กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
จีนกับสหภาพยุโรปสามารถสรุปผลการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนได้แล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงปักกิ่ง หลังจากที่จีนและสหภาพยุโรปได้เจรจากันมากว่า 14 ปี ทั้งนี้ จีนมีการ เจรจาสองฝ่ายเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิก WTO กับ 37 ประเทศ ขณะนี้ สามารถสรุปผลกับประเทศสำคัญ รวมทั้งไทยได้เกือบหมดแล้ว ยกเว้นบางประเทศ อาทิ สวิตเซอร์แลนด์และเม็กซิโก การบรรลุผลการเจรจา ครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จก้าวที่สำคัญยิ่งของจีน ทำให้มีแนวโน้มว่าจีนอาจจะมีโอกาสเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ควรจับตามองคือการที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ จะให้ความ เห็นชอบผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่ตกลงกันเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542 หรือไม่ ทั้งนี้ คาดว่าในสัปดาห์หน้า สภาผู้แทนสหรัฐฯ จะพิจารณาเรื่องให้การปฏิบัติแก่จีนโดยเท่าเทียมกับ ชาติอื่นเป็นการถาวร (Permanent Normal Trade Relations : PNTR) ซึ่งหากได้รับเสียงสนับสนุนและ ได้รับความเห็นชอบจะยิ่งทำให้โอกาสที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกภายในปีนี้มีมากขึ้น หลังจากที่จีนสรุปผล การเจรจาสองฝ่ายสหภาพยุโรปได้แล้ว จีนยังต้องดำเนินการในกรอบพหุภาคีใน WTO ที่เจนีวาต่อไป โดยรวบรวมผลการเจรจาสองฝ่ายกับทุกๆ ประเทศเพื่อจัดทำเป็นตารางข้อผูกพันทั้งภาษีสินค้าและบริการ ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร เนื่องจากมีความตกลงหลายฉบับ และแต่ละความตกลงมีเนื้อหา สาระมาก ทั้งนี้ ภายใต้หลักการของ WTO ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์จากจีนตาม ตารางข้อผูกพันดังกล่าวโดยเท่าเทียมกัน นอกจากการจัดทำตารางข้อผูกพันแล้ว จีนยังต้องเจรจาระดับ หลายฝ่ายหรือในคณะทำงานที่นครเจนีวาเพื่อพิจารณาจัดทำพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิก ( Protocol of accession) ซึ่งจะเป็นกรอบข้อผูกพันทางกฎหมายที่จีนจะต้องดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบของตน ให้สอดคล้องกับความตกลงต่างๆ ของ WTO
ทั้งนี้ คาดว่าอาจจะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณา ปรับปรุงร่างพิธีสารฯ ในเดือนกลางมิถุนายน ศกนี้ เมื่อจีนเจรจาสรุปผลการเจรจาในระดับทวิภาคีและ พหุภาคีในคณะทำงานได้ ก็จะรายงานผลต่อคณะมนตรีใหญ่ (General Council) เพื่อพิจารณาตัดสินการ เข้าเป็นสมาชิกต่อไป โดยมีหลักเกณฑ์ คือ จะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อย 2 ใน 3 ของประเทศ ผู้ออกเสียง และคะแนนเสียงที่ได้จะต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก WTO ทั้งหมดจากความ พยายามที่จีนได้ใช้ทั้งไม้แข็งและไม้นวมในการเจรจากับสหภาพยุโรปเป็นเวลากว่า 5 เดือนสุดท้ายหลังจาก ที่จีนได้ตกลงกับสหรัฐฯเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542
เนื่องจากสหภาพยุโรปไม่ยินยอมรับข้อเสนอที่ ด้อยกว่าที่จีนให้กับสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้จีนเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาโทรคมนาคม ประกันภัย และอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้น ในขณะที่จีนยืนยันว่าไม่สามารถให้ตามที่สหภาพยุโรป เรียกร้องได้แต่ก็ได้ยินยอมให้เรื่องอื่นเป็นการชดเชย และในที่สุดทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุความตกลงได้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 สาระสำคัญของความตกลงสองฝ่ายระหว่างสหภาพยุโรปกับจีนโดยสรุปมี ดังนี้
