1. สถานการณ์การผลิต
ผลผลิตและราคากุ้งปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับรายงานจากสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยว่าผลผลิตกุ้งปี 2543 คาดว่าจะมีปริมาณ 260,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 230,000 ตัน ในปี 2542 ร้อยละ13.04 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ เช่น เอกวาดอร์ และอินเดีย ประสบปัญหาโรคตัวแดงดวงขาวระบาดทำให้ผลผลิตลดลง ในขณะที่ความต้องการกุ้งของตลาดยังคงสูง ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดยเฉพาะในช่วงกลางปี ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศปีนี้สูงขึ้นกว่าปีก่อน จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีหากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยคาดว่าผลผลิตกุ้งจะออกมากส่งผลให้ราคากุ้งอ่อนตัวลง แต่จะไม่ต่ำกว่าปี 2542
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5-9 สค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,078.16 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 446.76 ตัน สัตว์น้ำจืด 631.40 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.32 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.63 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.44 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 39.39 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.91 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
สหรัฐฯกำหนดโควตานำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไม่บรรจุในน้ำมันตามระบบโควตา ปี 2543
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รายงานว่าหน่วยงานศุลกากรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 กำหนดปริมาณการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องประเภทไม่บรรจุในน้ำมัน ตามระบบโควตาภาษี (Tariff Rate Quota) ปี 2543 ไว้จำนวน 28,305 ตัน ซึ่งครอบคลุมปลาทูน่ากระป๋องไม่บรรจุในน้ำมัน ตามรหัส HTS 1604.14.20 (Albacore Tunas) และ HTS 1604.14.40 (Tunas Nesoi & Skip Jack) โดยเสียอัตราภาษีอากรขาเข้าร้อยละ 6 สำหรับอัตราภาษี นำเข้านอกโควตาจะต้องเสียร้อยละ 12.5
ปี 2542 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รายงานว่า สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่าภายใต้ระบบโควตาดังกล่าวข้างต้น ประมาณ 20,238 ตัน โดยนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 12,104 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 23 ส่วนการนำเข้านอกโควตาภาษี มีการนำเข้าทั้งสิ้นประมาณ 139,573 ตัน มีการนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุดจำนวน 78,412 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 56 รองลงมาได้แก่ การนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 26
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดปาลทูน่ากระป๋องที่สำคัญของไทย ดังนั้น การที่สหรัฐฯ กำหนดปริมาณการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องประเภทไม่บรรจุในน้ำมัน ตามระบบโควตาภาษีสำหรับปี 2543 ในปริมาณที่สูงกว่าการนำเข้าในปี 2542 ย่อมจะส่งผลดีต่อ อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องของไทย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 392.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 396.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 427.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 421.67 บาท ของสัปดาห์ 5.33 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.47 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน <
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 14-18 สค. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 14 - 20 ส.ค. 2543--
-สส-
ผลผลิตและราคากุ้งปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับรายงานจากสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยว่าผลผลิตกุ้งปี 2543 คาดว่าจะมีปริมาณ 260,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 230,000 ตัน ในปี 2542 ร้อยละ13.04 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ เช่น เอกวาดอร์ และอินเดีย ประสบปัญหาโรคตัวแดงดวงขาวระบาดทำให้ผลผลิตลดลง ในขณะที่ความต้องการกุ้งของตลาดยังคงสูง ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดยเฉพาะในช่วงกลางปี ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศปีนี้สูงขึ้นกว่าปีก่อน จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีหากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยคาดว่าผลผลิตกุ้งจะออกมากส่งผลให้ราคากุ้งอ่อนตัวลง แต่จะไม่ต่ำกว่าปี 2542
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5-9 สค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,078.16 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 446.76 ตัน สัตว์น้ำจืด 631.40 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.32 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.63 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.44 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 39.39 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.91 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
สหรัฐฯกำหนดโควตานำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไม่บรรจุในน้ำมันตามระบบโควตา ปี 2543
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รายงานว่าหน่วยงานศุลกากรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 กำหนดปริมาณการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องประเภทไม่บรรจุในน้ำมัน ตามระบบโควตาภาษี (Tariff Rate Quota) ปี 2543 ไว้จำนวน 28,305 ตัน ซึ่งครอบคลุมปลาทูน่ากระป๋องไม่บรรจุในน้ำมัน ตามรหัส HTS 1604.14.20 (Albacore Tunas) และ HTS 1604.14.40 (Tunas Nesoi & Skip Jack) โดยเสียอัตราภาษีอากรขาเข้าร้อยละ 6 สำหรับอัตราภาษี นำเข้านอกโควตาจะต้องเสียร้อยละ 12.5
ปี 2542 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รายงานว่า สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่าภายใต้ระบบโควตาดังกล่าวข้างต้น ประมาณ 20,238 ตัน โดยนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 12,104 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 23 ส่วนการนำเข้านอกโควตาภาษี มีการนำเข้าทั้งสิ้นประมาณ 139,573 ตัน มีการนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุดจำนวน 78,412 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 56 รองลงมาได้แก่ การนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 26
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดปาลทูน่ากระป๋องที่สำคัญของไทย ดังนั้น การที่สหรัฐฯ กำหนดปริมาณการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องประเภทไม่บรรจุในน้ำมัน ตามระบบโควตาภาษีสำหรับปี 2543 ในปริมาณที่สูงกว่าการนำเข้าในปี 2542 ย่อมจะส่งผลดีต่อ อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องของไทย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 392.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 396.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 427.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 421.67 บาท ของสัปดาห์ 5.33 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.47 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน <
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 14-18 สค. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 14 - 20 ส.ค. 2543--
-สส-