กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
แถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนอินเดียของ ฯ พณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2544
1. ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนประเทศอินเดียเป็นเวลา 4 วันระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2544 ตามคำเชิญของ ฯพณฯ นายอตัล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดีย โดยมีคณะทางการอันประกอบด้วย ฯพณฯ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฯพณฯ ดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฯพณฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พิเชษฐ์ สถิรชวาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายประจวบ ไชยสาส์น ผู้แทนการค้าของไทย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย ตลอดจนคณะผู้แทนจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทย
2. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เยือนเมืองบังคาลอร์ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2544 และได้มีการหารืออย่างเป็นทางการในกรุงนิวเดลีในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 หลังจากนั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเมืองอัคระในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544
3. ที่เมืองบังคาลอร์ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมองค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย (Indian Space Research Organization) นิคมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์แห่งอินเดีย ( Software Technology Park of India) และบริษัท Infosys ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ของอินเดีย ทั้งนี้ ในค่ำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ดร. V. S. Rama Devi ผู้ว่าการรัฐกรณาฎกะ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะผู้แทนไทย ด้วย
4. ในวันต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมนักธุรกิจอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นร่วมกันระหว่างสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอินเดีย (Confederation of Indian Industries หรือ CII) และ สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Industry and Commerce หรือ FICCI) โดยกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของไทยในเรื่องกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในบ่ายวันเดียวกัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมบริษัท Hindustan Aeronautics Ltd ก่อนที่จะ เดินทางไปยังกรุงนิวเดลี
5. ที่กรุงนิวเดลี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ประกอบพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ก็ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีอินเดีย และ ฯพณฯ นาย Krishan Kant รองประธานาธิบดีอินเดีย นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้พบและหารือข้อราชการกันในรายละเอียด นอกจากนี้ ฯพณฯ นาย Jaswant Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย ฯพณฯ นาย L. K. Advani รัฐมนตรีว่าการรกระทรวงมหาดไทยของอินเดีย ฯพณฯ นาย Pramod Mahajan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนาง Sonia Gandhi หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ด้วย
6. ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ผู้นำของทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในเรื่องของความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอินเดียและไทย ตลอดจนประเด็นระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ ผู้นำทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับวิธีการที่จะขยายและกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์
7. ผู้นำทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ยาวนานและเก่าแก่ระหว่างไทยกับอินเดีย จึงได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งโดยการประสานการวางแผนและประสานงานในเรื่องต่างๆ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ร่วมสมัย ทั้งนี้ ผู้นำสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันว่าการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงควรจะมีขึ้นอย่างสม่ำเสมอต่อไป 8. ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองฝ่าย และแสดงความยินดีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จฯ แทนพระองค์ฯ เยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ (State Visit) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งการเสด็จฯ เยือนอินเดียครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและไทย และจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและประเทศทั้งสอง ซึ่งมีมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันมาแต่โบราณกาล
8. นายกรัฐมนตรีของอินเดียและไทยได้หารือในประเด็นต่างๆ ระดับทวิภาคี ภูมิภาคและระหว่างประเทศ และได้แสดงเจตนารมย์ที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในระดับทวิภาคีและภูมิภาคในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
9. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความมั่นคงของทั้งสองประเทศ และความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายสากล การค้ายาเสพติด การลักลอบขนสินค้า และด้านอื่นๆ ผู้นำทั้งสองตกลงกันที่จะให้มีกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสองฝ่ายอย่างเป็นระบบ ซึ่งแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมจะได้มีการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังเห็นด้วยว่า ควรดำเนินการจัดทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition Treaty) ระหว่างกันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
10. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือ BIMST-EC ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา (ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นสมาชิก) และความร่วมมืออาเซียน-อินเดีย นายกรัฐมนตรีทั้งสองแสดงความพอใจต่อพัฒนาการภายใต้กรอบ BIMST-EC และความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา และเห็นพ้องกันว่าสมาชิกของกรอบเหล่านั้นควรมุ่งเน้นความร่วมมือกันอย่างจริงจังมากขึ้น ในการนี้ ได้เห็นพ้องกันว่า อินเดีย-พม่า-ไทย สามารถที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและการหเชื่อมโยงระบบการขนส่งของทั้งสามประเทศ เพื่อที่จะขยายปริมาณการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้รับทราบว่า รัฐบาลพม่าจะเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับ รัฐมนตรีสามฝ่ายในเดือนธันวาคม 2544 หรือ มกราคม 2545 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะร่วมมือกันในด้านประมงทั้งในรูปทวิภาคีและภายใต้กรอบความร่วมมือที่กล่าวข้างต้น
11. สำหรับในเรื่องความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย นั้น ทั้งสองฝ่ายมีความยินดีที่จะมีการประชุมระดับผู้นำระหว่างอาเซียน-อินเดีย ซึ่งจะเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-อินเดีย 12. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วม (Joint Working Group) ในระดับรัฐบาลเพื่อที่จะทำการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ระหว่างไทยกับอินเดีย
13. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับมาตรการที่จะเพิ่มปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัน รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งระบบการค้าแบบจดบัญชี (account trade agreement) ทวิภาคี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
14. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับวิธีการร่วมมือด้านการค้าข้าว ซึ่งรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด การหารือระหว่างสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และเห็นว่าความร่วมมือด้านนี้จะสามารถมีบทบาทสร้างสรรค์ในตลาดการค้าข้าวของโลกเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้ด้วย
15. ในการนี้ ผู้นำของทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่ายหารือกันในเรื่องทั้งสองข้างต้นต่อไป ตามที่ได้มีการหารือกันระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย กับ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย
16. ฝ่ายไทยและฝ่ายอินเดียเห็นพ้องกันว่าทั้งสองฝ่ายควรมีปฎิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้นในด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยได้ระบุสาขาซึ่งเป็นที่สนใจของทั้งสองฝ่าย ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างเครือข่ายถนน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการท่องเที่ยว ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นชอบที่จะจัดตั้ง "ศูนย์ร่วมทุน" (Joint Venture Centre) ในอินเดีย เพื่ออำนวยความสะดวกการร่วมทุนระหว่างธุรกิจสองฝ่ายในด้านการก่อสร้างถนน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และด้านอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ
17. ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องกันว่าควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องการ แลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อเพิ่มการปฎิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้รับทราบมาตรการที่จำเป็นซึ่งจะส่งเสริมการเดินทางของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
18. โดยที่เห็นว่า เยาวชน นักคิด นักวิชาการ และนักธุรกิจของทั้งสองฝ่ายยัง ไม่รู้จักกันดีพอเกี่ยวกับพัฒนาการปัจจุบันของอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น เพื่อแก้ไขสถานะดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการสานต่อโครงการเสวนาทางวิชาการ (Thailand-India Colloquium) ซึ่งเคยมีการจัดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2539 ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้มีส่วนช่วยเหลือให้ตัวแทนจากสถาบันวิจัยเอกชน (think tanks) วงการนักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนจากทั้งสองฝ่ายได้พบหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันความสัมพันธ์ทวิภาคีให้พัฒนาต่อไป
19. นายกรัฐมนตรี สองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าสถาบันอุดมศึกษาและสถานศึกษาของทั้งสองฝ่ายควรมีปฎิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น และเห็นควรสนับสนุนให้เพิ่มการแลกเปลี่ยนนักวิชาการและนักศึกษาระหว่างสถาบันเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการและเยาวชนสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น
20. ผู้นำของทั้งสองฝ่ายเห็นว่าอินเดียและไทยมีความเห็นพ้องในเรื่องระดับระหว่างประเทศหลายเรื่อง และทั้งสองฝ่ายจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มความร่วมมือและประสานงานกันในเวทีพหุภาคี ในการนี้ อินเดียยินดีต่อข้อเสนอของไทยที่จะมีการจัดตั้ง กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue) ซึ่งจะเป็นเวทีไม่เป็นทางการสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากทวีปเอเชีย มาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะให้มีกลุ่มแกนนำ (core group) ประกอบด้วยบางประเทศ ซึ่งรวมทั้งอินเดียด้วย หารือในเรื่อง ACD ต่อไป
21. นายกรัฐมนตรี ของทั้งสองฝ่ายแสดงความพอใจต่อผลการประชุมระดับรมต.องค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กรุงโดฮา ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการปรึกษาหารือระหว่างกันในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาต่อไป