ภาษีศุลกากร จีนยอมลดภาษีตามที่ สหภาพยุโรปเรียกร้อง กว่า 150 รายการ โดยลดภาษีเหลือ ประมาณ 8%-10% (ลดจากเฉลี่ย 18.6% เหลือ 10.9%) สินค้าที่สำคัญมี อาทิ เครื่องจักร (ลดจาก 35% เหลือ 5%-10%) เซรามิก (ลดจาก 24.5%-35% เหลือ 10%-15%) แก้ว (ลดจาก 24.5% เหลือ 5%) สิ่งทอและเสื้อผ้า (ลดภาษีลงในระดับเดียวกับสหภาพยุโรป และบางรายการต่ำกว่าผู้ส่งออกสิ่งทอ บางประเทศ) รองเท้า (ลดจาก 25% เหลือ 10%) เครื่องหนัง (ลดจาก 20%-25% เหลือ 10%) เครื่องสำอางค์ (ลดจาก 30% เหลือ 10%) ไวน์และสุรา (ลดจาก 65% เหลือ 10%)
สินค้าเกษตร จีนจะเปิดตลาดโดยลดภาษี อาทิ rape oil จาก85% เหลือ 9% แป้งพาสต้า จาก 25% เหลือ 15% เนย จาก 30% เหลือ 10% นมผง จาก 25% เหลือ 10% ส้ม จาก 40% เหลือ 12% ไวน์ จาก 65% เหลือ 14% เป็นต้น นอกจากนี้ จีนยังได้ลงนามความตกลงในเรื่องมาตรการสุขอนามัย ซึ่งจีนยินยอมที่จะปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยพืชและสัตว์ ของ WTO (SPS Agreement)
การจำหน่ายสินค้า จีนยินยอมยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดการร่วมลงทุนจากต่างชาติในธุรกิจร้านค้าลูกโซ่ (chain stores) และเงื่อนไขขนาดของร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจโดยต่างชาติ 20,000 ตารางเมตร
โทรคมนาคม จีนตกลงจะเปิดให้มีการเช่าซื้อในสาขาโทรคมนาคมได้ โดยให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินการได้ ภายใน 3 ปี และเร่งเปิดเสรีเร็วขึ้น (เพื่อเป็นการชดเชยกับข้อเรียกร้องที่สหภาพต้องการให้ต่างชาติ มีสิทธในการถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50) โดยให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 25% ทันทีที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และเพิ่มเป็น 35% ในปีถัดไป และให้ต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจบางส่วนได้ (49%) หลังปีที่ 3
การประกันภัย จีนยอมให้ต่างชาติเข้ามามีหุ้นส่วนในธุรกิจประกันภัยได้ และออกใบอนุญาตแก่บริษัท ประกันภัยและประกันชีวิตของสหภาพยุโรปทันที 7 บริษัท
การท่องเที่ยว จีนได้ผ่อนปรนเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มี ความเชี่ยวชาญในตลาดจีนมากขึ้น และลดเงื่อนไข turnover ขั้นต่ำลงเหลือ 20% ทันที่ที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO
รัฐวิสาหกิจ จีนจะค่อยๆ ยกเลิกรัฐวิสาหกิจและให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในธุรกิจที่มีการผูกขาด อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง และปุ๋ย และจะยกเลิกการผูกขาดการส่งออกไหมในปี 2005 (พ.ศ. 2548)
อุตสาหกรรมยานยนต์ จีนยินยอมจะยกเลิกเงื่อนไขการร่วมลงทุน (joint venture) ในการผลิตเครื่องยนต์ และผ่อนปรนเงื่อนไขการลงทุนการผลิตรถยนต์นั่ง รถบรรทุกและรถกระบะ
