กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16-21 เมษายน 2544 ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบด้วย นางเพลินพิศ มีเมศกุล อัครราชทูตที่ปรึกษา นายธีระพงษ์ วนิชชานนท์ เลขานุการเอก (เจ้าหน้าที่กงสุล) และนายบุญญฤทธิ์ วิเชียรพันธุ์ เลขานุการโท (เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจ) ได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในการคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของชุมชน ชาวไทยในสาธารณรัฐมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
สาธารณรัฐมาดากัสการ์เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญที่สุดของไทยในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะแซฟไฟร์และทับทิม ปัจจุบันมีผู้ประกอบการด้านอัญมณีของไทยเดินทางเข้าไปซื้อพลอยดิบที่บ่อพลอยในมาดากัสการ์ประมาณ 400 คน และมีบริษัทของคนไทยที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองพลอยขนาดใหญ่ในมาดากัสการ์จำนวน 6 บริษัท อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการชาวไทยที่เข้าไปทำธุรกิจในมาดากัสการ์ประสบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการถูกจับกุม เนื่องมาจากความไม่เข้าใจในกฎระเบียบของทางการมาดากัสการ์
กระทรวงการต่างประเทศเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้าไปแสวงหาวัตถุดิบในภูมิภาคแอฟริกาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็ตระหนักดีถึงภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศในการให้ความคุ้มครองดูแลชาวไทยในต่างแดน และโดยที่ในปัจจุบันยังไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในมาดากัสการ์ และยังไม่สามารถจัดตั้งได้ในขณะนี้อันเนื่องมาจากปัญหาด้านงบประมาณ จึงเห็นว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือการให้ข้าราชการของสถานเอกอัครราชทูตฯ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในมาดากัสการ์อย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 เดือน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจาและประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ทั้งภาค ราชการและเอกชนของมาดากัสการ์ ตลอดจนปฏิบัติงานด้านกงสุลและให้การคุ้มครองคนไทยใน มาดากัสการ์ด้วย
เมื่อวันที่ 16-21 เมษายน ศกนี้ ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย โดยการมอบหมายจากเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในมาดากัสการ์ตามโครงการเป็นครั้งแรก ซึ่งมีโอกาสได้พบกับผู้แทนหน่วยงานราชการที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์และการบริโภค โดยฝ่ายไทยได้หยิบยกปัญหาของผู้ประกอบการชาวไทยขึ้นหารือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยงานต่างยินดีให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่า ในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทางการมาดากัสการ์กำลังพิจารณากฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านอัญมณีในมาดากัสการ์ เพื่อความเป็นระเบียบของการ ทำธุรกิจของชาวต่างชาติ ภายหลังจากพบผู้แทนหน่วยงานราชการต่างๆ แล้ว ข้าราชการสถานเอก-อัครราชทูตฯ ยังได้พบผู้แทนชุมชนคนไทยที่ไปทำธุรกิจอยู่ในมาดากัสการ์ด้วย โดยได้แจ้งให้ทราบถึงการพิจารณากฎระเบียบใหม่ และจะแจ้งให้ชุมชนไทยทราบถึงความคืบหน้าทุกระยะ เพื่อให้ ผู้ประกอบการชาวไทยสามารถทำธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และไม่เกิดปัญหากับทางการมาดากัสการ์ ขึ้นอีก
การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจของข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นมาตรการรุกมาตรการหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินนโยบายให้ความคุ้มครองดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างแดน อีกทั้งยังเป็นความพยายามของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องการเปิดประตูการค้าการลงทุนในตลาดใหม่ๆ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ และมีศักยภาพสำหรับการค้าการลงทุนเช่นในภูมิภาคแอฟริกาอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-YK-
เมื่อวันที่ 16-21 เมษายน 2544 ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบด้วย นางเพลินพิศ มีเมศกุล อัครราชทูตที่ปรึกษา นายธีระพงษ์ วนิชชานนท์ เลขานุการเอก (เจ้าหน้าที่กงสุล) และนายบุญญฤทธิ์ วิเชียรพันธุ์ เลขานุการโท (เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจ) ได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในการคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของชุมชน ชาวไทยในสาธารณรัฐมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
สาธารณรัฐมาดากัสการ์เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญที่สุดของไทยในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะแซฟไฟร์และทับทิม ปัจจุบันมีผู้ประกอบการด้านอัญมณีของไทยเดินทางเข้าไปซื้อพลอยดิบที่บ่อพลอยในมาดากัสการ์ประมาณ 400 คน และมีบริษัทของคนไทยที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองพลอยขนาดใหญ่ในมาดากัสการ์จำนวน 6 บริษัท อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการชาวไทยที่เข้าไปทำธุรกิจในมาดากัสการ์ประสบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการถูกจับกุม เนื่องมาจากความไม่เข้าใจในกฎระเบียบของทางการมาดากัสการ์
กระทรวงการต่างประเทศเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้าไปแสวงหาวัตถุดิบในภูมิภาคแอฟริกาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็ตระหนักดีถึงภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศในการให้ความคุ้มครองดูแลชาวไทยในต่างแดน และโดยที่ในปัจจุบันยังไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในมาดากัสการ์ และยังไม่สามารถจัดตั้งได้ในขณะนี้อันเนื่องมาจากปัญหาด้านงบประมาณ จึงเห็นว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือการให้ข้าราชการของสถานเอกอัครราชทูตฯ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในมาดากัสการ์อย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 เดือน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจาและประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ทั้งภาค ราชการและเอกชนของมาดากัสการ์ ตลอดจนปฏิบัติงานด้านกงสุลและให้การคุ้มครองคนไทยใน มาดากัสการ์ด้วย
เมื่อวันที่ 16-21 เมษายน ศกนี้ ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย โดยการมอบหมายจากเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในมาดากัสการ์ตามโครงการเป็นครั้งแรก ซึ่งมีโอกาสได้พบกับผู้แทนหน่วยงานราชการที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์และการบริโภค โดยฝ่ายไทยได้หยิบยกปัญหาของผู้ประกอบการชาวไทยขึ้นหารือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยงานต่างยินดีให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่า ในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทางการมาดากัสการ์กำลังพิจารณากฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านอัญมณีในมาดากัสการ์ เพื่อความเป็นระเบียบของการ ทำธุรกิจของชาวต่างชาติ ภายหลังจากพบผู้แทนหน่วยงานราชการต่างๆ แล้ว ข้าราชการสถานเอก-อัครราชทูตฯ ยังได้พบผู้แทนชุมชนคนไทยที่ไปทำธุรกิจอยู่ในมาดากัสการ์ด้วย โดยได้แจ้งให้ทราบถึงการพิจารณากฎระเบียบใหม่ และจะแจ้งให้ชุมชนไทยทราบถึงความคืบหน้าทุกระยะ เพื่อให้ ผู้ประกอบการชาวไทยสามารถทำธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และไม่เกิดปัญหากับทางการมาดากัสการ์ ขึ้นอีก
การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจของข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นมาตรการรุกมาตรการหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินนโยบายให้ความคุ้มครองดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างแดน อีกทั้งยังเป็นความพยายามของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องการเปิดประตูการค้าการลงทุนในตลาดใหม่ๆ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ และมีศักยภาพสำหรับการค้าการลงทุนเช่นในภูมิภาคแอฟริกาอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-YK-