สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์สุกรโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ผ่านมา การบริโภคยังทรงตัวอยู่ ขณะที่การผลิตได้อ่อนตัวลง ทั้งนี้ได้เกิดโรคระบาดปากและเท้าเปื่อยในแหล่งเลี้ยงจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ผู้เลี้ยงได้เร่งระบายสุกรออกจำหน่ายเพื่อลดการระบาด ทำให้เริ่มมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าราคาสุกรมีชีวิตจะอ่อนตัวลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.67 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.64 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.18 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.78 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 37.90 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาทลดลงจากตัวละ 700 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายไก่เนื้อค่อนข้างคล่องตัว ผลผลิตในช่วงนี้ลดปริมาณลงมากเพราะผลจากสภาพอากาศร้อนในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา ทำให้ไก่เนื้อประสบกับความสูญเสียค่อนข้างมาก โดยผลผลิตลดลงกว่าร้อยละ 20-30 ประกอบกับความต้องการที่มีมากขึ้นในช่วงโรงเรียนเปิดเทอม ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.59 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 24.53 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 25.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.59 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.97 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 6.50 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 4.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 44.44ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.50 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.00 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.29 ไข่ไก่สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาไข่ไก่เริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย เพราะผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอมของสถานศึกษาต่างๆ อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีปริมาณไข่ไก่ในตลาดมากกว่าความต้องการบริโภคจริง ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาไข่ไก่จะลดลงอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 133 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 132 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 137 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 125 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 148 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทลดลงจากตัวละ 10 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10 ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 150 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนไข่เป็ดราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 165 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 164 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 157 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 172 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 155 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 193 บาทราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โคราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 34.57 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน กระบือราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 22-28 พ.ค. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์สุกรโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ผ่านมา การบริโภคยังทรงตัวอยู่ ขณะที่การผลิตได้อ่อนตัวลง ทั้งนี้ได้เกิดโรคระบาดปากและเท้าเปื่อยในแหล่งเลี้ยงจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ผู้เลี้ยงได้เร่งระบายสุกรออกจำหน่ายเพื่อลดการระบาด ทำให้เริ่มมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าราคาสุกรมีชีวิตจะอ่อนตัวลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.67 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.64 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.18 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.78 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 37.90 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาทลดลงจากตัวละ 700 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายไก่เนื้อค่อนข้างคล่องตัว ผลผลิตในช่วงนี้ลดปริมาณลงมากเพราะผลจากสภาพอากาศร้อนในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา ทำให้ไก่เนื้อประสบกับความสูญเสียค่อนข้างมาก โดยผลผลิตลดลงกว่าร้อยละ 20-30 ประกอบกับความต้องการที่มีมากขึ้นในช่วงโรงเรียนเปิดเทอม ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.59 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 24.53 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 25.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.59 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.97 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 6.50 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 4.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 44.44ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.50 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.00 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.29 ไข่ไก่สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาไข่ไก่เริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย เพราะผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอมของสถานศึกษาต่างๆ อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีปริมาณไข่ไก่ในตลาดมากกว่าความต้องการบริโภคจริง ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาไข่ไก่จะลดลงอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 133 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 132 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 137 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 125 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 148 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทลดลงจากตัวละ 10 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10 ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 150 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนไข่เป็ดราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 165 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 164 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 157 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 172 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 155 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 193 บาทราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โคราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 34.57 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน กระบือราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 22-28 พ.ค. 2543--
-สส-