นอกจากนี้ จีนยังยินยอมที่จะยกเลิกมาตรการต่างๆ เป็นการทั่วไป อาทิ เงื่อนไขการกำหนดใช้ชิ้นส่วน ภายในประเทศ (local content requirement) เงื่อนไขการส่งออก และจะไม่ให้การอุดหนุนส่งออกสินค้า อุตสหกรรม และจีนจะปรับปรุงการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐให้มีความโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติระหว่าง ผู้ประมูลภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง ยกเลิกการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ผลิตภายในประเทศในสาขา เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ บุหรี่และสุรา และการบริการหลังการขาย ในการเจรจาครั้งนี้ จีนได้หารือกับ สหภาพยุโรปเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางวิชาการ กล่าวคือ เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว สหภาพยุโรป จะให้ความช่วยเหลือในโครงการต่างๆ เพื่อช่วยให้รัฐบาลจีนบริหารงานและสามารถปฏิบัติตามพันธกรณี ต่างๆ รวมทั้งการให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าตามที่จีนได้ให้ไว้กับสมาชิก WTO ผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างสหภาพยุโรปกับจีน จะให้ประโยชน์ทั้งแก่ สหภาพยุโรป จีน และประเทศในภูมิภาคเอเซีย กล่าวคือ นักธุรกิจในสหภาพยุโรปจะมีโอกาสค้าขายและเข้ามาลงทุนใน ประเทศจีนมากฃึ้น นอกจากนี้ ยังมั่นใจได้ว่ามีขบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO ที่จะช่วยตัดสินข้อขัดแย้ง ทางการค้าได้หากมีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนจีนก็จะได้ประโยชน์จากสมาชิก WTO ทั้งหมด ไม่ว่าในเรื่องภาษี การเปิดตลาดสินค้าและบริการเช่นกัน การที่จีนจะต้องยึดมั่นในหลักการของ WTO ว่าด้วยความโปร่งใส การไม่เลือกปฏิบัติ มีการบริหารงานที่เป็นอิสระ และมีความเสรีในการทบทวนกฎระเบียบต่างๆ จะเป็นผลดี ต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมของจีนในระยะยาว ดังนั้น การที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จะช่วยให้ จีนมีการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย และ ของโลกด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
จีนกับสหภาพยุโรปสามารถสรุปผลการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนได้แล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงปักกิ่ง หลังจากที่จีนและสหภาพยุโรปได้เจรจากันมากว่า 14 ปี ทั้งนี้ จีนมีการ เจรจาสองฝ่ายเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิก WTO กับ 37 ประเทศ ขณะนี้ สามารถสรุปผลกับประเทศสำคัญ รวมทั้งไทยได้เกือบหมดแล้ว ยกเว้นบางประเทศ อาทิ สวิตเซอร์แลนด์และเม็กซิโก การบรรลุผลการเจรจา ครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จก้าวที่สำคัญยิ่งของจีน ทำให้มีแนวโน้มว่าจีนอาจจะมีโอกาสเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ควรจับตามองคือการที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ จะให้ความ เห็นชอบผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่ตกลงกันเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542 หรือไม่ ทั้งนี้ คาดว่าในสัปดาห์หน้า สภาผู้แทนสหรัฐฯ จะพิจารณาเรื่องให้การปฏิบัติแก่จีนโดยเท่าเทียมกับ ชาติอื่นเป็นการถาวร (Permanent Normal Trade Relations : PNTR) ซึ่งหากได้รับเสียงสนับสนุนและ ได้รับความเห็นชอบจะยิ่งทำให้โอกาสที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกภายในปีนี้มีมากขึ้น หลังจากที่จีนสรุปผล การเจรจาสองฝ่ายสหภาพยุโรปได้แล้ว จีนยังต้องดำเนินการในกรอบพหุภาคีใน WTO ที่เจนีวาต่อไป โดยรวบรวมผลการเจรจาสองฝ่ายกับทุกๆ ประเทศเพื่อจัดทำเป็นตารางข้อผูกพันทั้งภาษีสินค้าและบริการ ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร เนื่องจากมีความตกลงหลายฉบับ และแต่ละความตกลงมีเนื้อหา สาระมาก ทั้งนี้ ภายใต้หลักการของ WTO ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์จากจีนตาม ตารางข้อผูกพันดังกล่าวโดยเท่าเทียมกัน นอกจากการจัดทำตารางข้อผูกพันแล้ว จีนยังต้องเจรจาระดับ หลายฝ่ายหรือในคณะทำงานที่นครเจนีวาเพื่อพิจารณาจัดทำพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิก ( Protocol of accession) ซึ่งจะเป็นกรอบข้อผูกพันทางกฎหมายที่จีนจะต้องดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบของตน ให้สอดคล้องกับความตกลงต่างๆ ของ WTO