22. นายกรัฐมนตรี ของทั้งสองฝ่ายประณามการก่อการร้ายต่อสหรัฐฯ ในวันที่ 11 ก.ย. 2544 และเห็นพ้องกันว่าการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวงต่อสันติภาพระหว่างประเทศ เสถียรภาพ ความมั่นคง และการพัฒนา ดังนั้น การต่อต้านการก่อการร้ายจึงควรกระทำในลักษณะที่ต่อเนื่องและสมบูรณ์แบบ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องร่วมกันว่า การต่อต้านการก่อการร้ายจะต้องครอบคลุมถึงผู้ที่ให้แหล่งพักพิงแก่กลุ่มก่อการร้าย ตลอดจนผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงิน การวางแผนการกระทำการก่อการร้ายเอง หรือการให้การสนับสนุนใดๆ อย่างแข็งขันหรือสนับสนุนโดยทางอ้อมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำการก่อการร้าย ดังที่ระบุในข้อมติที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ โดยที่การป้องปรามและปราบปรามการก่อการร้ายจะต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างนานาประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงพร้อมที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการนำข้อมติที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติไปปฏิบัติ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความประสงค์ที่จะให้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการก่อการร้ายข้ามชาติบับสมบูรณ์ (Comprehensive Convention on International Terrorism) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
23. ในเรื่องการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นพ้องกันว่า องค์ประกอบของคณะมนตรีฯ ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบัน และเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องขยายจำนวนที่นั่งของประเทศสมาชิกในคณะมนตรีฯ ทั้งประเภทถาวร และไม่ถาวร โดยยึดหลักการของการเป็นประชาธิปไตยและการมีตัวแทนจากภูมิภาคต่างๆ
24. ในโอกาสนี้ ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการรกระทรวงการต่างประเทศ กับนายปราโมท มหาชน รัฐมนตรีกิจการรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศ และคมนาคมของอินเดียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการสารสนเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเป็นสักขีพยาน
25. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณฝ่ายอินเดียที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งซึ่งทำให้การเยือนฯ อยู่ในความทรงจำและประสบผลสำเร็จด้วยดี ทั้งนี้ ฯพณฯ นายก รัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีอินเดียให้เดินทางไปเยือนประเทศไทยในโอกาสแรกที่จะสะดวกแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายอินเดียได้ตอบรับด้วยความยินดี ส่วนกำหนดวันเยือนนั้น ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันผ่านช่องทางการทูตต่อไป--จบ--
-อน-
แถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนอินเดียของ ฯ พณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2544
1. ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนประเทศอินเดียเป็นเวลา 4 วันระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2544 ตามคำเชิญของ ฯพณฯ นายอตัล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดีย โดยมีคณะทางการอันประกอบด้วย ฯพณฯ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฯพณฯ ดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฯพณฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พิเชษฐ์ สถิรชวาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายประจวบ ไชยสาส์น ผู้แทนการค้าของไทย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย ตลอดจนคณะผู้แทนจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทย
2. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เยือนเมืองบังคาลอร์ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2544 และได้มีการหารืออย่างเป็นทางการในกรุงนิวเดลีในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 หลังจากนั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเมืองอัคระในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544
3. ที่เมืองบังคาลอร์ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมองค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย (Indian Space Research Organization) นิคมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์แห่งอินเดีย ( Software Technology Park of India) และบริษัท Infosys ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ของอินเดีย ทั้งนี้ ในค่ำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ดร. V. S. Rama Devi ผู้ว่าการรัฐกรณาฎกะ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะผู้แทนไทย ด้วย
4. ในวันต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมนักธุรกิจอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นร่วมกันระหว่างสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอินเดีย (Confederation of Indian Industries หรือ CII) และ สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Industry and Commerce หรือ FICCI) โดยกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของไทยในเรื่องกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในบ่ายวันเดียวกัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมบริษัท Hindustan Aeronautics Ltd ก่อนที่จะ เดินทางไปยังกรุงนิวเดลี
