจากบะหมี่ธรรมดาที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลักคือคาร์โบไฮเดรท การประยุกต์การทำบะหมี่ชนิดนี้ มีลักษณะเช่นเดียวกับการประยุกต์ของเส้นพาสต้าของอาหารอิตาเลียน ที่มีการนำสารอาหารต่างๆผสมลงในเส้นพาสต้า เช่น ผักโขม แครอท มะเขือเทศ หรือแม้แต่ ดีปลาหมึก ทำให้เกิดความหลากหลายของสินค้าและเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้แก่ตลาดมากขึ้น
ตลาดบะหมี่ผสมใยอาหารส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเส้นบะหมี่แห้ง (เช่นเดียวกับเส้นพาสต้า)ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนทั่วไปที่ซื้อเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งแตกต่างจากเส้นบะหมี่ธรรมดาที่หลักๆจะอยู่ในกลุ่มของร้านก๋วยเตี๋ยวและร้านอาหารจีน อย่างไรก็ตามบะหมี่ที่ผสมคะน้า(บะหมี่หยก)ในปัจจุบันมีตลาดสำคัญอยู่ที่ร้านอาหารจีนและภัตตาคารทั่วไปแล้ว ส่วนบะหมี่หรือเส้นหมี่ข้าวกล้องนั้นปัจจุบันผู้ผลิตได้ขยายการจำหน่ายไปในรูปแบบของเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้กับผู้ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปหลายราย เช่น ไวไว ซึ่งทำให้ตลาดขยายวงกว้างขึ้นเนื่องจากมีเครือข่ายในการกระจายสินค้าทั่วประเทศ
ปัจจุบันผู้ผลิตเส้นหมี่/บะหมี่ ผสมใยอาหารในระดับอุตสาหกรรมอยู่ 7 ราย เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กทั้งหมด(มีเงินทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท) นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตระดับครัวเรือนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่เป็นจำนวนมากทำการผลิตเพื่อขายในระดับท้องถิ่นและฝากขายตามร้านค้าสหกรณ์ทั่วไปส่วนผู้ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมนั้น สามารถกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกขนาดใหญ่และร้านสะดวกซื้อทั่วไปได้เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป
ในด้านการลงทุนนั้นควรมีทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสมแป้ง เครื่องตัดเส้น เครื่องอบแห้ง ประมาณ 40 % ของเงินทุน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถหาได้จากผู้ขายภายในประเทศ ส่วนทุนอีก 60 % เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการซึ่งประมาณ 65 % ของเงินทุนหมุนเวียนจะใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายการซื้อวัตถุดิบ แรงงานและค่าโสหุ้ยในการผลิต ส่วนอีก 35 % ของเงินทุนหมุนเวียนจะใช้ในการตลาดและการขาย เนื่องจากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต้องมีเครือข่ายในการกระจายสินค้าที่ทั่วถึงจึงจะสามารถสร้างยอดขายได้ในระดับที่น่าพอใจ
กรณีทำการจำหน่ายได้ 100 ตัน/ปี ได้รับกำไรเฉลี่ยประมาณ 34% จากยอดขาย โดยตลอดอายุโครงการ 5 ปี ในระดับราคาจำหน่าย 10 บาท/ซอง(ขนาด 300 กรัม) จะสามารถคืนทุนภายใน 1-2 ปี และจะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 64.3%
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
บะหมี่ผสมใยอาหารคือการนำเอาบะหมี่ที่ทำจากแป้งสาลีทั่วไปมาเพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยการเติมผักบางอย่างผสมลงไปในเส้นบะหมี่ ที่นิยมผสมคือ คะน้า ฟักทอง มะเขือเทศ รวมทั้งข้าวกล้องทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นรูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพมีวิตามินเพิ่มขึ้นจากบะหมี่ธรรมดาที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลักคือคาร์โบไฮเดรท การประยุกต์การทำบะหมี่ชนิดนี้ มีลักษณะเช่นเดียวกับการประยุกต์ของเส้นพาสต้าของอาหารอิตาเลียน ที่มีการนำสารอาหารต่างๆผสมลงในเส้นพาสต้า เช่น ผักโขม แครอท มะเขือเทศ หรือแม้แต่ ดีปลาหมึก ทำให้เกิดความหลากหลายของสินค้าและเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้แก่ตลาดมากขึ้น
ตลาดบะหมี่ผสมใยอาหารส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเส้นบะหมี่แห้ง (เช่นเดียวกับเส้นพาสต้า)ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนทั่วไปที่ซื้อเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งแตกต่างจากเส้นบะหมี่ธรรมดาที่หลักๆจะอยู่ในกลุ่มของร้านก๋วยเตี๋ยวและร้านอาหารจีน อย่างไรก็ตามบะหมี่ที่ผสมคะน้า(บะหมี่หยก)ในปัจจุบันมีตลาดสำคัญอยู่ที่ร้านอาหารจีนและภัตตาคารทั่วไปแล้ว ส่วนบะหมี่หรือเส้นหมี่ข้าวกล้องนั้นปัจจุบันผู้ผลิตได้ขยายการจำหน่ายไปในรูปแบบของเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้กับผู้ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปหลายราย เช่น ไวไว ซึ่งทำให้ตลาดขยายวงกว้างขึ้นเนื่องจากมีเครือข่ายในการกระจายสินค้าทั่วประเทศ
ปัจจุบันผู้ผลิตเส้นหมี่/บะหมี่ ผสมใยอาหารในระดับอุตสาหกรรมอยู่ 7 ราย เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กทั้งหมด(มีเงินทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท) นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตระดับครัวเรือนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่เป็นจำนวนมากทำการผลิตเพื่อขายในระดับท้องถิ่นและฝากขายตามร้านค้าสหกรณ์ทั่วไปส่วนผู้ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมนั้น สามารถกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกขนาดใหญ่และร้านสะดวกซื้อทั่วไปได้เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป
ในด้านการลงทุนนั้นควรมีทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสมแป้ง เครื่องตัดเส้น เครื่องอบแห้ง ประมาณ 40 % ของเงินทุน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถหาได้จากผู้ขายภายในประเทศ ส่วนทุนอีก 60 % เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการซึ่งประมาณ 65 % ของเงินทุนหมุนเวียนจะใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายการซื้อวัตถุดิบ แรงงานและค่าโสหุ้ยในการผลิต ส่วนอีก 35 % ของเงินทุนหมุนเวียนจะใช้ในการตลาดและการขาย เนื่องจากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต้องมีเครือข่ายในการกระจายสินค้าที่ทั่วถึงจึงจะสามารถสร้างยอดขายได้ในระดับที่น่าพอใจ
กรณีทำการจำหน่ายได้ 100 ตัน/ปี ได้รับกำไรเฉลี่ยประมาณ 34% จากยอดขาย โดยตลอดอายุโครงการ 5 ปี ในระดับราคาจำหน่าย 10 บาท/ซอง(ขนาด 300 กรัม) จะสามารถคืนทุนภายใน 1-2 ปี และจะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 64.3%
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--