1. มาตรการเร่งด่วนทางการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 อนุมัติให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรร งบประมาณประจำปี 2544 เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและจัดสรรให้สำนักงานตรวจคน เข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพัฒนาบริการในท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (คกก.5) เสนอ ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเร่งหารายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ โดย ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ ได้ให้แนวทางว่า รายได้จากการท่องเที่ยวควรมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่นล้านบาท (ประมาณ ร้อยละ 1 ของ GDP) โดยดำเนินการใน 2 มาตรการหลัก ดังนี้
1) การพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ การป้องกันและแก้ไขแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง การพัฒนาบุคลากร บริการ และกิจกรรมการท่องเที่ยว
2) การตลาดการท่องเที่ยว ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยว คนไทยและต่างประเทศให้เกิดการเดินทางมากขึ้น
หากมาตรการเร่งด่วนสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านบาท และกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดจังหวัดที่ได้รับ รายได้จากการท่องเที่ยว 5 พันล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด (จากเดิมที่มีอยู่13 จังหวัด) ภายในปี 2545
2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2544
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เสนอ ซึ่งสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2) ให้มีคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ โดยมีนายก รัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
3) ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ กำหนดและเสนองานต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดทำนโยบายและกำหนดแผนด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย
3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 เห็นชอบโครงการส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ตามที่การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยเสนอ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ นักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยพัฒนาการบริการ มาตรฐานสถานบริการ และกำกับ ดูแลผู้พำนักระยะยาว นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะกรรมการโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวแห่งชาติ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน เพื่อทำการศึกษาหากลุ่มเป้าหมายและความต้องการของตลาด รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาบริการและ สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ การจัดตั้งศูนย์ one stop service การอำนวยความสะดวกการเข้าเมือง เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 อนุมัติให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรร งบประมาณประจำปี 2544 เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและจัดสรรให้สำนักงานตรวจคน เข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพัฒนาบริการในท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (คกก.5) เสนอ ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเร่งหารายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ โดย ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ ได้ให้แนวทางว่า รายได้จากการท่องเที่ยวควรมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่นล้านบาท (ประมาณ ร้อยละ 1 ของ GDP) โดยดำเนินการใน 2 มาตรการหลัก ดังนี้
1) การพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ การป้องกันและแก้ไขแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง การพัฒนาบุคลากร บริการ และกิจกรรมการท่องเที่ยว
2) การตลาดการท่องเที่ยว ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยว คนไทยและต่างประเทศให้เกิดการเดินทางมากขึ้น
หากมาตรการเร่งด่วนสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านบาท และกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดจังหวัดที่ได้รับ รายได้จากการท่องเที่ยว 5 พันล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด (จากเดิมที่มีอยู่13 จังหวัด) ภายในปี 2545
2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2544
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เสนอ ซึ่งสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2) ให้มีคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ โดยมีนายก รัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
3) ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ กำหนดและเสนองานต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดทำนโยบายและกำหนดแผนด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย
3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 เห็นชอบโครงการส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ตามที่การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยเสนอ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ นักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยพัฒนาการบริการ มาตรฐานสถานบริการ และกำกับ ดูแลผู้พำนักระยะยาว นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะกรรมการโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวแห่งชาติ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน เพื่อทำการศึกษาหากลุ่มเป้าหมายและความต้องการของตลาด รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาบริการและ สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ การจัดตั้งศูนย์ one stop service การอำนวยความสะดวกการเข้าเมือง เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-