5. ที่กรุงนิวเดลี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ประกอบพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ก็ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีอินเดีย และ ฯพณฯ นาย Krishan Kant รองประธานาธิบดีอินเดีย นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้พบและหารือข้อราชการกันในรายละเอียด นอกจากนี้ ฯพณฯ นาย Jaswant Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย ฯพณฯ นาย L. K. Advani รัฐมนตรีว่าการรกระทรวงมหาดไทยของอินเดีย ฯพณฯ นาย Pramod Mahajan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนาง Sonia Gandhi หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ด้วย
6. ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ผู้นำของทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในเรื่องของความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอินเดียและไทย ตลอดจนประเด็นระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ ผู้นำทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับวิธีการที่จะขยายและกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์
7. ผู้นำทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ยาวนานและเก่าแก่ระหว่างไทยกับอินเดีย จึงได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งโดยการประสานการวางแผนและประสานงานในเรื่องต่างๆ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ร่วมสมัย ทั้งนี้ ผู้นำสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันว่าการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงควรจะมีขึ้นอย่างสม่ำเสมอต่อไป 8. ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองฝ่าย และแสดงความยินดีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จฯ แทนพระองค์ฯ เยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ (State Visit) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งการเสด็จฯ เยือนอินเดียครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและไทย และจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและประเทศทั้งสอง ซึ่งมีมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันมาแต่โบราณกาล
8. นายกรัฐมนตรีของอินเดียและไทยได้หารือในประเด็นต่างๆ ระดับทวิภาคี ภูมิภาคและระหว่างประเทศ และได้แสดงเจตนารมย์ที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในระดับทวิภาคีและภูมิภาคในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
9. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความมั่นคงของทั้งสองประเทศ และความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายสากล การค้ายาเสพติด การลักลอบขนสินค้า และด้านอื่นๆ ผู้นำทั้งสองตกลงกันที่จะให้มีกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสองฝ่ายอย่างเป็นระบบ ซึ่งแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมจะได้มีการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังเห็นด้วยว่า ควรดำเนินการจัดทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition Treaty) ระหว่างกันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
10. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือ BIMST-EC ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา (ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นสมาชิก) และความร่วมมืออาเซียน-อินเดีย นายกรัฐมนตรีทั้งสองแสดงความพอใจต่อพัฒนาการภายใต้กรอบ BIMST-EC และความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา และเห็นพ้องกันว่าสมาชิกของกรอบเหล่านั้นควรมุ่งเน้นความร่วมมือกันอย่างจริงจังมากขึ้น ในการนี้ ได้เห็นพ้องกันว่า อินเดีย-พม่า-ไทย สามารถที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและการหเชื่อมโยงระบบการขนส่งของทั้งสามประเทศ เพื่อที่จะขยายปริมาณการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้รับทราบว่า รัฐบาลพม่าจะเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับ รัฐมนตรีสามฝ่ายในเดือนธันวาคม 2544 หรือ มกราคม 2545 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะร่วมมือกันในด้านประมงทั้งในรูปทวิภาคีและภายใต้กรอบความร่วมมือที่กล่าวข้างต้น
11. สำหรับในเรื่องความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย นั้น ทั้งสองฝ่ายมีความยินดีที่จะมีการประชุมระดับผู้นำระหว่างอาเซียน-อินเดีย ซึ่งจะเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-อินเดีย 12. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วม (Joint Working Group) ในระดับรัฐบาลเพื่อที่จะทำการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ระหว่างไทยกับอินเดีย
13. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับมาตรการที่จะเพิ่มปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัน รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งระบบการค้าแบบจดบัญชี (account trade agreement) ทวิภาคี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
14. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับวิธีการร่วมมือด้านการค้าข้าว ซึ่งรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด การหารือระหว่างสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และเห็นว่าความร่วมมือด้านนี้จะสามารถมีบทบาทสร้างสรรค์ในตลาดการค้าข้าวของโลกเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้ด้วย
15. ในการนี้ ผู้นำของทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่ายหารือกันในเรื่องทั้งสองข้างต้นต่อไป ตามที่ได้มีการหารือกันระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย กับ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย
