บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Monday September 3, 2001 13:29 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รายงานผลการตรวจสอบรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระนี้ออกไปก่อนและมีมติมอบหมายให้คณะกรรมาธิการ
การงบประมาณรับรายงานดังกล่าวไปพิจารณาแล้วรายงานต่อวุฒิสภา
๒. รายงานกิจการ งบดุล งบกำไรขาดทุนและผลการดำเนินงานประจำปี ๒๕๔๓
(๑ มกราคม ๒๕๔๓ - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓) ของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย และ
รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๓ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระนี้ออกไปก่อนและมีมติมอบหมาย
ให้คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินรับรายงานดังกล่าวไปพิจารณา
แล้วรายงานต่อวุฒิสภา
๓. รายงานผลการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินประจำปี ๒๕๔๓
ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระนี้ออกไปก่อนและ
มีมติมอบหมายให้คณะกรรมาธิการการปกครองรับรายงานดังกล่าวไปพิจารณาแล้วรายงานต่อ
วุฒิสภา
๔. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำปี ๒๕๔๓
ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระนี้ออกไปก่อนและมีมติมอบหมายให้คณะกรรมาธิการกิจการองค์กร
อิสระรับรายงานดังกล่าวไปพิจารณาแล้วรายงานต่อวุฒิสภา
๕. ประธานวุฒิสภาได้พิจารณามอบหมายร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ได้มีมติรับหลักการแล้ว รวม ๕ ฉบับ ให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาที่เกี่ยวข้องรับไป
ดำเนินการ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๐๙ ดังนี้
๑) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ส่งให้คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวพิจารณาศึกษา
๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ส่งให้คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนพิจารณาศึกษา
๓) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ….
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม ๓ ฉบับ ส่งให้คณะกรรมาธิการ
การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
และคณะกรรมาธิการการงบประมาณร่วมกันพิจารณาศึกษา
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๗๘ ประกอบข้อ ๗๙ จำนวน ๒๗ คน ประกอบด้วย
๑. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๒. นายประเกียรติ นาสิมมา
๓. นายศรีเมือง เจริญศิริ ๔. นายสุชน ชาลีเครือ
๕. นายอาคม ตุลาดิลก ๖. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
๗. พลโท โอภาส รัตนบุรี ๘. นายสุรเดช ยะสวัสดิ์
๙. นายการุณ ใสงาม ๑๐. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๑๑. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ๑๒. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์
๑๓. นายมนู วณิชชานนท์ ๑๔. นายสนิท จันทรวงศ์
๑๕. นายณรงค์ นุ่นทอง ๑๖. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๑๗. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๑๘. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๑๙. พลตรี สาคร กิจวิริยะ ๒๐. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๒๑. นายไสว พราหมณี ๒๒. นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
๒๓. นายชุมพล ศิลปอาชา ๒๔. นายถาวร เกียรติไชยากร
๒๕. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ๒๖. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์
๒๗. เลขาธิการวุฒิสภา
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๖ คน ประกอบด้วย
๑. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ๒. นายแก้วสรร อติโพธิ
๓. นายวิชัย ครองยุติ ๔. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ
๕. นายระวี กิ่งคำวงศ์ ๖. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๗. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า ๘. นายอมร นิลเปรม
๙. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๑๐. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
๑๑. นายอาคม ตุลาดิลก ๑๒. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
๑๓. นายสามารถ รัตนประทีปพร ๑๔. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
๑๕. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ๑๖. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๑๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๑๘. นายการุณ ใสงาม
๑๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ๒๐. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ
๒๑. นายรส มะลิผล ๒๒. นายวราเทพ รัตนากร
๒๓. นายปกิต พัฒนกุล ๒๔. นางสาวพรทิพย์ จาละ
๒๕. นายเกริก วณิกกุล ๒๖. ร้อยตรี ยอดชาย ชูศรี
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๔ วัน
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานของที่ประชุม
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตั้งกรรมาธิการสามัญและวิสามัญแทนตำแหน่งที่ว่าง
รวม ๕ คณะ ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอ
ให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแทนตำแหน่งที่ว่าง
๒ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้ง นายอูมาร์ ตอยิบ และนายคำพันธ์ ป้องปาน
เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๒. ตั้งกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรมแทนตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้ง นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ เป็นกรรมาธิการ
แทนตำแหน่งที่ว่าง
๓. ตั้งกรรมาธิการการสาธารณสุขแทนตำแหน่งที่ว่าง ๓ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบให้ตั้ง พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ และนายชิต เจริญประเสริฐ
เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๔. ตั้งกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภาแทนตำแหน่ง
ที่ว่าง ๓ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้ง นายถาวร เกียรติไชยากร นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
และนางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๕. ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้ง พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๕๕ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายจำนงค์ สวมประคำ)
รองเลขาธิการวุฒิสภา รักษาราชการแทน
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