แท็ก
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
อุตสาหกรรม
อย.
มาตรการด้านอุตสาหกรรม?
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยุบเลิกบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บอย.) และให้จัดตั้งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยขึ้น ในลักษณะบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การให้สินเชื่อ การค้ำประกัน การร่วมทุนและให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึงให้บริการด้านการรับฝากเงินจากผู้ประกอบวิสาหกิจซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารฯ
2. ให้โอนบรรดากิจการ สินทรัพย์ สิทธิ หนี้สิน ทุน และความรับผิดชอบของ บอย. ไปเป็นของธนาคารที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยกำหนดทุนเรือนหุ้นไว้เป็นจำนวนหนึ่งหมื่นล้านบาท ซึ่งในระยะเริ่มแรกให้โอนทุนของ บอย. ไปเป็นทุนเรือนหุ้นของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และสามารถเพิ่มทุนได้โดยการออกหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งนี้ กำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินชดใช้ให้แก่ธนาคารฯ ในกรณีที่ธนาคารฯ ได้รับความเสียหายเนื่องจากการดำเนินธุรกิจตามนโยบายของรัฐบาล
มาตรการด้านเกษตรกรรม?
นโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง ปี 2544/45
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 คณะรัฐมนตรีรับทราบนโยบายและมาตรการ
มันสำปะหลัง ปี 2544/45 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง โดยนโยบายและมาตรการดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
นโยบาย
1. นโยบายด้านราคา สร้างเสถียรภาพทางด้านราคา
2. นโยบายด้านการตลาด พยายามรักาาส่วนแบ่งตลาดเดิมและเร่งหาตลาดใหม่ ตลอดจนดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า
3. นโยบายพัฒนาคุณภาพ ปรับปรุงคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
มาตรการ
1. สนับสนุนและส่งเสริมการขยายตลาดในต่างประเทศ
2. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้มันเส้นคุณภาพดี
3. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
4. โครงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลานมัน
5. จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงิน
6. การดำเนินการรักษาระดับราคาหัวมันสำปะหลังสดให้สูงกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และไม่ทำให้เกิดผลบิดเบือนกลไกตลาด
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์
1. โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการสมาชิก กบข.
จากการประชุมของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ “โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการสมาชิก กบข.” ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันระหว่างกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในการสนับสนุนข้าราชการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดย กบข. จะนำเงินกองทุนจำนวน 5,000 ล้านบาท ฝากไว้กับ ธอส. เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. โดยมีหลักเกณฑ์การให้กู้ที่สำคัญดังนี้
(1) ผู้กู้ต้องเป็นข้าราชการ ที่เป็นสมาชิกของ กบข.
(2) เป็นการขอสินเชื่อใหม่ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
-เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
-เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
-เพื่อขยาย หรือต่อเติม ซ่อมแซมอาคาร
(3) วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร หรืออาคาร หรือห้องชุด และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาค่าก่อสร้าง แล้วแต่ว่าราคาใดต่ำกว่า ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 65 เท่าของเงินเดือนสุทธิ
(4) ระยะเวลาในการกู้ไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี หรือจนเกษียณอายุราชการ แล้วแต่ระยะเวลาใดยาวกว่า
(5) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 3 ปีแรก ร้อยละ 4.5 ต่อปี หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 36 เดือน บวกกับร้อยละ 0.75 ต่อปี
อนึ่ง ธอส. ได้เปิดให้ข้าราชการสมาชิก กบข. ยื่นแสดงความจำนงในการเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 ถึง 14 ธันวาคม 2544 และเปิดให้ผู้ที่แสดงความจำนงแล้ว ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2544 เป็นต้นไป
2. หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 ดังนี้
(1) สถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนน้อยกว่า 8,000 ล้านบาท ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระในการประเมินราคาหลักประกัน เฉพาะลูกหนี้ที่มีราคาตามบัญชีสูงกว่า 25 ล้านบาท ส่วนสถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนตั้งแต่ 8,000 ล้านบาท ขึ้นไป ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระ เฉพาะลูกหนี้ที่มีราคาตามบัญชีสูงกว่า 50 ล้านบาท
สำหรับลูกหนี้ที่มีขนาดเล็กกว่าข้างต้น สถาบันการเงินจะประเมินราคาโดยใช้ผู้ประเมินราคาอิสระ หรือผู้ประเมินราคาของสถาบันการเงินเองก็ได้
(2) หลักประกันที่ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระ และคณะกรรมการประเมินราคาของสถาบันการเงินมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้ประเมินราคาอิสระ คณะกรรมการฯ ไม่สามารถปรับหรือลดราคาประเมินได้เอง แต่สามารถว่าจ้างผู้ประเมินรายใหม่ แล้วจึงเลือกใช้ราคาในช่วงราคาของผู้ประเมินราคาอิสระทั้งสองราย โดยแสดงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบ
(3) ในการกำหนดมูลค่าของหลักประกันที่ใช้ในการคำนวณเงินสำรองสำหรับลูกหนี้จัดชั้น ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยุบเลิกบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บอย.) และให้จัดตั้งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยขึ้น ในลักษณะบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การให้สินเชื่อ การค้ำประกัน การร่วมทุนและให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึงให้บริการด้านการรับฝากเงินจากผู้ประกอบวิสาหกิจซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารฯ
2. ให้โอนบรรดากิจการ สินทรัพย์ สิทธิ หนี้สิน ทุน และความรับผิดชอบของ บอย. ไปเป็นของธนาคารที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยกำหนดทุนเรือนหุ้นไว้เป็นจำนวนหนึ่งหมื่นล้านบาท ซึ่งในระยะเริ่มแรกให้โอนทุนของ บอย. ไปเป็นทุนเรือนหุ้นของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และสามารถเพิ่มทุนได้โดยการออกหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งนี้ กำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินชดใช้ให้แก่ธนาคารฯ ในกรณีที่ธนาคารฯ ได้รับความเสียหายเนื่องจากการดำเนินธุรกิจตามนโยบายของรัฐบาล
มาตรการด้านเกษตรกรรม?
นโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง ปี 2544/45
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 คณะรัฐมนตรีรับทราบนโยบายและมาตรการ
มันสำปะหลัง ปี 2544/45 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง โดยนโยบายและมาตรการดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
นโยบาย
1. นโยบายด้านราคา สร้างเสถียรภาพทางด้านราคา
2. นโยบายด้านการตลาด พยายามรักาาส่วนแบ่งตลาดเดิมและเร่งหาตลาดใหม่ ตลอดจนดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า
3. นโยบายพัฒนาคุณภาพ ปรับปรุงคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
มาตรการ
1. สนับสนุนและส่งเสริมการขยายตลาดในต่างประเทศ
2. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้มันเส้นคุณภาพดี
3. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
4. โครงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลานมัน
5. จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงิน
6. การดำเนินการรักษาระดับราคาหัวมันสำปะหลังสดให้สูงกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และไม่ทำให้เกิดผลบิดเบือนกลไกตลาด
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์
1. โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการสมาชิก กบข.
จากการประชุมของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ “โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการสมาชิก กบข.” ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันระหว่างกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในการสนับสนุนข้าราชการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดย กบข. จะนำเงินกองทุนจำนวน 5,000 ล้านบาท ฝากไว้กับ ธอส. เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. โดยมีหลักเกณฑ์การให้กู้ที่สำคัญดังนี้
(1) ผู้กู้ต้องเป็นข้าราชการ ที่เป็นสมาชิกของ กบข.
(2) เป็นการขอสินเชื่อใหม่ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
-เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
-เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
-เพื่อขยาย หรือต่อเติม ซ่อมแซมอาคาร
(3) วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร หรืออาคาร หรือห้องชุด และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาค่าก่อสร้าง แล้วแต่ว่าราคาใดต่ำกว่า ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 65 เท่าของเงินเดือนสุทธิ
(4) ระยะเวลาในการกู้ไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี หรือจนเกษียณอายุราชการ แล้วแต่ระยะเวลาใดยาวกว่า
(5) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 3 ปีแรก ร้อยละ 4.5 ต่อปี หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 36 เดือน บวกกับร้อยละ 0.75 ต่อปี
อนึ่ง ธอส. ได้เปิดให้ข้าราชการสมาชิก กบข. ยื่นแสดงความจำนงในการเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 ถึง 14 ธันวาคม 2544 และเปิดให้ผู้ที่แสดงความจำนงแล้ว ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2544 เป็นต้นไป
2. หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 ดังนี้
(1) สถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนน้อยกว่า 8,000 ล้านบาท ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระในการประเมินราคาหลักประกัน เฉพาะลูกหนี้ที่มีราคาตามบัญชีสูงกว่า 25 ล้านบาท ส่วนสถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนตั้งแต่ 8,000 ล้านบาท ขึ้นไป ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระ เฉพาะลูกหนี้ที่มีราคาตามบัญชีสูงกว่า 50 ล้านบาท
สำหรับลูกหนี้ที่มีขนาดเล็กกว่าข้างต้น สถาบันการเงินจะประเมินราคาโดยใช้ผู้ประเมินราคาอิสระ หรือผู้ประเมินราคาของสถาบันการเงินเองก็ได้
(2) หลักประกันที่ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระ และคณะกรรมการประเมินราคาของสถาบันการเงินมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้ประเมินราคาอิสระ คณะกรรมการฯ ไม่สามารถปรับหรือลดราคาประเมินได้เอง แต่สามารถว่าจ้างผู้ประเมินรายใหม่ แล้วจึงเลือกใช้ราคาในช่วงราคาของผู้ประเมินราคาอิสระทั้งสองราย โดยแสดงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบ
(3) ในการกำหนดมูลค่าของหลักประกันที่ใช้ในการคำนวณเงินสำรองสำหรับลูกหนี้จัดชั้น ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-