16. ฝ่ายไทยและฝ่ายอินเดียเห็นพ้องกันว่าทั้งสองฝ่ายควรมีปฎิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้นในด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยได้ระบุสาขาซึ่งเป็นที่สนใจของทั้งสองฝ่าย ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างเครือข่ายถนน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการท่องเที่ยว ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นชอบที่จะจัดตั้ง "ศูนย์ร่วมทุน" (Joint Venture Centre) ในอินเดีย เพื่ออำนวยความสะดวกการร่วมทุนระหว่างธุรกิจสองฝ่ายในด้านการก่อสร้างถนน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และด้านอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ
17. ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องกันว่าควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องการ แลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อเพิ่มการปฎิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้รับทราบมาตรการที่จำเป็นซึ่งจะส่งเสริมการเดินทางของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
18. โดยที่เห็นว่า เยาวชน นักคิด นักวิชาการ และนักธุรกิจของทั้งสองฝ่ายยัง ไม่รู้จักกันดีพอเกี่ยวกับพัฒนาการปัจจุบันของอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น เพื่อแก้ไขสถานะดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการสานต่อโครงการเสวนาทางวิชาการ (Thailand-India Colloquium) ซึ่งเคยมีการจัดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2539 ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้มีส่วนช่วยเหลือให้ตัวแทนจากสถาบันวิจัยเอกชน (think tanks) วงการนักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนจากทั้งสองฝ่ายได้พบหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันความสัมพันธ์ทวิภาคีให้พัฒนาต่อไป
19. นายกรัฐมนตรี สองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าสถาบันอุดมศึกษาและสถานศึกษาของทั้งสองฝ่ายควรมีปฎิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น และเห็นควรสนับสนุนให้เพิ่มการแลกเปลี่ยนนักวิชาการและนักศึกษาระหว่างสถาบันเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการและเยาวชนสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น
20. ผู้นำของทั้งสองฝ่ายเห็นว่าอินเดียและไทยมีความเห็นพ้องในเรื่องระดับระหว่างประเทศหลายเรื่อง และทั้งสองฝ่ายจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มความร่วมมือและประสานงานกันในเวทีพหุภาคี ในการนี้ อินเดียยินดีต่อข้อเสนอของไทยที่จะมีการจัดตั้ง กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue) ซึ่งจะเป็นเวทีไม่เป็นทางการสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากทวีปเอเชีย มาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะให้มีกลุ่มแกนนำ (core group) ประกอบด้วยบางประเทศ ซึ่งรวมทั้งอินเดียด้วย หารือในเรื่อง ACD ต่อไป
21. นายกรัฐมนตรี ของทั้งสองฝ่ายแสดงความพอใจต่อผลการประชุมระดับรมต.องค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กรุงโดฮา ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการปรึกษาหารือระหว่างกันในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาต่อไป
22. นายกรัฐมนตรี ของทั้งสองฝ่ายประณามการก่อการร้ายต่อสหรัฐฯ ในวันที่ 11 ก.ย. 2544 และเห็นพ้องกันว่าการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวงต่อสันติภาพระหว่างประเทศ เสถียรภาพ ความมั่นคง และการพัฒนา ดังนั้น การต่อต้านการก่อการร้ายจึงควรกระทำในลักษณะที่ต่อเนื่องและสมบูรณ์แบบ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องร่วมกันว่า การต่อต้านการก่อการร้ายจะต้องครอบคลุมถึงผู้ที่ให้แหล่งพักพิงแก่กลุ่มก่อการร้าย ตลอดจนผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงิน การวางแผนการกระทำการก่อการร้ายเอง หรือการให้การสนับสนุนใดๆ อย่างแข็งขันหรือสนับสนุนโดยทางอ้อมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำการก่อการร้าย ดังที่ระบุในข้อมติที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ โดยที่การป้องปรามและปราบปรามการก่อการร้ายจะต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างนานาประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงพร้อมที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการนำข้อมติที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติไปปฏิบัติ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความประสงค์ที่จะให้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการก่อการร้ายข้ามชาติบับสมบูรณ์ (Comprehensive Convention on International Terrorism) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
23. ในเรื่องการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นพ้องกันว่า องค์ประกอบของคณะมนตรีฯ ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบัน และเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องขยายจำนวนที่นั่งของประเทศสมาชิกในคณะมนตรีฯ ทั้งประเภทถาวร และไม่ถาวร โดยยึดหลักการของการเป็นประชาธิปไตยและการมีตัวแทนจากภูมิภาคต่างๆ
24. ในโอกาสนี้ ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการรกระทรวงการต่างประเทศ กับนายปราโมท มหาชน รัฐมนตรีกิจการรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศ และคมนาคมของอินเดียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการสารสนเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเป็นสักขีพยาน
25. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณฝ่ายอินเดียที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งซึ่งทำให้การเยือนฯ อยู่ในความทรงจำและประสบผลสำเร็จด้วยดี ทั้งนี้ ฯพณฯ นายก รัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีอินเดียให้เดินทางไปเยือนประเทศไทยในโอกาสแรกที่จะสะดวกแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายอินเดียได้ตอบรับด้วยความยินดี ส่วนกำหนดวันเยือนนั้น ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันผ่านช่องทางการทูตต่อไป--จบ--
-อน-