ทั้งนี้ คาดว่าอาจจะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณา ปรับปรุงร่างพิธีสารฯ ในเดือนกลางมิถุนายน ศกนี้ เมื่อจีนเจรจาสรุปผลการเจรจาในระดับทวิภาคีและ พหุภาคีในคณะทำงานได้ ก็จะรายงานผลต่อคณะมนตรีใหญ่ (General Council) เพื่อพิจารณาตัดสินการ เข้าเป็นสมาชิกต่อไป โดยมีหลักเกณฑ์ คือ จะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อย 2 ใน 3 ของประเทศ ผู้ออกเสียง และคะแนนเสียงที่ได้จะต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก WTO ทั้งหมดจากความ พยายามที่จีนได้ใช้ทั้งไม้แข็งและไม้นวมในการเจรจากับสหภาพยุโรปเป็นเวลากว่า 5 เดือนสุดท้ายหลังจาก ที่จีนได้ตกลงกับสหรัฐฯเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542
เนื่องจากสหภาพยุโรปไม่ยินยอมรับข้อเสนอที่ ด้อยกว่าที่จีนให้กับสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้จีนเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาโทรคมนาคม ประกันภัย และอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้น ในขณะที่จีนยืนยันว่าไม่สามารถให้ตามที่สหภาพยุโรป เรียกร้องได้แต่ก็ได้ยินยอมให้เรื่องอื่นเป็นการชดเชย และในที่สุดทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุความตกลงได้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 สาระสำคัญของความตกลงสองฝ่ายระหว่างสหภาพยุโรปกับจีนโดยสรุปมี ดังนี้
ภาษีศุลกากร จีนยอมลดภาษีตามที่ สหภาพยุโรปเรียกร้อง กว่า 150 รายการ โดยลดภาษีเหลือ ประมาณ 8%-10% (ลดจากเฉลี่ย 18.6% เหลือ 10.9%) สินค้าที่สำคัญมี อาทิ เครื่องจักร (ลดจาก 35% เหลือ 5%-10%) เซรามิก (ลดจาก 24.5%-35% เหลือ 10%-15%) แก้ว (ลดจาก 24.5% เหลือ 5%) สิ่งทอและเสื้อผ้า (ลดภาษีลงในระดับเดียวกับสหภาพยุโรป และบางรายการต่ำกว่าผู้ส่งออกสิ่งทอ บางประเทศ) รองเท้า (ลดจาก 25% เหลือ 10%) เครื่องหนัง (ลดจาก 20%-25% เหลือ 10%) เครื่องสำอางค์ (ลดจาก 30% เหลือ 10%) ไวน์และสุรา (ลดจาก 65% เหลือ 10%)
สินค้าเกษตร จีนจะเปิดตลาดโดยลดภาษี อาทิ rape oil จาก85% เหลือ 9% แป้งพาสต้า จาก 25% เหลือ 15% เนย จาก 30% เหลือ 10% นมผง จาก 25% เหลือ 10% ส้ม จาก 40% เหลือ 12% ไวน์ จาก 65% เหลือ 14% เป็นต้น นอกจากนี้ จีนยังได้ลงนามความตกลงในเรื่องมาตรการสุขอนามัย ซึ่งจีนยินยอมที่จะปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยพืชและสัตว์ ของ WTO (SPS Agreement)
การจำหน่ายสินค้า จีนยินยอมยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดการร่วมลงทุนจากต่างชาติในธุรกิจร้านค้าลูกโซ่ (chain stores) และเงื่อนไขขนาดของร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจโดยต่างชาติ 20,000 ตารางเมตร
