กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. รัฐบาลไทยยินดีที่ได้รับทราบว่า การเดินทางเยือนสหภาพพม่าของตัน ศรี ราซาลี อิสมาอิล (Tan Sri Razali Ismail) ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อพม่า ซึ่งมีขึ้นระหว่าง 9 - 12 ตุลาคม 2543 ประสบผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ
(1) นายราซาลีฯ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะผู้นำระดับสูงของพม่า ทั้งประธาน รองประธาน และเลขาธิการ 1 ของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ซึ่งถือเป็น ครั้งแรกที่ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติฯ ได้มีโอกาสพบปะหารือกับผู้นำดับระดับสูงของพม่าโดยตรง (2) นอกจากนั้น นายราซาลีฯ ยังได้พบปะกับนางออง ซาน ซู จี เลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ด้วย
2. ตามรายงานที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับทราบ การหารือระหว่างนายราซาลีฯ กับทั้งฝ่ายรัฐบาลพม่าและฝ่ายค้านดังกล่าวข้างต้นบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยความเข้าใจ ที่สำคัญคือ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านของพม่าต่างแสดงท่าทีโอนอ่อนผ่อนปรนให้กันและกันมากขึ้น ด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างแสดงความพร้อมที่จะพบปะหารือ (dialogue) กับอีกฝ่าย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ
3. รัฐบาลไทยขอยืนยันการสนับสนุนบทบาทของนายราซาลีฯ ในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการพบปะหารือระหว่างฝ่ายรัฐบาลพม่ากับฝ่ายค้านในโอกาสแรก เพื่อนำไปสู่การ คลี่คลายสถานการณ์ในพม่าให้บังเกิดผลคืบหน้าที่สำคัญและเป็นรูปธรรม รวมถึงการเจรจาและการปรองดองระหว่างฝ่ายต่างๆ ในพม่าซึ่งจะเป็นผลดีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียนโดยรวมในที่สุด
4. รัฐบาลไทยสนับสนุนให้ทุกฝ่ายในพม่าหันหน้าเข้าหากันและพบปะหารือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีเงื่อนไขเบื้องต้น เพื่อก่อให้เกิดความปรองดองแห่งชาติและความเจริญก้าวหน้าในพม่าสืบไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
1. รัฐบาลไทยยินดีที่ได้รับทราบว่า การเดินทางเยือนสหภาพพม่าของตัน ศรี ราซาลี อิสมาอิล (Tan Sri Razali Ismail) ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อพม่า ซึ่งมีขึ้นระหว่าง 9 - 12 ตุลาคม 2543 ประสบผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ
(1) นายราซาลีฯ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะผู้นำระดับสูงของพม่า ทั้งประธาน รองประธาน และเลขาธิการ 1 ของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ซึ่งถือเป็น ครั้งแรกที่ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติฯ ได้มีโอกาสพบปะหารือกับผู้นำดับระดับสูงของพม่าโดยตรง (2) นอกจากนั้น นายราซาลีฯ ยังได้พบปะกับนางออง ซาน ซู จี เลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ด้วย
2. ตามรายงานที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับทราบ การหารือระหว่างนายราซาลีฯ กับทั้งฝ่ายรัฐบาลพม่าและฝ่ายค้านดังกล่าวข้างต้นบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยความเข้าใจ ที่สำคัญคือ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านของพม่าต่างแสดงท่าทีโอนอ่อนผ่อนปรนให้กันและกันมากขึ้น ด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างแสดงความพร้อมที่จะพบปะหารือ (dialogue) กับอีกฝ่าย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ
3. รัฐบาลไทยขอยืนยันการสนับสนุนบทบาทของนายราซาลีฯ ในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการพบปะหารือระหว่างฝ่ายรัฐบาลพม่ากับฝ่ายค้านในโอกาสแรก เพื่อนำไปสู่การ คลี่คลายสถานการณ์ในพม่าให้บังเกิดผลคืบหน้าที่สำคัญและเป็นรูปธรรม รวมถึงการเจรจาและการปรองดองระหว่างฝ่ายต่างๆ ในพม่าซึ่งจะเป็นผลดีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียนโดยรวมในที่สุด
4. รัฐบาลไทยสนับสนุนให้ทุกฝ่ายในพม่าหันหน้าเข้าหากันและพบปะหารือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีเงื่อนไขเบื้องต้น เพื่อก่อให้เกิดความปรองดองแห่งชาติและความเจริญก้าวหน้าในพม่าสืบไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-