ข่าวในประเทศ
1. ธปท.แถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือน ก.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวถึง แนวโน้มเศรษฐกิจว่ายังคงอยู่ในระดับที่ดี โดยเดือน ก.ค.43 ภาคการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสูงถึง 5.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 37 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงร้อยละ 36.6 มูลค่า 5.3 พัน ล.ดอลลาร์ ทำให้ดุลการค้ามียอดเกินดุล ประกอบกับดุลบริการและดุลบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงสุดในรอบ 4 เดือน เป็นจำนวน 1.09 พัน ล.ดอลลาร์ ด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายยังมีการชำระหนี้คืนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลเพียง 8 ล.ดอลลาร์ การใช้กำลังการผลิตลดลงเหลือร้อยละ 54.5 จากร้อยละ 56.4 ในเดือน มิ.ย.43 การใช้จ่ายในประเทศยังขยายตัวในอัตราสูง โดยยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 27.1 ในเดือน พ.ค. ส่วนอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ แม้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ราคาน้ำมันสูงขึ้น และราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.0 ทำให้ไม่น่าห่วงที่จะรักษาเป้าหมายไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 (ไทยโพสต์ 1)
2. รัฐบาลมีรายรับจำนวน 613,398 ล.บาท ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 รองโฆษก ก.คลังเปิดเผยข้อมูลการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 (ต.ค.42-ก.ค.43) ว่า รัฐบาลมีรายรับทั้งสิ้น 613,398 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 ขณะที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น 694,055 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 80,657 ล.บาท แต่เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณซึ่งขาดดุล 13,993 ล.บาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 94,650 ล.บาท สำหรับเดือน ก.ค.43 รัฐบาลมีรายรับรวม 57,527 ล.บาท มีรายจ่าย 60,281 ล.บาท ทำให้รัฐบาลมีงบประมาณขาดดุล 2,754 ล.บาท เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 248 ล.บาท ทำให้ขาดดุลเงินสด2,506 ล.บาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค.43 มียอดคงเหลือทั้งสิ้น 67,456 ล.บาท สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้รวม 667,982 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 8,224 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 กรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงสุด โดยสูงกว่าปีก่อนเป็นจำนวน 71,455 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 (แนวหน้า,วัฏจักร 1)
3. ตลาดหลักทรัพย์รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในรอบ 6 เดือนของปี 43 ว่า มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 216 บริษัท เพิ่มขึ้นจาก 196 บริษัทในปีก่อน และมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 134 บริษัท ลดลงจาก 154 บริษัท ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งหมดมีผลขาดทุนสุทธิรวม 63,788 ล.บาท เทียบกับจำนวน 163,210 ล.บาท ในปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 61 แต่หากไม่รวมผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงินและบริษัทที่อยู่ในกลุ่มการฟื้นฟูจะมีกำไรสุทธิ 24,503 ล.บาท ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ แยกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า อุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 23 กลุ่ม เป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมบริการ (วัฏจักร 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. ลดงร้อยละ 7.5 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 31 ส.ค.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ก.ค.43 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานปรับฤดูกาลของ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.5 มาอยู่ที่มูลค่า 377.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 408.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน มิ.ย.43 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ในเดือน ก.ค.43 ลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีท ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.1 และเป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่มีการจัดทำสถิติ การลดลงของคำสั่งซื้อฯ ในเดือนดังกล่าว นำโดยการลดลงของคำสั่งซื้อสินค้าประเภทการขนส่ง เช่น เครื่องบิน ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 31.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6 ในเดือน มิ.ย.43 และเป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่มีการจัดทำสถิติ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ข้อมูลคำสั่งซื้อฯ ของ ก.พาณิชย์ สอดคล้องกับรายงานของ Chicagoland Business Barometer ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งลดลงอยู่ที่ระดับ 46.5 จากที่อยู่ที่ระดับ 52.0 ในเดือน ก.ค.43 ช่วยย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจของ สรอ.กำลังขยายตัวในอัตราชะลอลง (รอยเตอร์ 31)
2. ผุ้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลงอยู่ที่จำนวน 318,000 คน เทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้วในสัปดาห์ก่อน อยู่ที่จำนวน 321,000 คน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากจากตัวเลขเบื้องต้น ที่จำนวน 314,000 คน เนื่องจากมีการผิดพลาดในการจัดทำสถิติของหน่วยงาน ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการฯเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งใช้ชี้ภาวะการจ้างงานได้ถูกต้องมากขึ้น อยู่ที่จำนวน 313,000 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 302,250 คนในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มสูงสุดในรอบมากกว่า 1ปีครึ่ง นับตั้งแต่เคยอยู่ที่จำนวน 315,500 คนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ม.ค. 42 ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลาง จะให้ความสำคัญต่อรายงานการจ้างงานในเดือน ส.ค. 43 อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป (รอยเตอร์ 31)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของ สรอ. ลดลงต่ำว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่3 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 31 ส.ค.43 บริษัท Freddie Mac รายงานว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย.43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ของ สรอ. เฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.96 ลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.99 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ อัตราคงที่ระยะ 15 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.67 ลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.72 ในสัปดาห์ก่อน นับว่าลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกัน เป็นสัปดาห์ที่ 12 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ที่ปรับได้ (Adjustable-rate mortgages = ARM) ระยะ 1 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.27 จากระดับร้อยละ 7.37 ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Freddie Mac กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยฯ ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นผลจากการที่ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31ส.ค. 43 40.926 (40.959)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 31ส.ค.43 ซื้อ 40.7302 (40.7608) ขาย 41.0277 (41.0671)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.57 (29.86)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.แถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือน ก.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวถึง แนวโน้มเศรษฐกิจว่ายังคงอยู่ในระดับที่ดี โดยเดือน ก.ค.43 ภาคการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสูงถึง 5.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 37 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงร้อยละ 36.6 มูลค่า 5.3 พัน ล.ดอลลาร์ ทำให้ดุลการค้ามียอดเกินดุล ประกอบกับดุลบริการและดุลบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงสุดในรอบ 4 เดือน เป็นจำนวน 1.09 พัน ล.ดอลลาร์ ด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายยังมีการชำระหนี้คืนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลเพียง 8 ล.ดอลลาร์ การใช้กำลังการผลิตลดลงเหลือร้อยละ 54.5 จากร้อยละ 56.4 ในเดือน มิ.ย.43 การใช้จ่ายในประเทศยังขยายตัวในอัตราสูง โดยยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 27.1 ในเดือน พ.ค. ส่วนอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ แม้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ราคาน้ำมันสูงขึ้น และราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.0 ทำให้ไม่น่าห่วงที่จะรักษาเป้าหมายไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 (ไทยโพสต์ 1)
2. รัฐบาลมีรายรับจำนวน 613,398 ล.บาท ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 รองโฆษก ก.คลังเปิดเผยข้อมูลการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 (ต.ค.42-ก.ค.43) ว่า รัฐบาลมีรายรับทั้งสิ้น 613,398 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 ขณะที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น 694,055 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 80,657 ล.บาท แต่เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณซึ่งขาดดุล 13,993 ล.บาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 94,650 ล.บาท สำหรับเดือน ก.ค.43 รัฐบาลมีรายรับรวม 57,527 ล.บาท มีรายจ่าย 60,281 ล.บาท ทำให้รัฐบาลมีงบประมาณขาดดุล 2,754 ล.บาท เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 248 ล.บาท ทำให้ขาดดุลเงินสด2,506 ล.บาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค.43 มียอดคงเหลือทั้งสิ้น 67,456 ล.บาท สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้รวม 667,982 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 8,224 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 กรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงสุด โดยสูงกว่าปีก่อนเป็นจำนวน 71,455 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 (แนวหน้า,วัฏจักร 1)
3. ตลาดหลักทรัพย์รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในรอบ 6 เดือนของปี 43 ว่า มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 216 บริษัท เพิ่มขึ้นจาก 196 บริษัทในปีก่อน และมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 134 บริษัท ลดลงจาก 154 บริษัท ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งหมดมีผลขาดทุนสุทธิรวม 63,788 ล.บาท เทียบกับจำนวน 163,210 ล.บาท ในปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 61 แต่หากไม่รวมผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงินและบริษัทที่อยู่ในกลุ่มการฟื้นฟูจะมีกำไรสุทธิ 24,503 ล.บาท ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ แยกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า อุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 23 กลุ่ม เป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมบริการ (วัฏจักร 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. ลดงร้อยละ 7.5 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 31 ส.ค.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ก.ค.43 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานปรับฤดูกาลของ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.5 มาอยู่ที่มูลค่า 377.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 408.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน มิ.ย.43 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ในเดือน ก.ค.43 ลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีท ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.1 และเป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่มีการจัดทำสถิติ การลดลงของคำสั่งซื้อฯ ในเดือนดังกล่าว นำโดยการลดลงของคำสั่งซื้อสินค้าประเภทการขนส่ง เช่น เครื่องบิน ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 31.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6 ในเดือน มิ.ย.43 และเป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่มีการจัดทำสถิติ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ข้อมูลคำสั่งซื้อฯ ของ ก.พาณิชย์ สอดคล้องกับรายงานของ Chicagoland Business Barometer ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งลดลงอยู่ที่ระดับ 46.5 จากที่อยู่ที่ระดับ 52.0 ในเดือน ก.ค.43 ช่วยย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจของ สรอ.กำลังขยายตัวในอัตราชะลอลง (รอยเตอร์ 31)
2. ผุ้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลงอยู่ที่จำนวน 318,000 คน เทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้วในสัปดาห์ก่อน อยู่ที่จำนวน 321,000 คน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากจากตัวเลขเบื้องต้น ที่จำนวน 314,000 คน เนื่องจากมีการผิดพลาดในการจัดทำสถิติของหน่วยงาน ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการฯเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งใช้ชี้ภาวะการจ้างงานได้ถูกต้องมากขึ้น อยู่ที่จำนวน 313,000 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 302,250 คนในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มสูงสุดในรอบมากกว่า 1ปีครึ่ง นับตั้งแต่เคยอยู่ที่จำนวน 315,500 คนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ม.ค. 42 ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลาง จะให้ความสำคัญต่อรายงานการจ้างงานในเดือน ส.ค. 43 อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป (รอยเตอร์ 31)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของ สรอ. ลดลงต่ำว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่3 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 31 ส.ค.43 บริษัท Freddie Mac รายงานว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย.43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ของ สรอ. เฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.96 ลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.99 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ อัตราคงที่ระยะ 15 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.67 ลดลงจากระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.72 ในสัปดาห์ก่อน นับว่าลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกัน เป็นสัปดาห์ที่ 12 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ที่ปรับได้ (Adjustable-rate mortgages = ARM) ระยะ 1 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.27 จากระดับร้อยละ 7.37 ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Freddie Mac กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยฯ ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นผลจากการที่ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31ส.ค. 43 40.926 (40.959)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 31ส.ค.43 ซื้อ 40.7302 (40.7608) ขาย 41.0277 (41.0671)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.57 (29.86)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-