โทรคมนาคม จีนตกลงจะเปิดให้มีการเช่าซื้อในสาขาโทรคมนาคมได้ โดยให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินการได้ ภายใน 3 ปี และเร่งเปิดเสรีเร็วขึ้น (เพื่อเป็นการชดเชยกับข้อเรียกร้องที่สหภาพต้องการให้ต่างชาติ มีสิทธในการถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50) โดยให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 25% ทันทีที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และเพิ่มเป็น 35% ในปีถัดไป และให้ต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจบางส่วนได้ (49%) หลังปีที่ 3
การประกันภัย จีนยอมให้ต่างชาติเข้ามามีหุ้นส่วนในธุรกิจประกันภัยได้ และออกใบอนุญาตแก่บริษัท ประกันภัยและประกันชีวิตของสหภาพยุโรปทันที 7 บริษัท
การท่องเที่ยว จีนได้ผ่อนปรนเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มี ความเชี่ยวชาญในตลาดจีนมากขึ้น และลดเงื่อนไข turnover ขั้นต่ำลงเหลือ 20% ทันที่ที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO
รัฐวิสาหกิจ จีนจะค่อยๆ ยกเลิกรัฐวิสาหกิจและให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในธุรกิจที่มีการผูกขาด อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง และปุ๋ย และจะยกเลิกการผูกขาดการส่งออกไหมในปี 2005 (พ.ศ. 2548)
อุตสาหกรรมยานยนต์ จีนยินยอมจะยกเลิกเงื่อนไขการร่วมลงทุน (joint venture) ในการผลิตเครื่องยนต์ และผ่อนปรนเงื่อนไขการลงทุนการผลิตรถยนต์นั่ง รถบรรทุกและรถกระบะ
นอกจากนี้ จีนยังยินยอมที่จะยกเลิกมาตรการต่างๆ เป็นการทั่วไป อาทิ เงื่อนไขการกำหนดใช้ชิ้นส่วน ภายในประเทศ (local content requirement) เงื่อนไขการส่งออก และจะไม่ให้การอุดหนุนส่งออกสินค้า อุตสหกรรม และจีนจะปรับปรุงการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐให้มีความโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติระหว่าง ผู้ประมูลภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง ยกเลิกการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ผลิตภายในประเทศในสาขา เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ บุหรี่และสุรา และการบริการหลังการขาย ในการเจรจาครั้งนี้ จีนได้หารือกับ สหภาพยุโรปเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางวิชาการ กล่าวคือ เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว สหภาพยุโรป จะให้ความช่วยเหลือในโครงการต่างๆ เพื่อช่วยให้รัฐบาลจีนบริหารงานและสามารถปฏิบัติตามพันธกรณี ต่างๆ รวมทั้งการให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าตามที่จีนได้ให้ไว้กับสมาชิก WTO ผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างสหภาพยุโรปกับจีน จะให้ประโยชน์ทั้งแก่ สหภาพยุโรป จีน และประเทศในภูมิภาคเอเซีย กล่าวคือ นักธุรกิจในสหภาพยุโรปจะมีโอกาสค้าขายและเข้ามาลงทุนใน ประเทศจีนมากฃึ้น นอกจากนี้ ยังมั่นใจได้ว่ามีขบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO ที่จะช่วยตัดสินข้อขัดแย้ง ทางการค้าได้หากมีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนจีนก็จะได้ประโยชน์จากสมาชิก WTO ทั้งหมด ไม่ว่าในเรื่องภาษี การเปิดตลาดสินค้าและบริการเช่นกัน การที่จีนจะต้องยึดมั่นในหลักการของ WTO ว่าด้วยความโปร่งใส การไม่เลือกปฏิบัติ มีการบริหารงานที่เป็นอิสระ และมีความเสรีในการทบทวนกฎระเบียบต่างๆ จะเป็นผลดี ต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมของจีนในระยะยาว ดังนั้น การที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จะช่วยให้ จีนมีการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย และ ของโลกด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-